|
|
ธนบัตรเงินกระดาษของไทย 3
ธนบัตรแบบที่ ๔
- มีแหล่งผลิตอยู่ ๒ แห่ง คือ โดยบริษัท โทมัสเดอลารู และโดยกรมแผนที่ทหารบก ธนบัตรจากบริษัทโทมัสเดอลารู มีอยู่ ๕ ราคาด้วยกัน คือ ราคา ๑ บาท, ๕ บาท,๑๐ บาท, ๒๐ บาท และ ๑,๐๐๐ บาท ด้านหลังเป็นภาพพระที่นั่งอนันตสมาคม ทุกราคา
- ชนิดราคา ๑ บาท มีอยู่ ๓ รุ่น ออกใช้เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๑, ๒๔๘๒ และ พ.ศ.๒๔๘๙ด้านหน้ามีภาพพระสมุทรเจดีย์
- ชนิดราคา ๕ บาท มีอยู่ ๒ รุ่น ออกใช้เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๒ ทั้ง ๒ รุ่น ด้านหน้ามีภาพพระปฐมเจดีย์
- ชนิดราคา ๑๐ บาท มีอยู่ ๒ รุ่น ออกใช้เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๒ ทั้ง ๒ รุ่น ด้านหน้ามีภาพป้อมมหากาฬ
- ชนิดราคา ๒๐ บาท มีอยู่ ๑ รุ่น ออกใช้เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๒ ด้านหน้าเป็นภาพพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย และพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
- ชนิดราคา ๑,๐๐๐ บาท มีอยู่ ๑ รุ่น ออกใช้เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๒ ด้านหน้าเป็นภาพพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม
- ธนบัตรจากกรมแผนที่ทหารบก เป็นธนบัตรรุ่นแรกที่ผลิตในประเทศ โดยใช้กระดาษจากโรงงานกระดาษไทยที่กาญจนบุรี
- ใช้โรงพิมพ์ของกรมแผนที่ทหารบก กรมอุทกศาสตร์ทหารเรือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง และโรงพิมพ์เอกชนบางแห่ง โดยใช้เครื่องพิมพ์ Offset คุณภาพที่ได้ไม่ดีนักแต่พอใช้งานได้มีอยู่๔ ราคาด้วยกันคือ ราคา ๑ บาท, ๑๐ บาท, ๒๐ บาท และ ๑๐๐ บาท
- ชนิดราคา ๑ บาท ออกใช้เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๕
- ชนิดราคา ๑๐ บาท ออกใช้เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๖
- ชนิดราคา ๒๐ บาท ออกใช้เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๖
- ชนิดราคา ๑๐๐ บาท ออกใช้เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๗
ธนบัตรแบบที่ ๕
- ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๘๔ รัฐบาลไทยไม่สามารถสั่งพิมพ์ธนบัตรจากบริษัท โทมัสเดอลารู ของอังกฤษต่อไปได้ เพราะเป็นคู่สงครามกัน จึงต้องติดต่อกับบริษัท มิตซุย บุชชันไกชา ของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นมิตรประเทศฝ่ายเดียวกัน ให้ติดต่อกระทรวงการคลังของญี่ปุ่น เพื่อจัดพิมพ์ธนบัตรให้
- ธนบัตรแบบนี้ได้เปลี่ยนที่พระบรมฉายาลักษณ์จากเดิมที่อยู่ทางด้านหน้าขวา ให้มาอยู่ทางด้านหน้าซ้ายของธนบัตร ตามที่นิยมกันในนานาประเทศ รายละเอียดอย่างอื่นเปลี่ยนแปลงพอสมควร ด้านหลังเป็นภาพพระบรมมหาราชวังด้านวัดพระศรี รัตนศาสดา มีอยู่ ๗ ชนิด ราคาด้วยกันคือ
- ชนิดราคา ๕๐ สตางค์ ออกใช้เมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๘๕ ด้านหน้ามีข้อความว่า รัฐบาลไทยและห้าสิบสตางค์ พิมพ์ทับลายเฟื่องเป็นอักษรตัวโตเห็นได้ชัด พิมพ์ด้วยหมึกสีเขียว
- ชนิดราคา ๑ บาท มีอยู่ ๒ รุ่น ออกใช้เมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๘๕ ทั้ง ๒ รุ่น ด้านหน้ามีรูปอุโบสถ วัดภูมินทร์ ที่จังหวัดน่าน สีโดยทั่วไปเป็นสีน้ำตาล
- ชนิดราคา ๕ บาท มีอยู่ ๒ รุ่น ออกใช้เมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๘๕ สองรุ่น และปีพ.ศ.๒๔๘๗ ด้านหน้ามีภาพวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม สีโดยทั่วไปเป็นสีเขียว
- ชนิดราคา ๑๐ บาท มีอยู่ ๔ รุ่น ออกใช้เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๕ สองรุ่น พ.ศ.๒๔๘๗และ พ.ศ.๒๔๘๘ ด้านหน้ามีภาพประตูด้านหนึ่งของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม สีโดยทั่วไปเป็นสีม่วง
- ชนิดราคา ๒๐ บาท มีอยู่ ๕ รุ่น ออกใช้เมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๘๕ สองรุ่น พ.ศ.๒๔๘๗สองรุ่น และ พ.ศ.๒๔๘๘ ด้านหน้ามีภาพ พระที่นั่งไอสวรรย์ทิพยอาสน์ในพระราชวังบางปะอินสีโดยทั่วไปเป็นสีน้ำเงิน ส่วนรูปที่ ๕ ด้านหลังพิมพ์ด้วยสีแสด
- ชนิดราคา ๑๐๐ บาท มีอยู่ ๒ รุ่น ออกใช้เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๕ และ พ.ศ.๒๔๘๘ ด้านหน้ามีภาพพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม พิมพ์ด้วยสีม่วงแดง ส่วนรุ่นที่๒ ด้านหลังพิมพ์ด้วยสีน้ำเงิน
- ชนิดราคา ๑,๐๐๐ บาท มีอยู่รุ่นเดียวออกใช้เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๗ ด้านหน้ามีภาพพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท และพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง สีโดยทั่วไปเป็นสีไพล
- ธนบัตรพิมพ์เกินและธนบัตรหาย อันเนื่องจากการพิมพ์และการขนส่งทั้งทางอากาศและทางเรือจากญี่ปุ่นมาไทยเกิดการ ทุจริตรั่วไหล รัฐบาลต้องออกมาตรการ เพื่อคุ้มครองผู้ที่ได้มาโดยสุจริต
- ธนบัตรแบบที่ ๖
- เป็นธนบัตรที่พิมพ์ในประเทศไทย และใช้กระดาษจากโรงงานกระดาษไทย กาญจนบุรีมีอยู่ ๒ ชนิดราคาด้วยกัน คือ
- ชนิดราคา ๒๐ บาท มีอยู่ ๒ รุ่น ออกใช้เมื่อปีพ.ศ.๒๔๘๘ ทั้งสองรุ่น มีรูปพรรณ เช่นเดียวกับธนบัตร ราคา ๒๐ บาท แบบที่ ๔ ที่พิมพ์โดยบริษัทโทมัสเดอลารู เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๒
- ชนิดราคา ๑๐๐ บาท มีอยู่๒ รุ่น ออกใช้เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๘ ทั้งสองรุ่น มีรูปพรรณเช่นเดียวกับธนบัตรราคา ๑๐๐ บาทแบบที่ ๔ ที่พิมพ์โดยโรงพิมพ์กรมแผนที่ทหารบก เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๗
|
Update : 15/5/2554
|
|