|
|
ธนบัตรเงินกระดาษของไทย 4
ธนบัตรแบบที่ ๗
- เป็นธนบัตรที่พิมพ์ในประเทศไทย พระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นแบบพระพักตร์ตรง คุณภาพการพิมพ์ไม่ดีเท่าที่ควร สีธนบัตรก็ได้ไม่มาตรฐานตรงกับที่ได้ประกาศไว้ ด้านหลังมีภาพพระที่นั่งอนันตสมาคมมีอยู่ ๔ ชนิด ราคาด้วยกันคือ
- ชนิดราคา ๑ บาท มีรุ่นเดียว ออกใช้เมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๘๘ ด้านหน้ามีภาพพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ สีโดยทั่วไปเป็นสีน้ำเงิน
- ชนิดราคา ๕ บาท มีอยู่ ๒ รุ่น ออกใช้เมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๘๘ ทั้งสองรุ่น ด้านหน้ามีภาพพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม พิมพ์พื้นธนบัตรด้วยสีม่วง ธนบัตรรุ่นนี้มิได้นำออกใช้ เนื่องจากมีขนาดใหญ่ ความขาดแคลนกระดาษ ทำให้ต้องออกรุ่นที่ ๒ ซึ่งมีขนาดเล็กลง
- ชนิดราคา ๑๐ บาท มีอยู่ ๒ รุ่น ออกใช้เมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๘๘ ทั้งสองรุ่น ด้านหน้ามีภาพป้อมมหากาฬ พิมพ์พื้นธนบัตรด้วยสีน้ำตาลอ่อน
- ชนิดราคา ๕๐ บาท มีรุ่นเดียว ออกใช้เมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๘๘ ด้านหน้ามีภาพพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม พื้นพิมพ์ด้วยสีเหลืองแก่ ภาพทั่วไปเป็นสีม่วงแดง พิมพ์ที่โรงพิมพ์แห่งหนึ่งแถวท่าน้ำราชวงศ์ คุณภาพไม่ได้มาตรฐาน ทั้งกระดาษที่ใช้พิมพ์และสีที่พิมพ์
ธนบัตรแบบพิเศษ
|
|
|
|
|
- เป็นธนบัตรที่พิมพ์ในประเทศและที่พิมพ์จากต่างประเทศผสมกัน ออกใช้ในห้วงปีพ.ศ.๒๔๘๕ ถึง พ.ศ.๒๔๘๙ มีอยู่ ๔ ชนิด ราคาด้วยกัน คือ
- ชนิดราคา ๑ บาท มีอยู่๒ ชนิด ออกใช้เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๕ และ พ.ศ.๒๔๘๙
- ชนิดแรก ด้านหน้ามีภาพดอกจันสีแดงอยู่ในวงกลมขาว ด้านหลังมีภาพ พระที่นั่งอนันตสมาคม พิมพ์ด้วยสีน้ำเงิน
พิมพ์ที่กรมแผนที่ทหารบก ใช้กระดาษจากโรงงานกระดาษไทย กาญจนบุรี เนื่องจากแบบของธนบัตร และการพิมพ์ไม่น่าดู คนทั่วไปจึงเรียกธนบัตรชนิดนี้ว่า แบงค์กงเต้ก ซึ่งเป็นธนบัตรที่ทำขึ้นอย่างหยาบๆ ใช้ในพิธีกงเต้กอุทิศส่วนกุศลให้แก่ ผู้วายชนม์ตามประเพณีของชาวจีน
- ชนิดที่สอง ด้านหน้ามีอักษรภาษาอังกฤษพิมพ์ตัวโตอยู่กลางแผ่นธนบัตรว่า ONE BAHT ทับอยู่บนลายเฟื่อง
ไม่มีภาพพระบรมฉายาลักษณ์ เช่นแบบอื่น ๆ ด้านหลังมีเลขอารบิก เลข ๑ ขนาดใหญ่พิมพ์ทับลายเฟื่องสีโดยทั่วไปเป็นสีน้ำเงิน ธนบัตรชนิดที่สองนี้ ทางการทหารอังกฤษ จัดพิมพ์ขึ้น เพื่อใช้ในสงครามโลกครั้งที่สองเรียกว่า Invasion Note เมื่อสงคราม ยุติลงทางการอังกฤษได้นำมามอบให้รัฐบาลไทย ทางการไทยได้ดัดแปลงเพิ่มเติมข้อความแล้วนำออกใช้ - ชนิดราคา ๕๐ สตางค์ ออกใช้เมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๘๙ ด้านหน้ามีภาพประตูด้านหน้าของวัดพระเชตุพนฯ ด้านหลังมีภาพ พระบรมมหาราชวัง สีโดยทั่วไปเป็นสีม่วงแก่ เป็นธนบัตรที่พิมพ์ที่โรงพิมพ์ธนบัตรฮอลันดาที่ชวา(อินโดเนเซีย) ซึ่งญี่ปุ่น ยึดได้ในสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นจึงใช้โรงพิมพ์นี้พิมพ์ธนบัตรไทย โดยพิมพ์ชนิดราคา ๑๐ บาท ต่อมาเกิดการทุจริต ปลอมแปลงรั่วไหลในรูปแบบต่างๆ กระทรวงการคลังจึงไม่ประกาศใช้ ต่อมาจึงได้ ดัดแปลงเป็นธนบัตรใบละ ๕๐ สตางค์แทนที่จะทำลายทิ้งไป
- ชนิดราคา ๕๐ บาท มีอยู่ ๓ รุ่น ออกใช้เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๘ ทั้ง ๓ รุ่น
- ธนบัตรชนิดนี้มีที่มาจาก เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๖ ไทยได้รับ มอบดินแดนคืนจากมลายู(มาเลเซีย) สี่รัฐด้วยกันคือ กลันตัน ตรังกานู ปลิส และไทรบุรี ประเทศไทยจึงได้ส่งข้าราชการไทยเข้าไปปกครอง โดยให้อยู่ในบังคับบัญชาของ ข้าหลวงใหญ่ฝ่ายทหาร จึงได้ให้กรมแผนที่ทหารบกพิมพ์ธนบัตรราคา ๑ ดอลลาร์ และให้กรมคลังทำเหรียญกษาปณ์ดีบุก ชนิดราคา ๑, ๕ และ ๑๐ เซ็นต์ เพื่อใช้ในดินแดงดังกล่าว แต่ทางการ ญี่ปุ่นไม่เห็นด้วย ฝ่ายไทยจึงต้องงดใช้เงินตราดังกล่าว
- ธนบัตรชนิดนี้ ไม่มีภาพพระบรมฉายาลักษณ์ พื้นพิมพ์ด้วยสีเหลือง ด้านหลังพิมพ์ทับด้วยสีม่วง
- ชนิดราคา ๑,๐๐๐ บาท มีอยู่ ๒ รุ่น ออกใช้เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๖ และ พ.ศ.๒๔๘๗ ด้านหน้ามีภาพพระปรางค์สามยอด ลพบุรี ด้านหลังมีภาพ พระที่นั่งอนันตสมาคม ด้านหน้าพิมพ์ด้วยสีเลือดหมูทับบนพื้นสีเหลือง ด้านหลังพิมพ์ด้วยสีน้ำตาลทับสีเหลือง
|
Update : 15/5/2554
|
|