หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    นกในประเทศไทย 2
    นกกระสานวล
    เป็นนกยางขนาดใหญ่ ยาวประมาณ 1 เมตร ปากยาวสีเหลือง ปลายแหลมตรง ตาสีเหลือง กลางกระหม่อมสีขาว ด้านข้างสีดำ ข้างกระหม่อมมีเปีย 2-3 เส้น ห้อยไปที่ท้ายทอย ที่ฐานคอมีพู่ขนสีขาวห้อยอยู่ ท้อง โคนขา หัว ปีกและก้น สีขาว ท้องส่วนที่ติดกับโคนขาด้านใน และหัวไหล่สีดำ ปีกและหางสีเทา
    มักจับคู่และอยู่รวมกันเป็นฝูง ทำรังบนต้นไม้หรือกอไม้น้ำ หากินตามชายน้ำ แม่น้ำ ลำคลอง ในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้จะบินนำ ไปยังถิ่นที่เคยผสมพันธุ์ ตัวที่ไปถึงก่อนจะเลือกรังเก่าที่มีอยู่แล้ว ถ้าไม่มีจึงสร้างใหม่ เมื่อได้รังแล้วตัวผู้จะส่งเสียงร้องติดต่อกัน เพื่อเรียกตัวเมีย
    โดยทำอาการย่อขา งอคอ ให้ปากตั้งฉากกับหลัง แล้วค่อย ๆ ยืดคอตั้งตรง พร้อมกับส่งเสียงและขบปากให้กระทบกัน จนตัวเมียได้ยินและบินเข้ามาที่รัง วางไข่ครั้งละ 3-5 ฟอง ทั้งคู่ผลัดกันกกไข่นานประมาณ 30 วัน เมื่อลูกนกอายุประมาณ 21 วัน จะเกิดการแย่งที่อยู่กัน ตัวที่อ่อนแอจะถูกเบียดตกจากรังตาย ดังนั้น ในรังหนึ่ง ๆ จะมีลูกนกเหลือรอดอยู่เพียง 3 ตัว ลูกนกหัดบินเมื่ออายุประมาณ 30 วัน ทิ้งรังเมื่ออายุ 1.5-2 ปี อายุนก 18-24 ปี
    พบทุกภาค ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง

    นกกระสาใหญ่
    เป็นนกยางขนาดใหญ่ ยาวประมาณ 1.15 เมตร ปากยาวสีเทา ปลายแหลมตรง ใต้จงอยปากล่างสีขาว ตาสีเหลือง บริเวณท้ายทอยมีขนสั้น ๆ สีขาวปนเทาประมาณ 10 เส้น เป็นพู่ชี้ไปข้างหลัง เมื่อตกใจหรือเข้าต่อสู้กัน พู่นี้จะพองขึ้น คอยาวสีน้ำตาล ด้านหน้ามีพู่ขนสีน้ำตาลห้อยระย้าลงมา เกือบถึงอก ลำตัวตอนบนและปีกสีเทาอมน้ำตาล บริเวณหลังมีขนนุ่มบาง สีขาวปกคลุมพลิ้วอยู่บริเวณหลัง ลำตัวตอนล่างสีน้ำตาล ขาสั้น ใหญ่ แข็งแรง สีเทา หางสั้นสีเทา
    นกชนิดนี้อยู่ตามลำพังหรืออยู่เป็นคู่ หากินบริเวณน้ำตื้นตามชายฝั่งทะเลหรือแม่น้ำที่มีพืชน้ำอยู่ เช่น ป่าชายเลน บริเวณปากแม่น้ำ กินปลา สัตว์น้ำขนาดเล็ก กบ เขียด ทั้งคู่ช่วยกันสร้างรัง วางไข่ตรั้งละ 3-5 ฟอง ผลัดกันกกไข่ประมาณ 55 วัน ลูกนกอายุประมาณ 35 วัน จึงเริ่มหัดบิน และจะออกหากินเองได้เมื่ออายุประมาณ 2 เดือน
    พบตามชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก และภาคใต้ ปัจจุบันมีจำนวนน้อยมาก

    นกกวัก
    เป็นนกขนาดกลาง ตัวป้อม ยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ปากเหลือง โคนปากแดง หน้าผาก คอ อก และท้อง สีขาว ด้านบนลำตัวสีดำ ด้านข้างที่โคนขาสีเทา กับสีน้ำตาล ขาและนิ้วยาวสีเหลือง
    ชอบหากินตัวเดียวตามหนองน้ำที่มีพรรณไม้น้ำลอยอยู่ สามารถวิ่งไปบนไม้น้ำได้อย่างรวดเร็ว มักออกหากินตอนพลบค่ำ หรือเช้าตรู่ ส่งเสียงร้องดังกวัก กวัก ขณะเดินลำตัวจะขนานกับพื้น และจะกระดกหางไปด้วย บินไม่ได้ดี แต่ว่ายน้ำเก่ง ขณะบินขาจะห้อยลง
    ทำรังในบริเวณพงพืชน้ำที่รกทึบ วางไข่ครั้งละ 4-7 ฟอง ผลัดกันกกไข่ประมาณ 20 วัน พบทั่วทุกภาค


    นกกะปูด
    เป็นนกขนาดกลาง ลำตัวเพรียว ยาวประมาณ 35.50 เซนติเมตร ปากสีดำแหลมสั้น หนา แข็งแรง ตาสีแดง หัว คอ และลำตัวสีดำ ปีกสั้นสีน้ำตาลแดง ขายาวสีดำ นิ้วตีนและเล็บยาว แข็งแรง สามารถจับเหยื่อเกาะเหนียว ไต่แทรกไปตามพงหญ้า ต้นไม้ หรือ พุ่มไม้หนาทึบได้อย่างคล่องแคล่ว หางยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร หนังหนาเหนียวสีดำ
    ออกหากินอยู่ตามพื้นดินในเวลาเช้าตรู่ หรือใกล้พลบค่ำ เคลื่อนที่ด้วยการเดินและวิ่ง บินได้ในระยะสั้น ๆ และไม่สูงนัก วางไข่ครั้งละ 2-5 ฟอง ใช้เวลาฟักประมาณ 15 วัน
    นกกะปูดในไทย มี 2 ชนิด คือ
    นกกะปูดใหญ่ ยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ใต้ปีกสีดำ หางยาวประมาณ 25 เซนติเมตร พบทุกภาค เว้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
    นกกะปูดเล็ก ยาวประมาณ 35 เซนติเมตร ใต้ปีกสีน้ำตาลแดง มีลายกระสีขาวเป็นทางยาวตลอดลำตัว หางยาวประมาณ 15 เซนติเมตร พบทุกภาค เว้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก

    นกกะรางทองแก้มขาว
    เป็นนกสวยงาม ตัวยาวประมาณ 18 เซนติเมตร หัวสีดำ บริเวณแก้มและหูสีเทาแกมขาว ใต้คางและคอตัวผู้เป็นสีส้ม ตัวเมียสีเหลือง ยอดอกสีเทาอมเหลือง ท้องสีเหลืองอ่อน หลังและหัวปีกสีเทา กลางปีกสีอิฐ ปลายปีกสีเทาขอบบนสีเหลือง หางด้านบนสีเทา ด้านล่างสีเทาอ่อน บริเวณก้นตัวผู้สีส้มอมน้ำตาล ตัวเมียสีเหลือง
    อยู่รวมเป็นฝูงตามที่สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,200 เมตร ขึ้นไป


    นกกะรางคอดำ
    เป็นนกขนาดกลาง ยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ลำตัวอ้วนป้อม ปากสีดำ หนาสั้น ปลายแหลม ตาสีแดง หน้าผากและคอสีดำ เหนือหน้าผาก มีขนขาวเรียงเป็นแถวในแนวขวาง ข้างลำตัวมีแถบขาว จากใต้คอมีแถบสีดำ พาดจากใต้คอถึงอก หัวตอนบนถึงท้ายทอย และอกสีเทาอ่อน ลำตัว ท้อง ปีกและหาง สีนำตาล หางยาวประมาณครึ่งหนึ่งของลำตัว
    มักอยู่เป็นฝูง หากินตามพุ่มไหรือพื้นดิน ร้องเสียงดังมาก และมักร้องพร้อม ๆ กัน บางครั้งสามารถเลียนเสียงคนได้ ทำรัง เป็นรูปถ้วยอยู่ตามพุ่มไม้ วางไข่ครั้งละ 3 ฟอง ผลัดกันกกไข่ประมาณ 14 วัน
    พบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก และบางส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ



    นกกะรางหัวขวาน
    เป็นนกขนาดกลาง ยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ปากสีดำยาวโค้ง หงอนสีส้มปลายสีดำ ลำตัวสีน้ำตาลอมเหลือง มีลายสีดำ สลับน้ำตาลอ่อน ตามขวางลำตัว
    หากินตามที่โล่ง ขณะเดินจะส่ายหัวไปมา พร้อมกับใช้ปากแทงไปในร่อง หรือรูบนพื้นดินซ้ำ ๆ เพื่อจิกกินเหยื่อ ร้องเสียงดัง ฮู โป โป ทำรังในซอกไม้ โพรงไม้ วางไข่ครั้งละ 5-6 ฟอง ตัวเมียกกไข่ ตัวผู้หาอาหารมาให้ ใช้เวลาฟักประมาณ 18 วัน
    อยู่รวมเป็นฝูง อยู่ตามทุ่งนาที่พอมีต้นไม้อยู่บ้าง พบทั่วทุกภาค


    นกกะรางหัวหงอก
    คล้ายนกกะรางคอดำ แต่ลำตัวเรียวกว่า ยาวประมาณ 30 เซนติเมตร หงอน คางและอกสีขาว ลำตัวและหางสีน้ำตาล มีแถบดำพาดจากโคนปากและตา มายังด้านข้างลำคอ
    อยู่รวมเป็นฝูง ส่งเสียงร้องรับกันดังมาก เป็นสัญญาณเตือนภัยให้สัตว์ป่าอื่น ๆ อาศัยอยู่ตามพุ่มไม้ ป่าไผ่ หากินบนพื้นดิน รังและการวางไข่เหมือนนกกะรางคอดำ
    พบทั่วทุกภาค เว้นภาคใต้



    นกกะลิง
    เป็นนกปากงุ้มเป็นขอชนิดหนึ่ง ยาวประมาณ 50 เซนติเมตร หางยาวเท่ากับลำตัวโดยประมาณ ปากบนสีแดงปลายเหลือง ปากล่างสีเหลือง ตาสีดำ หัวสีเทาแก่ ที่คอมีแถบดำใหญ่ พาดจากใต้คางไปตามหลัง แถบจะเรียวเล็กลงจนเหลือเป็นเส้นเล็ก ๆ ที่ท้ายทอย ต้นคอใต้เส้นดำเป็นสีฟ้า ใต้ปีกสีน้ำเงินอมเขียว หางตอนบนสีฟ้าแก่อมเขียวปลายเหลือง ตอนล่างสีเหลือง ตัวผู้มีแต้มสีแดงเข้มที่หัวปีกด้านข้าง และแถบดำที่คอใหญ่กว่าตัวเมีย
    อยู่เป็นฝูงที่ระดับสูง 600-1,200 จากระดับน้ำทะเล ทำรังตามโพรงไม้ วางไข่ครั้งละ 2-5 ฟอง ระหว่าง ม.ค.-เม.ย. ใช้เวลาประมาณ 24 วัน
    พบมากทางภาคเหนือ

     


    • Update : 16/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch