หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    ประชุมพระราชปุจฉา 7
    พระราชปุจฉา
    ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
    loading picture

    เรื่องพิธีวิสาขบูชา
    ความว่า สรรพการกุศล ซึ่งได้ทรงบำเพ็ญมาเป็นนิจการนั้น
    ยังไม่เต็มพระราชศรัทธา มีพระทัยปรารถนาจะใคร่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ให้มีผลวิเศษประเสริฐยิ่ง
    ที่ยังมิได้ทรงประทำเพื่อจะให้แปลกประหลาด จะทรงบำเพ็ญพระราชกุศลใดจึงจะควร

    แก้พระราชปุจฉา (ความย่อ)

     

    พระราชปุจฉา
    ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
    loading picture

    พระราชปุจฉาที่ 1

    ข้อ 1 ว่าด้วยการสร้างหอพระในพระราชวังจะควรฤาไม่
    ข้อ 2 ว่าด้วยการสร้างหอพระกับสร้างพระวิหาร จะมีผลเสมอกันฤาต่างกัน
    ข้อ 3 ว่าถ้าจะมีผู้เชิญพระไปไว้ยังพระวิหาร และเข้าอาไศรยอยู่ในหอพระฤารื้อหอพระไปปลูกเสียที่อื่น แล้วปลูกที่อาไศรยลงในที่นั้นจะมีโทษฤาไม่

     

    แก้ประราชปุจฉาที่ 1(ความย่อ)
            สมเด็จพระสังฆราช  พร้อมด้วยสมเด็จพระราชาคณะและพระราชาคณะ 19 รูป  ถวายวิสัชนาว่า
                ข้อ 1  การที่ทรงสร้างหอพระประดับด้วยเงินและทองอันวิจิตร ไว้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ  พระพุทธปฏิมากร  พระสถูป  และพระไตรปิฎก ด้วยพระหฤทัยเลื่อมใสในคุณพระรัตนตรัยนั้น  เป็นบุญญาภิสันท์  ไหลหลั่งมาแต่งกองกุศลเป็นเนืองนิตย์ทุกค่ำเช้า  หาโทษมิได้  มีแต่กุศลฝ่ายเดียว จะเป็นเหตุให้เสวยสุขสมบัติในสวรรค์โดยแท้
                ข้อ 2  การสร้างหอพระเจ้ากับวิหาร  ถ้าประมาณใหญ่น้อยเท่ากัน  บริจาคทรัพย์ก่อสร้างมีประมาณเท่ากัน  ก็มีผลเสมอกัน  ถ้าวิหารใหญ่กว่าหอพระ  วิหารมีผลมากเหตุบริจาคทรัพย์มาก  ทั้งประโยคความเพียรยินดีก็มากกว่ากัน
                ข้อ 3  การที่บุคคลมีความเข้าใจดังนั้นแล้ว  เข้าอาศัยอยู่ในหอพระนั้นมีโทษเหตุไม่เคารพ  เอาที่อยู่แห่งพระเจ้ามาเป็นที่อยู่แห่งตน  ด้วยจิตเป็นอกุศล
                อนึ่ง  การที่จะรื้อหอพระเจ้าไปปลูกในที่อื่นโดยเคารพ  แล้วเอาที่นั้นปลูกเป็นที่อยู่ก็ควร  เพราะเดิมมิได้อุทิศถวายไว้ทั้งที่  ถ้าเดิมอุทิศถวายไว้ทั้งที่แล้วจะรื้อหอพระไปปลูกที่อื่นแล้ว  ปลูกที่อาศัยลงในที่นั้นก็ไม่ควร ถ้าหอพระชำรุดทรุดโทรมลง  ควรทำการทะนุบำรุงให้ดีดังเก่า  หรือถ้าจะรื้อไปปลูกที่อื่น ก็ควรปลูกหอพระลงไว้ให้เหมือนดังเก่าจึงจะควร

     

    พระราชปุจฉาที่ 2
    ข้อ 1 ว่าด้วยอากรค่าน้ำแลอากรสุราที่พระเจ้าแผ่นดินทรงบัญญัติขึ้น จะเป็นโทษฤาเป็นคุณ
    ข้อ 2 ว่าพระเจ้าพิมพิสาร แลพระเจ้ามหานามจะปราบปรามโจรผู้ร้าย มิให้เกี่ยวข้องแก่ทศอกุศลกรรมบถ แลจะเรียกส่วยสาอากร ให้ปราศจากมิจฉาชีพนั้นจะวางอารมณ์ประการใด
    ข้อ 3 ว่าด้วยท้าวเวสวรรณมหาราชเป็นพระโสดา จะลงทัณฑกรรมแก่บริวารที่หยาบช้า ด้วยกรรมกรณ์อันใด แลจะวางพระสติประการใด

     

    แก้พระราชปุจฉาที่ 2 (ความย่อ)
                สมเด็จพระสังฆราช  พร้อมด้วยสมเด็จพระราชคณะ แลพระราชาคณะ  22 รูป  ถวายวิสัชนาว่า
                ข้อ 1  สมเด็จพระบรมขัตติยาธิบดี  ซึ่งดำรงแผ่นดินล่วงไปในอดีตนั้นล้วนกอปรด้วยพระมหากรุณาคุณ ทรงพิจาณาเห็นว่า  สันดานแห่งสัตว์โลกมักหนาไปด้วย  ราคะ  โทสะ  โมหะ จะข่มขี่ด้วยราชอาชญา โดยกรรมกรณ์ต่าง ๆ นั้น  เกรงจะหนักนัก  จึงทรงบัญญัติด้วยราชทัณฑ์สินไหม เพื่อจะบรรเทาโทษแห่งชน ที่เสพสุราและกระทำปาณาติบาต ให้กระทำน้อยลงดุจสมเด็จพระมหากรุณาสัมมาสัมพุทธเจ้า  ทรงเห็นคติแห่งพระเทวทัตด้วยพระสัพพัญญุตญาณว่า ถ้ามิได้บรรพชาในพระศาสนาจะกระทำอกุศลกรรมเนือง ๆ และจะต้องไปบังเกิดในอบายภูมิสิ้นกาลช้านาน  จึงทรงพระมหากรุณาพระราชทานบรรพชาอุปสมบทแก่พระเทวทัต  เหตุจะให้บรรเทาเสียซึ่งอกุศลโทษในมหานรกนั้น
                อนึ่ง  ข้อที่ทรงพระวิมุตสงสัยในอากรค่าน้ำและอากรสุรา  เกรงจะเป็นที่เศร้าหมองแห่งสัมมาอาชีวะนั้น  เห็นว่าซึ่งจะเป็นกุศลากุศลกรรมนั้น ก็อาศัยแก่เจตนาเป็นประธานเมื่อหาเจตนามิได้แล้วผลแห่งกุศล และอกุศลนั้นก็มิได้มี
                ข้อ 2  กษัตริย์ทั้งสองพระองค์วางพระอารมณ์มัธยัสถ์อยู่ตามเสกภูมิ มิได้มีพระกมลเจตนาในอันที่จะทำโทษแก่ผู้ละเมิดพระราชอาชญา  แต่มิได้ตัดรอนโบราณราชประเพณี  เพื่อรักษาจารีตบรมกษัตริย์ซึ่งดำรงแผ่นดินมาแต่กาลก่อน  แม้มีผู้กราบทูลว่าจับโจรผู้ร้ายได้  ก็มีพระราชโองการดำรัสสิ่งให้นำไปพิจารณาว่ากล่าวกันเถิด  ซึ่งจะปลงพระทัยให้ลงโทษพระราชอาชญานั้นมิได้มีเลย  เพราะสันดานแห่งพระโสดา  ขาดจากวธกเจตนา
                อนึ่ง  ข้อที่กษัตริย์ทั้งสองจะวางพระอารมณ์ให้พ้นจากมิจฉาชีพประการใดนั้น  ข้อวิสัชนาเหมือนในบทก่อน
                อันกษัตริย์ที่เป็นกัลยาณบุถุชน  ประพฤติโดยโบราณจารีตบัญญัติมิได้ตัดรอนนั้น  ได้ชื่อว่าตั้งอยู่ในอปริหานิยธรรม  พระสัพพัญญูเจ้าตรัสสรรเสริญ  มิได้ทรงติเตียนว่าเป็นมิจฉาชีพแล้ว  จะป่วยกล่าวไปไยถึงกษัตริย์ที่บรรจุพระโสดาเล่า  เพราะอำนาจโสดาปัตติมรรคญาณนั้น  ฆ่าเสียได้ซึ่งมิจฉาอาชีวะในกองมิจฉัตตธรรมขาดสูญ
                ข้อ 3  ท้างกุเวรุราชโลกบาลบพิตร  ก็จะวางพระอารมณ์เหมือนกับพระเจ้าพิมพิสาร  และพระเจ้ามหานาม  ที่ถวายวิสัชนามาแล้วในข้อ 2  เพราะพระองค์เป็นพระโสดาด้วยกัน  บาปธรรมทั้งปวงที่เป็นส่วนพระโสดา ประหารเสียได้ก็ขาดสูญจากพระกมลสันดานเหมือนกัน  แต่มิได้ละจารีตพระราชประเพณี  มิได้ปลงพระทัยลงในอันจะกระทำกรรมกรณ์อาชญาบรรพสัชด้วยอกุศลเจตนาเลย

     

    พระราชปุจฉาที่ 3
    ความว่า จะเอาทองพระพุทธรูปวัดมงคลบพิตรซึ่งหักพังอยู่นั้น
    กับทั้งทองเครื่องประดับสำหรับพระบาง มาหล่อเปนพระพุทธรูปขึ้นอิกองค์หนึ่ง จะควรฤาไม่

    แก้พระราชปุจฉาที่ 3 (ความย่อ)

     

    พระราชปุจฉาที่ 4
    ว่าด้วยสามัคคีรสจะมีคุณประการใด

    แก้พระราชปุจฉาที่ 4 (ความย่อ)

     

    พระราชปุจฉาที่ 5
    ความว่า ฉันใดจะได้พระภิกษุสามเณรเปนบาเรียน ให้สมควรแก่พระราชศรัทธา

    แก้พระราชปุจฉาที่ 5 (ความย่อ)

     

    พระราชปุจฉาที่ 6
                สมเด็จพระสังฆราช  และพระราชาคณะทั้งปวง  ถวายวิสัชนา ความที่ 1 ว่า
                แก้ว 5 ประการที่หาได้ยากในโลก ซึ่งสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแก่กษัตริย์ลิจฉวี ใจความว่าความบังเกิดแห่งพระสรรเพชญ์ผู้เผด็จสรรพกิเลศมาร ตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณโดยอาการมิได้วิปริตนั้น 1 บุคคลที่สำแดงบอกกล่าวได้ซึ่งพระธรรมวินัย และบัณฑูรพระธรรมเทศนา อุตสาหปฏิบัติตามธรรมโมวาทานุศาสน์ได้นั้น 1 บุคคลกอปรด้วยกตัญญูกตเวที 1 ทั้ง 5 นี้ล้วนเป็นแก้วหาได้ด้วยยากในโลก และยอมรับสารภาพว่าบกพร่องด้วยการบำรุงภิกษุสามเณร ได้ศึกษาพระปริยัติธรรม ขอปฏิญาณว่า แต่นี้ไปจะเอาธุระในการให้ภิกษุสามเณร ได้ศึกษาพระปริยัติธรรม จนกระทั้งสอบไล่ได้ดังประสงค์
                ความที่ 2 ว่า
                อันตราย 5 ประการคือ ความต้องลิ้นลมแห่งคนพาล แล้วหน่ายรักพระปริยัติไปด้วยเหตุต่าง ๆ 1 โรคภัยมารันทำย่ำยี 1 มาตุคามมาปองเพียรทำให้กุลบุตรสิ้นศรัทธา 1 มัจจุราชมาครอบงำ 1 กุศลวาสนาในอดีตและปัจจุบันมิได้มี จึงมิควรที่จะทรงพระไตรปิฏกได้ และมิควรจะรับจตุปัจจัยบูชาแห่งพระมหากษัตริย์ได้ 1 และรับปฏิญญาณว่าจะอุตส่าห์ตักเตือนกุลบุตรที่มีบุญวาสนา ให้มีศรัทธาความเพียรยิ่ง ๆ ขึ้นไป
                สมเด็จพระสังฆราช และพระราชาคณะ 4 รูป ถวายวิสัชนาว่า
                สามัคคีรสนี้มีคุณเป็นอเนประการ ความสามัคคีคือความพร้อมเพรียงกันมีพร้อมเพรียงประชุมกันเนืองนิตย์ เป็นต้น ย่อมให้ได้สดับข่าวสารร้ายและดี อันบอกมาแต่นิคมคามเขตประเทศต่าง ๆ ว่าเกิดศึกและเกิดโจรเป็นต้น ฝ่ายปัจจามิตรหมู่โจรทั้งหลาย รู้ข่าวว่าบรมกษัตริย์มิได้ประมาท ก็ไม่สามารถจะพากันกำเริบได้ พระเกียรติยศก็จะปรากฎไปทั่วทิศานุทิศ  ความสามัคคีของหมู่คณะนำความสุขมาให้ การงานทั้งทางโลกและทางธรรม ย่อมสำเร็จผลได้ด้วยความสามัคคี แม้สัตว์เดียรัจฉานมีมดและปลวกเป็นต้น เมื่อมันสามัคคีกันแล้ว มนุษย์ยังไม่กล้าทำลายรังของมันได้ สามัคคีมีคุณสังเขปดังนี้
                สมเด็จพระสังฆราช  พร้อมด้วยสมเด็จพระราชาคณะ และพระราชาคณะ 18 รูป  ถวายวิสัชนาว่า
                ถ้าพระเจดีย์ชำรุดทรุดโทรมก็ดี  อยู่ในที่ซึ่งหาผู้รักษามิได้ก็ดี  ตั้งอยู่ในที่อันมิควรและที่ใกล้มิจฉาทิฏฐิ  และที่ใกล้คนอันเป็นบาปก็ดี  บุคคลปรารถนาจะให้เป็นบุญจะทำลายเสียก็ดี  จะชลอมาและจะกระทำด้วยอุบายอันใดอันหนึ่งก็ดี  แล้วกระทำให้เป็นปกติดังเก่า ผู้นั้นย่อมได้อานิสงส์มากมายยิ่งนัก  ดุจหมอชีวกโกมารภัจ  ซึ่งถวายติขิณโอสถ พอกพระบาทสมเด็จพระสัพพัญญูเจ้า เพื่อทำลายพระโลหิตอันห้ออยู่นั้นออกเสียสิ้น  แล้วถวายพระโอสถสมานพระมังสะ  ทำให้พระบาทหายแผลเป็นปกติดังเก่า ประกอบด้วยบุญผลานิสงส์เป็นอันมาก
                อนึ่ง  ถ้าจะกล่าวถึงพระพุทธรูป  ก็มีอรรถาธิบายเหมือนพระเจดีย์นั้น
                อีกประการหนึ่ง  ซึ่งจะเอาสรรพเครื่องประดับเครื่องบูชาของพระบางนั้นมาที่ควรจะยุบมาหลอม  ที่ควรจะจำหน่ายได้วัตถุเงินทองมาแล้ว  จะหล่อสร้างเป็นพระพุทธรูปขึ้นใหม่อีกพระองค์หนึ่ง  เพราะจะมิให้ราชภัยกับอบายทุกข์บังเกิดแก่ฝูงชนที่เป็นโจรนั้น ก็นับเข้าในพระเมตตาบารมี  มีผลยิ่งนัก  แม้ฉัตรและธง  ซึ่งเหลือจากการบูชาในที่นั้น  แล้วนำไปถวายแด่พระเจดีย์องค์อื่นต่อไปอีกก็หาโทษมิได้ดุจกัน
    ข้อ 1 ว่าได้ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลมามากแล้ว ยังมีพระราชกุศลอย่างใดที่พอจะทำได้ แต่ยังไม่ได้บำเพ็ญบ้าง
    ข้อ 2 ว่าด้วยคนเข็ญใจมีทรัพย์อยู่เพียงกหาปณะหนึ่ง จะทำบุญสิ่งใดจึงจะให้ได้อานิสงส์ มากเท่ากับผู้มีทรัพย์ ทำตั้ง 100 และ 1,000 กหาปณะ
    แก้พระราชปุจฉาที่ 6 (ความย่อ)
                ข้อ 1  ยังไม่พบคำวิสัชนา
                ข้อ 2  พระพิมลธรรม  ถวายวิสัชนาว่า
                บุคคลให้ทานมาก แก่ภิกษุมากนั้นให้ผลมากยิ่งโดยวิเศษ ดังข้อความในอรรถกถาว่า บุคคลจำพวกหนึ่งมีศรัทธาน้อยมีทรัพย์มาก บุคคลนั้นไม่อาจกระทำกุศลให้มากได้ บุคคลจำพวกหนึ่งมีศรัทธาน้อย มีทรัพย์น้อยไม่กาจทำกุศลให้มากได้ บุคคลจำพวกหนึ่งมีศรัทธามากมีทรัพย์น้อยไม่อาจทำกุศลให้มากได้ บุคคลจำพวกหนึ่งมีศรัทธามากมีทรัพย์มาก อาจกระทำกุศลให้มากได้

     

    พระราชปุจฉาที่ 7
    ข้อ 1 ว่าได้บำเพ็ญพระราชกุศลสิ่งใดไว้ จึงได้มาเสวยศิริราชสมบัติฉะนี้ แล้วไฉนจึงให้ได้เสวยปิยวิปโยคทุกข์เนือง ๆ
    ข้อ 2 ว่าด้วยทรงพระปริวิตกถึงสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง และพระพันปีหลวง และพระบรมราชประยุรวงศานุวงศ์ แลข้าทูลละอองธุลีพระบาท แลพระราชพาหนะทั้งปวงว่า ยังไม่สมควรที่จะล่วงลับไป ไฉนจึงล่วงลับไป
    ข้อ 3 ว่าได้ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลไว้เป็นอันมาก แลได้ทรงแผ่ส่วนพระราชกุศลนั้น แด่สมเด็จพระประยุรวงศานุวงศ์ มีสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเปนต้น ไฉนพระราชกุศลนั้น จึงไม่ช่วยป้องกันไว้ได้
    ข้อ 4 ว่าจะบำเพ็ญพระราชกุศลสิ่งใด จึงจะมีพระชนม์ยืนนาน แลพรักพร้อมด้วยพระราชโอรสราชธิดา แลพระประยุรวงศานุวงศ์ทั้งปวง

     

    แก้พระราชปุจฉาที่ 7 (ความย่อ)

    พระพิมลธรรม ถวายวิสัชนา (ความที่ 1)
                บรรดาสัตว์ที่ยังทรงชีวิตอยู่ ต้องมาปิยวิปโยคเศร้าโศกถึงผู้ตายนั้น เพราะคนได้กระทำอกุศลกรรม คือ ปาณาติบาตไว้แต่ชาติปางก่อน ครั้งกระทำกาลกิริยา ตายแล้ว ก็ไปบังเกิดในอบายภูมิทั้ง 4 ครั้นจุติจากอบายภูมิแล้วก็มาบังเกิดในมนุษยโลก เมื่อมาเกิดนั้นก็อาศัยกุศลเข้าอุปถัมภ์เป็นชนกกรรมทำให้เกิด ครั้นต่อมาผลวิบากนั้นยังไม่สิ้นเข้าเบียดตนให้ผลอีก จึงให้วิโยคพลัดพรากจากสัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก เมื่อบุคคลจะปฏิบัติให้ปราศจากวิปโยคทุกข์นั้น พึงรักษาศีลให้บริสุทธิ์
                อนึ่ง ที่ว่าผลแห่งกุศลที่ได้ทรงบำเพ็ญ และทรงอุทิศพระราชทานแก่ชนทั้งหลาย มิให้ผลเป็นทิฏฐะบ้างนั้น เพราะพระราชกุศลที่พระองค์ทรงบำเพ็ญ ก็มีผลานิสงส์เป็นเอนกอนันต์ คงจะให้ผลในอนาคตกาล จะจัดเป็นทิฏฐธรรมเวทนิยกรรม ให้ผลเห็นประจักษ์ในชาตินี้ไม่ได้ โดยจะต้องพร้อมด้วยสัมปทา 4 ประการ
                บุคคลที่เศร้าโศกร่ำไรถึงหมู่ญาติ ซึ่งดับสูญไปแล้วนั้น มีแต่ทำให้ร่างกายของตนเดือดร้อนอย่างเดียว ญาติที่ดับสูญไปนั้นจะกลับฟื้นคืนมาก็หามิได้

    พระธรรมเจดีย์ วัดจักรวรรดิราชาวาส ถวายวิสัชนา (ความที่ 2)
                ข้อ 1 การที่พระองค์ทรงประพฤติเป็นไปด้วยอำนาจบุญญาภินิหาร หากได้ทรงบำเพ็ญมาแต่เบื้องบุริมภพดังข้อความในนิธิกัณฑสูตรว่าบุญนิธิ ขุมทอง กล่าวคือบุญนี้ ย่อมสำเร็จความปราถนาแห่งเทพยดา และมนุษย์ทั้งปวง
                บุคคลจะได้เป็นอธิบดี คือได้ขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล คหบดีมหาศาล เป็นต้นก็ดี บุคคลซึ่งเป็นมนุษย์จะได้เสวยสมบัติทิพย์ในเทวโลกเป็นต้นก็ดี ย่อมได้ด้วยบุญนิธิ ใช่แต่เท่านั้นบุญนิธินี้ยังให้สำเร็จผลถึงโลกกุตรสมบัติ การที่พระองค์ได้มาเสวยสิริราชสมบัติดังนี้ ก็เพราะอำนาจกุศลราศีนี้ได้บำเพ็ญมาแต่ปางก่อน
                ข้อ 2 ซึ่งเป็นไปเช่นนั้น ด้วยอำนาจแห่งอกุศลกรรมของท่านที่มีมาแล้วแต่กาลก่อน มีกระทำปาณาติบาตกรรมเป็นต้น ผู้นั้นเมื่อเกิดมาเป็นมนุษย์ เศษบาปอันเป็นกรรม 4 ประการ อำนวยผลให้ได้ความลำบากเวทนา มีประการต่าง ๆ ไม่รู้แล้ว ให้ผลเป็นบุคคลมีอายุสั้นพลันตาย
                ส่วนผู้ที่มีอายุยืนนั้น ก็เพราะกุศลที่ตนรักษาศีลปาณาติบาต ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต มีเมตตากรุณาสัตว์ เห็นสัตว์ต้องภัยได้ทุกข์แล้ว ก็คิดอ่านปลดเปลื้องให้พ้นจากความตาย
                ข้อ 3  เพราะอำนาจอกุศลมาตาปิตุฆาตกรรมมีกำลังกล้า เป็นกรรมาวรณ์ป้องกันซึ่งกุศลทั้งปวง จะป่วยกล่าวไปไยถึงโลกียปุถุชนเล่า แม้พระมหาโมคคัลลานเถรเจ้าเป็นพระอริยบุคคลอันประเสริฐ โจร 500 ยังจับพระผู้เป็นเจ้าประหารให้แหลกได้ สมเด็จพระทศพลญาณยังไม่สามารถเอาพระพุทธานุภาพช่วยได้
                ข้อ 4  บพิตรพระราชสมภารและพระราชโอรสธิดา  พระประยูรวงศานุวงศ์ มีพระศรัทธาเชื่อลงในคุณแห่งพระรัตนตรัย  บำเพ็ญทานตั้งอยู่ในปัญจางคิกศีล และอัษฎางคิกศีลาจารวัตร ปฎิบัติเหมือนนางวิสาขามาแต่ปุริมชาติจึงจะมีพระชนม์ยืนนาน และพร้อมด้วยพระราชโอรสธิดา และพระประยูรวงศานุวงศ์
                พระวินัยมุนี  ถวายวิสัชนา (ความที่ 3)
                ปิยวิปโยคทุกข์นี้ ย่อมเกิดแต่ความรักเป็นเดิมเหตุ และข้อว่าทรงบำเพ็ญพระราชกุศล แล้วทรงอุทิศพระราชทานแก่สรรพสัตว์ทั้งปวง ไฉนบุญกุศลจึงมิได้ช่วยบำรุงสรรพสัตว์เหล่านั้น ให้นิราศจากอันตราย เพราะกุศลที่บุคคลอื่นกระทำจักให้ผลแก่บุคคลอื่นหามิได้ แม้สรรพสัตว์ทั้งหลายได้รับอนุโมทนาส่วนกุศลก็ดี แต่ปัตตานุโมทนาบุญกิริยาวัตถุนั้น มิได้บังเกิดในปฐมเชาวนะ จึงมิได้เป็นทิฏฐธรรมเวทนิยะ
                ผลที่ได้เสวยปิยวิปโยคทุกข์นั้น เพราะทำอกุศลกรรม 3 ประการ คือ  ปาณาติบาต  อทินนาทาน  และกาเมสุมิจฉาจาร  เมื่องดเว้นเสียได้ก็จะไม่เกิดวิโยคทุกข์

     

    พระราชปุจฉาที่ 8
    พระราชปรารถ เรื่องพระสงฆ์ไทยห่มผ้าอย่างมอญ

    แก้พระราชปุจฉาที่ 8

                พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อยังทรงผนวช ได้ทรงทำคำปฏิญาณถวายแด่ สมเด็จกรมพระปรมานุชิต ฯ ความว่า   ขอรับพระราชทานสารภาพโดยสัตย์จริงว่า แต่ก่อนเมื่อเป็นภิกษุหนุ่มแรกบวช กำลังตั้งหน้าแสวงหาความรู้วินัยสิกขา ไปคบหากับสงฆ์ พวกศึกษาคิดละเอียดไปต่าง ๆ ไป  ฟังพูดกันว่าห่มอย่างรามัญเห็นถูกต้องด้วยเหตุต่าง ๆ ก็พลอยเห็นไปด้วย  แต่ยังมิได้ห่มเอง ครั้นภายหลังพระสงฆ์อื่นห่มเข้าไปในวังมีรับสั่งถามเลย ฯ คิดดีใจไปว่าทรงพระกรุณา
    โปรดให้ถือตามชอบใจ  จึงพลอยทำด้วยต่อมาโดยรักไปข้างทางสิกขา  หาได้นึกถึงพระเกียรติยศ และการแผ่นดินไม่ ถ้านึกได้แต่ครั้งนั้น ก็เห็นจะมิได้ประพฤติมา ครั้นต่อมามีศิษย์หามากขึ้น ๆ  โดยอาศัยพระบารมีที่ทรงพระกรุณาชุบเลี้ยง จึงคิดเห็นว่า จะประพฤติห่มอย่างรามัญไม่สมควรแก่พระเกียรติยศ และประเพณีพระนคร จึงขอประพฤติตามพระราชประสงค์  เพื่อมิให้มีความรำคาญเคืองพระบรมราชอัธยาศัย อนึ่งจะได้สามัคคีกัน ในระหว่างพระเถระผู้ใหญ่ในเบื้องหน้า
                    สมเด็จพระสังฆราช  และพระราชาคณะผู้ใหญ่ผู้น้อย  ถวายวิสัชนาว่า
                แต่ก่อนสมเด็จพระมหากษัตริย์ ได้ทรงกระทำสักการบูชาพระศรีรัตนตรัยในวันวิสาขบูรณมี คือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6  เป็นวันวิสาขนักขัตฤกษ์มหายัญญ  พิธีบูชาใหญ่เป็นประจำตลอดมา เพราะถือว่ามีอานิสงส์มาก เนื่องจากเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ  ตรัสรู้  ปรินิพพาน  แต่พระราชพิธีนี้ขาดหายไปช้านานแล้ว  ถ้าจะได้ทรงกระทำสักการบูชาพระศรีรัตนตรัยในวันนั้นขึ้นใหม่  ก็จะได้รับผลอานิสงส์มาก
    อย่างที่ทรงพระราชประสงค์  ได้ทรงฟังก็ทรงเห็นชอบจึงได้ทรงกำหนดให้วันขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ แรม 1 ค่ำ เดือน 6  เป็นวันพิธีวิสาขบูชานักขัตฤกษ์ใหญ่ และให้กำหนดการพระราชพิธีขึ้นไว้โดยละเอียด

    • Update : 16/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch