หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    นกในประเทศไทย 3
    นกกางเขน
    เป็นนกกินแมลง ขนาดเล็ก ยาวประมาณ 25 เซนติเมตร ส่วนบนลำตัวสีดำ ส่วนล่างตั้งแต่หน้าอกลงไปสีขาวหม่น ปีกมีลายพาดสีขาว ใต้หางสีขาว ตัวเมียสีชัดกว่าตัวผู้ ส่วนที่เป็นสีดำในตัวผู้ จะเป็นสีเทาแก่ในตัวเมีย
    มักอยู่เป็นคู่หรือกลุ่มเล็ก ๆ หากินแมลงตามพุ่มไม้ เรือกสวน ไร่นา บางทีก็โฉบจับแมลงกลางอากาศ มักแผ่หางกระดกขึ้นลง ร้องเสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ ฟังไพเราะ ทำรังตามโพรงไม้ที่ไม่สูงนัก วางไข่ครั้งละ 3-6 ฟอง ผลัดกันกกไข่  ฟักไข่นานประมาณ 12 วัน อายุ 15 วัน เริ่มหัดบิน
    เป็นนกที่หวงถิ่นที่อยู่มาก พบทั่วไปในทุกภาคแม้ในเมืองใหญ่ ๆ
    นกกางเขนในไทย มี 2 ชนิด คือ
    นกกางเขนบ้าน และนกกางเขนดง แตกต่างกันที่ขนาด และสีเล็กน้อย โดยทั่วไปมักเรียกนกกางเขนบ้านว่า นกกางเขน

    นกกา
    เป็นนกขนาดกลาง ยาวประมาณ 50 เซนติเมตร สีดำตลอดตัว ปากและขาแข็งแรง กินอาหารทุกชนิด เป็นนกที่ฉลาดมาก ฝึกให้เลียนเสียงคนได้ แต่ไม่ได้มากนัก ชอบขโมยลูกนก หรือไข่นกอื่น เป็นอาหาร และแม้แต่ลูกเป็ด ลูกไก่
    ทำรังตามต้นไม้สูง ๆ วางไข่ปีละครั้ง ๆ ละ 3-5 ฟอง ตัวเมียกกไข่ประมาณ 18 วัน ตัวผู้หาอาหารมาเลี้ยง ลูกนกหัดบินได้เมื่อ อายุ 3-4 สัปดาห์
    พบทั่วทุกภาค ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน คือตั้งแต่กลางเมืองใหญ่ จนถึงกลางป่าเขา

    นกกาน้อย
    คล้ายนกกา แต่เล็กกว่า ขนสีดำ นิสัยดุร้าย การสร้างรังและวางไข่ ในลักษณะเดียวกับนกกา วางไข่ครั้งละ 2-3 ฟอง ฟักไข่นาน 18 วัน ในประเทศไทยมีนกกาน้อย อยู่ 2 ชนิด คือ
    นกกาน้อยหงอนยาว    ยาวประมาณ 25 เซนติเมตร ตาสีน้ำตาลแดง เมื่อยังเล็กขนด้านบนลำตัวและคอสีน้ำตาล ขนหัวปีกเป็นจุดต่าง ๆ สีน้ำตาลแดง ลำตัวด้านล่างสีเทาแก่ มีบั้งแคบ ๆ สีขาว กลางท้องขาว หงอนสั้น เมื่อโตเต็มที่แล้วขนจะเปลี่ยนเป็นสีดำทั้งตัว ยกเว้นขนข้างคอทั้งสองข้างจะเป็นสีขาว ขนหงอนยาวตั้งตรง อยู่รวมเป็นฝูงในป่าดงดิบ พบเฉพาะภาคใต้
    นกกาน้อยแถบปีกขาว    ยาวประมาณ 40 เซนติเมตร ครึ่งหนึ่งเป็นความยาวของหาง ตาสีแดง ขนสีดำตลอดตัว ยกเว้นส่วนกลาง ของปีกมีแถบสีขาวตามยาว เมื่อยังเล็กไม่มีหงอน เมื่อโตเต็มที่จะมีหงอนสั้น ๆ อาศัยอยู่ตามป่าทึบทางภาคใต้

    นกกาน้ำ
    เป็นนกน้ำจำพวกหนึ่ง ยาวประมาณ 50-90 เซนติเมตร ปากสีดำยาวตรง ปลายปากบนแบนงองุ้ม ขอบปากบนและล่างหยักคล้ายฟัน คอยาว กล้ามเนื้อที่หัวและคอแข็งเรง ทำให้งับเหยื่อได้แน่น ขนดำเป็นมัน ปีกสั้น หางกลมมน ตีนมีพังผืดเหมือนตีนเป็ด ช่วยในการว่ายและดำน้ำ ดำน้ำได้ลึก บินและดำน้ำได้คล่องแคล่วกว่าการเดินบนบก มีปีกแข็งแรง สามารถบินไป หากินได้เป็นระยะไกลทุกวัน บางครั้งอาจไกลถึง 100 กิโลเมตร โดยกระพือปีกอย่างช้า ๆ เมื่อบินเป็นฝูงจะเกาะกลุ่มเป็นรูปหัวลูกศร การหากินแต่ละวันใช้เวลาสั้น ๆ ประมาณครึ่งชั่วโมง เวลาจากนั้นใช้ในการพักผ่อน ผึ่งแดด ตบแต่งขน
    เป็นนกที่ว่ายน้ำอยู่ได้นาน ถ้าดำน้ำในทะเลจะกลืนหินเข้าไปช่วยเพิ่มน้ำหนัก มีเยื่อหุ้มตาช่วยป้องกันตาขณะลืมตาในน้ำ เมื่อขึ้นจากน้ำแล้วจะพักย่อยอาหาร และถ่ายกากอาหารออกเพื่อให้น้ำหนักตัวลดลงก่อนบินกลับรัง ส่วนใหญ่ทำรังอยู่บนต้นไม้เป็น กลุ่ม ๆ วางไข่ครั้งละ 3-6 ฟอง ใช้เวลาฟักประมาณ 28 วัน
    ในประเทศไทย มีนกกาน้ำอยู่ 3 ชนิด คือ
    นกกาน้ำใหญ่    ตัวยาวประมาณ 90 เซนติเมตร ตัวผู้หนัก 2.3 กิโลกรัม ตัวเมียหนัก 1.9 กิโลกรัม ปากสีน้ำตาลอมเหลือง ตาสีฟ้า  หน้าสีเหลือง ขนที่ท้ายทอยเป็นสันแหลม มีถุงคออยู่ระหว่างโคนปากกับคอหอย ด้านหน้าสีเหลือง ด้านหลังสีเทา ลำตัวสีดำอมน้ำตาล ในฤดูร้อนขนบริเวณลำตัวเหนือโคนขาจะมีแต้มสีขาว
    นกนี้จะออกจับปลาเป็นฝูงเล็ก ๆ ตามแม่น้ำ หนองน้ำ และชายฝั่งทะเล ดำน้ำได้ลึกถึง 3 เมตร ดำได้นาน 45 วินาที วางไข่ครั้ง ละ 3-4 ฟอง ช่วยกันกกไข่ ฟักไข่ประมาณ 25 วัน ลูกนกหัดบินเมื่ออายุได้ 35 วัน
    พบทางภาคใต้ ภาคกลางตอนล่าง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
    นกกาน้ำเล็ก    ตัวยาวประมาณ 50 เซนติเมตร เป็นนกกาน้ำที่มีขนาดเล็กที่สุดของไทย ตัวสีดำสนิท นอกจากในฤดูร้อนขนที่หัว จะสีขาว หรือสีน้ำตาลแซมเล็กน้อย ในฤดูหนาวขนที่หัวจะเปลี่ยนเป็นสีดำ และขนบริเวณคอเปลี่ยนเป็นสีขาว
    นกชนิดนี้มักอยู่เป็นคู่ หรือกลุ่มเล็ก ๆ วางไข่ครั้งละ 3-5 ฟอง ผลัดกันกกไข่ ใช้เวลาฟักประมาณ 25 วัน
    พบทั่วทุกภาค ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
    นกกาน้ำปากยาว    ตัวยาวประมาณ 60 เซนติเมตร ปากและหัวแคบ และยาวเรียวกว่านกกาน้ำชนิดอื่น ในฤดูร้อนขนบริเวณ หลังตาจะมีแต้มสีขาว เห็นได้ชัด ส่วนในฤดูหนาวถุงคอจะเป็นสีเหลือง
    นกชนิดนี้มักหากินตามลำพังตามซอกหลืบหิน มักไม่ทิ้งกัน ขณะบินจะยืดหัวและคอเป็นแนวตรงคล้ายหงส์ และห่าน ทำรังบน พื้นดิน วางไข่ครั้งละ 3-6 ฟอง ใช้เวลาฟักประมาณ 28 วัน
    พบเฉพาะตามชายฝั่งทะเล ปัจจุบันหาได้ยาก

    นกกาบบัว
    เป็นนกขนาดใหญ่ ตัวยาวประมาณ 1 เมตร ปากสีเหลือง หนา ยาว ปลายแหลมโค้ง หน้า หัว และคอ เป็นหนังสีแดงอมส้ม ไม่มีขน ลำคอสีขาว ที่หน้าอกมีแถบสีดำพาดขวาง ขนบริเวณหลังสีขาว ช่วงท้ายลำตัวตอนบน มีขนสีชมพูเหมือนสีกลีบบัวขึ้นแซง อยู่ ปีกสีดำกระขาวสลับขาว ขอบปีกสีดำ ขาสีชมพู
    หากินเป็นฝูงเล็ก ๆ ตามชายฝั่งแม่น้ำหรือหนองน้ำ การหาเหยื่อจะยืนนิ่งกางปีก ก้มตัว อ้าปาก แช่อยู่ในน้ำ อาจแช่ลึกถึงระดับตา เมื่อเหยื่อว่ายน้ำผ่านมาก็จะงับทันที
    ฤดูผสมพันธุ์อยู่ระหว่างเดือนกันยายน ถึงพฤศจิกายน จะจับคู่ และช่วยกันสร้างรัง มักทำรังบนยอดไม้ วางไข่ครั้งละ 2 - 3 ฟอง ผลัดกันกกไข่ ใช้เวลาฟักประมาณ 29 วัน ลูกนกหัดบินเมื่ออายุ 6-7 เดือน ขนจะเปลี่ยนสี เหมือนพ่อแม่นก เมื่อายุประมาณ 1 ปี
    พบมากทางภาคกลาง และภาคใต้ตอนล่าง พบได้ยากตามธรรมชาติ

    นกกาฝาก
    เป็นนกขนาดเล็ก ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร ปากค่อนข้างสั้น โค้งลง ขอบปากเป็นหยักคล้ายฟันเลื่อย ลิ้นเป็นแฉก ขอบลิ้นม้วนจนเกือบเป็นท่อ ช่วยในการดูดน้ำหวานจากดอกไม้
    ตัวผู้มักมีสีสดใสหลายสี เช่น แดง เหลือง น้ำเงิน ส่วนตัวเมีย มีสีเดียวตลอด คือเขียว หรือเหลืองอมน้ำตาล ด้านล่างลำตัวสีจางกว่า
    มักอยู่ตามลำพังหรือเป็นคู่ แต่บางชนิดก็อยู่เป็นฝูง วางไข่ครั้งละ 1-5 ฟอง ใช้เวลาฟัก 10-15 วัน
    นกชนิดนี้ช่วยในการผสมเกษรดอกไม้หลายชนิด และเป็นตัวนำการแพร่พันธุ์ของกาฝาก ในประเทศไทย มีนกกาฝาก อยู่ 9 ชนิด คือ
        นกกาฝากอกแดง นกกาฝากคอเหลือง นกกาฝากอกสีเลือดหมู นกกาฝากท้องสีส้ม   พบเฉพาะทางภาคใต้
        นกกาฝากปากหนา    พบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้
        นากาฝากก้นเหลือง    พบทั่วทุกภาค
        นกกาฝากท้องสีเหลือง    พบเฉพาะเขตภูเขาสูงทางภาคเหนือ เป็นนกอพยพ
        นกกาฝากสีเรียบ    พบทางภาคกลาง และภาคเหนือ
        นกกาฝากอกเพลิง   พบทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ระดับสูงตั้งแต่ 800 เมตร
      จากระดับน้ำทะเลขึ้นไป

    นกกาแวน
    ตัวยาวประมาณ 30 เซนติเมตร เฉพาะหางยาวประมาณ 20 เซนติเมตร สีดำตลอดตัว ปากค่อนข้างหนาคล้ายอีกา หนังส่วนหน้าที่ติดกับโคนปาก คล้ายกำมะหยี่สีดำ ม่านตาสีฟ้าสด ปลายหางยาวมน  คล้ายนกแซงแซว
    อาศัยอยู่ตามป่าละเมาะ ป่าไผ่ สวน มักบินหลบอยู่ตามพุ่มไม้ ทำรังบนต้นไม้ ระหว่างเดือนมีนาคม ถึงมิถุนายน วางไข่ครั้งละ 3 ฟอง ระยะฟักประมาณ 2 สัปดาห์
    พบทั่วทุกภาคของประเทศไทย

    นกกาฮัง
    เป็นนกขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์นกเงือกของไทย ตัวยาวประมาณ 130 เซนติเมตร ลำตัวและหางสีดำ คอสีขาว ปากใหญ่ยาว โค้ง หนา ปลายแหลม บนหัวมีโหนกแข็งสีเหลืองขนาดใหญ่ ที่ปีกมีแถบสีขาวพาดขวาง หางยาวสีขาวมีแถบดำพาดขวาง ตัวผู้ตัวเมีย มีลักษณะแตกต่างกันเล็กน้อย
    อยู่รวมเป็นฝูงเล็ก ๆ ตามป่าดงดิบที่มีต้นไม้สูง ๆ ในพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,500-1,700 เมตร ในฤดูผสมพันธุ์จะอยู่ เป็นคู่ ๆ เสียงร้องดังมาก เวลาบินจะกระพือปีกและร่อนสลับกันไป ผสมพันธุ์ระหว่าง ฤดูหนาวถึงฤดูร้อน วางไข่ตามโพรงไม้ สูงจากพื้นดิน 20-25 เมตร และมักใช้ที่เดิม ตัวเมียกกไข่ ตัวผู้หาอาหารมาให้ วางไข่ครั้งละ 1 - 2 ฟอง ใช้เวลาฟักประมาณ 30 วัน
    พบทุกภาค ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
    นกกิ้งโครง
    ตัวยาวตั้งแต่ 15-30 เซนติเมตร อ้วนป้อม หางสั้น ขาแข็งแรง อยู่รวมกันเป็นฝูง บางชนิดเช่น กิ้งโครงคอดำ สามารถเลียนเสียงคน และเสียงอื่น ๆ  ได้
    รังเป็นแบบปิดเข้าออกทางเดียว บางชนิดทำรังในโพรงไม้ วางไข่ครั้งละ 2-6 ฟอง ใช้เวลาฟักประมาณ 16 วัน ลูกนกออกจากรังเมื่ออายุได้ประมาณ 3 สัปดาห์
    ในประเทศไทย มีนกกิ้งโครงอยู่ 6 ชนิด คือ
    นกกิ้งโครงแกลบกระหม่อมดำ นกกิ้งโครงแกลบปีกขาว นกกิ้งโครงแกลบหัวเทา  ตัวยาวประมาณ 15 เซนติเมตร อยู่ตามป่าโปร่ง ป่าละเมาะ และสวน พบทุกภาค เว้นภาคใต้ตอนล่าง ส่วนนกกิ้งโครงแกลบหัวเทา เว้นภาคเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือ
    นกกิ้งโครงคอดำ  ตัวยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ปลายปาก วงรอบคอ ลำตัว และปีกสีดำ หัว อก ท้องสีขาว และแถบเล็ก ๆ ที่ปีกสีขาว
    อยู่ตามพื้นที่เกษตรกรรม ตามสวน ตั้งแต่ความสูงระดับน้ำทะเลถึงความสูง 1,500 เมตร จากระดับน้ำทะเล
    พบแทบทุกภาค เว้นภาคใต้ตอนล่าง
    นกกิ้งโครงหัวสีนวล  ตัวยาวประมาณ 25 เซนติเมตร ปลายปากสีแดง หัวสีขาว อกและท้องสีม่วงอ่อน ลำตัวและปีก ด้านหลังสีเทามีจุดขาว
    อยู่ตามพื้นที่เกษตรกรรม ทุ่งหญ้า พุ่มไม้เล็ก  ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลถึงความสูง 1,200 เมตร
    พบทุกภาค เว้นภาคใต้ตอนล่าง
    นกกิ้งโครงปีกลายจุด  ตัวยาวประมาณ 20 เซนติเมตร ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะต่างกันเล็กน้อย
    พบทางภาคตะวันตก แถบจังหวัดตาก

    • Update : 16/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch