|
|
ธนบัตรเงินกระดาษของไทย 5
ธนบัตรแบบที่ ๘
- หลังสงครามโลกครั้งที่สอง บริษัท โทมัสเดอลารู เสียหายจากภัยสงคราม ประเทศไทยจึงติดต่อขอพิมพ์ธนบัตรจากสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วย ธนบัตรชนิดราคา ๑ บาท ๒๕๐ ล้านฉบับ ๕ บาท ๓๐ ล้านฉบับ ๑๐ บาท ๑๐ ล้านฉบับ ๒๐ บาท ๕ ล้านฉบับ และชนิดราคา ๑๐๐ บาท จำนวน ๔ ล้านฉบับ สหรัฐอเมริกาเคยทำเหรียญทองแดงชนิดราคา ๑ สตางค์ ให้รัฐบาลไทย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๑ จำนวน ๑๐ ล้านเหรียญ และในปี พ.ศ.๒๔๖๒ อีก ๑๐ ล้านเหรียญ โรงพิมพ์ธนบัตรของสหรัฐฯ ได้จ้างบริษัททิวดอร์เป็นผู้จัดพิมพ์ธนบัตรให้ไทย มีอยู่ ๕ ชนิดราคาด้วยกัน คือ
- ชนิดราคา ๑ บาท ออกใช้เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๙ ด้านหน้าภาพพระปฐมเจดีย์ นครปฐม ด้านหลังมีภาพรัฐธรรมนูญบนพานแว่นฟ้า ด้านหน้าโดยทั่วไปเป็นสีน้ำเงิน ด้านหลังเป็นสีน้ำตาลพิมพ์ทับบนพื้นสีชมพูอ่อน
- ชนิดราคา ๕ บาท มีลักษณะและสีเช่นเดียวกับชนิดราคา ๑ บาท
- ชนิดราคา ๑๐ บาท มีลักษณะและสีเช่นเดียวกับชนิดราคา ๑ บาท
- ชนิดราคา ๒๐ บาท มีลักษณะและสีเช่นเดียวกับชนิดราคา ๑ บาท ยกเว้นด้านหลังรัฐธรรมนูญและพานแว่นฟ้า บรรจุอยู่ในวงรูปไข่ มีสายเถาวัลย์และสายริ้วคลื่น
- ชนิดราคา ๑๐๐ บาท มีลักษณะและสีเช่นเดียวกับชนิดราคา ๒๐ บาท
- ธนบัตรแบบที่ ๙
|
|
- ในปี พ.ศ.๒๔๙๐ ไทยได้ให้บริษัท โทมัส เดอลารู พิมพ์ธนบัตรอีก เพราะการพิมพ์ที่สหรัฐมีผู้ทำปลอมมาก ได้สั่งพิมพ์ธนบัตร ชนิดราคา ๑ บาท ๕ บาท ๑๐ บาท ๒๐ บาท และ ๑๐๐ บาท และยังมีธนบัตรชนิด ๕๐ สตางค์ ซึ่งไทยได้สั่งพิมพ์ไว้ก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง อีกจำนวนหนึ่ง แต่ทางบริษัท โทมัส เดอลารูได้ให้สาขาของตนที่ย่างกุ้งประเทศพม่าพิมพ์ธนบัตรชนิดราคา ๑ , ๕ , ๑๐ และ ๒๐ บาท เกิดการรั่วไหล และผ่ายไทยพิจารณาเห็นความไม่เหมาะสมอีกหลายประการ จึงได้ให้บริษัทพิมพ์เฉพาะธนบัตรชนิดราคา ๑ บาท ที่ย่างกุ้ง นอกนั้นให้พิมพ์ที่อังกฤษ มีรายละเอียด ดังนี้
- ชนิดราคา ๕๐ สตางค์ ออกใช้เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๙๑ ด้านหน้ามีภาพรัฐธรรมนูญบนพานแว่นฟ้า ด้านหลังมีภาพพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ สีโดยทั่วไปเป็นสีเขียว
- ชนิดราคา ๑ บาท มีอยู่ ๕ รุ่น ออกใช้เมื่อไป พ.ศ.๒๔๙๒ , ๒๔๙๕ , ๒๔๙๗ , ๒๔๙๘ และ พ.ศ.๒๕๐๐ ด้านหน้ามีภาพพระสมุทรเจดีย์ ด้านหลังมีภาพพระที่นั่งอนันตสมาคม สีโดยทั่วไปเป็นสีน้ำเงิน ด้านหน้าพิพม์ทับด้วยสีตองอ่อน
- ชนิดราคา ๕ บาท มีอยู่ ๕ รูป ออกใช ้เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๑ , ๒๔๙๒ , ๒๔๙๙ (๒ รุ่น) และ พ.ศ.๒๕๐๐ ด้านหน้ามีภาพพระปฐมเจดีย์ ด้านหลังมีภาพพระที่นั่งอนันตสมาคม สีโดยทั่วไปเป็นสีม่วงดำ ด้านหน้าพิมพ์ทับด้วยสีนวลอ่อน
- ชนิดราคา ๑๐ บาท มีอยู่ ๕ รุ่น ออกใช ้เมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๙๑ , ๒๔๙๒ , ๒๔๙๖ , ๒๔๙๘ และ พ.ศ.๒๕๐๐ ด้านหน้ามีภาพป้อมมหากาฬ ด้านหลังมีภาพพระที่นั่งอนันตสมาคม สีโดยทั่วไปเป็นสีน้ำตาลอ่อน
- ชนิดราคา ๒๐ บาท มีอยู่ ๕ รุ่น ออกใช้ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๑ , ๒๔๙๓ , ๒๔๙๖ , ๒๔๙๙ และ พ.ศ.๒๕๐๐ ด้านหน้ามีภาพพระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย และพระที่นั่งจักรีมหาประสาท ในพระบรมมหาราชวัง ด้านหลังมีรูปพระที่นั่งอนันตสมาคม สีโดยทั่วไปเป็นสีเขียวใบไม้แก่ ด้านหน้าตอนกลางเป็นสีแสดอ่อนเป็นพื้น
- ชนิดราคา ๑๐๐ บาท มีอยู่ ๔ รุ่น ออกใช้ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๑ , ๒๔๙๘ (๒ รุ่น) และ พ.ศ.๒๕๐๒ ด้านหน้ามีภาพอุโบสถวัดอรุณราชวราราม ด้านหลังมีภาพพระที่นั่งอนันตสมาคม สีโดยทั่วไปเป็นสีแดง
- ธนบัตรแบบที่ ๑๐
- ในต้นปี พ.ศ.๒๕๑๐ มีการปลอมแปลงธนบัตร ชนิดราคา ๑๐๐ บาทมาก กระทรวงการคลังจึงได้เปลี่ยนแบบธนบัตรชนิดนี้เสียใหม่ เมื่อ ปี พ.ศ.๒๕๑๑ ลักษณะด้านหน้าผิดแผกไปจากรูปแบบที่เคยทำมาแต่เดิมอยู่มากกล่าว คือ พระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเปลี่ยนมาอยู่ทางซ้าย ไม่มีภาพปูชนียสถานอยู่ด้านหน้า แต่เปลี่ยนเป็นลวดลายไทยผสมกับลายเส้นโค้ง และไม่มีกรอบภาพแนวตรง ด้านหลังมีภาพเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์สีแดงบนพื้นน้ำสีฟ้า สีโดยทั่วไปออกสีแดงอมน้ำเงิน
|
Update : 15/5/2554
|
|