หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๑ - ๙
      พระราชลัญจกร คือตราที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้ประทับ  กำกับพระปรมาภิไธยและประทับกำกับเอกสารสำคัญ ที่ออกในพระปรมาภิไธย เป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงพระราชอำนาจ และพระราชลัญจกรประจำแผ่นดินหรือประจำรัชกาลนั้น ยังเป็นเครื่องมงคลอีกด้วย ดังที่ปรากฎอยู่ในหมวดพระราชสิริซึ่งประกอบด้วย พระสุพรรณบัตร ดวงพระราชสมภพและ พระราชลัญจกรประจำแผ่นดิน ซึ่งจะต้องเชิญขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวายในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พร้อมกับเครื่องมงคลอื่น ๆ

        พระราชลัญจกรมี ๔ ประเภท คือ
        . พระราชลัญจกรสำหรับแผ่นดิน ใช้ประทับกำกับเอกสารสำคัญที่ออกในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์
        เช่น พระราชลัญจกรมหาโองการ พระราชลัญจกรไอยราพต
        . พระราชลัญจกรประจำแผ่นดิน หรือประจำรัชกาล ใช้ประทับกำกับพระบรมนามาภิไธยในเอกสารสำคัญ
        . พระราชลัญจกรประจำพระองค์ ใช้ประทับกำกับพระบรมนามาภิไธย ในเอกสารสำคัญส่วนพระองค์
        ที่ไม่เกี่ยวด้วยราชการแผ่นดิน
        . พระราชลัญจกรประจำเครื่องราชอิสสริยาภรณ์ ใช้ประทับประกาศนียบัตรเครื่องราชอิสสริยาภรณ์ตามที่
        กำหนดไว้

    พระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์

        เป็นพระราชลัญจกรที่ใช้มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยกรุงธนบุรีก็ยังคงใช้ต่อเนื่อง นอกจากนั้น
        บรรดา เจ้าประเทศราชในสมัยกรุงธนบุรีก็ยังได้รับพระราชทานตราครุฑพ่าห์จำลองไปใช้ในราชการอีกด้วย
        สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยังคงใช้พระราชลัญจกรองค์นี้เป็นพระราชลัญจกรสำหรับแผ่นดิน ในการผนึก
        พระราชสาส์นและหนังสือสัญญากับนานาประเทศ เช่นเดียวกับพระราชลัญจกรสำหรับแผ่นดินองค์อื่น ๆ
        ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นโดยที่ยังไม่มี
        พระปรมาภิไธยรอบพระลัญจกร
        ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้า ฯ ให้ใช้พระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์
        เป็นพระราชลัญจกรประจำแผ่นดินเป็นการถาวร โดยให้เพิ่มพระปรมาภิไธยประจำรัชกาลที่ขอบรอบพระราช
        ลัญจกร  ได้ทรงตราพระราชบัญญัติพระราชลัญจกร ร.ศ.๑๓๐ (พ.ศ.๒๔๕๔) ให้พระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์
        ประจำแผ่นดินองค์ใหม่ ใช้ประทับกำกับพระบรมนามาภิไธยเท่านั้น ดังนั้นพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์
        อันเป็นพระราชลัญจกรสำหรับแผ่นดินมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จึงเปลี่ยนเป็นพระราชสัญจกรประจำแผ่นดิน
        ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
        ในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชลัญจกร
        ประจำพระองค์ พระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ประจำแผ่นดิน สำหรับองค์หลังได้ทรงสร้างขึ้นเมื่อ วันที่ ๒๑
        เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๓ ณ อุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
        พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๑

         
        เป็นรูปปทุมอุณาโลม มีอักขระ 
        "อุ" อยู่กลาง ล้อมรอบด้วยกลีบบัวอันเป็น
        พฤกษชาติที่เป็นสิริมงคลในพุทธศาสนา
        ตราอุณาโลมมีรูปร่างคล้ายสังข์เวียนขวา
        อยู่ในกรอบลายกนก เริ่มใช้คราวพระราช
        พิธีบรมราชาภิเษก เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๘

        พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๒

        เป็นรูปครุฑยุดนาค เป็นพระราช
        สัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธยว่า 
        "ฉิม" อันหมายถึงพญาครุฑในวรรณคดี
        ไทย ซึ่งอยู่ที่วิมานชื่อ ฉิมพลี

        พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๓

        เป็นรูปปราสาท เป็นพระราช
        สัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธย
        ว่า "ทับ" อันหมายถึง ที่อยู่ หรือ
        เรือน

        พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๔

        เป็นรูปพระมหาพิชัยมงกุฎ
        ในกรอบรูปกลมรี เป็นพระราช
        สัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธย
        ว่า "มงกุฎ" มีฉัตรตั้งขนาบพระ
        มหาพิชัยมงกุฎทั้งสองข้าง มีพาน
        ทองสองชั้นวางแว่นสุริยกาลหรือ
        เพชรข้างหนึ่ง วางสมุดตำราข้างหนึ่ง 
        พระแว่นสุริยกาลหรือเพชร มาจาก
        ฉายาเมื่อทรงผนวชว่า "วชิรญาณ"
        ส่วนสมุดตำรามาจากการที่ได้ทรง
        ศึกษาและมีความเชี่ยวชาญในด้าน
        อักษรศาสตร์และดาราศาสตร์

        พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๕

           
          เป็นรูปพระจุลมงกุฎเปล่งรัศมี
          บนพานแว่นฟ้า เป็นสัญลักษณ์ของ
          พระบรมนามาภิไธย "จุฬาลงกรณ์"
          มีฉัตรตั้งขนาบข้าง ริมขอบสองข้าง
          มีแว่นสุริยกานต์ข้างหนึ่ง กับสมุด
          ตำราข้างหนึ่งวางอยู่บนพานแว่นฟ้า
          พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๖

           
          เป็นรูปวชิราวุธ ยอดมีรัศมี 
          ประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า
          ซึ่งตั่งอยู่เหนือตั่ง มีฉัตรกลีบ
          บัวตั้งอยู่สองข้างเป็นสัญลักษณ์
          พระบรมนามาภิไธย "วชิราวุธ"
          หมายถึง อาวุธของพระอินทร์

          พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๗

          เป็นรูปพระแสงศร ๓ องค์ คือ 
          พระแสงศรพรหมมาสตร์ พระแสงศร
          ประลัยวาต และพระแสงศรอัคนีวาต
          บนราวพาดพระแสง เหนือขึ้นไปเป็น
          ดวงตรามหาจักรีบรมราชวงศ์ ภายใต้
          พระมหาพิชัยมงกุฎ ด้านซ้ายและขวา
          ตั้งบังแทรก มีลายกนกแทรกอยู่ บนพื้น
          ตอนบนของดวงตรา พระแสงศร ๓ องค์
          นี้เป็นพระราชสัญลักษณ์ของพระบรม
          นามาภิไธย "ประชาธิปกศักดิเดชน์" 
          "เดชน์" แปลว่า ลูกศร

          พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๘

          เป็นรูปพระโพธิสัตว์ประทับ 
          บนบัลลังก์ดอกบัว พระบาทขวาห้อย 
          อยู่เหนือบัวบานอันหมายถึง แผ่นดิน 
          พระหัตถ์ซ้ายถือดอกบัวตูม มีเรือนแก้ว
          อยู่ด้านหลังแถบรัศมี มีฉัตรอยู่สองข้าง
          เป็นพระราชสัญลักษณ์ของพระบรม
          นามาภิไธยว่า "อานันทมหิดล" แปลว่า
          เป็นที่ยินดีของแผ่นดินประหนึ่งพระโพธิ
          สัตว์เสด็จมาประทานความร่มเย็นเป็นสุข
          แด่ประชาราษฎรทั้งปวง

           

           
          พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๙

           
          เป็นรูปพระที่นั่งอัฐทิศ 
          ประกอบด้วยวงจักร มีอักษร อุ 
          หรือเลข ๙ อยู่กลางวงจักร รอบ
          วงจักรมีรัสมีเปล่งออกโดยรอบ
          มีรูปเศวตฉัตรเจ็ดชั้น อยู่เหนือจักร
          ฉัตรตั้งอยู่บนพระที่นั่งอัฐทิศ 
          หมายถึง ทรงมีพระบรมเดชา
          นุภาพในแผ่นดิน

         

         

         

    • Update : 15/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch