หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    ประชุมพระราชปุจฉา 2
    พระราชปุจฉาที่ 6
    ว่าด้วยความรู้ของพระโพธิสัตว์ในชาติก่อน

                ว่าพระโคดมบรมโพธิสัตว์ เมื่อเป็นพระเวสสันดรก็ดี พระเมตไตรยโพธิสัตว เมื่ออยู่ในดุสิตก็ดี หรือเมื่อจุติมาเกิดในมนุษย์ก็ดี จะรู้พระองค์ว่าจะได้ตรัสเปนพระพุทธเจ้าฤาไม่
                ศักราช 1037 เถาะศก  พระศรีศักดิ์ ฯ รับพระราชโองการสั่งให้เผดียงสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ว่า พระสมณโคดมก็ดี พระเมตไตรยโพธิสัตวก็ดี ทั้ง 2 พระองค์นี้ เมื่อชาติเป็นพระมหาเวสสันดรนั้นก็ดี ยังรู้ว่าพระองค์จะได้ตรัสเปนพระฤามิรู้
                อนึ่งพระเมตไตรยโพธิสัตว์เมื่ออยู่ในดุสิตนั้น ยังรู้ว่าพระองค์จะได้ตรัสเป็นพระฤามิรู้
                อนึ่งพระเมตไตรยโพธิสัตว์ได้ตรัสเปนพระนั้นยังช้านานไป  เมื่อจุติมาเกิดในมนุษย์นี้เล่า ยังจะรู้ว่าพระองค์จะได้ตรัสเป็นพระฤามิรู้

    แก้พระราชปุจฉาที่ 6

    พระราชปุจฉาที่ 7
    ว่าด้วยทศพลญาณ

    แก้พระราชปุจฉาที่ 7 (ความที่ 1)

    แก้พระราชปุจฉาที่ 7 (ความย่อ)

    พระราชปุจฉาที่ 8
    ว่าด้วยโพธิปักขิยธรรม

    แก้พระราชปุจฉาที่ 8 (ความที่ 1)

    แก้พระราชปุจฉาที่ 8 (ความย่อ)

    พระราชปุจฉาที่ 9
    ว่าด้วยเหตุที่พระพุทธศาสนา มาประดิษฐานในปัจจันตประเทศ

    แก้พระราชปุจฉาที่ 9 (ความที่ 1)

    แก้พระราชปุจฉาที่ 9 (ความที่ 2)

    พระราชปุจฉาที่ 10
    ว่าด้วยเหตุที่ห้ามมิให้บวชกะเทย

    ความว่า เหตุไรจึงห้ามมิให้บวชกระเทย ? และพระอรหันต์นั้น เหมือนคนกระเทยหรือไม่ ?

    แก้พระราชปุจฉาที่ 10 (ความย่อ)

                (สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ?) ถวายวิสัชนาความที่ 1 ว่า พระพุทธเจ้าห้ามมิให้บวชคนกระเทยนั้น เพราะเหตุคนกระเทยเป็นอภัพพบุคคล มิควรจะได้มรรคได้ผล เหตุมีกิเลสกล้า พระอรหันต์ต่างกันกับคนกระเทย เพราะคนกระเทยไม่มีของลับ และยังมีราคะ โทสะ โมหะ อวิชชา  ตัณหาและบาปธรรมทั้งปวง ส่วนพระอรหันต์นั้น ของลับยังคงมีอยู่ แต่ราคะ โทสะ โมหะ อวิชชา  ตัณหาและบาปธรรมทั้งปวงหามีไม่
                พระธรรมไตรโลก ถวายวิสัชนาความที่ 2 ว่า มนุษย์ทั้งปวงเปนไตรเหตุกปฎิสนธิก็มี เปนทุเหตุกปฎิสนธิก็มี ทั้งสองพวกนี้พระพุทธเจ้าอนุญาตให้บวชได้ ส่วนคนกระเทยนั้นเปนอเหตุกปฎิสนธิ พระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาตให้บวช และคนกระเทยนั้นยังมีราคะตัณหา มีความกำหนัดตามคดีโลก เหมือนมนุษย์ทั้งปวง ส่วนพระอรหันต์นั้นกิเลสราคะขาดหายไป จึงไม่เหมือนกัน
                    พระธรรมไตรโลก ขอถวายพระพรว่า สาสนาในมัชฌิมประเทศอันตรธานไป ด้วยพระมหากษัตริย์ อันเสวยราชสมบัติในมัชฌิมประเทศนั้น มิได้ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม 10 ประการ จึงประชาราษฎรทั้งปวง แตกฉานซ่านเซ็นออกไปประชุมในปัจจันตประเทศทั้ง 8 ทิศ  แลสงฆ์ทั้งปวงผู้ทรงไตรปิฎกเปนวาจุคต ย่อมอาศรัยซึ่งจตุปัจจัยแห่งทายกผู้ศรัทธา จึงจะค้ำชูสาสนาได้  เมื่อมัชฌิมประเทศร่วงโรย สงฆ์จึงไปประชุมในปัจจันตประเทศ เหตุจะอาศรัยทายกอันมีศรัทธา ในกาลขณะนั้น พระไตรปิฎกยังไม่มิยกขึ้นสู่ใบลาน แลขันธสันดานแห่งโยคาวจรผู้ทรงไตรปิฎกนั้น ประดุจดังหีบอันใส่พระไตรปิฎก แลโยควจรหมู่นั้น ครั้นไปตั้งในปัจจันตประเทศ ได้ชื่อว่าพาเอาพระไตรปิฎกทั้งปวง ไปประดิษฐานไว้ในปัจจันตประเทศ แลกุลบุตรทั้งปวง  ในปัจจันตประเทศนั้น ได้สิกขนาการพระไตรปิฎก แต่สำนักแห่งพระเถระทั้งปวงนั้น เปนปรัมปราภัตสืบ ๆ กันมา จึงพระสาสนารุ่งเรืองเปนอันมากในปัจจันตประเทศ แลมัชฌิมประเทศทั้งปวงจึงสูญไปด้วยประการดังนี้ ฯ
                อนึ่ง ซึ่งเนื้อความว่าโสฬสมหานครนั้น เมื่อพระศาสนาจะสูญนั้น พระไตรปิฎกทั้งปวงจะสูญไปแห่งใดสิ้น จึงหาผู้ใดจะร่ำเรียนมิได้ เนื้อความนี้ขอพระราชทานงดก่อน พิจารณาดูบาฬีในคัมภีร์ให้แม่นมั่น จึงจะหมายเข้ามาถวายขอถวาย แต่ตามอาตมภาพพิจารณาด้วยปัญญานี้พลาง
                เมื่อก่อนโสฬสมหานครนั้น  มีพระสงฆ์อันกอปด้วยอรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณ  ย่อมทรงพระไตรปิฎกขึ้นใจทุก ๆ  พระองค์  แลยังได้ไปเขียนพระไตรปิฎกใส่ไว้ในใบลาน  เหตุนั้น  กุลบุตรอันสืบมาภายหลังนี้บุญน้อย แลหาอุปนิสัยปัจจัยมิได้ แม้นถึงได้สดับฟัง เล่าเรียนในสำนักพระอาจารย์เจ้าก็ดี  มิอาจเพื่อจะทรงพระไตรปิฎกไว้ดุจพระอาจารย์เจ้านั้น  ครั้นพระอาจารย์เจ้านฤพานแล้ว  พระไตรปิฎกในโสฬสมหานครอันตรธานไปด้วย  คนทั้งหลายอันมีสมภาร จะถึงมรรคแลผลในโสฬสมหานครนั้น  พระพุทธเจ้าโปรดสิ้นแล้ว  เหตุนั้น  พระสาสนาจึงมิได้ตั้งอยู่ในโสฬสมหานคร บุคคลทั้งหลายผู้มีอุปนิสัยปัจจัยจะถึงมรรคผลนั้น ยังมีอยู่ในปัจจันตประเทศ  พระสาสนาจึงมาตั้งอยู่ในปัจจันตประเทศ  เพื่อจะสงเคราะห์ซึ่งคนผู้มีนิสัยปัจจัยอันเหลืออยู่  บุคคลผู้มีอุปนิสัยปัจจัย แลยินดีต่อพระสาสนาในที่อันใด  พระสาสนาจึงมิได้ตั้งอยู่ในที่อันนั้น  แลคนในโสฬสมหานครมิได้ยินดีในพระสาสนา  พระสาสนาจึงมิได้ตั้งอยู่ในโสฬสมหานคร  แลบุคคลทั้งหลายในปัจจันตประเทศนั้นยินดีต่อพระสาสนา  พระสาสนาจึงตั้งอยู่ในปัจจันตประเทศ  แลพระสาสนาในโสฬสนครจึงสูญสิ้นไป
                    ขอถวายให้ทราบพระญาณบารมี  สมเด็จบรมบพิตร ฯ
                สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ถวายวิสัชนาความที่ 1 กล่าวแก้ ยกบาลี บอกแต่จำนวนย่อ ๆ
                พระธรรมไตรโลก ถวายวิสัชนาความที่ 2  กล่าวแก้ ยกบลีแปลแจงจำนวนพิสดาร
                สัตตตีสโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ  "จตฺตาโร  สติปฏฺฐานา" คือสติปัฏฐานธรรม 4 ประการ
    "จตฺตาโร สมฺมปฺปธานา" คือสัมมัปปธานวิริยธรรม 4 ประการ"   "จตฺตาโร อิทฺธิปาทา" คืออิทธิบาทธรรม 4 ประการ     "ปญฺจินฺทฺริยานิ" คืออินทริยธรรม 4 ประการ        "ปญฺจพลานิ" คือผลธรรม 5 ประการ
    "สตฺตโพชฌงฺคานิ" คือโพชฌงค์ธรรม 7 ประการ        "อฏฺฐงฺคิกฺมคฺคานิ" คืออัฏฐังคิกอริยมรรค 8 ประการ ธรรมทั้งนี้นับเข้าด้วยกันเป็น 37 ชื่อสัตตตีสโพธิปักขิยธรรม จบเท่านี้ ฯ
                สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ถวายวิสัชนาความที่ 1 ตั้งบาลีแปลเป็นข้อ ๆ ไปจนจบ 10 ประการ
                พระธรรมไตรโลก  ถวายวิสัชนาความที่ 2 ตั้งบาลีแต่น้อย  และว่าเนื้อความมาก  แล้วตอนท้ายถวาย วิสัชนาว่าทศพลญาณนี้  รู้แต่กิจแห่งตัวเองแต่ละสิ่ง ๆ ส่วนสัพพัญฺญุตญานนั้น  รู้อารมณ์ทั้งปวงทั่วไป
                สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์  ขอถวายพระพร ฯ ด้วยเนื้อความทศพลญาณสูตร อันพระพุทธเจ้าตรัสเทศนา แก่พระสาริบุตรเถรนั้น เปนพิศดารกว้างขวาง แลอาตภาพถวายแต่โดยสังเขป ตามวารพระบาฬีว่า
                "ฐานญฺจ  ฐานโต อฐานญฺจ  อฐานโต  ยถาภูตํ  ปชานาติ" ฯ  "ตถาคโต"  อันว่าพระตถาคต  "ปชานาติ" ตรัสรู้  "ยถาภูตํ"  โดยอันมีแท้ "ฐานญฺจ"  ซึ่งธรรมอันเปนเหตุเปนปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลาย ฯ "ฐานโต"  โดยอันเปนเหตุเปนปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลาย  "ตถาคโต" อันว่าตถาคต  "ปชานาติ"  ตรัสรู้ "อฐานญฺจ"  ซึ่งธรรมอันมิได้เปนเหตุเปนปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลาย  "อฐานโต" โดยอันมิเปนเหตุเปนปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลาย  อันนี้ชื่อทศพลญาณเปนประถม ฯ
                "กมฺมสมาฑานานํ  ฐานโส  เหตุโส  วิปากํ  ยถาภูตํ  ปชานาติ" ฯ  "ตถาคโต" อันว่าพระตถาคต   "ปชานาติ"  ตรัสรู้  "ยถาภูตํ" โดยอันมีแท้ "วิปากํ" ซึ่งวิบาก  "กมฺมสมาทานานํ  แห่งกรรมอันบุทคลทั้งหลาย ถือเอาแล้วแลกระทำ  "ฐานโส เหตุโส" โดยฐานะแลโดยเหตุ  อันนี้ชื่อทศพลญาณเปนคำรบ 2 ฯ
                "สพฺพตฺถคามินีปฏิปทํ  ยถาภูตํ  ปชานาติ" ฯ  ตถาคโต  อันว่าพระตถาคต "ปชานาติ" ตรัสรู้  "ยถาภูตํ"  โดยอันมีแท้  "สพฺพตฺถคามินีปฏิปทํ" ซึ่งอันประฏิบัติอันมีปรกติ จะไปในในคติทั้งปวง มีทุคติแลสุคติเปนอาทิ  อันนี้ชื่อทศพลญาณเปนคำรบ 3 ฯ
                "อเนกธาตุ  นานาธาตุโลกํ  ยถาภูตํ  ปชานาติ" ฯ  "ตถาคโต"  อันว่าพระตถาคต  "ปชานาติ" ตรัสรู้ "ยถาภูต" โดยอันมีแท้  "อเนกธาตุ    นานาธาตุโลกํ"  ซึ่งขันธโลกอันมีธาตุต่างๆ  มีอาทิคือจักษุธาตุ  อันนี้ชื่อทศพลญาณเป็นคำรบ 4 ฯ
                 "สตฺตานํ  นานาธิมุตฺติกํ  ยถาภูตํ  ปชานาติ"  "ตถาคโต" อันว่าพระตถาคต  "ปชานาติ" ตรัสรู้  "ยถาภูตํ"  โดยอันมีแท้  "นานาธิมุตติกํ" ซึ่งอธิบายอธิมุตต่าง ๆ คือหีนาธิมุตแลปณีตาธิมุติ  "สตฺตานํ" แห่งสัตว์ทั้งหลาย  อันนี้ชื่อทศพลญาณเปนคำรบ 5 ฯ
                  "ปรสตฺตานํ  ปรปุคฺคลานํ  อินทริยปโรปริยตฺตํ  ยถาภูตํ  ปชานาติ"ฯ  "ตถาคโต" อันว่าพระตถาคต  "ปชานาติ" ตรัสรู้   "ยถาภูตํ"  โดยอันมีแท้   "อินทริยปโรปริยตฺตํ" ซึ่งสภาวะอันเจริญ   แลถอยแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย  มีอาทิคือศรัทธา  "ปรสตฺตานํ"  แห่งสัตว์ทั้งหลายหมู่อื่น   "ปรปุคฺคลานิ" แห่งบุคคลทั้งหลายหมู่อื่นจากกัน  อันชื่อทศพลญาณเป็นคำรบ 6 ฯ
                    "ฌานวิโมกฺขสมาธิสมาปตฺตีนํ  สงฺกิเลสโวทานวุฏฺฐานํ  ยถาภูตํ  ปชานาติ" ฯ   "ตถาคโต" อันว่าพระตถาคต  "ปชานาติ" ตรัสรู้  "ยถาภูตํ" โดยอันมีแท้  สงฺกิเลสโวทานวุฏฺฐานํ" ซึ่งสภาวะอันจะเสร้าหมอง แลอันบริสุทธิ์แลอันจะออก  "ญานวิโมกฺขสมาธิสมาปตฺตีนํ"  แห่งญาณทั้งหลาย 4 แลวิโมกข์ 8  แลสมาธิ 3  แลสมาบัติทั้งหลาย 9  วันนี้ชื่อทศพลญาณคำรบ 7  ฯ
                "อเนกวิหิตํ  ปุพฺเพนิวาสํ  อนุสฺสรติ" ฯ  "ตถาคโต" อันว่าพระตถาคต  "อนุสฺสรติ" รฤก  "ปุพฺเพนิวาส" ซึ่งขันธสันดานอันเปนที่อยู่แล้วแต่ในกาลก่อน  "อเนกวิหิตํ" อันมีประการเปนอันมาก อันนี้ชื่อทศพลญาณเปนคำรบ 8 ฯ
                "ทิพฺเพน  จกฺขุนา  วิสุทฺเธน  อติกกนฺตมานุสฺสเกน  สตฺเต  ยถากมฺมูปเค  ปชานาติ"  "ตถาคโต" อันว่าพระตถาคต  "ปชานาติ" ตรัสรู้  "สตฺเต" ซึ่งสัตว์ทั้งหลาย  "ยถากมฺมูปเค" อันควรแก่กรรม  "ทิพฺเพน  จกฺขุนา"  ด้วยทิพยจักษุ  "วิสุทฺเธน"  อันบริสุทธิ์  "อติกนฺตมานุสฺสเกน อันล่วงวิสัยแห่งมนุษย์ อันนี้ชื่อทศพลญาณเปนคำรบ 9 ฯ
                "อาสวานํ  ขยา อนาสวํ  เจโตวิมุตฺตึ  ปญฺญาวิมุตฺตึ  ทิฏเฐว  ธมฺเม  สยํ  อภิญฺญา  สจฺฉิกตฺวา  อุปฺปสมฺ ปชฺช  วิหรติ" ฯ
                "ตถาคโต" อันว่าพระคถาคต  "สยํอภิญฺญา ตรัสรู้ด้วยสยัมภูญาณอันอุดม  "สจฺฉิกตฺวา" กระทำให้แจ้ง  "ทิฏเฐว"ธมฺเม" ในอาตมภาพอันเห็นปรตยักษ์  เมาะว่าในปัจจุบันกาล
                "เจโตวิมุตฺตึ" ซึ่งอรหัตผล  "อนาสวํ  อันหาอาสวะมิได้  "ขยา" เหตุสิ้น  "อาสวานํ" แห่งอาสวะทั้งหลาย  อันนี้ชื่อทศพลญาณเปนคำรบ 10 ฯ
               ทศพลญาณ 10 ประการจบเท่านี้ ฯ
                สมเด็จพระโฆษาจารย์ถวายพระพรว่า
                ในโสทตฺตกีมหานิทานว่า พระสมณะโคดมเจ้า เมื่อเป็นพระบรมโพธิสัตว์นี้ มีจิตรยินดีในที่จะตรัสเป็นพระพุทธเจ้าในประนิธานทั้ง 3 ประการ เมื่อมโนประนิธานทั้ง 7  อสงขัยนั้น ก็รู้ว่าอาตมาจะตรัสเป็นพระพุทธเจ้าให้ได้ จึงเปล่งวาจาในประนิธานทั้ง 2 นี้ รู้แต่ว่าจะเปนพระพุทธเจ้าให้ได้สิ่งเดียวนั้น แลรู้ว่ายังช้านานสิ้นกาลเท่าใด จึงจะได้ตรัสเปนพระพุทธเจ้านั้นมิได้รู้
                อีกประการหนึ่ง จะรู้ว่าได้ตรัสเปนพระพุทธเจ้าในกัลปนั้น ๆ ก็ดี ก็มิได้รู้ ต่อเมื่อกายวจีประนิธาน แลได้ทำนายในสำนักพระพุทธเจ้าทั้งหลาย 24 พระองค์นั้น จึงรู้ว่าอาตมภาพได้ตรัสเปนพระพุทธเจ้า เมื่อสิ้นกัลปเท่านั้น ๆ ในภัทธกัลปนี้ ด้วยได้ฟังพุทธฎีกาตรัสทำนายนั้น จำเดิมแต่ได้ทำนายแล้วนั้น มิได้ลืมที่จะตรัสเปนพระพุทธเจ้า แม้นในชาดกทั้งปวงนั้นก็ดี ก็ยอมบำเพ็ญพระบารมีต่าง ๆ เพื่อจะตรัสเปนพระพุทธเจ้า แม้นบังเกิดในกำเนิดเปนเดียรฉาน ปานดุจเปนช้างฉัททันต์ แลให้งาเปนทานแก่โสณุดรนั้น ก็ปราถนาแก่สรรเพ็ชญดาญาณ แลพระโพธิสัตวเกิดในกำเนิดใด ๆ ก็ดี ย่อมรู้ว่าอาตมภาพจะเปนพระพุทธเจ้าทุก ๆ กำเนิด  แม้นเกิดในตระกูลมิจฉาทิฐินั้นก็ดี  แม้นได้คบหาด้วยปาปมิตรนั้นก็ดี แลได้เปนมิจฉาทิฐิแล้วก็ดี ก็ได้กระทำกรรมอันผิดตามตระกูลแห่งปาปมิตรนั้นแล้วก็ดี ครั้นเห็นโทษนั้นว่ามิชอบ ก็ย่อมกลับมาบำเพ็ญบารมีที่จะตรัสเปนพระพุทธเจ้านั้นดุจเดียว อันนี้เปนธรรมดาพระโพธิสัตวแล  เมื่อเกิดเปนพระเวสันดรนั้น สมภารบริบูรณ์ถ้วนกำหนดแล้ว พระปัญญาแก่แล้วก็ยินดีในโพธิปาริจริยธรรม เหตุดังนั้น จึงรู้ว่าพระองค์จะได้ตรัสเปนพระพุทธเจ้าเที่ยงแท้ ครั้นประสูติจากครรภ์ ก็ตรัสขอทรัพย์บำเพ็ญทาน เมื่อถึง 8 พระชัณษาทรงดำริจะให้อัชฌัติกทาน แลบริจาคพระราชทานวันละ 6 แสนทุกวัน แลช้างปัจจยนาคสัตตกมหาทาน แลบุตรบริจาคภริยาบิจาค นั้นก็ดี  เปนอันสละมิได้คิดกินแหนง เหตุรู้ว่าจะได้ตรัสแก่สรรเพ็ชญดาญาณเปนอันเที่ยงแท้ จึงตรัสพระราชโองการว่าสรรเพ็ชญดาญาณนี้ เปนที่รักแก่อาตมายิ่งบุตรทานนั้นได้ร้อยเท่า พันเท่า แสนเท่า
                ประการหนึ่ง เมื่อทรงพระดำริห์ว่า จะฆ่าพราหมณ์ให้ตายนั้น จึงทรงพระดำริห์ว่า อาตมานี้เปนภายใน พระโพธิสัตวเจ้าทั้งหลาย แล้วจะฆ่าพราหมณ์ให้ตายนั้นมิควร
                ประการหนึ่ง เมื่อขอพรคำรบ 8 ว่าอาตมานี้ ครั้นจุติจงไปบังเกิดในดุสิตสวรรค์ ครั้นลงมาจากดุสิดาสวรรค์ จงได้ตรัสเปนพระพุทธเจ้าเถิด มีพระราชโองการตรัสทั้งนี้ เหตุว่าพระองค์จะได้ตรัสเปนพระพุทธเจ้าจึงตรัสทั้งนี้
                ประการหนึ่ง พระเมตไตรยโพธิสัตว์ เมื่อจะลงมาสร้างสมภารในมนุษย์โลกนี้ ก็รู้ว่าพระองค์จะได้ตรัสเปนพระพุทธเจ้า ดุจพระสมณะโคดมนี้ดุจเดียว เหตุสมภารบริบูรณ์ 16 อสงไขยยิ่งแสนกัลป แล้วแลจะได้ตรัสในภัทธกกัลปนี้ แลชื่อว่าจิตรแห่งพระโพธิสัตวทั้งปวง ก็ย่อมผูกอยู่ในที่จะเอาสรรเพ็ชญดาญาณให้ได้ มิได้คิดถอยหลัง แม้นจะไหม้อยู่ในนรกสิ้น 4 อสงไขยยิ่งแสนกัลปก็ดี ก็จะเสวยทุกข์นั้นและจะเอาสรรเพ็ชญดาญาณให้ได้
                ประการหนึ่ง แม้มีผู้บอกว่า ผู้ใดจะเปนพระพุทธเจ้า ผู้นั้นเหยียบเท่ารึงก็ดีเหยียบถ่านเพลิงก็ดี เหยียบภูเขาอันสุกเปนเปลวก็ดี ลุยน้ำทองแดงดุจโลหกุมภีนรกนั้นก็ดี เหยียบกรวดอันลุกเปนเปลวก็ดี หนามก็ดี คมกรดก็ดี เต็มทั้งแสนโกฏิจักรวาฬนั้นไปได้ไซ้ ผู้นั้นจึงจะได้เปนพระพุทธเจ้า แลพระโพธิสัตว ก็มิได้กลัวทุกข์นั้น ก็จะเหยียบทั้งปวงนั้นไปให้ได้ จิตรพระโพธิสัตวทั้งปวง ก็ย่อมเปนอันมั่นคงดุจนี้ เหตุดังนี้ จึงมิได้ลืมในที่จะเปนพระพุทธเจ้านั้น แล ฯ

    • Update : 16/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch