หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    จอมทัพไทย
    จอมทัพไทย
     loading picture

    ชาติของเรา   เป็นไทยอยู่ได้   จนถึงตัวเราคนหนึ่งนี้   เพราะบรรพบุรุษของเรา
    เอาเลือด   เอาเนื้อ   เอาชีวิต   และความลำบากยากเข็ญเข้าแลกไว้

      โขลงช้างยังมีพญาสาร
      ครอบครองบริวารทั้งหลาย
      ฝูงโคขุนโคก็เป็นนาย มุ่งหมายนำพวกไปหากิน
      ฝูงหงส์มีเหมราชา สกุณามีขุนปักษิณ
      เทวายังมีสักรินทร์ เป็นปิ่นเทวัญชั้นฟ้า
      เผ่าชนจะตั้งเป็นคณะ
      จะต่างคิดเกะกะตามประสา
      จะอยู่ได้ดีกี่เวลา ดูน่าจะยับอับจน
      จำเป็นต้องมีหัวหน้า กะการบัญชาให้เป็นผล
      กองทัพบริบูรณ์ผู้คน ไม่มีจุมพลจะสู้ใคร
      (พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าพระเจ้าอยู่หัว)
              พระมหากษัตริย์ไทยทรงเป็นจอมทัพไทยมาทุกยุคทุกสมัย สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ที่ได้รวบรวมเผ่าไทย ตั้งขึ้นเป็นราชอาณาจักรไทย ณ ผืนแผ่นดินไทยแห่งนี้

       loading picture

             คำว่า พระมหากษัตริย์ หมายถึง นักรบผู้ยิ่งใหญ่ หรือจอมทัพ    เพราะในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ชาติที่เข้มแข็งเท่านั้น  จึงจะดำรงคงความเป็นชาติอยู่ได้ ชาติที่อ่อนแอ ก็จะตกไปเป็นผู้ที่อยู่ในครอบครองของชาติอื่น ความเข้มแข็งที่สำคัญยิ่ง คือความเข้มแข็งทางการทหาร ความเข้มแข็งในด้านอื่นๆ เป็นส่วนประกอบ ซึ่งก็จะขาดเสียมิได้ เนื่องจากการศึกมิได้ทำอยู่ตลอดไป ระยะเวลาว่างศึกมีอยู่มากกว่า ในห้วงเวลาดังกล่าว  ก็จะมีการสร้างเสริมความแข็งแกร่งในด้านต่าง ๆ เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของประเทศ และความอยู่ดีกินดีของอาณาประชาราษฎร์
              ชาติไทยเป็นชาติที่มีอารยธรรมสูงมาแต่โบราณกาล  ดังนั้น องค์ประกอบอันเป็นแบบฉบับ แสดงถึงความเป็นจอมทัพไทย  จึงมีอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ มีสัญญลักษณ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของไทย มีความสง่างาม สมพระเกียรติยศแห่งจอมทัพไทย

      ธงชัยราชกระบี่ยุทธ - ธงชัยพระครุฑพาห์

       loading picture

              ธงชัย    เป็นธงที่ใช้เนื่องในพระมหากษัตริย์  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงสถาปนาธงชัยกระบี่ธุช พระครุฑพ่าห์ขึ้น 2 ชุด มีลักษณะเป็นธงสามชาย ขนาดเล็ก 1 คู่ และขนาดใหญ่ 1 คู่ ที่คันธงของธงชัยทั้งคู่นี้ มีโลหะปิดทอง รูปกระบี่ และครุฑยุดนาคเป็นเครื่องประกอบ จึงเรียกว่า ธงชัยพระกระบี่ธุชพระครุฑพ่าห์ใหญ่ และ ธงชัยพระกระบี่ธุชพระครุฑพ่าห์น้อย

       loading picture

              ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2453 ได้ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้สร้าง ธงชัยพระราชกระบี่ยุทธ มีรูปวานรทรงเครื่องบนพื้นผ้าสีแดง และ ธงชัยพระครุฑพ่าห์ มีรูปครุฑสีแดงบนพื้นผ้าเหลือง เพิ่มขึ้นจากของเดิมดังกล่าวแล้ว  เนื่องจากได้มีการขุดพบแผ่นสำริดรูปกระบี่ 1 รูป รูปครุฑ 1 รูป ซึ่งเป็นธงชัยประจำพระมหากษัตริย์แต่โบราณ
              ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2472 ได้นำหลักประเพณีเดิมที่ปรากฎอยู่ใน โคลงพระราชพิธีทวาทศมาศ  มาใช้ในพระราชปฏิบัติระเบียบการเชิญธง โดยให้ธงพระกระบี่ธุชอยู่ทางซ้าย  ธงพระครุฑพ่าห์น้อยอยู่ทางขวา และเรียกว่า ธงชัยราชกระบี่ยุทธ และ ธงชัยพระครุฑพ่าห์
      คทาจอมพล
       loading picture

              คทาจอมพล เริ่มใช้ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายหลังที่ทรงปรับปรุงกิจการทหาร เป็นแบบสากล คทาจอมพลแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
              ประเภทที่ 1 เป็นคทาเครื่องต้นของมหากษัตริย์
              ประเภทที่ 2 เป็นคทาสำหรับพระบรมวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งดำรงพระยศเป็นจอมพล
              ประเภทที่ 3 เป็นพระคทาสำหรับผู้ที่ดำรงยศเป็นจอมพล โดยทั่วไปของทั้งสามเหล่าทัพ คือ กองทัพบก  กองทัพเรือ  และกองทัพอากาศ
              สำหรับคทาจอมพลซึ่งเป็นพระคทาเครื่องต้นของพระมหากษัตริย์มี  4 องค์  คือ  

      พระคทาองค์แรก
       loading picture  loading picture  loading picture

              ข้าราชการกรมทหารบกได้สร้างพระคทาจอมพลขึ้น ทูลเกล้า ฯ ถวายพราะบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ในฐานะองค์จอมทัพไทย เนื่องในพระราชพิธีทวีธาภิเษกสมโภช เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2446 ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
              พระคทาจอมพลองค์แรกนี้มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก  ยาว 35 เซนติเมตร ยอดคทาเป็นรูปหัวช้างสามเศียรลงยาสีขาว เหนือหัวช้างเป็นรูปพระเกี้ยว ตอนท้ายคทาเป็นรูปทรงกระบอกตัด องค์พระคทาทำด้วยทองคำ หนัก 40 บาท ใต้หัวช้างลงมาเป็นลายนูน รูปหม้อกลศ ซึ่งหมายถึง การทูลเกล้า ฯ ถวายเนื่องในพระราชพิธีทวีธาภิเษก พระคทาองค์นี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงใช้เป็นประจำตลอดรัชกาล

      พระคทาองค์ที่สอง
       loading picture  loading picture

              ข้าราชการกรมยุทธนาธิการได้จัดสร้างขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฐานะองค์จอมทัพไทย เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2453 พระคทาองค์ที่สองนี้ มีลักษณะส่วนใหญ่คล้ายคลึงกับพระคทาองค์แรกมาก ต่างกันที่ตรงยอดพระคทา ซึ่งเป็นมงกุฎและมีลายเฟื่อง อยู่ที่แถบกลางใต้ฐานของยอดมงกุฎโดยรอบเท่านั้น
      พระคทาองค์ที่สาม
       loading picture  loading picture

       loading picture  loading picture  loading picture

              ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้พระราชทานแบบคทาจอมพลขึ้นใหม่ ทำด้วยทองคำเกลี้ยง มีลักษณะป่องตรงกลางและคอดเรียวไปทางด้านยอดและด้านปลาย ยอดพระคทาทำเป็นรูป พระครุฑพ่าห์ ลงยาตามแบบพระราชลัญจกรประจำแผ่นดิน ใต้พระยาครุฑทำเป็นลูกแก้วรองฐานบัวหงาย  ลงยาราชาวดี ส่วนด้านปลายมีลูกแก้ว และยอดบัวกลุ่มสี่ชั้น  ลงยาราชาวดีเช่นกัน
              พระคทาจอมพลองค์นี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้มาตลอดรัชกาล ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงใช้พระคทาจอมพลองค์นี้สืบมา

      พระคทาองค์ที่สี่
       loading picture  loading picture

              นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ พระองค์ทรงใช้พระคทาจอมพลองค์ที่สาม ซึ่งนายกรัฐมนตรี และนายทหารชั้นผู้ใหญ่ของกระทรวงกลาโหม ได้ทูลเกล้า ฯ ถวาย  พร้อมเครื่องยศจอมพล เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พุทธศักราช 2493 ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เนื่องในวโรกาส ที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินนิวัตสู่ประเทศไทย
              ต่อมาในปีพุทธศักราช 2509 ข้าราชการกระทรวงกลาโหมเห็นว่า พระองค์ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ สำหรับประเทศชาติ ทั้งภายในและภายนอกประเทศอย่างมากมาย  ทำให้กิจการต่าง ๆ บรรลุผลสำเร็จลุล่วงเสมอ พระบารมีของพระองค์แผ่ไพศาล ก่อให้เกิดความสามัคคีกลมเกลียว และความสงบสุขในหมู่ประชาชน  สภากลาโหมจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พุทธศักราช 2509 ให้สร้างพระคทาจอมพลขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเก็บเงินเพื่อสร้างคทานี้จากนายทหารชั้นนายพลประจำการทุกนาย และในวันที่ 2 ธันวาคม พุทธศักราช 2509 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมพร้อมด้วยนายทหารชั้นผู้ใหญ่  ได้ทูลเกล้า ฯ ถวายพระคทาจอมพลองค์นี้แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เนื่องในวโรกาสที่พระองค์ทรงมีพระชนมายุ 40 พรรษา เพื่อเป็นเครื่องหมายแห่งความจงรักภักดีของข้าราชการทหารทุกนาย และได้ขอพระบรมราชานุญาต ขนานนามพระคทาองค์ใหม่นี้เป็นพิเศษว่า พระคทาจอมทัพภูมิพล

       loading picture

              พระคทาองค์ที่สี่ มีลักษณะทั่วไปเหมือนพระคทาองค์ที่สาม องค์พระคทาทำด้วยทองคำหนัก 430 กรัม แกนกลางป่อง เรียวไปทางยอดและปลาย ประกอบด้วยเครื่องหมายมงคลแปด ด้านยอดคงมีพระครุฑพ่าห์ลงยา  และลูกแก้วรองฐานบัวหงาย ลงยาราชาวดี ด้านปลายมีลูกแก้วและยอดบัวกลุ่มสี่ชั้น ลงยาราชาวดี เช่นเดียวกันกับพระคทาองค์ที่สาม ส่วนที่ต่างกันคือ เหนือพระยาครุฑมีพระปรมาภิไธยย่อ "ภปร" ฝังเพชรอยู่ในกรอบรูปไข่ และมีรูปพระมหาพิชัยมงกุฎทองฝังเพชร อยู่เบื้องบนตอนปลายพระคทา ต่อจากเครื่องหมายมงคลแปด มีเครื่องหมายกระทรวงกลาโหม

       loading picture  loading picture

              พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสตอบในการเสด็จพระราชดำเนินออกรับ พระคทาจอมทัพภูมิพล มีข้อความบางตอนดังนี้
              ...ข้าพเจ้ายินดีรับไว้ด้วยความเต็มใจ และจะถือว่าคทาจอมทัพ เป็นเสมือนเครื่องหมายแห่งความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของกองทัพทั้งสาม
              อิสสระภาพ ความมั่นคง  ตลอดจนความเจริญรุ่งเรืองของประเทศเรา  ขึ้นอยู่กับกิจการทหารเป็นสำคัญตลอดมาทุกยุคทุกสมัย เพราะเมืองไทยนี้เป็นเมืองทหาร คนไทยทุกคนมีเลือดทหารเป็นนักต่อสู้ ผู้รักและหวงแหนความเป็นไทยยิ่งด้วยชีวิต...
              ทหารมีหน้าที่ป้องกันรักษาประเทศ หน้าที่นี้นอกจากในด้านการรบแล้ว ยังมีด้านอื่นที่สำคัญเท่าเทียมกันอยู่อีกคือ การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประชาชน ต้องสงเคราะห์อนุเคราะห์ประชาชนด้วยการให้ความคุ้มครองป้องกัน และช่วยเหลือในความเป็นอยู่ ตลอดถึงการแนะนำสนับสนุนในการครองชีพด้วย...
              ... ขอท่านทั้งหลายจงร่วมมือร่วมใจกัน ทำหน้าที่ของทหารให้สมบูรณ์ทุกด้าน มีความพรักพร้อมเป็นใจเดียวกัน ประกอบกรณียกิจเพื่อความมั่นคงเจริญรุ่งเรืองของประเทศ และความร่มเย็นเป็นสุขของประชาราษฎรไทยทุกคน...

      สายยงยศจอมทัพไทย

       loading picture

              สายยงยศเป็นเครื่องหมายแสดงฐานะพิเศษเฉพาะบางฐานะของผู้ประดับที่เป็นทหาร ซึ่งไม่เป็นสาธารณแก่ทหารทั่วไป เช่นสายยงยศของนายทหารฝ่ายเสนาธิการ และสายยงยศของราชองครักษ์ เป็นต้น
              สำหรับสายยงยศจอมทัพไทย เป็นสายยงยศเฉพาะองค์พระมหากษัตริย์ซึ่งทรงเป็นองค์ "จอมทัพไทย" สายยงยศนี้แตกต่างจากสายยงยศราชองครักษ์ ด้วยมีสายไหมหรือสายไหมทองถักรวบสายยงยศคู่หน้า เมื่อประดับบนฉลองพระองค์เครื่องแบบทหาร  ถมที่ถักรวบดังกล่าวนี้ จะอยู่ในแนวกระเป๋าของฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารระดับพระอุระเบื้องขวา
       loading picture

              กระบวนพยุหยาตราเลียบพระนคร คือ กระบวนพระเกียรติยศแห่งจอมทัพไทยในสมัยโบราณ ที่ยิ่งด้วยพระบรมเดชานุภาพแห่งนักรบผู้ยิ่งใหญ่อันได้เฉลิมพระนาม      "สมเด็จพระมหากษัตราธิราช" สืบสันติวงศ์เป็นองค์พระประมุขของประเทศ
              หลังพระราชพิธีบรมราชาภิเศก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพยุหยาตราสถลมารค 1 วัน และ ชลมารค 1 วัน ซึ่งเรียกว่า เสด็จพระราชดำเนินพยุหยาตราเลียบพระนคร เพื่อให้อาณาประชาราษฎรได้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทแสดงความจงรักภักดี
              การเสด็จพระราชดำเนินโดย ขบวนพยุหยาตราใหญ่ และ กระบวนพยุหยาตราน้อย มีทั้งที่เป็นขบวนพยุหยาตราสถลมารค และ ชลมารค
              กระบวนพยุหยาตราสถลมารค  4  กระบวน ประกอบด้วยกระบวนพยุหยาตราใหญ่สถลมารค กระบวนพยุหยาตราน้อยสถลมารค กระบวนราบใหญ่ และ กระบวนราบน้อย
              กระบวนพยุหยาตราชลมารค 5 กระบวน ประกอบด้วยกระบวนพยุหยาตราชลมารคใหญ่ กระบวนพยุหยาตราน้อยชลมารค  กระบวนราบใหญ่ทางเรือ  กระบวนราบน้อยทางเรือ  และกระบวนราบย่อ

      กระบวนพยุหยาตราสถลมารค
       loading picture

              ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้จัดเป็นกระบวนราบใหญ่ ทรงประทับที่นั่งราชยานพุดตานทอง เสด็จพระราชดำเนินจากเกยหน้าพระทวารเทเวศน์รักษา พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ไปประกาศพระองค์เป็น พุทธศาสนูปถัมภก ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และถวายบังคมพระบรมรูปพระบุรพมหากษัตราธิราชเจ้าแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ณ ปราสาทพระเทพบิดร
              ในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนม์พรรษาครบ 3 รอบ  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จโดยกระบวนพยุหยาตราใหญ่สถลมารค ตามแบบโบราณราชประเพณี เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พุทธศักราช 2506

      กระบวนพยุหยาตราชลมารค
       loading picture

              ในปีพุทธศักราช 2503 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ได้โปรดเกล้า ฯ ให้จัดพระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราชลมารค เพื่อนำผ้าพระกฐินไปถวาย ณ วัดอรุณราชวรารามมหาวิหาร  เป็นครั้งแรก
              ในการพระราชพิธีสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2525 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนิน โดยขบวนพยุหยาตราใหญ่ชลมารค ไปทรงบวงสรวงสมเด็จพระบูรพมหากษัตราธิราชเจ้า ได้มีการแก้ไขปรับปรุง รูปแบบริ้วขบวนเรือใหม่ มีลักษณะงามสง่าดุจดาวล้อมเดือน

      พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา

       loading picture

              พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา หรือพระราชพิธีศรีสัจจปาลกาล เป็นพระราชพิธีใหญ่สำหรับแผ่นดินมาแต่โบราณกาล และได้ยกเลิกไปเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี พ.ศ. 2475 ต่อมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งพระราชพิธีนี้ขึ้นอีก เมื่อวันที่ 24 และ 25 มีนาคม พุทธศักราช 2512 ผู้ที่ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาในพระราชพิธีครั้งนี้ เฉพาะผู้ที่เป็นสมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดีเท่านั้น และเรียกว่า พระราชพิธีพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ซึ่งเป็นการผนวกการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี กับถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา  เข้าด้วยกัน
      loading picture
              พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา เป็นพระราชพิธีที่รวมทั้ง พิธีทางพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ ลำดับการพระราชพิธีเป็นดังนี้
               - ทำน้ำพระพุทธมนต์                              
               - ทำน้ำพระพุทธมนต์ให้เป็นน้ำพระพิพัฒน์สัตยา (น้ำชำระพระแสง)
               - ดื่มน้ำพระพิพัฒน์สัตยา และสาบานตน
              ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประกอบการพระราชพิธีนี้ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
              น้ำชำระพระแสงนี้แต่เดิม พระมหากษัตริย์มิได้ทรงเสวย ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้เชิญขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวายเพื่อเสวยก่อน แล้วจึงได้แจกน้ำชำระพระแสงในหม้อเงินทั้งปวง ถวายพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการดื่ม
      พระราชพิธีพระราชทานเครื่องราชอิสสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี
       loading picture  loading picture

                พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปยัง พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พุทธศักราช 2512
                เสด็จพระราชดำเนินไปยังพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดธูปเทียนบูชา พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระพุทธรูปฉลองพระองค์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระพุทธรูปฉลองพระองค์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงจุดธูปเทียน เครื่องนมัสการบูชาพระรัตนตรัย  ทรงศีล พระราชครูวามเทพมุนี ฯ อ่านโองการแช่งน้ำ แล้วเชิญพระแสงศรและพระแสงราชศัตราวุธชุบในน้ำพระพิพัฒน์สัตยา พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์สัจจคาถา
               เมื่อสิ้นสุดเสียงประโคมแล้ว สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์รามาธิบดีอาวุโส กล่าวนำถวายคำสัตย์ปฏิญาณสาบานตน ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฯ ทั้งหมดว่าตาม มีความว่าดังนี้
                "ขอพระราชทานกระทำสัตย์ปฏิญาณสาบานตน ต่อประเทศชาติ และประชาชนชาวไทย เฉพาะพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เฉพาะพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรว่า จะภักดีต่อชาติบ้านเมือง จะซื่อสัตย์ต่อประชาชนและหน้าที่"

        ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดีในรัชกาลปัจจุบัน

        ผู้ที่ได้รับพระราชทานก่อน พ.ศ. 2512
        ชั้นที่ 1    เสนางคะบดี         
        1. จอมพล  สฤษดิ์  ธนะรัชต์                  เมื่อ 20 กรกฎาคม 2505
        2. จอมพล  ถนอม  กิตติขจร                   เมื่อ 10 พฤษภาคม 2508
        ชั้นที่ 2    มหาโยธิน    
        1. จอมพล  ประภาส  จารุเสถียร            เมื่อ  10 พฤษภาคม  2508
        2. พลเอก  จิตติ  นาวีเสถียร                     เมื่อ 10 พฤษภาคม 2508
        3. พลอากาศเอก  ทวี  จุลละทรัพย์         เมื่อ  10 พฤษภาคม  2508
        ชั้น 3    โยธิน   
        ยังไม่มีผู้ใด้รับ
        ชั้น 4    อัศวิน   
        พันตรี ยุทธนา  แย้มพันธุ์                          เมื่อ  5 ตุลาคม 2511
        ชั้น 5    เหรียญรามมาลาเข็มกล้ากลางสมร   
        ร้อยเอก  วิชัย  ขันติรัตน์                             เมื่อ  5 ตุลาคม 2511

        ผู้ที่ได้รับพระราชทาน เมื่อ พ.ศ. 2512
        ชั้น 1- ชั้น 3   
        ไม่มีผู้ได้รับ
        ชั้น 4    อัศวิน  
        พันตำรวจตรี กฤช  สังขทรัพย์                    เมื่อ  25 มีนาคม  2512
        ชั้น 5    เหรียญรามาลาเข็มกล้ากลางสมร  
        ร้อยตำรวจโท วินิจ  รัญเสวะ                       เมื่อ 25 มีนาคม  2512
        ชั้น 6    เหรียญรามมาลา  
        1. ร้อยเอก นฤนาท  ไตรภูวนาท                  เมื่อ 25 มีนาคม 2512
        2. ร้อยตำรวจเอก พิเชษฎ  เกษบุรมย์          เมื่อ  25 มีนาคม 2512



    • Update : 16/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch