|
|
ประชุมพระราชปุจฉา 8
พระราชปุจฉา
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชปุจฉาที่ 1
ว่าด้วยทรัพย์มรดกของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ จะเป็นของสงฆ์หรือไม่
( มีแต่พระบรมราโชบาย ไม่มีคำถวายวิสัชนา )
พระราชปุจฉาที่ 2
ว่าด้วยเรื่องพัทธสีมา จะต้องมีพระบรมราชานุญาตหรือไม่
แก้พระราชปุจฉาที่ 2
พระบรมราชาธิบายที่ 3
ว่าด้วยการในพระพุทธศาสนา ว่าด้วยพระราชดำรัสว่า พระพุทธศาสนานี้มีความดี ความอัศจรรย์เป็นเอนกประการ จึงมีคนเป็นอันมาก ตื่นตื่นกันนับถือ แล้วเล่าลือต่อ ๆ กันไป มีผู้บริจาคทรัพย์สมบัติ เกื้อหนุนแก่ผู้บวชเรียน คนที่บวชเป็นพระสงฆ์ สามเณร เถร ชี ว่าโดยสมบัติเป็นผู้อธิษฐานศีลเป็นนิตย์ คฤหัสถ์แม้เป็นเจ้านายก็ต้องถวายนมัสการ และเป็นผู้ที่จะรับทักขิณาทานที่เขาให้ในเวลามงคลามงคลการ ได้สร้างวัดวาอาราม แผ่ซ้านไปในบ้านน้อยเมืองใหญ่ จนถวายเป็นถิ่นฐานของคนยากคนจนอนาถา เข้ามาอาศัยเลี้ยงตนเลี้ยงท้อง ทั้งนี้ก็เพราะมีผู้ไม่ถือศาสนาจริง ๆ เข้ามาแอบอิงอาศัยอ้างเท็จอวดโกงต่าง ๆ และทรงบรรยายถึงบท ทกฺขิเณยฺโย ว่า จ้องมองจะหาคำพูด ดังนี้ทรงตำหนิลัทธิที่ถือกลุ้มอยู่ในวัด ซึ่งสืบเนื่องมานานว่า พระราชาคณะมิใจใส่เลย มัวแต่ถือสิ่งไม่เป็นสาระ ในหลวงทุกวันนี้ถือพระพุทธศาสนา แต่ถือเฉพาะเนื้อและแก่น เปลือกและกะพี้รุงรังสกปรกโสโครกที่ปนเปอยู่ถือไม่ได้ เมื่อเห็นว่าสิ่งใดไม่ดีก็จะต้องติสิ่งนั้น
พระบรมราชาธิบายที่ 4 (ความย่อ)
ว่าด้วยคำว่า ตถาคต อหํ มํ มมํ เม พระสงฆ์มาใช้ว่า อาตมาเสียหมด ข้อนี้ทรงอธิบายถึงถ้อยคำที่พระภิกษุใช้เทศนาอยู่ทุกวันนี้ว่า รังเกียจอยู่สองคำ คำหนึ่งคือเทศน์ว่า พระพุทธเจ้าเรียกพระองค์ท่านเอง ว่าพระตถาคตทุกคำไปไม่มีวิเศษเว้นบ้าง ควรจะใช้ให้ตรงกับบาลีที่มีอยู่ เช่นในที่บางแห่งเป็น อหํ มํ มมํ เม ก็ดี มิใช่มีแต่ตถาคตโตเท่านั้น ถ้าใช้ผิดพลาดเกรงจะเป็นเท็จไป จึงควรใช้ให้ตรงกับความประสงค์ของภาษานั้น ๆ อีกคำหนึ่ง คือ อาตมา มักใช้ปนเปกันไปหมดเหมือนกัน ควรจำกัดใช้กับชนนั้น ๆ เช่น ใช้แทนคำพูดของท่านผู้พูดกับเจ้าและขุนนางตั้งแต่ชั้นเจ้าพระยา ถึงพระเป็นต้น จึงจะเหมาะสม
พระบรมราชาธิบายที่ 5 (ความย่อ)
ว่าพระภิกษุบางรูปเที่ยวฝากตัวให้กว้างขวาง ในกรมหาดไทย กลาโหม กรมท่า โดยหวังยศเมื่อสึกแล้ว มีพระราชดำรัส ฯ ว่า พระเจ้าแผ่นดินซึ่งได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติในกรุงเทพ ฯ นี้ 4 พระองค์ ล้วนทรงพระราชศรัทธา เลื่อมใส หวังพระราชหฤทัยจะทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรื่องยิ่ง ๆ ขึ้นไป เมื่อทรงเห็นภิกษุรูปใดมีสติปัญญาวิทยาคุณ ควรจะเป็นพระราชาคณะ พระครูฐานานุกรม เปรียญ ก็ทรงพระราชทานฐานันดรนั้น ๆ และทรงสละพระราชทรัพย์อุทิศถวาย ปีหนึ่งเป็นเงิน 804 ชั่งเศษ ครั้นบัดนี้ ท่านเหล่านั้นที่เป็นโลลัชฌาสัย ใจมักบาป แสวงหาแต่ลาภสักการะ และยศถ่ายเดียว เที่ยวประจบฝากตัวในเจ้าในขุนนาง ไว้ตัวเป็นคนกว้างขวางในกรมมหาดไทย กรมกลาโหม กรมท่า ด้วยคิดเห็นว่า ท่านเหล่านั้นจะช่วยกราบทูลพระกรุณาให้สึกออกมาเป็นขุนนาง การที่คิดดังนี้คงไม่สมประสงค์แล้ว ต้องพระราชประสงค์แต่คนมีชาติตระกูลเป็นขุนนาง พวกชาววัดนั้นควรจะเป็นขุนนางได้แต่ในกรมลูกขุน กรมอาลักษณ์ กรมธรรมการ ราชบัณฑิต สังฆการีเท่านั้น ซึ่งชาววัดมิใช่บุตรมีชาติตระกูลจะคิดเสือกสนไป
พระบรมราชาธิบายที่ 6 (ความย่อ)
หนังสือโต้ตอบกับพะม่า หนังสือโต้ตอบกับพม่า ในรัชกาลที่ 4 พม่า 4 คนถือหนังสือ เสนาบดีพม่า มีมาถวายสมเด็จพระสังฆราช ใจความว่า อยากจะทราบการฝ่ายพระศาสนาในกรุงสยาม
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้พระพิมลธรรม (ยิ้ม) วัดพระเชตุพน เมื่อยังเป็นพระพรหมมุนี มีลิขิตตอบไป ใจความว่า ขออนุโมทนา และทรงชี้แจงความเป็นไปของกรุงเทพ ฯ จำเดิมแต่ประเทศสยามตกไปอยู่ในอำนาจของชนชาติอื่น และกลับมาเป็นของสยามตามเดิมแล้ว หรือการที่พม่าเป็นข้าศึกกับไทยและไทยเป็นอย่างไรกับพม่านั้น ก็ทราบอยู่ในใจของไทยแล้ว เคยมีที่พม่าแสดงตนเป็นทูตเข้ามาเจรจาเป็นสัมพันธไมตรีกับสยาม แต่ฟังไป ๆ ก็เป็นเท็จทั้งนั้น นั่นจะเป็นความประสงค์อย่างไรก็แล้วแต่การ สยามมีอัธยาศัยอันดีอยู่เสมอ สยามมีกษัตริย์ปกครองสืบ ๆ กันต่อมา การศาสนาอยู่ในความอุปถัมภ์ของพระมหากษัตริย์ ยกย่องเกียรติคุณของพระภิกษุผู้มีสติปัญญา โดยได้รับฐานันดรศักดิ์ ตามสมควรแก่หน้าที่ได้ตั้งอยู่ในข้อปฏิบัติ บำเพ็ญกุศลทั้งภายในและภายนอกพระนคร คัมภีร์พระพุทธวจนะ พร้อมทั้งอรรถกถาฎีกา ก็มีพร้อมมูลในกรุงเทพ ฯ นี้
พระบรมราชาธิบายที่ 7 (ความย่อ)
ว่าด้วยพระภาพโมลีถวายเทศนาใช้คำผิด เวลากลางคืน พระเทพโมลีถวายพระธรรมเทศนา พระธรรมบทเบื้องต้นผูกหนึ่ง ถึงในที่ว่าประทับพระราชศาสน์ มีดินอันบุคคลประดิษฐานแล้ว ด้วยแหวนแห่งพระราชา ครั้นถวายเทศนาจบ ทรงประเคน จึงทรงเปลื้องพระธำมรงค์ที่ทรงอยู่ในพระอนามิกา แล้วรับสั่งให้หลวงนายศักดิ์กลับไปถามพระเทพโมลีว่าอะไร ท่านก็บอกมาว่า แหวน การเรียกเครื่องประดับของพระราชาใช้คำไพร่ ๆ เช่นนี้ พระเทพโมลีเป็นพระราชาคณะที่ได้เล่าเรียนมาแล้ว น่าจะรู้จักภาษาบาลีได้ดี ถ้าเป็นพระราชาคณะไม่สมควร ควรที่จะรู้จักคำสูงคำต่ำ นี่ใช้คำพูดเหลวเละไป พระทพโมลีเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่แล้ว แต่จะหักชราก็ไม่ได้ เพราะอายุไม่ถึง 70 ปี จึงให้ลดนิตยภัยเสีย
พระราชปุจฉา
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชาปุจฉาที่ 1 (ความย่อ)
เรื่องแปลศัพท์พระนิพพาน แปลศัพท์พระนิพพาน ตามโวหารพระราชาคณะหลายพระองค์ โดยพระราชปุจฉาเมื่อปี จ.ศ. 1235
สมเด็จพระมหาสมณะเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ครั้งยังดำรงพระยศเป็นกรมพระ
นิพพานคือความดับไม่มีเหลือแห่งอวิชชา และตัณหา จนขันธ์ทั้ง 5 ไม่มีไม่เป็นต่อไป ความที่อวิชชาและตัณหาดับไม่เหลือด้วยอริยมรรค สมุจเฉทปหานนี้แล ชื่อว่านิพพาน
หม่อมเจ้าพระญาณวราภรณ์ (วัดบพิตรพิมุข)
นิพพานศัพท์นั้น แปลว่าสิ้นราคะ โทสะ โมหะ ทั้งปวง
แปลว่าธรรม เป็นที่ดับทุกข์ทั้งปวง
แปลว่าธรรมชาติออกจากตัณหา ฯ
หม่อมเจ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ ครั้งยังเป็นหม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันทน์
ธรรมชาติออกจากธรรมร้อยไว้ซึ่งสัตว์ ชื่อว่านิพพาน
นัยหนึ่งว่า ธรรมชาติออกจากตัณหา อันกล่าวคือวานะ ชื่อว่านิพพาน
อีกนัยหนึ่งว่า "นิพฺพานํ" แปลว่า ธรรมเป็นเครื่องดับแห่งเพลิง มี ราคะเป็นต้น ฯ
หม่อมเจ้าพระธรรมุณหิศธาดา
"นิพฺพานํ" นั้น เป็นเครื่องดับเพลิงกิเลส และเพลิงทุกข์ทั้งสิ้น และสรรพสังขารทั้งหมดดับสนิท เชื้อ หาเศษมิได้ ฯ
สมเด็จพระวันรัต (ทับ) ครั้งยังเป็นพระพิมลธรรม
นิพพาน แปลว่า ดับเหตุเกิดทุกข์ ฯ
สมเด็จพระสังฆราช (สา) วัดราชประดิษฐ์ ครั้งยังเป็นพระศาสนโสภณที่พระธรรมวโรดม
นิพพานศัพท์ ว่าดับ คือดับเครื่องร้อนเครื่องเผาเสีย ฯ
ก็แต่นัยว่า นิพฺพานํ ดับ คือดับเครื่องร้อนเครื่องเผา ฯ
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (ศรี) ครั้งยังเป็นพระพรหมมุนี
นิพฺพานํ ธรรมชาติไม่มีแห่ง วานะ คือ ตัณหา ฯ
พระพรหมมุนี (เหมือน) ครั้งยังเป็นพระอริยมุนี
นิพฺพานํ แปลว่า ธรรมเป็นที่ดับเพลิงกิเลส เพลิงทุกข์ หรือแปลว่า ธรรมเป็นที่ไม่มี วานะ ของร้อยรัด คือตัณหา ฯ
พระเทพกระวี (นิ่ม) ครั้งยังเป็นพระสุคุณคณาภรณ์
นิพพานศัพท์ คือ นิพฺพานํ แปลว่า ธรรมชาติเป็นที่ออกจากตัณหาและกิเลสทั้งปวง ฯ
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (จี่)
นิพพาน แปลว่า ออกจากตัณหา ฯ
สมเด็จพระวันรัต (สมบุญ)
อาตมภาพทราบว่าเดิมเป็น นิ 1 วานะ 1 ครั้นปริยายเอา ว เป็น พ แล้ว ทเวภาพเป็นสองสำเร็จรูปเป็นนิพพาน แปลว่า ธรรมเข้าไประงับสิ้นไม่เหลือหลง ฯ
พระพิมลธรรม (อ้น) ครั้งยังเป็นพระธรรมไตรโลก
นิพฺพานํ นั้น ตามพยัญชนะ ว่าออกจากตัณหา เป็นเครื่องเย็บร้อยไว้อย่างหนึ่ง แปลว่า ดับ ฯ
พระธรมเจดีย์ (เนียม) ครั้งยังเป็นพระเทพโมลี
แปลว่า ธรรมชาติอันใดออกจากตัณหาชื่อว่า วานะ เพราะฉะนั้นธรรมชาตินั้นชื่อว่า นิพพาน
นัยหนึ่งตัณหาชื่อว่า วานะ ไม่มีในธรรมชาตินี้ เพราะฉะนั้น ธรรมชาตินี้ชื่อว่านิพพาน
นัยหนึ่ง ในเมื่อธรรมชาตินี้บุคคลได้แล้ว ความที่หามิได้แห่งตัณหา ชื่อว่า วานะ ปรากฎ เพราะฉะนั้น ธรรมชาตินี้ ชื่อนิพพาน ฯ
พระธรรมไตรโลก (ทอง) ครั้งยังเป็นพระเทพมุนี
ในบทคือนิพพานนั้นว่าดับโดยไม่เหลือ ฯ
สมเด็จพระวันรัต (แดง) ครั้งยังเป็นพระเทพกวี
นิพฺพานํ นั้น โดยพยัญชนะว่า ออกจากตัณหาเป็นเครื่องเย็บร้อยไว้อย่างหนึ่งแปลว่า ดับ ฯ
พระธรรมภาณพิลาศ (ผ่อง) เมื่อยังเป็นพระโพธิวงศ์
นิพพานศัพท์ มีเนื้อความวิภาคมากหลายอย่างนัก ถ้าจะแปลสั้น ๆ
นิพพาน แปลว่า ของเป็นที่ดับกิเลศเท่านี้ จึงจะสรุปความได้มากกว่าอื่น ฯ
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (แสง) ครั้งยังเป็นพระราชมุนี
ธรรมอันออกแล้วจากตัณหาโดยบทว่า "วานโต นิกฺขนฺตํ นิพฺพานํ"
ธรรมอันใดออกแล้วจากตัณหา ธรรมนั้นชื่อว่านิพพาน
"นตฺถิ เอตฺถ วานนฺติ นิพฺพานํ" ตัณหาไม่มีในอสังขตธรรมนี้ เพราะเหตุนั้น
อสังขตธรรมนั้นจึงชื่อว่านิพพาน เป็นที่ไม่มีตัณหา
นัยหนึ่ง "อธิคเต วานสฺส อภาโวติ นิพฺพานํ" อสังขตธรรมบุคคลได้สำเร็จแล้วตัณหามิได้มี เพราะเหตุนั้นอสังขตธรรม จึงว่านิพพานธรรมอันไม่มีตัณหา
พระญาณสมโพธิ (อิ่ม)
นิพพานศัพท์นี้ แปลว่า เป็นที่ดับแห่งเพลิง คือ ราคะ โทสะ โมหะ
อีกนัยหนึ่ง นิพพานศัพท์ แปลว่า ออกแล้วจากตัณหาเป็นที่ยังจิตให้หลง
พระราชปุจฉาที่ 2
ว่าด้วยการก่อพระทรายและเรื่องเตภาติกชฎิล ข้อ 1 การก่อทรายหรือพระเจดีย์ทรายในฤดูตรุษสงกรานต์และฤดูอื่นบ้าง เช่น อย่างก่อกันทุกวันนี้ จะมีบทพระบาลีหรืออรรถกถา ฎีกา คัมภีร์ใดบ้าง
ข้อ 2 การก่อพระทรายนี้ มีมาแต่ครั้งพุทธกาล หรือมีขึ้นภายหลังเมื่อพระพุทธเจ้าเข้าปรินิพพานแล้ว
ข้อ 3 ถ้ามีขึ้นภายหลังพุทธกาล มีขึ้น ณ ประเทศใดก่อน ผู้ใดเป็นต้นบัญญัติจัดการ และปรารภเหตุอะไร จึงได้คิดจัดการก่อพระทรายขึ้นเป็นธรรมเนียม ในบ้านเมืองที่นับถือพุทธศาสนาสืบมาจนถึงกาลทุกวันนี้
ข้อ 4 ในเรื่องเตภาติกชฎิล เดิมว่าพระอุระเวลกัสสป มีบริวาร 500 พระคยากัสสป มีบริวาร 300 พระนทีกัสสป มีบริวาร 200 รวมชฎิลบริวารครบพันหนึ่ง ควรจะเป็นพันสามรูปทั้งอาจารย์ด้วย
ครั้นเรื่องความในอาทิตตปริยายสูตรมีว่า "ตสฺส ภิกฺขุสหสฺสสส อนุปาทาย อาสเวหิ จิตฺตานิ วิมุจฺจึสุ" ว่าจิตของพระภิกษุพันหนึ่งนั้นหลุดจากอาสวะทั้งหลายแล้ว คือบรรลุอรหัตตผลสิ้นด้วยกันทั้งพันหนึ่งนั้นแล้ว
อนึ่งความในพระปฐมสมโพธิ กล่าวด้วยพระพุทธเจ้าเสด็จมาเมืองกบิลพัสดุ ครั้งแรกมีว่า "ขีณาสวสหสฺสปริวุโต" ว่าพระภิกษุขีณาสพพันหนึ่งคือ ท่านโบราณชฎิลพวกนั้นนั่นแหละ แวดล้อมตามเสด็จพระผู้มีพระภาคมาแล้ว
ในจาตุรงคสันนิบาต มีว่าพระภิกษุขีณาสวารหันตโบราณชฎิลพันองค์ ได้มาเฝ้าพระผู้มีพระภาคในสมัยจาตุรงคสันนิบาต ในความนี้ ก็คือพระโบราณชฎิลพวกพระอุรุเวลกัสสป นั้นนั่นแหละ มิใช่พระอรหันต์พวกอื่น
ความเรื่องนี้ทรงฟังยังเคลือบคลุมอยู่ จะเป็นพระอรหันต์พันถ้วน หรือพันสามอย่างไรแน่ จะมีข้อวินิจฉัยถ่องแท้ในคัมภีร์ใดบ้าง
แก้พระราชปุจฉาที่ 2 (ความย่อ) พระราชาคณะผู้ใหญ่น้อย ถวายวิสัชนาว่า
ข้อ 1 การก่อพระทรายหรือพระเจดีย์ทราย เช่นอย่างก่อกันทุกวันนี้ ไม่พบที่มาในพระบาลีแห่งใด นอกจากทรงอนุญาตให้ก่อพระสถูปพระตถาคตเจ้าไว้เป็นที่สักการะบูชา ในที่ประชุมทางสี่ ซึ่งมีมาในบาลีมหาปรินิพพานสูตร ทีฆนิกายมหาวรรค ส่วนในคัมภีร์อรรถกถาฎีกาทั้งหลาย จำแนกพระสถูปไว้ 4 อย่างคือ พระสถูปที่บรรจุพระธาตุ เรียกธาตุเจดีย์บ้าง สาริกเจดีย์บ้าง อย่าง 1 พระสถูปที่บรรจุพุทธบริขาร และวัสดุสถานที่พระพุทธองค์ทรงบริโภค เรียกบริโภคเจดีย์อย่าง 1 พระสถูปที่บรรจุอักษรแสดงพระธรรมที่เป็นพุทธพจน์ เรียกว่าธรรมเจดีย์อย่าง 1 พระสถูปพระปฎิมาที่สร้างอุทิศต่อพระพุทธเจ้า เรียกอุเทสิกเจดีย์อย่าง 1 ก็สถูปนั้นในพระบาลีและอรรถกถาฎีกา ไม่ได้นิยมชัดว่าให้ก่อด้วยสิ่งอันใด แต่การก่อพระสถูปที่มีปรากฎในเรื่องนั้น ๆ ล้วนก่อด้วยถาวรวัตถุมีอิฐ เป็นต้น ที่ปรากฎว่าพระเจดีย์ทรายแท้นั้น มีมาในธรรมิกบัณฑิตราชชาดก ในคัมภีร์ปัญญาสชาดก ซึ่งทราบว่าเป็นลาวแต่ง แสดงว่าเป็นคำพระอินทร์ บอกแก่พระโพธิสัตว์ว่า ก่อพระเจดีย์แล้วได้วิมานแก้ว ส่วนในคัมภีร์อื่น ๆ ก็พรรณาแต่อานิสงส์ในการเกลี่ยทรายในภูมิสถานให้สถานราบรื่นเท่านั้น
ข้อ 2 ไม่มีในบาลีแห่งใดว่าพระพุทธเจ้าทรงอนุญาต หรือตรัสสอนให้ก่อด้วยทราย ในอาการที่ก่อกันในทุกวันนี้ ได้ความสันนิษฐานว่า มีขึ้นภายหลังแต่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว
ข้อ 3 ได้ความสันนิฐานว่า มีขึ้นในประประเทศลาวก่อน ลาวเป็นต้นบัญญัติจัดการคือ อยากจะได้บุญให้มากกว่าการเกลี่ยทราย หรือคิดจะชักชวนผู้ที่อยากได้บุญมาก ๆ ให้ทำได้โดยสดวก เช่น การบอกบุญก่อพระเจดีย์ดินทุกวันนี้ ชะรอยผู้ต้นบัญญัติจะคิดเห็นว่า สถูปเป็นของที่พระพุทธเจ้าอนุญาต เมื่อก่อทรายให้เป็นจอมขึ้นได้แล้ว จะได้เป็นสถูป แล้วเก็บเอาใบโพธิ เป็นต้น บรรจุไว้ภายใน อุทิศต่อพระพุทธเจ้า ได้ชื่อว่าเป็นบริโภคเจดีย์ และอุเทสิกเจดีย์กว่าจะเกลี่ยโดยปกติ
อีกประการหนึ่ง จะเป็นของย่อมาแต่ก่อพระสถูปด้วยถาวรวัตถุ เหมือนเรื่องมีแจงซึ่งถือกันว่า ใครทำได้ชื่อว่ายกย่องพระพุทธศาสนา เป็นของย่อมาแต่ก่อนมาแต่สังคายนาฉะนั้น
ข้อ 4 ข้อนี้ในบาลีมหาวรรคก็ว่าเคลือบคลุมอยู่ในอรรถกถามหาวรรคก็มิได้ว่าไว้เหมือนบริวารพระสารีบุตร พระโมคคัลลานก็ว่า 250 กับทั้งอาจารย์ควรจะเป็น 252 รูป ครั้นเรียกรวมกันหมดก็ว่าแต่ 250 เช่นในเรื่องจาตุรงคสันนิบาตนั้นเอง ว่าโดยความเห็นก็เป็นต่าง ๆ กัน ถ้าจะวินิจฉัยตามที่มากกว่าแล้ว พระโบราณชฎิล ทั้งอาจารย์ทั้งศิษย์ เป็นแต่พันถ้วนเท่านั้น
พระราชปุจฉาที่ 3
ว่าด้วยเรื่องจตุโลกบาล ความว่า เรื่องจตุโลกบาลมีแตกต่างกัน เช่น ในอาตานาติยสูตรว่า ท้าววิรุฬหก เป็นเจ้าแห่งกุมภัณฑ์ ส่วนคาถาท้ายอาตานาติยปริตในสิบสองตำนานว่าเป็นเจ้าแห่งเทวดา คำซึ่งกล่าวผิดกันเช่นนี้เกิดด้วยเหตุใด และต้องการว่าท้าวมหาราชองค์ใด รูปและชาติวรรณอาวุธอย่างไร เป็นเจ้าแก่บริษัทหมู่ใด
แก้พระราชปุจฉาที่ 3 (ความย่อ) กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส ถวายวิสัชนาว่า
ท้าวโลกบาล ในตำรับพวกถือพุทธศาสนา มี 4 องค์คือ ท้าวธตรฐ เป็นอธิบีพวกคนธรรพ์ ครองทิศบรูพา มีหน้าสีขาบ ถือพิณ ท้าววิรุฬหก เป็นอธิบดีของพวกกุมภัณฑ์ ครองทิศทักษิณ มีหน้าดำท่าทางดุร้าย ถือดาบ ท้าววิรูปักษ์ เป็นอธิบดีของพวกนาค ครองทิศปราจิม มีหน้าแดง ถือกรดหรือฉัตร พอกางขึ้นก็เกิดพายุใหญ่ ฟ้าคะนอง ฝนตก และท้าวกุเวร เป็นอธิบดีของพวกยักษ์ ครองทิศอุดร หน้าขาว ถือนาคบาศ แต่ในอรรถกถา อาฬวกสูตร และในอภิธานัปปทีปีกาว่า ถือกระบองสั้น
ส่วนความแยกเรื่องท้าวจตุโลกบาลนั้น ได้เคยพบอยู่ และสันนิษฐานว่า เป็นเพราะความเข้าใจ หรือความอนุมานเป็นไปในเวลาต่างกัน
พระราชปุจฉาที่ 4
ว่าด้วยเรื่องปัญจอภิเษก
แก้พระราชปุจฉาที่ 4 (ความย่อ)
พระราชปุจฉาที่ 5
ว่าด้วยเรื่องศัพท์ "ณัฏฐ์" ความว่าหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ แม่กองทำหนังสือพจนานุกรม ได้นำนัฏฐศัพท์มาเรียบเรียงเพิ่มเติม อ้างที่มาว่า อยู่ในคัมภีร์เอกักขรโกษ ตามคำอธิบายของหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ จะทรงเห็นอย่างไร
แก้พระราชปุจฉาที่ 5(ความย่อ) นัฏฐศัพท์ มีที่มาในบาลีฎีกาเอกักขรโกษจริง แต่ศัพท์นี้ไม่แพร่หลายในภาษามคธ คงแพร่หลายอยู่เฉพาะทางภาษาสันสกฤต แม้ผู้แต่งบาลีฎีกาเอกักขรโกษนำมาใช้ ก็ไม่ปรากฏว่ามีใครใช้ตาม คงมีอยู่แต่ในหนังสือ ตามเหตุปรารภ หนังสือพจนานุกรมนั้น ควรเก็บศัพท์ที่นำมาใช้ในหนังสือไทย แล้วทั้งนั้น จึงควรใช้ศัพท์สามัญที่เป็นภาษาทั่ว ๆ ไป
พระราชปุจฉา
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ความว่ามีพระราชประสงค์ จะบำเพ็ญพระราชกุศล
เพื่ออุทิศส่วนบุญกุศลพระราชทานไปให้ผู้ซึ่งมี อุปการคุณมาแต่หนหลัง
อันล่วงลับไปสู่โลกแล้ว แต่ว่าผู้นั้น ๆ เป็นชนต่างชาติ มิได้อยู่ในพระพุทธศาสนา จะทำอย่างไรจึงจะให้ศรัทธาได้สำเร็จเป็นผลบุญแก่ผู้นั้น
แก้พระราชปุจฉา (ความย่อ)
พระราชปุจฉา
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
ว่าด้วยแนวทางการศึกษาพระพุทธศาสนา เพื่อเตรียมตัวและช่วยเหลือในการที่จะอุปสมบท
แก้พระราชปุจฉา ( ความย่อ )
การบวชคือการเว้นจากการพัวพันกับการครองเรือน ไปหาที่สงัดทำที่พักพออาศัยอยู่ได้ เพื่อทำความสงบ การบวชนี้เริ่มมีมาแต่ชาวอริยกะเข้าไปในอินเดีย แต่เป็นไปในรูปของการบำเพ็ญตะบะสำหรับผู้บวช เมื่อได้บวชแล้วก็มีหน้าที่ 2 อย่างคือ เรียนและปฏิบัติธรรมะ การเรียนธรรมะ คือ ต้องเรียนธรรมะ 1 พิจารณาให้เข้าใจเนื้อความธรรมะนั้น 1 และพิจารณาตนเองว่ามีธรรมะนั้นอยู่ในตนเพียงไรหรือไม่ 1 แล้วจึงปฏิบัติธรรมซึ่งแยกออกเป็น 2 คือ ตั้งจิตให้กำหนดอยู่ในที่มุ่ง ไม่ให้ฟุ้งส่ายไปในอารมณ์ต่างๆ เรียกว่า สมถะ 1 พิจารณาให้เห็นตามเป็นจริง เรียกว่า วิปัสนา 1
สมเด็จพระสังฆราช และพระราชาคณะผู้ใหญ่น้อย ถวายวิสัชนาว่า
บุคคลผู้มีคุณูปการเช่นนี้ จะเป็นพุทธศาสนิกชนหรือมิใช่ หาเป็นประมาณไม่ ควรมุ่งเอาลัทธิหรือศาสนา ที่ผู้บำเพ็ญนับถือเป็นประมาณ บำเพ็ญบุญตามลัทธิหรือตามศาสนานั้น อุทิศส่วนกุศลไปถึงผู้ตาย และพระราชกุศลที่ทรงพระราชอุทิศนั้น จักเป็นผลสำเร็จแก่ผู้นั้น ก็ต้องบริบูรณ์ด้วยเหตุ 3 ประการคือ ผู้วายชนม์ทราบพระบรมราชูทิศแล้ว ถวายอนุโมทนา 1 ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล แล้วทรงพระราชอุทิศแก่ผู้วายชนม์นั้น 1 ปฏิคาหกผู้รับปัจจัยลาภที่ทรงบริจาคเป็นทักขิเณยบุคคล 1
อภิเษกทั้ง 5 เป็นพิธีรดน้ำใช้ดังนี้
อินทราภิเษก สำหรับพระเจ้าแผ่นดินที่เป็นสมมติเทวราช เป็นอภิเษกที่เฉลิมพระเกียรติ ขึ้นไปกว่าราชาภิเษก โภคาภิเษกเป็นพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร หรือเถลิงถวัลยราชสมบัติ ปราบดาภิเษกคือ การอภิเษกพระเจ้าแผ่นดินในข้อที่ชนะสงคราม เป็นพระเกียรติและพระเดชานุภาพใหญ่ ราชาภิเษก คือ รดน้ำ ตั้งเป็นราชอิศริยศอย่างหนึ่งอย่างใด อุปเษกคือรดน้ำใน อาวาห อวิวาหะ เรื่องนี้น่าจะมีคำตอบพระราชปุจฉา แต่ไม่พบต้นฉบับ แต่การที่เป็นอยู่ในบัดนี้ เป็นอันต้องกราบบังคมทูลพระกรุณา ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตก่อน จึงจะผูกพัทธสีมาได้
|
Update : 16/5/2554
|
|