หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    ประชุมพระราชปุจฉา 3
    พระราชปุจฉาในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา
    loading picture

    ว่าด้วยอัฏฐธรรมปัญหา

                    เมื่อปี พ.ศ. 2233  พระราชสมภารเจ้านิมนต์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ให้เฉลยปัญหาปฤษณาธรรม 8 ประการ ว่า
                    (1)  ทางใหญ่อย่าเที่ยวจร
                    (2)  ลูกอ่อนอย่าอุ้มรัด
                    (3)   หลวงเจ้าวัดอย่าให้อาหาร
                    (4)  ไม้โกงอย่าทำกงวาน
                    (5)  ช้างสารอย่าผูกกลางเมือง
                    (6)  ถ้าจะให้เปนลูกให้เอาไฟสุมต้น
                    (7)  ถ้าจะให้ล่มบรรทุกแต่เบา
                    (8)  ถ้าจะเรียนโหราให้ฆ่าอาจารย์ทั้ง 4 เสีย

    สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ถวายวิสัชนา (ความย่อ)

                    (1)  ทางใหญ่อย่าเที่ยวจร  หมายถึงทาง 2 ทาง คือ กามสุขัลลิกานุโยค ประกอบด้วยกามสุขในเบญจกามคุณทั้งหลาย 1    อัตตกิลลมถานุโยค ประกอบด้วยวัตรปฎิบัติ อันให้เกิดทุกข์ลำบากแก่ตน 1 ทั้งสองนี้นับเป็นทางใหญ่อย่าเที่ยวจรไป
                    (2)  ลูกอ่อนอย่าอุ้มรัด  หมายความว่า  ลูกอ่อนนั้นได้แก่วงศาคณาญาติ และอุ้มนั้นมี 2 อย่าง อุ้มแล้วรัดอย่างหนึ่ง อุ้มแต่มิให้รัดอย่างหนึ่ง อุ้มหมายความว่าอุปการอุดหนุน  แต่อย่าอุ้มรัด คืออุปการบำรุงด้วยตัณหาอุปาทาน ให้เปนแต่อุปการรักษาญาติวงศ์ทั้งหลาย แต่ตามประเพณีอันมีเมตตาจิต อย่าขัดให้ติดตัวด้วย สามารถละตัณหา อุปาทาน ดุจดังบุคคลอุ้มลูกอ่อน และมิได้รัดเข้าให้ติดตัวฉะนั้น
                    (3)  หลวงเจ้าวัดอย่าให้อาหาร  หมายความว่า  หลวงเจ้าวัดได้แก่จิต อันเป็นประธานเป็นใหญ่แก่เจตสิกทั้งปวง  เช่นเดียวกับหลวงเจ้าวัด อันเป็นประธานแก่ภิกษุลูกวัด ที่ว่าอย่าให้อาหารนั้นคือ  อย่าให้จิตยินดีต่ออาหารทั้ง 4 คือ กวรึการาหาร  ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร และวิญญาณาหาร เพราะว่าอาหารทั้ง 4 นี้ กอร์ปด้วยภัย 4 ประการ คือ นิกันติภัย อุปคมนภัย อุปปัตติภัย และปฎิสนธิภัย
                    (4)  ไม้โกงอย่าทำกงวาน  หมายความว่า  กงวานทั้งปวงเป็นอุปการแก่สำเภาให้แข็งแรงมั่นคง สำเภาที่ไม่มีกงวาน มิอาจทนทานกำลังระลอกในท้องทะเลได้ ก็จะอับปางลง มิอาจข้ามทะเลได้ กงวานนั้นให้เอาไม้ตรงทำอย่าเอาไม้โกงมาทำฉันใด พระโยคาวจร ผู้ปราถนาจะข้ามทะเลคือ สังสารวัฏ ให้ถึง นฤพาน ก็ฉันนั้น อย่าส้องเสพด้วยคนอันคดอันโกง อันเป็นอสัตบุรุษ ให้ส้องเสพด้วยคนอันซื่อตรง   เป็นสัตบุรุษจึงจะข้ามสงสารถึงนฤพานได้ตามปราถนา   อันว่ากัลยาณมิตร  อำมาตย์  ทาสกรรมกรนั้น   เปรียบด้วยกงวานสำเภา  จิตแห่งโยคาวจรนั้น   ดุจพานิชนายสำเภาแล
                    (5)  ช้างสารอย่าผูกกลางเมือง  หมายความว่า  ช้างทั้งหลายมิได้ยินดีจะอยู่ในเมือง   ย่อมยินดีจะอยู่แต่ในป่าอย่างเดียว ฉันใด   พระโยคาวจรผู้เจริญวิปัสสนากรรมฐาน ก็ฉันนั้น   มิได้ยินดีในสังขารธรรมทั้งปวง   แต่ยินดีอยู่ในนฤพานอันระงับกิเลสธรรมนี้ ให้เดือดร้อนกระวนกระวาย   ช้างสารคือพระโยคาวจรอย่าผูกนั้นคือ   นิพพิทานุปัสสนา   กลางเมืองนั้นคือสังขารธรรม
                    (6)  ถ้าจะให้เป็นลูกให้เอาไฟสุมต้น   หมายความว่า   ลูกนั้นได้แก่ผลทั้ง  4  คือ  โสดาปัตติผล   สกทาคามิผล   อนาคามิผล   และอรหัตตผล   ไฟนั้นได้แก่มรรคญาณทั้ง  4  คือ  โสดาปัตติมรรค   สกทาคามิมรรค  อนาคามิมรรค   และอรหัตตมรรค   ต้นนั้นคือกิเสสธรรมอันมีอวิชชาตัณหาเป็นมูล   พระโยคาวจรผู้ปราถนาผลทั้ง  4  นั้น  ให้ฟังเจริญวิปัสสนากรรมฐาน   เผาเสียซึ่งกิเลสธรรมอันเป็นสัญโยชน์อันเป็นมูลเสีย   ดุจเอาไฟสุมต้น  ฉะนั้น
                    (7)  ถ้าจะให้ล่มให้บรรทุกแต่เบา   หมายความว่าสำเภาอันบรรทุกสินค้าเบา   มีฝ้ายและผ้าแพรไหม  เป็นต้น  หาศิลากดท้องอันเป็นอับเฉามิได้นั้น   พอชักใบกระโดงขึ้นให้เต็มกำลัง   ครั้นลมแรงพัดต้องใบนั้น   สำเภาก็จะหกคว่ำลงฉันพลัน   ถ้ามีศิลาหรือของหนักเป็นอับเฉาแล้ว   สำเภานั้นก็มิได้ล่ม   และจะท่องเที่ยวไปมาอยู่ในท้องทะเลสิ้นกาลช้านาน อันพระโยคาวจรผู้ปราถนาจะให้ถึง อนุปาพิเสสนิพพานธาตุ   มิให้บังเกิดในวัฏสงสารสืบไปนั้น   พึงบรรทุกแต่ของเบา   คือกุศลธรรมทั้งหลายจึงจะพลันถึงนฤพาน   มิได้ท่องเที่ยวไปในวัฏสงสาร   ดุจสำเภาอันบรรทุกแต่เบาและพลันล่มลงฉะนั้น
                    (8)  ถ้าจะเรียนโหราให้ฆ่าอาจารย์ทั้ง 4 เสีย   หมายความว่รา  คัมภีร์ในโหรานั้น   ได้แก่วิชชา  3  คือ  ทิพพจักษุญาณ  บุพเพนิวาสญาณ  และอาสวักขยญาณ   อาจารย์ทั้ง  4  นั้นได้แก่  อุกศลธรรมทั้ง  4  คือ  โลภะ  โทสะ  โมหะ  และมานะ   พระโยคาวรผู้ปราถนาวิชชา  3  ประการนั้น   ก็พึงฆ่าอาจารย์คือ  อกุศลธรรมทั้ง  4  นั้นเสีย

    พระราชปุจฉาในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ
    พระราชปุจฉาที่ 1
    ว่าด้วยสังฆภัตร

    ความว่า ทายกแต่งจังหันไว้ในบ้านในเรือน แล้วถวายสังฆภัตร
    ถ้ามีสงฆ์มาแต่รูปเดียว จะได้สงฆ์รูปใดทำอุปโลกนกรรม และจังหันที่ทายกถวายแก่สงฆ์ ๆ
    ฉันเหลือแล้ว สงฆ์นั้นให้จังหันนั้นแก่ผู้ใด ๆ กิน ผู้นั้นจะเป็นโทษหรือไม่ ?

    แก้พระราชปุจฉาที่ 1 (ความย่อ)

    พระราชปุจฉาที่ 2
    ว่าด้วยการอุทิศเทวดาพลี

    ความว่า ญาติพี่น้องบำเพ็ญกุศลใด ๆ ในมนุษย์โลกนี้แล้วอุทิศส่วนบุญนั้น
    ไปให้แก่ญาติผู้เป็นเทวดา ญาติผู้เป็นเทวดาจะได้ส่วนบุญหรือมิได้ ? และส่วนบุญนั้นไปอยู่ที่ไหน ?

    แก้พระราชปุจฉาที่ 2 (ความย่อ)

                    สมเด็จพระสังฆราชและพระราชาคณะ   ถวายวิสัชนาว่า
                    เทวดาจำพวกใดได้อนุโมทนาส่วนบุญ   ซึ่งญาติอุทิศไปให้   ผลบุญนั้นก็เจริญแก่เทวดาผู้นั้น   เว้นไว้แต่พรหมโลก   เพราะพรหมโลกหน่วงเอาฌานเป็นอารมณ์   มิได้มีอารมณ์อื่น   ส่วนเทวดาจำพวกใด   มิได้โมทนาก็ไม่ได้   และผลบุญนั้นก็เจริญแก่ทายกผู้เป็นเจ้าของทานนั้นเอง
                    สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ถวายวิสัชนาว่า   ไม่พบบาลีในวินัยว่าให้ทำอุปโลกนกรรม
                    ภายหลังให้เชิญประชุม  พระราชาคณะ   และพระครู  6  รูป ปรึกษากัน   สมเด็จพระพิมลธรรมว่า   ถวายจังหันเป็นสังฆภัตร   แล้วว่าบาลีเป็นอุปโลกนกรรม   ในพระวินัยมิได้พบ   เห็นแต่ปรัมปราจารย์ทำสืบ  ๆ  กันมา   สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ว่า   ในวินัยบัญญติว่าทายกถวายสังฆภัตร   สงฆ์รับประเคนแล้วจึงยกขึ้นชี้บอกแก่พระมหาเถร ๆ  จึงให้สงฆ์แจกกัน   หากบุคคลจะเปรียบเทียบกระทำกันและจังหันที่ทายกถวายแก่สงฆ์   ครั้นสงฆ์แจกกันแล้วก็เป็นของส่วนบุคคล   ฉันเหลือแล้วให้แก่ผู้ใดกินหาโทษมิได้
                (ตอนท้ายสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์   ถวายวิสัชนาสังฆภัตร  14  อย่าง   และสมเด็จพระพิมลธรรมถวายวิสัชนา  สังฆภัตร  18  อย่าง)

    • Update : 16/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch