หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    น้ำอภิเษก 1
    น้ำอภิเษก

    loading picture

                ในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์ไทย  มีขั้นตอนที่สำคัญอยู่ประการหนึ่ง คือ การทรงรับน้ำอภิเษก เพื่อแสดงความเป็นเจ้าเป็นใหญ่ในแว่นแคว้นทั้ง ๘  กล่าวคือ หลักการราชาภิเษกนั้น มีรดน้ำ แล้วเถลิงราชาอาสน์เป็นอันเสร็จพิธี  นอกนั้นเป็นพระราชพิธีส่วนประกอบ ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามกาลสมัย

    loading picture

    จังหวัดสระบุรี ตั้งที่พระพุทธบาท
    จังหวัดพิษณุโลก ตั้งที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
    จังหวัดสุโขทัย ตั้งที่วัดมหาธาตุ อำเภอสวรรคโลก
    จังหวัดนครปฐม ตั้งที่พระปฐมเจดีย์
    จังหวัดนครศรีรรมราช ตั้งที่วัดพระมหาธาตุ
    จังหวัดลำพูน ตั้งที่พระธาตุหริภุญชัย
    จังหวัดนครพนม ตั้งที่พระธาตุพนม
    จังหวัดน่าน ตั้งที่พระธาตุแช่แห้ง
    จังหวัดร้อยเอ็ด ตั้งที่บึงพระลานชัย
    จังหวัดเพชรบุรี ตั้งที่วัดมหาธาตุ
    จังหวัดชัยนาท ตั้งที่วัดบรมธาตุ
    จังหวัดฉะเชิงเทรา ตั้งที่วัดโสธร
    จังหวัดนครราชสีมา ตั้งที่วัดพระนารายณ์มหาราช
    จังหวัดอุบลราชธานี ตั้งที่วัดศรีทอง
    จังหวัดจันทบุรี ตั้งที่วัดพลับ
    จังหวัดปัตตานี ตั้งที่วัดตานีนรสโมสร
    จังหวัดภูเก็ต ตั้งที่วัดพระทอง
                น้ำอภิเษกนั้น ข้าหลวงประจำจังหวัดได้ให้ราชบุรุษไปพลีกรรมตักน้ำที่เป็นสิริมงคล ณ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในจังหวัดนั้น บรรจุภาชนะแล้วนำเข้าพิธีประกอบด้วยเครื่องสักการะบูชา
     

    จังหวัดสระบุรี

    loading picture

                น้ำอภิเษกจากจังหวัดสระบุรี มีอยู่ 2 แห่ง คือ น้ำสรงรอยพระพุทธบาท และน้ำท่าราบ
     

    loading picture

    พิธีสรงน้ำรอยพระพุทธบาท
                เจ้าพนักงานเปิดพระมณฑป และตั้งเครื่องสักการะบูชารอยพระพุทธบาท ข้าหลวงประจำจังหวัด จุดธูปเทียนเครื่องสักการะบูชารอยพระพุทธบาท สรงน้ำรอยพระพุทธบาทเจือด้วยน้ำสุคนธ์ แล้วตักน้ำในรอยพระพุทธบาท เชิญลงในหม้อน้ำลายคราม นำมาต้มกรองใส่ในหม้อน้ำ ผูกผ้าขาวไปเข้าพิธีทำน้ำอภิเษก
                ในรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรม (พ.ศ.๒๑๖๓ - ๒๒๗๑) พระภิกษุสงฆ์ไทยได้ทราบจาก พระสงฆ์ลังกาว่า รอยพระพุทธบาทที่มีอยู่ ๕ รอยนั้น  มีรอยหนึ่งอยู่บนเขาสุวรรณบรรพตในประเทศไทย พระภิกษุสงฆ์ไทย ได้ทราบดังนั้นแล้ว  จึงได้นำความมาทูลพระเจ้าทรงธรรม พระเจ้าทรงธรรมจึงโปรดให้มีตราสั่งหัวเมือง ให้เที่ยวตรวจค้นดูตามข้อมูลดังกล่าว  ครั้งนั้นผู้ว่าราชการเมืองสระบุรีได้ทราบจากพรานบุญว่า ได้เคยพบรอยคล้ายรอยเท้าคนอยู่ในศิลาบนไหล่เขา ขนาดยาวศอกเศษมีน้ำขังอยู่ในรอยนั้น เมื่อนำน้ำมาลองทาตัว กลากเกลื้อนที่เป็นอยู่ก็หายไป ผู้ว่าราชการเมืองสระบุรีไปตรวจดูเห็นมีรอยอยู่จริง จึงบอกเข้ามายังกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าทรงธรรมเสด็จไปทอดพระเนตร แล้วทรงมีพระราชดำริว่า คงจะเป็นรอยพระพุทธบาทตามที่ทราบจากลังกาเป็นแน่แท้ จึงโปรดให้สร้างเป็นมหาเจดีย์สถาน มีพระมณฑปสรวมรอยพระพุทธบาท และสังฆรามที่พระภิกษุสงฆ์อยู่บริบาล และทรงพระราชอุทิศที่โยชน์หนึ่ง โดยรอบรอยพระพุทธบาท ถวายเป็นพุทธบูชา ที่บริเวณที่ทรงพระราชอุทิศนั้นก็ได้นามว่า เมืองปะรันตะปะ เรียกกันเป็นสามัญว่าเมืองพระพุทธบาท และเกิดเทศกาลมหาชนขึ้นไปบูชาพระพุทธบาท กลางเดือน ๓ ครั้งหนึ่ง และกลางเดือน ๔ อีกครั้งหนึ่ง ตั้งแต่นั้นมา
    น้ำท่าราบ
             บ้านท่าราบ  ตั้งอยู่ริมแม่น้ำป่าสักฝั่งเหนือ ตำบลบ้านตาล อำเภอเสาไห้ พื้นที่บริเวณนั้น ตั้งแต่ริมฝั่งแม่น้ำ จนถึงหาดทรายในลำน้ำราบเรียบ จึงได้ชื่อว่าท่าราบ
                ตามประวัติกล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสลำน้ำป่าสักโดยขบวนเรือ เมื่อขบวนเรือที่เสด็จมาถึงหาดท่าราบ ได้เสด็จขึ้นเหยียบหาดทรายท่าราบ และเสด็จสรงน้ำที่หาดนี้เนื่องจาก พื้นน้ำตรงท่าราบเป็น "วัง" น้ำนิ่งและลึก จึงใสเย็นกว่าที่อื่น นับแต่นั้นมาได้ถือว่าน้ำท่าราบเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ ใช้เป็นน้ำอภิเษกฝ่ายภูมิภาคในรัชกาลต่อมา
     

    จังหวัดพิษณุโลก
    loading picture

                น้ำอภิเษกจากจังหวัดพิษณุโลกมีอยู่ ๓ แห่งคือ  น้ำทะเลแก้ว  น้ำสระแก้ว และน้ำสระสองห้อง
                สถานที่ประกอบน้ำอภิเษก คือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
    น้ำทะเลแก้ว
              ทะเลแก้ว  อยู่ในตำบลบ้านกร่าง และตำบลวัดจันทร์ อำเภอเมืองพิษณุโลก มีขนาดกว้างประมาณ ๓ กิโลเมตร ยาวประมาณ ๔ กิโลเมตร เดิมน้ำลึกประมาณ ๖ เมตร มีทางน้ำติดต่อกับคลองบางแก้ว ซึ่งไหลไปบรรจบกับแม่น้ำยมในอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก บริเวณโดยรอบทะเลแก้วเป็นป่าหญ้า ป่าพง ป่าอ้อ ป่าละเมาะและป่าโปรง มีนาอยู่บ้างตามขอบ ปัจจุบันน้ำตื้นเขินจนกลายเป็นที่ทำนาไปโดยมาก  มีวัดร้างอยู่หลายวัดทางด้านทิศตะวันตกและด้านทิศเหนือ  มีเรื่องเล่าสืบมาว่า เคยมีผู้พบเรือสำเภา จมอยู่กลางทะเลนี้โดยมีทรากเสากระโดงเรือปรากฎให้เห็น ทำให้สันนิษฐานได้ว่า แต่ก่อนนี้ทะเลแก้วนี้ เคยกว้างใหญ่และลึกมาก จนถึงกับมีเรือขนาดใหญ่ของชาวจีนเข้าไปค้าขาย ข้อสันนิษฐานอีกประการหนึ่งคือ อาจเป็นเรือของเจ้านายครั้งก่อนมีไว้ประจำสำหรับเสด็จประพาสในทะเลแก้ว มีเรื่องเล่ามาว่า มีสุกรตัวหนึ่งคาบแก้วดวงหนึ่งจากทะเลแก้วมาวางไว้ในที่สามแห่ง และในที่สุดไปวางไว้ที่สระแห่งหนึ่ง สระนั้นจึงได้ชื่อว่าสระแก้ว และจุดที่วางแก้ว ๓ แห่ง ก็มีวัดร้างชื่อแก้วอยู่ทั้งสามแห่งจนถึงปัจจุบัน
    น้ำสระแก้ว
              สระแก้ว  เป็นสระใหญ่ อยู่นอกเมืองพิษณุโลกไปทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณที่ตั้งโรงพยาบาล พระพุทธชินราชปัจจุบัน และทางรถไฟสายเหนือใต้ตัดผ่านตอนกลางของสระนี้ แต่เดิมสระนี้มีน้ำขังอยู่เสมอ มีทางไขน้ำเข้าออกจากแม่น้ำน่าน และมีเกาะกลางสระเหลืออยู่ พอเห็นเค้ามูลได้บ้าง แต่เมื่อสร้างทางรถไฟสายเหนือผ่านสระนี้แล้ว สระนี้ก็ตื้นเขิน กลายเป็นที่ทำนาได้ในบัดนี้ แต่โบราณมีตำหนักเป็นที่ประทับประพาสของเจ้านายที่ครองเมืองพิษณุโลก พระมหากษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ก็เคยเสด็จประพาสเกาะนี้ กล่าวกันว่า เป็นที่ทำพิธีสรงสนานของพระมหากษัตริย์ เมื่อมีชัยชนะข้าศึกในครั้งโบราณ ทางราชการได้พลีกรรมเอาน้ำในสระแก้วนี้ไปทำน้ำอภิเษกภูมิภาค เพื่อใช้ในพิธีบรมราชาภิเษกมาทุกรัชกาล แต่ปัจจุบันสระนี้ตื้นเขินสกปรก จึงงดใช้น้ำจากสระแก้วนี้
    น้ำสระสองห้อง

              สระสองห้อง  ตั้งอยู่ด้านทิศใต้ของพระราชวังจันทร์เกษม ซึ่งอยู่ริมลำน้ำน่านทางฝั่งตะวันตก เหนือศาลากลางจังหวัดขึ้นไปประมาณ ๘ เส้น ปัจจุบันเป็นที่ตั้งโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม สระแห่งนี้เป็นสระขนาดเขื่อง มีถนนเป็นคันคั่นอยู่ระหว่างกลาง จึงได้ชื่อว่าสระสองห้อง ปัจจุบันตื้นเขิน และน้ำแห้งจะมีน้ำขังอยู่ก็ต่อเมื่อมีฝนตกใหญ่ เดิมใช้เป็นที่ทรงพระสำราญ และทางราชการได้เคยทำ พลีกรรมเอาน้ำในสระนี้มาทำน้ำอภิเษกส่วนภูมิภาค มาแล้วแทบทุกรัชกาล แต่ปัจจุบันน้ำในสระแห้ง บริเวณสระเป็นป่าพงรกร้าง และสกปรก จึงไม่ได้ใช้น้ำในสระแห่งนี้
    วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ

                วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เป็นวัดหลวง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำฝั่งตะวันออก เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชินราช อันเป็นพระพุทธรูปโบราณที่งดงามและสำคัญที่สุด วัดนี้เป็นวัดโบราณ สันนิษฐานว่าพระมหาธรรมราชาลิไท ทรงสร้างพร้อมกับสร้างเมืองพิษณุโลก และได้โปรดให้สร้างพระพุทธรูป ๓ องค์ โดยช่างเมืองสวรรคโลก เมืองหริภุญชัย และเมืองเชียงแสน ร่วมกันสร้างเมื่อปี พ.ศ.๑๔๙๘  โดยหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ แต่หล่อได้เพียงสององค์คือพระพุทธชินสีห์ และพระศาสดา  ต้องมีชีปะขาวผู้หนึ่งมาช่วยหล่อ เมื่อปี พ.ศ.๑๕๐๐  จึงหล่อสำเร็จ วัดนี้นิยมเรียกกันว่า วัดใหญ่ หรือวัดหลวงพ่อ  การที่ได้ชื่อว่าวัดพระศรีมหาธาตุ นั้นเนื่องจากมีพระมหาธาตุรูป พระปรางค์อยู่กลางวัด วัดพระศรีมหาธาตุ เป็นสถานที่ประกอบพิธีทำน้ำอภิเษกมาแต่กาลก่อน

    จังหวัดสุโขทัย

    loading picture


                น้ำอภิเษกจากจังหวัดสุโขทัย มีอยู่ ๖ แห่งด้วยกันคือ น้ำกระพังทอง น้ำพระพังเงิน น้ำกระพังโพยสี น้ำโซกชมภู่ น้ำบ่อแก้ว และน้ำบ่อทอง
                สถานที่ประกอบน้ำอภิเษก คือวัดพระมหาธาตุ อำเภอศรีสัชนาลัย
    น้ำกระพังทอง
                กระพังทอง  เป็นสระรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๒ เส้น ๑๐ วา ยาวสามเส้น ลึกประมาณวาเศษ น้ำขังอยู่ตลอด กลางกระพังมีเกาะ และมีพระสถูปเจดีย์ยุคสุโขทัย อยู่กลางเกาะ ๑ องค์ กระพังทองนี้สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี  ปัจจุบันตั้งอยู่ริมทางหลวงสายสุโขทัย - ตาก ณ ตำบลเมืองเก่า ห่างจากที่ทำการอำเภอเมืองสุโขทัยประมาณ ๑๒ กิโลเมตร
    น้ำกระพังเงิน
                กระพังเงิน  เป็นสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๒ เส้น ยาว ๓ เส้น ๑๐ วา  ลึกประมาณ ๑ วา ๑ ศอก มีเกาะอยู่กลางสระและมีพระอุโบสถตั้งอยู่บนเกาะ ๑ หลัง กระพังเงินมีน้ำขังอยู่ตลอดปี ตั้งอยู่ห่างจากพระพังทองไปทางทิศตะวันตกประมาณ ๑ กิโลเมตร ที่ตำบลเมืองเก่า
    น้ำกระพังช้างเผือก
                กระพังช้างเผือก  เป็นกระพังรูปไข่ ยาว ๓ เส้น ๑๐ วา กว้าง ๒ เส้น  ลึกประมาณ ๑ วา กระพังนี้อยู่นอกเขตกำแพงเมืองเก่าสุโขทัย ห่างจากกระพังเงิน ๓ กิโลเมตร ปัจจุบันน้ำในกระพังช้างเผือกแห้ง
    กระพังโพยสี
                ชื่อกระพังโพยสีมีอยู่ในศิลาจารึกพระเจ้ารามคำแหง แต่ไม่ปรากฎว่าในเขตกำแพงเมืองเก่าสุโขทัยมีชื่อกระพังนี้ จึงมีการสันนิษฐานเป็นสองนัยว่า กระพังโพยสีนั้นอยู่นอกกำแพงเมืองนัยหนึ่ง  อีกนัยหนึ่งสันนิษฐานว่า กระพังที่มีอยู่ทั้ง ๓ แห่ง ดังกล่าวแล้ว คือกระพังเงินอยู่ทางด้านตะวันตก  กระพังทองอยู่ทางด้านตะวันออก และกระพังสออยู่ทางด้านเหนือ โดยมีวัดมหาธาตุเป็นศูนย์กลาง ดังนั้นคำว่ากระพังโพยสีในศิลาจารึกจึงเป็นกระพังทั้งสามเหล่านี้
    น้ำโซกชมภู่
                โซก คือ ธารน้ำไหลออกมาจากต้นน้ำบนภูเขา เป็นน้ำซับที่ไหลผ่านมาตามซอกเขาโซกชมภู่ เป็นน้ำที่ไหลซึมออกจากเขาตระโหงกวัว ผ่านช่องพระร่วงลองดาบ ไหลผ่านมาตามตีนเขา น้ำจากโซกชมภู่เป็นน้ำในสะอาด บริเวณริมโซกมีก้อนหินใหญ่น้อยประดับเรียงรายอยู่สองข้าง และมีต้นชมภู่ป่าขึ้นเรียงรายอยู่ทั่วไป มีเรื่องเล่ามาแต่โบราณว่า พระร่วงได้มาลับพระแสงดาบที่โซกชมภู่นี้ เมื่อลับพระแสงดาบเสร็จแล้ว ได้ลองความคมของพระแสงดาบ โดยฟันลงไปที่สันเขาเป็นเหตุให้เขาขาด ปัจจุบันสถานที่ดังกล่าวเรียกว่า ช่องพระร่วงลองดาบ และหินที่โซกชมภู่นี้ใช้ลับมีดได้เป็นอย่างดี
    น้ำบ่อแก้ว
                บ่อแก้ว  เป็นบ่อน้ำที่กรุด้วยศิลาแลง  ลึกประมาณ ๒ วาเศษ  อยู่ทางฝั่งตะวันออกของลำแม่น้ำยม ตรงกันข้ามกับวัดพระบรมธาตุ (พระพุทธปรางค์) ห่างจากวัดบรมธาตุประมาณ ๒ กิโลเมตร อยู่ข้างแนวทางเสด็จ ซึ่งเป็นถนนคดติดต่อไปยังพระแท่นศิลาอาสน์ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ จากการสันนิษฐาน บ่อแก้วนี้คงจะสร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย การที่เรียกว่าบ่อแก้วก็เนื่องจากน้ำในบ่อนี้ใสสะอาด เมื่อนำมาใส่ขวดขาวแล้วจะไม่ทราบว่ามีน้ำอยู่ในนั้น คือน้ำใสเหมือนแก้ว ความศักดิ์สิทธิ์ของบ่อนี้ ในสมัยโบราณถือว่าน้ำในบ่อที่ใสบริสุทธิ์นี้เทวดาเป็นผู้ประสาทให้มีขึ้น เมื่อจะทำพิธีมงคลอันใดก็จะทำพลีกรรมเอาน้ำในบ่อนี้ มาทำน้ำพระพุทธมนต์เพื่ออาบหรือประพรมถือว่าเป็นศิริมงคลแก่ผู้ใช้ ทางราชการได้ทำพิธีพลีกรรมเอาน้ำในบ่อแก้วนี้ ไปเป็นน้ำสาบานในพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาและเป็นมุรธาภิเษก
    บ่อทอง
                บ่อทอง  เป็นบ่อน้ำที่ขุดในระหว่างดินดาน ประกอบด้วยก้อนศิลาแลง ซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติ ขุดเป็นสระลึกประมาณ ๖ ศอก จากคำบอกเล่าของผู้ที่ทราบประวัติมีว่า เดิมแต่สมัยโบราณ ได้มีการขุดค้นหาแร่ทองคำในบ่อนี้ เพื่อไปถลุงทำฝักเพกายอดพระปรางค์ และหล่อพระพุทธรูปที่วัดพระบรมธาตุ บ่อนี้อยู่ทางฝั้งตะวันออกของลำน้ำยม ตรงกันข้ามกับวัดพระบรมธาตุ (พระพุทธปรางค์) อยู่ห่างจากบ่อแก้วประมาณ ๑ กิโลเมตร ห่างจากวัดพระบรมธาตุประมาณ ๓ กิโลเมตร อยู่ข้างแนวทางเสด็จต่อเนื่องกันไปจากบ่อแก้ว การที่ชื่อว่าบ่อทอง คงเนื่องจากบ่อนี้ขุดหาแร่ทองคำแล้วก็มีน้ำไหลซึมมาจากดินดาน จึงมีน้ำขังอยู่ตลอดปีไม่เคยแห้ง น้ำในบ่อทองนี้สีหลืองเหมือนสีทอง ใสเย็นและจืดสนิท ผู้เดินทางผ่านไปมาในฤดูแล้งได้อาศัยดื่มกิน และถือว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์มาแต่โบราณกาล
    สถานที่ประกอบพิธีน้ำอภิเษก
                ทางราชการได้ทำพลีกรรมเอาน้ำจากแหล่งต่างๆ ที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์ในเขตจังหวักสุโขทัยดังกล่าวแล้ว มาประกอบพิธีในวิหารวัดพระบรมธาตุ (วัดพระมหาธาตุ) หรือที่เรียกกันว่า วัดพระปรางค์ เพราะมีพระมหาเจดีย์ คือพระปรางค์สร้างด้วยศิลาแลงฝีมือปราณีต ลวดลายสวยงาม ฐานทักษิณสร้างเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส ยาวด้านละ ๑๑ วา  สูง ๒๐ วา  พระปรางค์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ  ซึ่งได้มาจากลังกาทวีป รอบพระปรางค์มีกำแพงศิลาแลงล้อมรอบทั้งสี่ด้าน เรียกตามศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแห่งว่า เวียงผา นับว่าเป็นของแปลกและน่าชมมาก เพราะเอาศิลาแลงแท่งใหญ่เกลากลมเป็นต้น ๆ สูงกว่า ๒ เมตร วัดรอบแท่งได้ ๓ เมตรครึ่ง มาตั้งเรียงรายกันอย่างเสาพะเนียด แล้วนำศิลาแลงแท่งใหญ่เป็นกรอบทับและเป็นขื่อประตู เวียงผานี้สร้างในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง สร้างอยู่ ๓ ปี จึงเสร็จ แต่ตามรูปแบบของสถาปัตยกรรมน่าจะสร้างมาก่อนหน้านั้นแล้ว พ่อขุนรามคำแหงมาปฏิสังขรณ์
                วัดพระบรมธาตุเคยเป็นที่ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ของข้าราชการเมืองสวรรคโลกมาแต่โบราณ เป็นสถานที่สวดมนต์น้ำมุรธาภิเษกมาโดยลำดับทุกรัชกาล  วัดนี้ตั้งอยู่ตำบลศรีสัชชนาลัย อำเภอศรีสัชชนาลัย จังหวัดสุโขทัย



    จังหวัดนครปฐม

    loading picture


                น้ำอภิเษกจากจังหวัดนครปฐมมีอยู่  ๔  แห่งด้วยกันคือ  น้ำกลางหาวบนองค์พระปฐมเจดีย์ น้ำสระพระปฐมเจดีย์  น้ำสระน้ำจันทร์ และน้ำกลางแม่น้ำนครชัยศรี
                สถานที่ประกอบพิธีน้ำอภิเษก คือ พระปฐมเจดีย์
    น้ำกลางหาวบนองค์พระปฐมเจดีย์
                น้ำกลางหาวบนองค์พระปฐมเจดีย์  เป็นน้ำฝนบริสุทธิ์  ซึ่งได้ทำพิธีรองรับบนองค์พระปฐมเจดีย์ อันเป็นปูชนียสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งพระโสนและพระอุตตร ได้อัญเชิญมาเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๙๗ สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์แห่งอินเดีย
    น้ำสระพระปฐมเจดีย์
                พระปฐมเจดีย์  เป็นสระที่ขุดมามาเก่าแก่ตั้งแต่ครั้งสร้างองค์พระปฐมเจดีย์ จึงเป็นสระน้ำที่ศักดิ์สิทธิ์ อันเนื่องด้วยองค์พระปฐมเจดีย์ ดังได้กล่าวมาแล้ว
    น้ำสระแม่น้ำจันทร์


                สระน้ำจันทร์  เป็นสระเก่าแก่ อยู่ใกล้บริเวณพระราชวังสนามจันทร์ในปัจจุบัน พระราชวังสนามจันทร์น่าจะได้ชื่อมาสระน้ำแห่งนี้ กล่าวกันว่าในสมัยโบราณ ครั้งนครปฐมเป็นราชธานี ได้ใช้น้ำในสระนี้ประกอบพิธี เพื่อความศักดิ์สิทธิ์และศิริมงคลมาแล้ว
    น้ำกลางแม่น้ำนครชัยศรี
                น้ำกลางแม่น้ำนครชัยศรี  เป็นน้ำพิธีที่ตักจากลางแม่น้ำนครชัยศรีตรงปากคลองบางแก้ว ชื่อของแม่น้ำสายนี้สืบเนื่องมาจากชื่อเมืองนครปฐมแต่สมัยโบราณ ซึ่งชื่อว่าเมืองนครชัยศรี มีความหมายว่าเมืองแห่งชัยชนะ เป็นมงคลนาม
    สถานที่ประกอบพิธีน้ำอภิเษก


                พระปฐมเจดีย์  เป็นปูชนียสถานที่สำคัญยิ่งของจังหวัดนครปฐม การประกอบพิธีน้ำอภิเษกของจังหวัดนี้ จึงใช้ปริมณฑลของวิหารใหญ่ คือวิหารหลวง ซึ่งสร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาได้มีการเพิ่มเติมและบูรณะในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
     

    จังหวัดนครศรีธรรมราช

    loading picture


                น้ำอภิเษกจากจังหวัดนครศรีธรรมราชมีอยู่ ๖ แห่งด้วยกันคือ  น้ำบ่อวัดหน้าพระลาน  น้ำบ่อวัดเสมาชัย น้ำบ่อวัดเสมาเมือง  น้ำบ่อวัดประตูขาว  น้ำห้วยเขามหาชัย และน้ำปากนาคราช
                สถานที่ประกอบพิธีน้ำอภิเษก คือ วัดพระมหาธาตุ
    น้ำบ่อหน้าวัดพระลาน


                น้ำบ่อวัดหน้าพระลาน  นั้นถือว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์มาแต่โบราณ  น้ำในบ่อใสสะอาด และมีน้ำหนักผิดปกติกว่าน้ำในบ่ออื่น เชื่อกันว่าผู้ที่ได้ดื่มน้ำในบ่อนี้แล้วจะมีสติปัญญาดี และมีบุญวาสนา จะได้เป็นขุนนางผู้ใหญ่ การตักน้ำจากบ่อนี้ จะต้องตักจากด้านทิศอิสาณของบ่อ
    น้ำบ่อวัดเสมาเมือง
                วัดเสมาเมือง  ถือว่าเป็นวัดหลักบ้านหลักเมืองมาแต่โบราณ บ่อน้ำของวัดเป็นบ่อที่มีความศักดิ์สิทธิ์ใช้น้ำในบ่อนี้ประกอบพิธีสำคัญ ๆ ในทางราชการ
    น้ำบ่อวัดเสมาชัย
                วัดเสมาชัย  อยู่ติดกับวัดเสมาเมือง และถือว่าเป็นวัดหลักบ้านหลักเมืองอีกวัดหนึ่งเช่นเดียวกับวัดเสมาชัย และเป็นวัดชัยมงคล น้ำในบ่อนี้เป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ใช้ทำพิธีสำคัญ ๆ ในทางราชการเช่นเวลามีศึกสงครามจะใช้น้ำในบ่อนี้มาทำน้ำพระพุทธมนต์ประพรมกองทหาร เพื่อความมีชัยในการรบ
    น้ำบ่อวัดประตูขาว

                น้ำในบ่อนี้มีประวัติเล่ากันมาว่า เจ้าอาวาสองค์สำคัญของวัดนี้ได้ทำการปลุกเสกน้ำในบ่อนี้ เจ้าอาวาสองค์นี้เป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์สำเร็จทางไสยศาสตร์ทำให้น้ำมีความศักดิ์สิทธิ์ ใช้ประกอบทำน้ำพระพุทธมนต์ ในงานพระราชพิธีต่างๆ
    น้ำห้วยเขามหาชัย
                น้ำห้วยเขามหาชัย เรียกตามชื่อของภูเขามหาชัย ถือว่าเป็นน้ำที่มีโชคชัย ใช้เป็นน้ำในพระราชพิธีต่างๆ ร่วมกับน้ำจากบ่ออื่น ๆ ที่กล่าวมาแล้ว
    น้ำบ่อปากนาคราช

                มีประวัติเล่ากันมาว่า น้ำในบ่อนี้เป็นน้ำของพระยานาคราช ลำน้ำบ่อปากนาคราชมีลักษณะคดเคี้ยว คล้ายตัวพระยานาค มีน้ำไหลอยู่ตลอดปีไม่ขาด สายน้ำนี้เกิดจากธารน้ำเล็ก ๆ หลายสายไหลมารวมกันในแอ่งน้ำเล็ก ๆ รูปร่างคล้ายอ่างน้ำ ในที่ใกล้แอ่งน้ำนี้มีต้นไม้อยู่ 3 ชนิด คือต้นใบแร็ด (ทางเมืองนครใช้ห่อยาสูบ) อยู่ ๑ หมู่  ไม้ไผ่ ๑ กอ  หวาย ๑ กอ  ครั้งเจ้าพระยานครได้จัดให้คนเฝ้าห้ามผู้ใดตัดและทำอันตราย ไม้ไผ่ใช้ทำกระบอกใส่น้ำ ใบแร็ดใช้ทำจุกปากกระบอกน้ำ และหวายใช้ผูดมัดกระบอกน้ำเข้าด้วยกัน ใช้ในโอกาสที่ต้องตักน้ำในบ่อนี้มาใช้ในพระราชพิธีต่าง
    สถานที่ประกอบพิธีน้ำอภิเษก
                สถานที่ประกอบพิธีใช้อุโบสถพระวิหารหลวง ซึ่งเป็นพระอุโบสถของวัดพระบรมธาตุ เป็นอุโบสถที่สร้างติดกับองค์พระบรมธาตุ เป็นอุโบสถที่สำคัญที่สุดในภาคใต้

    จังหวัดลำพูน

    loading picture


               น้ำอภิเษกจากจังหวัดลำพูนมีอยู่เพียงแห่งเดียวคือ น้ำบ่อน้ำทิพย์
               สถานที่ประกอบพิธีน้ำอภิเษก  คือ ที่พระธาตุหริภุญชัย

    น้ำบ่อน้ำทิพย์

              บ่อน้ำทิพย์อยู่บนยอดเขาคะม้อ ในท้องที่ตำบลมะเขือแจ้ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน มีประวัติเล่าสืบกันมาว่า เมื่อครั้งพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ ได้เสด็จมาที่ยอดภูเขาแห่งนี้เพื่อโปรดสัตว์ เมื่อเสด็จถึงทรงกระหายน้ำ จึงให้พระสาวกที่ติดตามมาด้วยให้ไปหาน้ำมาเสวยพระสาวกหาให้ไม่ได้ พระพุทธองค์จึงทรงตั้งพระอธิษฐาน แล้วใช้นิ้วหัวแม่มือกดลงไปตรงที่ประทับอยู่ เมื่อยกหัวแม่มือขึ้น ก็มีน้ำพุ่งขึ้นมาให้พระองค์เสวย แล้วทรงทำนายว่า สถานที่นี้ต่อไปจะเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และจะได้ใช้น้ำนี้ไปทำพิธีต่างๆ จึงได้ชื่อว่าบ่อน้ำทิพย์ มีน้ำอยู่ตลอดปีไม่มีแห้ง น้ำในบ่อน้ำทิพย์นี้ เมื่อตักน้ำออกไปน้ำจะยุบลงไป และจะมีน้ำไหลพุ่งขึ้นมาเอง ยังไม่มีผู้ใดวัดได้ว่าบ่อน้ำทิพย์นี้ลึกเท่าใด เมื่อลงไปในบ่อลึก ๓ วา จากปากบ่อ แล้วเงยหน้าขึ้นดูปากบ่อ จะสังเกตุเห็นว่าเป็นรูปคล้ายหัวแม่มือ 
                ในวัน ๘ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ จะมีประชาชนไปกระทำพิธีบูชาน้ำบ่อนี้อยู่เสมอ บ่อน้ำทิพย์อยู่สูงจากเชิงเขาประมาณ ๓๐๐ เมตร ทางลาดยาวจากเชิงเขาถึงยอดเขาประมาณ ๖ กิโลเมตร อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอลำพูนประมาณ ๑๕ กิโลเมตร เส้นทางต้องผ่านป่าดงไปบางตอน การตักน้ำในบ่อนี้ต้องใช้ผู้ชาย ห้ามสตรีลงไปตัก และห้ามเหยียบย่ำปากบ่อ ปกติน้ำในบ่อนี้จะมีสีขุ่น เมื่อกระทำพิธีพลีกรรมแล้วน้ำจึงจะใส
    สถานที่ประกอบพิธีน้ำอภิเษก

                ประกอบพิธีที่พระธาตุหริภุญไชย ซึ่งมีตำนานความเป็นมาว่าสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๑๕๘๖ โดยพระเจ้าอาทิตย์ แห่งราชวงศ์รามัญผู้ครองเมืองลำพูน ต่อมาพระเมืองแก้วทรงปฏิสังขรณ์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๐๕๔ และพระเจ้ากาวิละได้ทรงปฏิสังขรณ์และยกยอดฉัตร ๔ มุม เมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๙


    จังหวัดนครพนม

    loading picture


    จังหวัดน่าน

    loading picture

                น้ำอภิเษก จากจังหวัดน่านมีอยู่เพียงแห่งเดียวคือ น้ำบ่อแก้ว
                สถานที่ประกอบพิธีน้ำอภิเษก  คือ พระธาตุแช่แห้ง
    น้ำบ่อแก้ว
                เมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๓ มีชาวพม่าคนหนึ่งชื่อโปซกโล่  ได้อาสาเป็นนายกองขุดเหมืองหลวง ต่อเจ้าเมืองน่าน ได้ขุดบริเวณลอมเชียงของ ทางทิศตะวันออกลึกสองเมตรครึ่ง ได้พลอยมีสีน้ำผึ้ง พอขุดได้ลึก ๔ เมตร ได้เกิดน้ำพุขึ้นในบ่อที่ขุดนั้น จึงได้พยายามวิดน้ำออกเพื่อจะขุดต่อไป แต่วิดน้ำออกเท่าไรน้ำก็ไม่ลด จึงขุดต่อไปไม่ได้ และน้ำก็ขึ้นมาเต็มปากบ่อพอดี ตั้งแต่นั้นมาประชาชนก็พากันเชื่อถือว่าน้ำในบ่อนี้เป็นน้ำวิเศษ และเรียกว่า น้ำบ่อแก้ว มาจนถึงทุกวันนี้
    สถานที่ประกอบพิธีน้ำอภิเษก
                ตามตำนานกล่าวว่า เมื่อพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ ได้เสด็จมาเมืองน่าน พระอรหันต์กับพระอานนท์ ได้ทูลขอพระราชทาน พระเกษธาตุแก่มลราช พระพุทธองค์ทรงประทานให้และทรงพยากรณ์ว่า เมื่อพระองค์เสด็จปรินิพพานแล้ว พระธาตุข้อมือซ้ายจะมาประดิษฐานในเมืองนี้ ครั้นพระพุทธองค์นิพพานแล้ว พระมหากัสสปได้อาราธนาให้พระธาตุเสด็จไปเมืองน่าน อยู่รวมกับพระเกษธาตุ ที่ได้ประทานไว้ก่อนถึง พ.ศ. ๒๑๘ พระเจ้าอโศกทรงรวบรวมพระธาตุ สร้างพระสถูปแปดหมื่นสี่พันแห่ง ซึ่งได้ทรงแจกพระธาตุ และพระสถูปขึ้นที่เมืองนี้ด้วย แต่พระสถูปเดิมนั้นหักพังไปหมด เหลือแต่พระธาตุจมดินอยู่ เมื่อราว พ.ศ. ๒๐๐๔ ท้าวขาก่าน เจ้าเมืองน่านจึงได้ขอพระธาตุ และสร้างสถูปขึ้น เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนมาจนถึงปัจจุบัน และมีงานเทศกาลนมัสการพระธาตุแช่แห้งในวันเพ็ญเดือนสี่เป็นประจำทุกปี


    จังหวัดร้อยเอ็ด

    loading picture

    จังหวัดเพชรบุรี

    loading picture

    จังหวัดชัยนาท

    loading picture


                น้ำอภิเษกจากจังหวัดชัยนาทมีอยู่ ๒ แห่ง คือ น้ำตักที่หน้าวัดพระบรมธาตุ และน้ำตักที่หน้าวัดธรรมามูล
                สถานที่ประกอบพิธีน้ำอภิเษก วัดพระบรมธาตุ
    น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาหน้าวัดธรรมามูล
                วัดธรรมามูล  ตั้งอยู่ที่ตำบลธรรมามูล อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท ที่ริมฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา ห่างจากที่ตั้งศาลากลางจังหวัดไปทางทิศเหนือประมาณ ๑๐ กิโลเมตร ตั้งอยู่บนไหล่เขาธรรมามูล วัดนี้เป็นวัดโบราณ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่ชื่อว่า หลวงพ่อธรรมจักร วัดนี้ไม่ปรากฎหลักฐานว่าสร้างสมัยใด เล่ากันมาว่าสร้างในสมัยสุโขทัย คือมีพระเจ้าแผ่นดินพระองค์หนึ่ง แห่งกรุงสุโขทัย ได้เสด็จชลมารคล่องลงมาตามลำแม่น้ำเจ้าพระยา และได้เสด็จขึ้นประทับพักร้อนบนเขาธรรมามูล และได้ทรงสร้างวัดนี้บนไหล่เขาธรรมามูลด้านติดริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา วัดนี้ได้รับการปฏิสังขรณ์ต่อ ๆ กันมาตามลำดับ และได้รับสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวง หลวงพ่อธรรมจักร เป็นพระพุทธรูปยืน ปางห้ามสมุทร สร้างด้วยทองสัมฤทธิ์สูง ๘ ศอก ปัจจุบันใช้ปูนหุ้มไว้ทั้งองค์ เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนเป็นอย่างยิ่ง เมื่อประชาชนที่สัญจรไปมาโดยทางน้ำผ่านหน้าวัดธรรมามูล ถ้ามิได้แวะขึ้นไปนมัสการหลวงพ่อธรรมจักร์ ก็จะวักน้ำในแม่น้ำตรงนั้นประพรมตัว เพื่อความเป็นศิริมงคล เพราะถือว่าน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงหน้าวัดธรรมามูล เป็นน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อธรรมจักร วัดนี้มีงานประจำปี เพื่อสมโภชปิดทองหลวงพ่อธรรมจักร์ปีละ ๑ ครั้ง คือในวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖ และวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๑๑ นับเป็นงานประจำปีที่ใหญ่แห่งหนึ่งของจังหวัดชัยนาท
    น้ำในเม่น้ำเจ้าพระยาหน้าวัดพระบรมธาตุ
                วัดพระบรมธาตุ  ตั้งอยู่ที่ตำบลชัยนาท อำเภอเมืองฯ จังหวัดชัยนาท บนฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา ห่างจากศาลากลางจังหวัดไปทางทิศใต้ประมาณ ๔ กิโลเมตร เป็นวัดโบราณ  มีพระปรางค์สร้างด้วยศิลาแลงสูง ๗ วา รูปทรงสี่เหลี่ยม ฐานแต่ละด้านกว้างประมาณ ๓ วาเศษ มีประวัติเล่าสืบกันมาว่า เป็นวัดที่สร้างในสมัยพระศรีธรรมาโศกราช โดยพระอรหันต์ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมา และได้สร้างพระปรางค์ด้วยศิลาแลง แล้วบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ในพระปรางค์ พร้อมกันนั้นก็ได้สร้างวัดนี้ขึ้น จากแผ่นศิลาจารึกไม่ได้กล่าวถึงผู้สร้างวัดนี้กล่าวแต่เพียงผู้ซ่อม เดิมพระปรางค์องค์นี้หุ้มด้วยโลหะสีขาว การซ่อมต่อมาได้ใช้หินและปูนหุ้มไว้ มีงานนมัสการและปิดทองพระปรางค์ปีละ ๒ ครั้ง คือในวันขึ้น ๑๔, ๑๕ ค่ำ และ วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๖ และในวันแรม ๔ ค่ำ เดือน ๑๑ เป็นงานประจำปีที่ยิ่งกว่างานประจำปีอื่น ๆ ของจังหวัดชัยนาท


                น้ำอภิเษกจากจังหวัดเพชรบุรี มีอยู่แห่งเดียวคือ น้ำแม่น้ำเพชรบุรี
                สถานที่ประกอบพิธีน้ำอภิเษก คือ วัดมหาธาตุ
    น้ำแม่น้ำเพชรบุรี
                เป็นน้ำที่ตักจาก วัดท่าชัย (ปัจจุบัน คือวัดท่าชัยศิริ) ตำบล สมอพลือ อำเภอบ้านลาด ความสำคัญของน้ำที่วัดท่าชัยศิรินี้มีมาว่า ครั้งโบราณ เมื่อกองทัพไทยรบกับกองทัพพม่า กองทัพไทยได้ถอยมาถึงวัดใต้ ซึ่งต่อมาเรียกว่า วัดชัย ทหารไทยได้ลงดื่มน้ำที่ศาลาท่าน้ำของวัดนี้ แล้วกลับขึ้นไปยึดโบสถ์วัดใต้เป็นที่มั่นต่อสู้กับกองทัพพม่าจนพม่าแตกหนีไป วัดนี้จึงได้ชื่อว่าวัดท่าชัย ตั้งแต่ครั้งนั้น ทางการได้ใช้น้ำแห่งนี้ในเวลาต่อมา และได้เลิกใช้ในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
    สถานที่ประกอบพิธีน้ำอภิเษก
                วัดมหาธาตุ  เป็นวัดเก่าแก่ ไม่มีหลักฐานว่าสร้างแต่เมื่อใด ตามประวัติกล่าวว่าสร้างขึ้นมาแล้วประมาณ ๑,๙๐๐ ปี และเป็นวัดราษฎร์ เดิมมีชื่อว่า วัดหน้าพระธาต "หรือวัดหน้าประธาตุ" ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๙ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส เสด็จมาตรวจราชการคณะสงฆ์ในจังหวัดเพชรบุรีตรัสว่า ชื่อวัดยังไม่ได้ความแน่ชัดและเดิมน่าจะเป็นวัดหลวง จึงทรงขนานนามใหม่ว่า "วัดมหาธาตุ" และทูลขอพระราชทานให้เป็น วัดหลวงชั้นตรี ส่วนการทอดกฐินทรงอนุญาตให้ประชาชนทอดกฐินได้ตามเดิม ครั้นเมื่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ สิ้นพระชนม์ การทอดกฐินก็เป็นกฐินหลวงตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๖๒ วัดนี้ได้เป็นสถานที่ทำพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้สร้างพระราชวังบนเขาวัง จึงได้ย้ายการทำพิธีถือน้ำ ฯ ไปกระทำบนเขาวัง จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้ย้ายมาทำพิธีที่วัดมหาธาตุตามเดิม
                วัดมหาธาตุ เป็นที่ประดิษฐานพระปรางค์ ๕ ยอด (พระศรีรัตนมหาธาตุ) ไม่ทราบว่าผู้ใดสร้าง และสร้างแต่เมื่อใด พระปรางค์มีรูปทรงแบบเขมร จึงเข้าใจว่าเขมรสร้าง พื้นล่างของพระปรางค์เป็นศิลาแลง มีผู้กล่าวว่าสร้างมาพร้อมกับวัดกำแพงแลง ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของตัวเมืองเพชรบุรี พระปรางค์นี้ได้บรรจุพระบรมสาริริกธาตุไว้ทั้ง ๕ ยอด คือ ยอดใหญ่ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ยอดเล็กทางด้านทิศตะวันออกเป็นอุทเทสเจดีย์ ทางด้านทิศใต้เป็นธาตุเจดีย์ ทางด้านทิศตะวันตกเป็นบริโภคเจดีย์ และทางทิศเหนือบรรจุพระธรรมเจดีย์
                พระปรางค์ ๕ ยอดนี้เคยชำรุดหักพังมาแล้ว ๒ ครั้ง ซ่อมแซมใหม่เสร็จเรียบร้อยเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๙ วัดส่วนสูงได้ ๒๗ วาเศษ ส่วนฐานวัดโดยรอบได้ ๖๐ วาเศษ เป็นปูชนียสถานที่ประชาชนเคารพบูชามาก ถึงวันนักขัตฤกษ์ และวันสงกรานต์จะเปิดให้ประชาชนไปนมัสการ



                น้ำอภิเษกจากจังหวัดร้อยเอ็ด มีอยู่ ๓ แห่ง ด้วยกันคือ น้ำสระแก้ว น้ำสระทอง และน้ำบึงพลานชัย
                สถานที่ประกอบพิธีน้ำอภิเษก คือ บึงพลานชัย
    น้ำสระแก้วและสระทอง
                สระแก้ว  อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดไปทางทิศใต้ ประมาณ ๓๐ เส้น
                สระทอง  อยู่ทางทิศตะวันตกของบึงพลานชัย
                สระทั้งสองแห่งนี้เป็นสระเก่าแก่ ขุดมาตั้งแต่สมัยสร้างเมืองร้อยเอ็ด
    น้ำบึงพลานชัย
                บึงพลานชัย  เป็นบึงเก่าแก่มีมาก่อนสร้างเมืองร้อยเอ็ด กว้างประมาณ ๓ เส้น ยาวประมาณ ๔ เส้นเศษ อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดไปทางทิศใต้ประมาณ ๘ เส้น เมื่อครั้งพระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ (ทอง จันทรางศุ) เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด ได้มีการขุดลอกบึงนี้ให้ลึก และพูนเกาะกลางบึง ๒ เกาะ สร้างสะพานติดต่อกัน ทำถนนรอบบึง
    สถานที่ประกอบน้ำอภิเษก
                ข้างบึงพลานชัย มีวัดที่สำคัญของจังหวัด คือ วัดบึงพลานชัย เดิมเป็นสำนักสงฆ์ไม่มีอุโบสถทำสังฆกรรม ต่อมาพระยารณชัยชาญยุทธ (ถนอม บุณยเกตุ) สมุหเทศาภิบาล มณฑลร้อยเอ็ด ได้ขอพระราชทานวิสุงคามสีมา และทำการผูกพันทธสีมา สร้างขึ้นเป็นวัด เรียกว่า วัดบึงพลานชัย ได้ใช้เป็นสถานที่ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาสืบมา



               น้ำอภิเษกของจังหวัดนครพนมมีอยู่เพียงแห่งเดียว คือ น้ำบ่อพระธาตุพนม
                สถานที่ประกอบพิธีน้ำอภิเษก คือ ที่พระธาตุพนม
    บ่อวัดพระธาตุพนม
                บ่อน้ำตั้งอยู่ทางทิศเหนือขององค์พระธาตุ ห่างจากกำแพงชั้นนอกประมาณ ๓๐ วา บ่อกว้าง ๑.๕๐ เมตร ลึก ๑๐ เมตร กรุข้างบ่อด้วยไม้แดง เป็นบ่อน้ำเก่าแก่ น้ำใสรสจืดสนิท และมีน้ำอยู่ตลอดปี ราษฎรส่วนมากใช้น้ำในบ่อนี้เป็นน้ำดื่ม มีเรื่องเล่ากันมาว่าเป็นบ่อที่พระอินทร์สร้างถวายพระพุทธเจ้าครั้งเสด็จรอบโลก แต่ทางสันนิษฐานตามตำนานมีว่าพระยาทั้ง 5 ที่ร่วมกันสร้างพระธาตุพนมครั้งแรก ได้ขุดบ่อและสระเพื่ออาศัยน้ำใช้ในงาน และถวายพระอรหันต์
    สถานที่ประกอบพิธีน้ำอภิเษก
                องค์พระธาตุพนม  เป็นเจดีย์รูปสี่เหลี่ยมจตุรัสก่อด้วยอิฐกว้างด้านละ ๑๐ เมตรเศษ สูงประมาณ ๕๐ เมตร ตั้งอยู่ในวัดธาตุพนม มีกำแพงล้อมองค์พระธาตุ ๔ ชั้น องค์พระธาตุตั้งอยู่บนเนินดินสูงจากพื้นธรรมดาประมาณ ๓ เมตร เรียกว่า ภูกำพร้า อยู่ห่างจากแม่น้ำโขงประมาณ 8 เส้น หน้าวัดพระธาตุพนมมีบึงใหญ่ เรียกว่า บึงธาตุพนมตามตำนานกล่าวว่า พระธาตุพนมสร้างหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ ๘ ปี พระมหากัสสปเถระ พร้อมด้วยพระอรหันต์ ๘๐๐ องค์ ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุ จากกรุงกุสินารายณ์ ประเทศอินเดีย มาประดิษฐานไว้ที่ภูกำพร้า และมีพระยาทั้ง ๕ หัวเมืองรับภาระร่วมกันสร้างพระเจดีย์องค์พระธาตุพนม เป็นที่เคารพนับถืออย่างสูงของพุทธศาสนิกชน มีงานประจำปีนมัสการพระธาตุพนมในวันเพ็ญเดือนสาม มีประชาชนมานมัสการกันอย่างล้นหลามทุกปี


                การบรมราชาภิเษกในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เมื่อ พ.ศ. 2328 นั้น  ได้ใช้เป็นแบบอย่างใน รัชกาลต่อ ๆ มา  โดยมีการปรับเปลี่ยนในบางรายการตามความเหมาะสมในแต่ละพระองค์
                การพระราชพิธีราชาภิเษกในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2493 ได้ตั้งพิธีทำน้ำอภิเษก ณ พุทธเจดีย์สถานสำคัญตามภูมิภาค 18 แห่ง  เพื่อส่งน้ำมาเข้าพิธีสรงพระมุรธาภิเษก ดังนี้

    • Update : 15/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch