|
|
เหรียญกษาปณ์ของไทย
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์ไทย พระองค์แรกที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิรูปเงินตราไทย จากที่เคยใช้เงินพดด้วง หรือเงินกลมที่ใช้มาแต่โบราณกาลให้มาใช้เงินเหรียญหรือเงินแบน แบบประเทศทางตะวันตก เงินเหรียญ ได้โปรดเกล้าฯ ให้ประเทศใช้เงินเหรียญนอกครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๙ ครั้งที่สองเมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๐๐ และได้ประกาศพิกัดเงินเหรียญนอก เมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๐๗ จนถึงปี พ.ศ.๒๔๔๕ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ จึงได้ยกเลิกการใช้เหรียญนอก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ได้ทรงสั่งเครื่องทำเหรียญกษาปณ์จากอังกฤษมาผลิตเหรียญกษาปณ์ในไทย ติดตั้งเครื่องใช้งานได้เมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๐๓ พระราชทานชื่อว่า โรงกษาปณ์ สิทธิการตั้งอยู่หน้าพระคลังมหาสมบัติตรงมุมถนนออกประตูสุวภาพบริบาลด้านตะวันออก ได้ผลิตเหรียญบาท เหรียญสองสลึง เหรียญสลึง และเหรียญเฟื้อง แต่ผลิตได้น้อยไม่พอแก่ความต้องการ เงินเหรียญนี้ หน้าหนึ่งมีตรารูปพระมหาพิไชยมงกุฎอยู่กลาง มีฉัตรกระหนาบอยู่สองข้าง มีกิ่งไม้เป็นเปลวแซก อยู่ในท้องลาย อีกหน้าหนึ่งเป็นรูปกงจักร กลางใจจักรมีรูปช้างประจำแผ่นดิน รอบวงจักรชั้นนอกเหรียญบาทมีดาวอยู่แปดทิศ แสดงว่าแปดเฟื้อง เหรียญสองสลึงมีดาวอยู่สี่ทิศ แสดงว่าสี่เฟื้อง เหรียญสลึงมีดาวอยู่ข้างบนและข้างล่างสองดวง แสดงว่าสองเฟื้อง และเหรียญเฟื้องมีดาวอยู่ด้านบนดวงเดียว นอกจากนี้ยังมีเหรียญ หนึ่งตำลึง กึ่งตำลึง และกึ่งเฟื้อง แต่ไม่ได้นำออกใช้ ตามแจ้งความกระทรวงพระคลังมหาสมบัติเมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๓๘ พบว่ามีเหรียญตรามงกุฎดังกล่าวให้แลกอยู่ ๖ ราคา ด้วยกัน คือ ราคา สองบาท หนึ่งบาท สองสลึง หนึ่งสลึง หนึ่งเฟื้อง และ สองไพ กะแปะอัฐและโสฬส เมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๐๕ ได้มีประกาศให้ใช้กะแปะอัฐ และโสฬสขึ้นใหม่ ด้วยว่าสมัยโบราณไทย และลาวใช้หอยชนิดหนึ่งที่เรียกว่าเบี้ย ใช้แทนเงินปลีก โดยคิดอัตราแปดร้อยเบี้ยต่อหนึ่งเฟื้อง สำหรับกะแบะอัฐและโสฬสเมื่อนำมาแลกเปลี่ยนขอรับเงินจากพระคลังมหาสมบัติ กำหนดอัตราไว้ ๘ อัฐต่อเฟื้อง และ ๑๖ โสฬสต่อเฟื้อง โดยไม่ลดหย่อนแม้เนื้อโลหะที่ทำจะสึกกร่อนไปเพราะการใช้งาน แต่ถ้าเนื้อโลหะขาดบิ่น มูลค่าจะลดลงตามน้ำหนักที่หายไป เบี้ยหอย นับแต่โบราณมามีการใช้เบี้ยหอยเป็นเครื่องแลกเปลี่ยนกับทวีราชอาณาจักร มาถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้ใช้เบี้ยดีบุกและเบี้ยทองแดงแทนเบี้ยหอย มีขนาดและชื่อเรียกกันต่าง ๆ ดังนี้ เหรียญทองชิ้นแรก สร้างจากโรงกษาปณ์ เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ประทับตราจักรทุกมุม น้ำหนัก ๒๐ บาท ทำด้วยทองคำเนื้อดี ตามมูลค่าทองคำหนัก ๑ บาท เท่ากับเงิน ๑๖ บาท เหรียญนี้จึงมีมูลค่า ๓๒๐ บาท เหรียญทองแปทศ ทองแปพิศ และทองแปพัดดึงส์ ประกาศใช้เมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๐๖ ทำด้วยทองคำเนื้อแปดเศษสองมี ๓ ขนาด ราคา ๘ บาท ๔ บาท ๑๐ สลึง เรียกว่า ทศ แปลว่า ๑๐ แป เป็นเงิน ๑ ชั่ง พิศ แปลว่า ๒๐ แปเป็นเงิน ๑ ชั่ง และพัดดึงส์ แปลว่า ๓๒ แปเป็นเงิน ๑ ชั่ง
เหรียญทองและเหรียญเงินหนัก ๔ บาท
เบี้ยซีก เบี้ยเสี้ยว สร้างเมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๐๘ ทำด้วยทองแดง ที่มีตราเหมือนเบี้ยอัฐ และเบี้ยโสฬสอย่างใหญ่เรียกว่า ซีก มีค่า สองอันต่อหนึ่งเฟื้อง อีกชนิดหนึ่งมีขนาดเล็กเรียกว่าเสี้ยว มีค่าสี่อันต่อหนึ่งเฟื้อง มาตราเงินไทย เหรียญเมกซิโก ตีตราจักร และมงกุฎ
เหรียญเปรู ตีตรา
เหรียญมงกุฎ
มีเหรียญ ๑ บาท กึ่งบาท ๑ สลึง เฟื้อง และกึ่งเฟื้องหรือ ๒ ไพ เริ่มสร้างเมื่อไป พ.ศ.๒๔๐๓ เหรียญกึ่งตำลึงสร้างปี พ.ศ.๒๔๐๖ เหรียญตำลึงสร้างปี พ.ศ.๒๔๐๗
เหรียญบรรณาการ
ลักษณะเช่นเดียวกับเหรียญมงกุฎ ต่างกันที่ขนาดของมงกุฎและช้างซึ่งใหญ่กว่า มีอยู่ ๒ ชนิด คือ ชนิดราคา ๑ บาท และชนิดราคา ๑ เฟื้อง กะแปะดีบุก
ลักษณะเช่นเดียวกับเหรียญมงกุฎ มีชนิดราคาแปดอัฐเป็นเฟื้อง และชนิดราคาสิบหกอันเป็นเฟื้องมีอักษรจีน และอักษรอังกฤษ กำกับราคาอยู่ด้วย
เบี้ยทองแดง
ลักษณะเช่นเดียวกับกะแปะดีบุก มีสองชนิดคือ เบี้ยทองแดงซีกสองอันเป็นเฟื้อง และเบี้ยทองแดงเสี้ยวสี่อันเป็นเฟื้อง มีอักษรอังกฤษและอักษรจีนกำกับราคาอยู่ด้วย
เหรียญทองทศ ทองพิศ และทองพัดดึงส์
มีลักษณะเหมือนเหรียญเงินและเหรียญทองมงกุฎ มี ๓ ชนิด คือ ราคา ๘ บาท ๔ บาท และ ๑๐ สลึง
เหรียญกษาปณ์ รัชกาลที่ ๕
สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๑ - ๒๔๕๓ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้มีการสร้างเหรียญเงิน ดีบุก ทองแดง และนิเกิล อีกหลายชนิด มี ๓ ราคา คือ ๑ บาท ๑ สลึง และ ๑ เฟื้อง เรียกกันว่าเหรียญตราพระเกี้ยว
กะแปะดีบุกตราพระเกี้ยว
ลักษณะคล้ายเหรียญบาท มีภาษาอังกฤษและภาษาจีนกำกับราคาอยู่ อันละ ๑ โสฬส โดยเขียนไว้ว่า ๑๖ อันเฟื้อง
ปี้
ใช้เป็นตัวนับคะแนนในโรงบ่อนเบี้ย ทำด้วยโลหะ แก้ว และกระเบื้องอย่างใดอย่างหนึ่งมีชนิดราคา ๑ สลึง และ ๒ ไพ มีใช้กันมากกว่า ๕๐๐๐ ชนิด ทางการได้ประกาศเลิกใช้เมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๘
เหรียญทองแดง จ.ป.ร.
มี ๔ ชนิด ราคา คือ ๑ ซีก ๑ อัฐ และ โสฬส
เหรียญเงินรัชกาลที่ ๕ ตราแผ่นดิน
มีชนิดราคาเดียวกัน คือ ๑ บาท
เหรียญบาทจุฬาลงกรณ์สยามมินทร์
สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๖ ทำจากฝรั่งเศษ มีชนิด ราคาเดียว คือ ๑ บาท
เหรียญสลึงและเหรียญเฟื้อง รัชกาลที่ ๕ ตราแผ่นดิน
เริ่มสร้างเมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๑๙ รุ่นสุดท้ายปี พ.ศ.๒๔๕๑
เหรียญทองคำตราพระรูป
ลักษณะเช่นเดียวกับเหรียญเงินรัชกาลที่ ๕ ตราแผ่นดิน ทำด้วยทองคำเนื้อแปด มีชนิดราคาและน้ำหนัก ๑ เฟื้องและ ๑ สลึง
เหรียญเงินรูปถ้วย
เรียกกันว่าเหรียญเงินงอ มีลักษณะเช่นเดียวกับเหรียญเงินตราแผ่นดิน รัชกาลที่ห้า ใช้กันตามโรงบ่อนเบี้ย
เหรียญทองแดงรัชกาลที่ห้า พระสยามเทวาธิราช
ลักษณะเช่นเดียวกับเหรียญเงินรัชกาลที่ห้า ตราแผ่นดิน มีสามชนิดราคาคือ ๑ เสี้ยว ๑ อัฐ และ ๑ โสฬส สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๐ ถึง พ.ศ.๒๔๓๘
เหรียญทองแดง(นิเกิล) รัชกาลที่ห้า ช้างสามเศียร
สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๐ เลิกใช้เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๑ มี ๔ ชนิด ด้วยกันคือ ชนิดราคา ๒๐ สตางค์ ๑๐ สตางค์ ๕ สตางค์ และสองสตางค์ครึ่ง
เหรียญสตางค์รัชกาลที่ห้า
มีรูตรงกลางเริ่มใช้พุทธศักราชแทน ร.ศ. มี ๓ ชนิด คือ ชนิดราคา ๑๐ สตางค์ ๕ สตางค์ และ ๑ สตางค์ ทำด้วยนิเกิล หรือเหล็กชุบในราคา ๑๐ และ ๕ สตางค์ และทำด้วยทองแดงในราคา ๑ สตางค์
เหรียญกษาปณ์รัชกาลที่หก
ได้มีการออกแบบเหรียญใหม่มี ๓ ชนิด คือ ชนิดราคา ๑ บาท ๒ สลึง และ ๑ สลึง มีลักษณะคล้ายเหรียญบาทจุฬาลงกรณ์สยามมินทร์ สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๖ ถึง ปี พ.ศ.๒๔๖๑
สตางค์รัชกาลที่หก
ลักษณะเช่นเดียวกับสตางค์รัชกาลที่ ๕ มี ๓ ชนิด คือ ชนิดราคา ๑๐ สตางค์ ๕ สตางค์ และ ๑ สตางค์ สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๖ ถึง ปี พ.ศ.๒๔๖๔ ชนิดราคา ๑๐ สตางค์ และ ๕ สตางค์ ทำด้วยนิเกิ้ล ชนิดราคา ๑ สตางค์ ทำด้วยทองแดง จึงเรียกกันว่าสตางค์แดง
เหรียญกษาปณ์รัชกาลที่เจ็ด
สร้างระหว่างปี พ.ศ.๒๔๖๘ - ๒๔๗๒ มีเหรียญเงิน ชนิดราคา ๕๐ สตางค์ และ ๒๕ สตางค์ สตางค์ทองขาว ชนิดราคา ๕ สตางค์ และสตางค์ทองแดงราคา ๑ สตางค์
เหรียญกษาปณ์รัชกาลที่แปด
มีการสร้างเหรียญทองแดงชนิดราคา ครึ่งสตางค์เป็นครั้งแรกมีการสร้างเหรียญ ๕๐ สตางค์ ๒๕ สตางค์ ๑๐ สตางค์ และ ๕ สตางค์ด้วยดีบุก คนทั่วไปเรียกเหรียญชนิดหัวโต เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๙ สร้างสตางค์ชนิดราคา ๑๐ สตางค์ และ ๕ สตางค์ด้วยนิเกิล เมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๗๘ และ ๒๔๘๐ สร้างสตางค์ชนิดราคา ๒๐ สตางค์ ๑๐ สตางค์ และ ๕ สตางค์ ด้วยเงิน ในปี พ.ศ.๒๔๘๔ สร้างสตางค์ชนิดราคา ๒๐ สตางค์ ๑๐ สตางค์ และ ๕ สตางค์ ด้วยดีบุก ในปี พ.ศ.๒๔๘๔ สร้างสตางค์ชนิดราคา ๑ สตางค์ และ ครึ่งสตางค์ ด้วยทองแดง เมื่อ ปี ๒๔๗๒ - ๒๔๘๒ และสตางค์ทองแดงชนิดราคา ๑ สตางค์ ที่มีลวดลายเหมือนสตางค์เงิน เมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๘๔
สตางค์ดีบุกรัชกาลที่แปด
|
มีลักษณะเช่นเดียวกับสตางค์เงินรัชกาลที่แปด ขนาดเล็ก และไม่มีรู สร้างเมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๘๕ ชาวบ้านพากันกล่าวว่า "สตางค์ไม่มีรู ศัตรูไม่มีรัง สตางค์ออกใหม่น่าใช้น่าดู" นับว่าเป็นสตางค์ที่ไม่มีรูครั้งแรก เป็นของแปลกสำหรับสมัยนั้น จากนั้นเป็นต้นมา เราก็ไม่ได้พบเหรียญกษาปณ์ไนราคา ๑ สตางค์อีกเลย เพราะค่าเงินได้ตกต่ำลงไปตามลำดับ มีชนิดราคา แปดอัฐเป็นเฟื้อง และชนิดราคาสิบหกอันเป็นเฟื้องมีอักษรจีน และอักษรอังกฤษ กำกับราคาอยู่ด้วย |
เหรียญกษาปณ์รัชกาลที่เก้า
เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๐ ชนิดราคา ๑ บาท ทำด้วยนิเกิล ต่อมาสร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๔ ในโอกาสเสด็จนิวัตพระนคร ในปี พ.ศ.๒๕๐๕ และ ปี พ.ศ.๒๕๐๖ ในโอกาสเฉลิมพระชนมายุ ๓ รอบ สร้างเหรียญเงิน ชนิดราคา ๒๐ บาท ในโอกาสเดียวกัน
เหรียญโลหะสีทอง สีนากและสีเงิน รัชกาลที่เก้า
ลักษณะเช่นเดียวกับเหรียญทองขาวรัชกาลที่เจ็ด ครั้งแรกสร้างเมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๙๓ เป็นสีเงิน และสีทอง ชนิดราคา ๕๐ สตางค์ ๒๕ สตางค์ ๑๐ สตางค์ และ ๕ สตางค์ ครั้งที่สองสร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๐ เป็นสีทอง สีนาก และสีเงิน ชนิดราคาเดียวกัน
๑. เบี้ยโพล้ง |
๒. เบี้ยแก้ |
๓.เบี้ยจั่น |
๔. เบี้ยนาง |
๕. เบี้ยหมู |
๖. เบี้ยพองลม |
๗. เบี้ยบัว |
๘. เบี้ยตุ้ม |
|
สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๗ เนื่องในงาน เฉลิมพระชนม์พรรษา ๖๐ พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เป็นเหรียญตราพระมหาพิชัยมงกุฎหนัก ๔ บาท มี ๒ ชนิด ทำด้วยทองคำ และทำด้วยเงิน ใช้ประดับได้อย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชาวจีนแต้จิ๋วเรียกเหรียญแต้เหม็ง |
|
จากภาพจะเห็นว่า ตำลึงอยู่บนเฟื้อง
บาทอยู่บนสลึง
ไพอยู่ใต้ชั่ง เมื่อเรียงตามมูลค่าจะเป็น ชั่ง ตำลึง บาท สลึง เฟื้อง ไพ มีพิกัดอัตรา ดังต่อไปนี้
|
๘๐๐ |
เบี้ย เป็น |
๑ |
เฟื้อง |
|
|
|
|
๕๐ |
เบี้ย เป็น |
๑ |
โสฬส(สิบหก) |
๑๖ |
โสฬส เป็น |
๑ |
เฟื้อง |
๒ |
โสฬส เป็น |
๑ |
อัฐ(แปด) |
๘ |
อัฐ เป็น |
๑ |
เฟื้อง |
๒ |
อัฐ เป็น |
๑ |
เสี้ยวหรือไพ |
๔ |
อัฐ เป็น |
๑ |
เฟื้อง |
๒ |
เสี้ยวหรือไพ เป็น |
๑ |
ซีก |
๒ |
เสี้ยวหรือไพ เป็น |
๑ |
เฟื้อง |
๒ |
ซีก เป็น |
1 |
เฟื้อง |
๘ |
เฟื้อง เป็น |
๑ |
บาท |
๒ |
เฟื้อง เป็น |
๑ |
สลึง |
๔ |
สลึง เป็น |
๑ |
บาท |
๑ |
มายนหรือมะยง เป็น |
กึ่งบาท หรือ ๒ สลึง |
|
|
|
|
๔ |
บาท เป็น |
๑ |
ตำลึง |
|
|
|
|
๒๐ |
ตำลึง เป็น |
๑ |
ชั่ง |
|
|
|
|
๘๐ |
ชั่ง เป็น |
๑ |
หาบ |
|
|
|
|
|
Update : 15/5/2554
|
|