หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    ประเทศเพื่อนบ้านของไทย- ประเทศกัมพูชา

    ประเทศกัมพูชา

                ประเทศกัมพูชา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของแหลมอินโดจีน มีพื้นที่ประมาณ ๑๘๑,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร ความกว้างจากเหนือจดใต้ประมาณ ๔๕๐ กิโลเมตร และจากตะวันออกถึงตะวันตกประมาณ ๕๖๐ กิโลเมตร มีรูปร่างคล้ายรูปสี่เหลี่ยมคางหมู โดยมีศูนย์กลางของประเทศอยู่ใกล้กับจังหวัดกัมปงทม พื้นที่ทางตอนเหนือกว้างแล้วค่อย ๆ สอบลงมาทางตอนใต้ มีความสัมพันธ์ที่ได้สัดส่วนของพรมแดน โดยรอบทั้งสี่ด้าน
                พรมแดน และเส้นเขตแดนของประเทศกัมพูชา ส่วนใหญ่กำหนดขึ้นโดยฝรั่งเศส มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศข้างเคียง อยู่สามประเทศคือ ไทย ลาว และเวียดนาม
                    ทิศเหนือ ติดต่อกับประเทศไทยในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีษะเกษ และอุบลราชธานี และติดต่อกับประเทศลาว ในแขวงอัตตะปือ และแขวงจำปาศักดิ์
                    ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และทิศตะวันออก  ติดต่อกับประเทศเวียดนาม ในเขตจังหวัดเปลกู ดาร์ลัค และกวางดั๊ก
                    ทิศตะวันออกเฉียงใต้และทิศใต้  ติดต่อกับประเทศเวียดนามเขตจังหวัดฟุคลอง บินห์ลอง เทนินห์ ฟุคทุย เคียนเทือง เคียนพง อันเกียง เคียนเกียง และอ่าวไทย
                    ทิศตะวันตกเฉียงใต้ และทิศตะวันตก  ติดต่อกับประเทศไทยในเขตจังหวัดตราด จันทบุรี และปราจีนบุรี
                    เส้นเขตแดนโดยรอบประเทศมีความยาวประมาณ ๒,๖๐๐ กิโลเมตร ติดต่อกับประเทศไทยประมาณ ๙๓๐ กิโลเมตร ประเทศลาวประมาณ ๔๐๐ กิโลเมตร ประเทศเวียดนามประมาณ ๑,๐๓๐ กิโลเมตร และอ่าวไทย ประมาณ ๔๕๐ กิโลเมตร



    ลักษณะภูมิประเทศ
                ลักษณะภูมิประเทศ โดยทั่วไปมีทั้งที่ราบลุ่ม ที่ราบสูง และภูเขา พื้นที่ภูมิประเทศมีลักษณะคล้ายอ่างเก็บน้ำ กล่าวคือ พื้นที่ตอนกลางของประเทศเป็นที่ราบลุ่ม ระหว่างแม่น้ำโขงกับแม่น้ำบาสสัค (Bassac) และมีทะเลสาบขนาดใหญ่ ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ส่วนรอบ ๆ ประเทศมีเทือกเขาสลับซับซ้อน ติดต่อกันเป็นแนวยาวสูงประมาณ ๑,๔๐๐ เมตร อยู่ติดกับประเทศไทย ตั้งแต่จังหวัดจันทบุรีทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตลอดไปทางด้านทิศเหนือ ส่วนภูเขาที่เป็นหย่อม ๆ มีอยู่บริเวณเกาะกง กำปงโสม และกำปงสะบือ ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ
                บริเวณภาคกลางของประเทศ  สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกิน ๓๐ เมตร เริ่มตั้งแต่พื้นที่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณจังหวัดพระตะบอง ไปถึงกำปงธม ไปรเวียง สวายเวียง และตาแก้ว ทางตอนใต้จดเขตแดนเวียดนาม แบ่งพื้นที่ออกเป็นสี่ลักษณะคือ บริเวณริมฝั่งแม่น้ำ ทะเลสาบ บริเวณที่ลุ่มลำคลอง หนองบึง บริเวณที่ทำนา และบริเวณเนินเขาขนาดเล็ก
                ที่ราบสูงภาคเหนือ  เริ่มตั้งแต่จังหวัดกระแจะ สตึงเตรง และรัตนคีรี ต่อจากที่ราบลุ่มภาคกลาง พื้นที่ค่อย ๆ สูงขึ้นตามลำดับ จนสูงกว่า ๓๐๐ เมตร จากระดับน้ำทะเล แบ่งออกเป็นสามตอนคือ
                    บริเวณที่ราบสูงตอนเหนือ  ในเขตจังหวัดพระตะบอง เสียมราฐ กัมปงธม มีภูเขาผ่านกลางบริเวณเป็นภูเขาลูกโดด ๆ
                    บริเวณที่ราบสูงตะวันออกเฉียงเหนือ  อยู่ในเขตจังหวัดสตึงเตรง กระแจะ แยกจากที่ราบสูงภาคเหนือด้วยแม่น้ำโขง พื้นที่เป็นเนินเขาดินอยู่ทั่วไป
                    บริเวณที่ราบสูงกัมปงจาม  สูงประมาณ ๓๐๐ เมตร จากระดับน้ำทะล
                บริเวณที่ราบสูงตามเขตชายแดน  อยู่ทางทิศเหนือติดต่อกับที่ราบสูงของไทย ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และพื้นที่ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออก และทิศตะวันออกเฉียงเหนือ อันเป็นเชิงชายเทือกเขาจากเวียดนาม แบ่งออกได้เป็นสามส่วนคือ
                    บริเวณเทือกเขาพนมดงรัก  ซึ่งมีสันปันน้ำแบ่งเขตแดนกับประเทศไทย
                    บริเวณเทือกเขาคอนทูม (Kontum) เป็นแนวเส้นเขตแดนลาวกับกัมพูชา มีเชิงชายเทือกเขาอยู่ในเขตกัมพูชา ทางใต้ลงมาเป็นที่ราบสูงบ่อแก้ว สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกิน ๕๐๐ เมตร
                    บริเวณที่ราบสูงโชลองเหนือ  เป็นแนวเส้นกั้นเขตแดนเวียดนามกับกัมพูชา มีความสูงระหว่าง ๔๐๐ ถึง ๙๐๐ เมตร
                บริเวณทิวเขากระวาน  รวมเทือกเขากระวาน และเทือกเขาช้าง ทิวเขานี้เริ่มต้นจากเขตจังหวัดจันทบุรีของไทย เป็นพืดติดต่อกันไป จนถึงจังหวัดกัมปอตของกัมพูชา ทิวเขานี้แบ่งออกเป็นสามตอนคือ
                    เทือกเขากระวานตะวันตก  เริ่มจากเขตอำเภอไพลิน จังหวัดพระตะบอง ไปถึงแม่น้ำโพธิสัตว์ มียอดเขาที่สำคัญอยู่หลายยอด ที่สูงเกนิ ๑,๐๐๐ เมตร ยอดสูงสุด ๑,๕๖๓ เมตร
                    เทือกเขากระวานกลาง  มียอดเขาที่สูงเกิน ๑,๐๐๐ เมตร อยู่หลายยอดด้วยกัน ยอดสูงสุดสูง ๑,๗๔๙ เมตร
                    เทือกเขากระวานตะวันออก  แบ่งออกเป็นสามกลุ่มคือ
                        - เทือกเขาโพธิสัตว์กับกัมปงสะบือ ยอดเขาสูงสุด ๑,๘๑๓ เมตร
                        - เทือกเขา Au Malou อยู่ระหว่างกัมปงสะบือ กับ Sre Umbell มีที่ราบสูงคีรีรม อยู่ข้างบน
                        - เทือกเขาช้าง แยกออกจากเทือกเขา Au Malou มียอดสูง ๑,๐๗๕ เมตร
               บริเวณที่เป็นหย่อมเขา  คือ บริเวณที่ล้อมรอบทิวเขากระวาน มีภูเขาสูงปานกลาง โดยทั่วไปสูงไม่เกิน ๘๐๐ เมตร แบ่งออกเป็น ๖ ตอนคือ
                        - บริเวณชายทะเล เป็นพื้นที่ราบลาดสูงขึ้นไป บรรจบกับทิวเขากระวาน และติดต่อกับที่ราบตอนกลางได้สามทาง
                        - บริเวณหย่อมเขาทางทิตะวันตกของจังหวัดพระตะบอง
                        - บริเวณหย่อมเขาระหว่างจังหวัดโพธิสัตว์กับกัมปงชนัว
                        - บริเวณหย่อมเขากัมปงสะบือ
                        - บริเวณหย่อมเขาระหว่างกัมปงสะบือกับกัมปอต
                        - บริเวณหย่อมเขาระหว่างกัมปอตกับตาแก้ว
    แม่น้ำลำธารและทะเลสาบ
                กัมพูชาเป็นประเทศที่อุดมไปด้วยแม่น้ำลำธาร ห้วยหนอง คลองบึง และมีทะเลสาบใหญ่ที่สุดในเอเชียอาคเนย์ บริเวณลุ่มน้ำสำคัญ ๆ มีอยู่สามแห่งด้วยกันคือแม่น้ำโขง ทะเลสาปและแม่น้ำทะเลสาป ติดต่อกับแม่น้ำบาสสัค (Bassac) กับแม่น้ำทางฝั่งทะเล
                แม่น้ำโขง  มีต้นน้ำจากประเทศธิเบต ไหลผ่านประเทศจีน พม่า ไทย ลาว เข้าสู่เขตแดนกัมพูชาที่หมู่บ้านอินนัง ทางภาคเหนือของกัมพูชา แล้วไหลผ่านจังหวัดสตึงเตรง กระแจะ กัมปงจาม และพนมเปญ  และไหลเข้าเขตแดนเวียดนามที่หมู่บ้านรินฮือ แม่น้ำโขงมีความยาวทั้งหมดประมาณ ๔,๕๐๐ กิโลเมตร  ในส่วนที่ไหลผ่านกัมพูชายาวประมาณ ๕๐๐ กิโลเมตร กว้างประมาณ ๑ - ๒ กิโลเมตร ความลึกเป็นไปตามฤดูกาล ในฤดูน้ำบางตอนลึกถึง ๓๐ เมตร น้ำในแม่น้ำโขงจะไหลเชี่ยวในฤดูน้ำ ลักษณะแม่น้ำโขงที่ไหลผ่านกัมพูชาแบ่งออกได้เป็นสามตอนคือ
                    ช่วงที่ไหลผ่านระหว่างหมู่บ้านวินนังมาจนถึงจังหวัดกระแจะ  แม่น้ำโขงตอนนี้ไหลเชี่ยวเป็นตอน ๆ เช่น แซมบอดทางเหนือจังหวัดกระแจะประมาณ ๑๕ กิโลเมตร กระแสน้ำไหลเชี่ยวมากเป็นระยะทาง ๑๒ กิโลเมตร บางจุดกระแสน้ำไหลเชี่ยวมากประมาณ ๖๐ กิโลเมตร และยังมีเกาะแก่งอยู่ทั่วไปเป็นอุปสรรคต่อการเดินเรือ ในช่วงนี้มีลำน้ำเสสาน และลำน้ำเสรปกไหลมาบรรจบแม่น้ำโขงที่จังหวัดสตึงเตรงด้วย
                   ช่วงที่ไหลผ่านจังหวัดกระแจะถึงพนมเปญ  มีความยาวประมาณ ๒๐๐ กิโลเมตร มีเกาะแก่งและเนินทรายใต้น้ำอยู่เป็นบางแห่ง กระแสน้ำไม่เชี่ยว สามารถใช้เดินเรือได้ทุกฤดูกาล แม่น้ำโขงในช่วงต่อจากพนมเปญ ไหลแยกออกเป็นสี่สาย  เรียกว่า  จตุรมุข คือ
                        - สายที่ ๑  คือ แม่น้ำโขงเดิม
                        - สายที่ ๒  คือ แม่น้ำโขงที่ไหลไปลงทะเลทางด้านทะเลจีนตอนใต้
                        - สายที่ ๓  คือ แม่น้ำบาสสัค
                        - สายที่ ๔  คือ แม่น้ำที่ไหลจากทะเลสาป เรียกว่า แม่น้ำทะเลสาป
                   ช่วงที่ไหลผ่านพนมเปญถึงหมู่บ้านวินฮือ  แม่น้ำโขงช่วงนี้มีความยาวกว้างกว่า ๒ กิโลเมตร กระแสน้ำไหลเชี่ยว
    แต่ยังสามารถใช้เดินเรือได้ทุกฤดูกาลจนถึงปากน้ำ ความแตกต่างของระดับน้ำในฤดูน้ำและฤดูแล้งประมาณ ๑๐ เมตร
                    แม่น้ำโขงนอกจากให้ประโยชน์แก่ประเทศกัมพูชาในด้านเป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำที่สำคัญแล้ว ยังอำนวยประโยชน์ในด้านการกสิกรรมและการประมงด้วย เนื่องจากในฤดูน้ำหลาก น้ำในแม่น้ำโขงได้ท่วมท้นไปตามพื้นที่ต่าง ๆ เมื่อน้ำลดก็ได้ทิ้งปุ๋ยอันโอชะต่อพืชไว้ และในขณะเดียวกันก็มีปลาชุกชุมอยู่ตามบึงต่าง ๆ และในแม่น้ำโขงเอง


    ฝั่งทะเลและเกาะ
                ประเทศกัมพูชามีฝั่งทะเลยาวประมาณ ๔๔๐ กิโลเมตร หรือประมาณหนึ่งในหกของเส้นพรมแดนทั้งประเทศ เป็นฝั่งทะเลที่อยู่ในอ่าวไทยทั้งสิ้น เป็นพรมแดนซึ่งกั้นประเทศกัมพูชา ออกจากแหลมมลายู เกาะสุมาตรา และเกาะชวา
                ฝั่งทะเลของประเทศกัมพูชามีลักษณะเว้าแหว่ง ประกอบด้วยสองแหลมใหญ่ ๆ คือ แหลมสามิต (Semit, Smach) และแหลมวีลเรนห์ (Veal Renh)  โดยทั่วไปความลึกใกล้ฝั่งทะเลด้านนี้มีความลึกประมาณ ๕ - ๑๐ เมตร
                ความแตกต่างของระดับน้ำทะเลขึ้นลงไม่เกิน ๒ เมตร ลักษณะของฝั่งทะเลจากเขตแดนไทยถึงปากน้ำ Koki เป็นที่ราบลุ่มมีหนองบึงมาก จากปากน้ำ Koki ถึงแหลม Sorivong มีหินระเกะระกะอยู่ทั่วไป บริเวณกัมปงโสมไปถึงพรมแดนเวียดนาม มีลักษณะเป็นหาดเลน โขดหิน และหาดทรายสลับกันไป พื้นทะะเลส่วนใหญ่ มีลักษณะราบ และแบน แต่ในที่บางแห่ง เช่น ที่แหลมโต๊ะ ซึ่งอยู่ที่ฝั่งทะเลทางด้านทิศตะวันออก มีเนินใต้น้ำสูงถึง ๕๐ เมตร และมีเกาะสลัด ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะฟูก๊ก มีเนินเปลือกหอยปกคลุมอยู่ เป็นอุปสรรคต่อการเดินเรือ
                ในฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (พฤศจิกายน - กุมภาพันธ์) ท้องทะเลในอ่าวไทย จะมีลักษณะราบเรียบ แต่ในฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (พฤษภาคม - พฤศจิกายน) กระแสลมพัดมาปะทะฝั่งประเทศกัมพูชา ทำให้เกิดคลื่นจัด ทำให้การเดินเรือยาก และมีอันตราย
                ฝั่งทะเลประเทศกัมพูชา มีอ่าวใหญ่น้อยอยู่เป็นจำนวนมาก อ่าวที่สำคัญอ่าวหนึ่งคือ อ่าวกัมปงโสม อยู่บริเวณจากแหลมสามิต (Semit) ไปทางทิศตะวันออก ชายหาดเป็นโคลนโดยทั่วไป ที่ปากอ่าวมีเกาะรง และเกาะรงสามแหลม เป็นที่กำบังเคลื่อนลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ อ่าวนี้มีบริเวณเหมาะแก่การตั้งท่าเรือ บริเวณทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองเรียม ประมาณ ๒๐ กิโลเมตร มีท่าเรือชื่อ สีหนุ ฝั่งทะเลจากท่าเรือสีหนุไปมีลักษณะโค้งเล็กน้อย ติดต่อกันไปจนถึง อ่าวเรียม ที่ปากอ่าวเรียมมีเกาะเล็ก ๆ ตั้งอยู่ ทำให้ท่าเรือเรียม อยู่ในที่กำบังลมอย่างดี จากท่าเรือเรียมมีถนนเลียบฝั่งทะเล ขึ้นไปทางเหนือ และไปบรรจบถนนมิตรภาพที่เขื่อนท่าเรือสีหนุ กับกรุงพนมเปญ นอกจากนี้ยังมีถนนแยกเลียบฝั่งทะเลไปทางทิศตะวันออก จนถึงเมืองกัปปอตด้วย
                มีเกาะขนาดใหญ่ที่มีราษฎรอาศัยอยู่สองเกาะคือ เกาะกง และเกาะฟูก๊ก

    ช่องทางติดต่อกับประเทศข้างเคียง
                ประเทศกัมพูชามีช่องทางติดต่อกับประเทศไทย ลาว และเวียดนาม ช่องทางเหล่านี้เป็นช่องทางที่เคยใช้ติดต่อกันมา แต่โบราณกาล


                ช่องทางที่ติดต่อกับประเทศไทย  อยู่ในเขตจังหวัดต่าง ๆ ของไทยเจ็ดจังหวัดด้วยกันคือ จังหวัดตราด จันทบุรี ปราจีนบุรี บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และจังหวัดอุบลราชธานี มีอยู่ ๖๗ ช่องทาง มีช่องทางที่สำคัญได้แก่ ช่องปอยเปต ในเขตอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เป็นช่องทางที่ใหญ่ที่สุด
                    ช่องทางในเขตจังหวัดตราด  อยู่ในเขตสามอำเภอด้วยกันคือ อำเภอเขาสมิง อำเภอเมือง ฯ และอำเภอคลองใหญ่
                         อำเภอเขาสมิง  มีอยู่สามทางด้วยกันเป็นทางเดินเท้า
                            - ทางเดินเท้าจากบ้านตาบาด และบ้านประอำ ตำบลบ่อพลอยเข้าไปยังบ้านหัวคลอง ตำบลสำเภอ อำเภอไพลิน จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๒๐ กิโลเมตร
                            - ทางเดินเท้าจากบ้านคลองโสน  อำเภอด่านชุมพล ถึงบ้านเสวาด ตำบลซุง อำเภอไพลิน จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๒๓ กิโลเมตร
                            - ทางเดินเท้าจากบ้านคลองโสน  ตำบลด่านชุมพล ถึงบ้านเสราด ตำบลซุง อำเภอไพลิน จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๒๔ กิโลเมตร
                        อำเภอเมืองตราด  มีอยู่เพียงช่องทางเดียวเป็นช่องทางเดินเท้า จากบ้านประทุน ตำบลแหลมกลัด อำเภอเมือง ฯ เข้าไปในเขตกัมพูชาที่บ้านมอบปละ ตำบลทุ่งยาว อำเภอพนมมกราวาน จังหวัดโพธิสัตว์ ระยะทางประมาณ ๑๔๐ กิโลเมตร
                        อำเภอคลองใหญ่  เป็นทางเดินเท้าสามช่องทาง และทางทะเลหนึ่งเส้นทาง
                            - ทางเดินเท้าจากบ้านคลองใหญ่ ตำบลคลองใหญ่ เข้าไปในเขตกัมพูชาที่บ้านเขาวง ตำบลคลองสนามควาย อำเภอเกาะกง จังหวัดเกาะกง ระยะทางประมาณ ๑ กิโลเมตร
                            - ทางเดินเท้าจากบ้านโกดสาย ตำบลคลองใหญ่ เข้าไปในเขตกัมพูชาที่บ้านรายจง ตำบคลองสนามควาย อำเภอเกาะกง จังหวัดเกาะกง ระยะทางประมาณ ๑ กิโลเมตร
                            - ทางเดินเท้าจากบ้านคลองใหญ่ ตำบลคลองใหญ่ เข้าไปในเขตกัมพูชาที่บ้านนอบยาม ตำบลคลองสนามควาย อำเภอเกาะกง จังหวัดเกาะกง ระยะทางประมาณ ๑๗ กิโลเมตร
                            - ทางทะเลโดยเรือเดินทะเล จากบ้านคลองใหญ่ ถึงบ้านนอบยาม ตำบลคลองสนามควาย อำเภอเกาะกง จังหวัดเกาะกง ระยะทางประมาณ ๒๐ กิโลเมตร
                    ช่องทางในเขตจังหวัดจันทบุรี  อยู่ในเขตอำเภอโป่งน้ำร้อน มีอยู่สามเส้นทาง เป็นเส้นทางเกวียน
                            - ทางเกวียนจากบ้านคลองลำเจียก ตำบลโป่งน้ำร้อน ผ่านเข้าไปในเขตกัมพูชาที่บ้านห้วยไทย และบ้านบ่อหญ้าคา ตำบลไพลิน จังหวัดพระตะบอง ระยะทาง ๑๑ กิโลเมตร
                            - ทางเกวียนจากบ้านบึงชะนังล่าง ตำบลหนองตาคง ผ่านเขตแดนกัมพูชาที่บ้านพุมเรียง ตำบลพุมเรียง อำเภอไพลิน จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๓ กิโลเมตร
                            - ทางเกวียนจากบ้านแหลม ตำบลหนองตาคง ถึงบ้านตาแสน ตำบลพุมเรียง อำเภอไพลิน จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๖ กิโลเมตร
                    ช่องทางในเขตจังหวัดปราจีนบุรี  อยู่ในเขตอำเภออรัญประเทศเป็นทางรถไฟ ๑ เส้นทาง ทางรถยนต์ ๑ เส้นทาง และทางเกวียน ๕ เส้นทาง
                            - ทางรถไฟสายกรุงเทพ ฯ  - อรัญประเทศ  ตำบลอรัญประเทศ ผ่านหลักเขตแดนที่ ๔๙ (คลองลึก) เข้าเขตกัมพูชาที่ปอยเปตไปสู่กรุงพนมเปญ ระยะทางจากตัวอำเภออรัญประเทศ ถึงหลักเขตแดนประมาณ ๕ กิโลเมตร จากหลักเขตด่านถึงด่านปอยเปต อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๕๐๐ เมตร
                            - ทางรถยนต์จากที่ว่าการอำเภออรัญประเทศ ขนานทางรถไฟถึงด่านปอยเปต  อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๕.๕๐ กิโลเมตร
                            - ทางเกวียนจากบ้านแสนสุข (จุกหลุก) ตำบลคลองน้ำใส ไปยังบ้านป่าสูง ตำบลเวฬุวัน กิ่งอำเภอระเวีย อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๙๐ กิโลเมตร
                            - ทางเกวียนจากบ้านลังหิน ตำบลท่าข้าม ผ่านเขตแดนที่คลองน้ำใส ไปบ้านกระชาย ตำบลบ้านกูบ อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๑๓ กิโลเมตร
                            - ทางเกวียนจากบ้านหนองเอี่ยม ตำบลท่าข้าม ผ่านเขตแดนที่คลองน้ำใสตัดไปยังบ้านกูบ ตำบลบ้านกูบ อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๑๙ กิโลเมตร
                            - ทางเกวียนจากบ้านหนองสังข์  ตัดไปบ้านยาว ตำบลสารภี อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๓๒ กิโลเมตร
                            - ทางเกวียนจากบ้านโนนหมากมุ่น  ตำบลโคกสูง ถึงบ้านยาง ตำบลบ้านลิง อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๑๔ กิโลเมตร
                    ช่องทางในเขตจังหวัดสระแก้ว  อยู่ในเขตอำเภอตาพระยา เป็นเส้นทางเกวียน มีอยู่ ๘ เส้นทางด้วยกันคือ
                            - ทางเกวียนจากบ้านตาพระยา  ตำบลตาพระยา ตัดไปบ้านเขว้า ตำบลสวายจิก อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๑๙ กิโลเมตร
                            - ทางเกวียนจากตำบลตาพระยา  ตัดไปบ้านเขว้า ตำบลสวายจิก อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๑๗ กิโลเมตร
                            - ทางเกวียนจากบ้านตาพระยา  ตำบลตาพระยา ตัดไปบ้านโดนโนย ตำบลบ้านชาด ตำบลชาด อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๑๗ กิโลเมตร
                            - ทางเกวียนจากบ้านมะกอก  ตำบลตาพระยา ตัดไปบ้านโดนโนย ตำบลบ้านชาด อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๒๘ กิโลเมตร
                            - ทางเกวียนจากบ้านแสง  ตำบลตาพระยา ตัดไปบ้านตะยิง ตำบลทมอพวก อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๙ กิโลเมตร
                            - ทางเกวียนจากบ้านละลมเบง  ตำบลตาพระยา ตัดไปบ้านกระโดน ตำบลทมอพวก อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๑๐ กิโลเมตร
                            - ทางเกวียนจากบ้านละลมเบง  ตำบลตาพระยา ตัดไปบ้านตะยิง ตำบลทมอพวก อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๑๕ กิโลเมตร
                            - ทางเกวียนจากบ้านชลกสงัน  ตำบลตาพระยา ตัดไปบ้านกระโดน ตำบลทมอพวก อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๙ กิโลเมตร
                    ช่องทางในเขตจังหวัดบุรีรัมย์  อยู่ในเขตอำเภอนางรอง และอำเภอประโคนชัย
                        อำเภอนางรอง  มีอยู่สองช่องทางด้วยกัน เป็นช่องทางเกวียน
                            - ช่องบะระแนะ  อยู่ในตำบลละหารทราย ติดต่อระหว่างตำบลละหารทรายกับตำบลทมอพวก อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง เป็นทางเกวียน
                            - ช่องโคกไม้แดง  อยู่ในตำบลละหารทราย เป็นเส้นทางติดต่อระหว่างตำบลละหารทราย กับตำบลทมอพวก อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๗๐ กิโลเมตร เป็นทางเกวียน
                        อำเภอประโคนชัย  มีอยู่สามช่องทางด้วยกันเป็นทางเกวียนและทางเดินเท้า
                            - ช่องจันทร์เพชร  อยู่ในตำบลบ้านกรวด เป็นช่องทางไปสู่ตำบลพุทไธสมันต์ อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง เป็นเส้นทางเกวียนและทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๗๖ กิโลเมตร
                            - ช่องไซตะกู  อยู่ในตำบลบ้านกรวด เป็นช่องทางไปสู่บ้านปองตุก ตำบลพุทไธสมันต์ อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง เป็นเส้นทางเกวียน และทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๒๖ กิโลเมตร
                            - ช่องจันทร์กระออม  อยู่ในตำบลบ้านกรวด เป็นช่องทางไปยังบ้านปองตุก ตำบลพุทไธสมันต์ อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง เป็นเส้นทางเกวียนและทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๓๐ กิโลเมตร
                    ช่องทางในเขตจังหวัดสุรินทร์  อยู่ในเขตอำเภอปราสาท และอำเภอสังขะ
                        อำเภอปราสาท  มีอยู่หกช่องทางด้วยกัน เป็นเส้นเดินเท้า
                            - ช่องตาเหมือน  อยู่ในตำบลปักใด เป็นช่องทางติดต่อไปยังตำบลโคกกะปั๊ง อำเภอจงกัล จังหวัดอุดรมีชัย เป็นช่องทางเดินเท้า
                            - ช่องเหว  อยู่ในตำบลปักใด ติดต่อกับตำบลโคกกะปั๊ง อำเภอจงกัล จังหวัดอุดรมีชัย เป็นช่องทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๔๕ กิโลเมตร
                            - ช่องตาเกา  หรือช่องกระบาลซอ อยู่ในตำบลตาเกา ติดต่อกับตำบลกระบาลซอ อำเภอจงกัล จังหวัดอุดรมีชัย เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๔๐ กิโลเมตร
                            - ช่องกันเทิง  อยู่ที่บ้านหวด ต.ตาเกา ติดต่อกับ บ.ทม ต.กระบาลซอ อ.จงกัล จ.อุดรชัย เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๑๐ กม.
                            - ช่องตาเล็ง  อยู่ที่ บ.โป่ง ต.ตาเกา ติดต่อกับ บ.กะดอล ต.กระบาลซอ อ.จงกัล จ.อุดรมีชัย เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๑๗ คน
                            - ช่องโดนแก้ว  อยู่ที่บ.ตาเกา ต.ตาเกาใช้ติดต่อกับ ต.กระบาลซอ อ.จงกัล จ.อุดรมีชัย เป็นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๑๐ กิโลเมตร
                        อำเภอสังขะ  มีอยู่ ๑๒ ช่องทาง เป็นเส้นทางเดินเท้า ทางเกวียน และบางแห่งรถยนต์เดินได้
                            - ช่องปลดต่าง  อยู่ใน ต.ด่าน ใช้ติดต่อกับ ต.โกนเกวียน อ.จงกัล จ.อุดรมีชัย เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๑๔ กม.
                            - ช่องจอม  อยู่ใน ต.ด่าน ใช้ติดต่อกับ ต.โกนเกวียน อ.จงกัล จ.อุดรมีชัย เป็นทางรถยนต์เดินได้ ระยะทางประมาณ ๔๒ กม.
                            - ช่องโชก  อยู่ใน ต.ด่าน ใช้ติดต่อกับ ต.โกนเกวียน อ.จงกัล จ.อุดรมีชัย เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๑๒ กม.
                            - ช่องทนง  อยู่ใน ต.ด่าน ใช้ติดต่อกับ ต.พลุ อ.จงกัล จ.อุดรมีชัย เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๑๘ กม.
                            - ช่องเสกเยีย  อยู่ใน ต.ด่าน ใช้ติดต่อกับ ต.พลุ อ.จงกัล จ.อุดรมีชัย เป็นเส้นทางเดินเท้า
                            - ช่องประเดียก  อยู่ใน ต.ด่าน ใช้ติดต่อกับ ต.พลุ อ.จงกัล จ.อุดรมีชัย เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๑๔ กม.
                            - ช่องตำไรจัก  หรือช่องกระบานซอ อยู่ใน ต.ด่าน ใช้ติดต่อกับ ต.พลุ อ.จงกัล จ.อุดรมีชัย เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๑๔ กม.
                            - ช่องคูน  อยู่ใน ต.ด่าน ใช้ติดต่อกับ ต.พลุ อ.จงกัล จ.อุดรมีชัย เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๑๖ กม.
                            - ช่องตาลอก  อยู่ใน ต.ด่าน ใช้ติดต่อกับ ต.พลุ อ.จงกัล จ.อุดรมีชัย  เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๑๗ กม.
                            - ช่องพริก  อยู่ที่ บ.ตระแวง ต.บัวเชด ใช้ติดต่อกับ ต.พลุ อ.จงกัล จ.อุดรมีชัย เส้นทาง ทางเกวียนกับทางเดินเท้ามาบรรจบกับถนนที่ บ.ดอนสา ต.พลุ ระยะทางประมาณ ๔๐ กม.
                            - ช่องดาระกา  อยู่ที่ บ.สะเดา ต.บัวเชด ใช้ติดต่อกับ ต.สำโรง อ.จงกัล จ.อุดรมีชัย  เป็นเส้นทางเกวียนและทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๕๐ กม.
                            - ช่องตำหนักมะติ  อยู่ใน ต.บัวเชด ใช้ติดต่อกับ ต.พลุ อ.จงกัล จ.อุดรมีชัย เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๑๖ กม.
                    ช่องทางในเขตจังหวัดศรีษะเกษ  อยู่ในเขตอำเภอขุขันธ์ และอำเภอกันทรลักษณ์
                        อำเภอขุขันธ์  มีอยู่สี่ช่องทาง เป็นเส้นทางเดินเท้า
                            - ช่องชำดีกา  อยู่ใน ต.สะเดาใหญ่ ใช้ติดต่อกับ ต.อัลลงเวง อ.จงกัล จ.อุดรมีชัย เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๙๖ กม.
                            - ช่องเขาสะงำ  อยู่ใน ต.โสน ใช้ติดต่อกับ ต.อัลลงเวง อ.จงกัล จ.อุดรมีชัย เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๙๒ กม.
                            - ช่องสำโรง  อยู่ที่ บ.พนมตะบัน ต.ปรือใหญ่ ใช้ติดต่อกับ ต.อัลลงเวง อ.จงกัล จ.อุดรมีชัย เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๒๘ กม.
                            - ช่องศรีษะเกษ  อยู่ใน ต.ปรือใหญ่ ใช้ติดต่อกับ ต.อัลลงเวง อ.จงกัล จ.อุดรมีชัย เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๘๐ กม.
                        อำเภอกันทรลักษณ์  มีอยู่เก้าช่องทาง เป็นทางเกวียนและทางเดินเท้า
                            - ช่องพระประลาย  อยู่ใน ต.ละลาย ใช้ติดต่อกับ ต.บ่อพลอย อ.จอมกระสาน จ.พระวิหาร เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๑๑๐ กม.
                            - ช่องทับอู  อยู่ใน ต.กะลาย ใช้ติดต่อกับ ต.บ่อพลอย อ.จอมกระสาน จ.พระวิหาร เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๕๐ กม.
                            - ช่องโนนอาว  อยู่ที่ บ.โนนอาว ต.บึงมะลุ ใช้ติดต่อกับ บ.ทเมย ต.กันตรวจ อ.จอมกระสาน จ.พระวิหาร เป็นเส้นทางเกวียนและเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๓๘ กม.
                            - ช่องพรหมวิหาร  อยู่ใน ต.บึงมะลุ ใช้ติดต่อกับ อ.จอมกระสานต์ จ.พระวิหาร เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๒๐ กม. เมื่อข้ามเขาลงมาด้านกัมพูชาแล้ว จะมีถนนผ่านไปยังจอมกระสานต์ เป็นระยะทางประมาณ ๓๘ กม.
                            - ช่องแปดหลัก  อยู่ใน ต.รุง ใช้ติดต่อกับ อ.จอมกระสานต์ จ.พระวิหาร เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๑๐๐ กม.
                            - ช่องตาเซ็ม  อยู่ใน ต.บึงมะลุ ใช้ติดต่อกับ ต.กันตรวจ อ.จอมกระสาน จ.พระวิหาร เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๙๐ กม.
                            - ช่องตาเฒ่า  อยู่ใน ต.บึงมะลุ ใช้ติดต่อกับ ต.กันตรวจ อ.จอมกระสานต์ จ.พระวิหาร เป็นเส้นทางเกวียน ระยะทางประมาณ ๘๕ กม.
                            - ช่องดำผกา หรือดำตะแป  อยู่ใน ต.บึงมะลุ ใช้ติดต่อกับ บ.ตาเตรอ ต.กันตรวจ อ.จอมกระสานต์ จ.พระวิหาร เป็นเส้นทางเกวียน และเส้นทางเดินเท้า เป็นระยะทางประมาณ ๕๕ กม.
                            - ช่องโพย  อยู่ใน ต.บึงมะลุ ใช้ติดต่อกับ ต.กันตรวจ อ.จอมกระสานต์ จ.พระวิหาร เป็นเส้นทางเกวียน ระยะทางประมาณ ๗๐ กม.
                    ช่องทางในเขตจังหวัดอุบลราชธานี  อยู่ในเขตเดชอุดม มีอยู่สองช่องทางคือ
                            - ช่องอานม้า  อยู่ใน ต.โขง ใช้ติดต่อกับ ต.ตะเคียนกวาง อ.จอมกระสานต์ จ.พระวิหาร เป็นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๓๒ กม.
                            - ช่องบก  อยู่ใน ต.โดมประดิษฐ์ ใช้ติดต่อกับ ต.จอมกระสานต์ อ.จอมกระสานต์ จ.พระวิหาร เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๓๖ กม.
                    ช่องทางที่ติดต่อกับประเทศลาว  อยู่ทางตอนเหนือของประเทศกัมพูชา เข้าสู่ประเทศลาวที่เมืองปากเซ มี ๑๒ ช่องทางในเขตสีทันดร เซโดน และอัตตะบือ และบริเวณสองฟากแม่น้ำโขง อยู่ในเขตจังหวัดรัตนคีรี สตึงเตรง และพระวิหาร
                    ช่องทางที่ติดต่อกับประเทศเวียตนาม  อยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศกัมพูชา ในเขตจังหวัดสวายเรียง เข้าสู่ประเทศเวียดนามในเขตเมืองโฮชิมินต์ (ไซ่งอน) อยู่ในเขตจังหวัดรัตนคีรี มณฑลคีรี กระแจะ กำปงชม เปรเวียร กันดาล ตาแก้ว และกัมปอต
    ข้อมูลสภาพพรมแดน
                ไทยกับกัมพูชามีพรมแดนทางบกร่วมกันประมาณ ๗๙๐ กิโลเมตร และมีเขตน่านน้ำร่วมกัน ฝั่งทะเลกัมพูชา กัมพูชาติดต่อกับอ่าวไทยเป็นระยะทางประมาณ ๔๕๐ กิโลเมตร
                การกำหนดเส้นเขตแดนทางบก ส่วนใหญ่ใช้เส้นเขตแดนธรรมชาติ ได้แก่ สันปันน้ำ ร่องน้ำ และห้วย
                พรมแดนทางบกส่วนที่ยังไม่ได้มีการปักปันเขตแดนกันไว้ มีความยาว ๑๘๒ กิโลเมตร นับตั้งแต่ช่องบกด้านอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี อันเป็นจุดร่วมของเส้นเขตแดนไทย - ลาว - กัมพูชา ไปทางด้านทิศตะวันตกจนถึงช่องเกล ด้านอำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีษะเกษ แนวเส้นเขตแดนถือตามสันปันน้ำ ระหว่างสองประเทศ
                พรมแดนส่วนที่ได้ทำสัญญาตกลงปักปันเขตแดนกันแล้ว มีความยาว ๖๑๖ กิโลเมตร ได้สร้างหมุดหลักเขตขึ้นไว้ ๗๓ หลัก เริ่มหลักเขตที่ ๑ ที่ช่องเกล จังหวัดศรีษะเกษ ทางด้านประเทศกัมพูชาอยู่ในเขตจังหวัดอุดรมีชัย ต่อไปจนสุดเขตพรมแดนร่วมกันทางบก ที่หลักเขต ๗๓ แหลมสารพัดพิษ จังหวัดตราด ทางด้านประเทศกัมพูชาอยู่ในเขตจังหวัดเกาะกง
                ปัญหาความไม่ครบสมบูรณ์ของหลักเขต จำนวนหลักเขตเพียง ๗๓ หลัก ต่อความยาวพรมแดน ๖๑๖ กิโลเมตร นับว่าไม่เป็นการเพียงพอ ปัจจุบันหลักเขตบางหลัก ยังหายไปบ้างชำรุดบ้าง จากการสำรวจเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๐ พบว่า
                    หลักเขตที่หายไป  แต่มีหลักฐานปรากฎอยู่ ได้แก่ หลักเขต ๑๕,๒๐ ในเขตจังหวัดสุรินทร์ ส่วนที่ไม่ปรากฎหลักฐานได้แก่ หลักเขต ๒๒ ในเขตจังหวัดสุรินทร์ หลักเเขต ๔๔,๔๙,๕๐,๕๑ ในเขตจังหวัดสระแก้ว หลักเขต ๕๘,๕๙ ในเขตจังหวัดจันทบุรี และหลักเขต ๒๒ ในเขตจังหวัดตราด
                    หลักเขตชำรุด  มีอยู่ ๖ หลักเขตด้วยกันคือ หลักเขต ๓,๑๗ ในเขตจังหวัดสุรินทร์ หลักเขต ๖๕ ในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ หลักเขต ๓๓.๓๗ ในเขตจังหวัดสระแก้ว หลักเขต ๕๕ ในเขตจังหวัดจันทบุรี
    การคมนาคมและการขนส่ง
                เส้นทางรถไฟ  มีทางรถไฟสองสาย
                    สายที่ ๑  จากกรุงพนมเปญไปยังอำเภอปอยเปต จังหวัดพระตะบอง จรดชายแดนไทยในเขตอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เลียบขนานไปกับเส้นทางหมายเลข ๕ ผ่านจังหวัดโพธิสัตธิ์ อำเภอพระตะบอง และอำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง มีความยาวประมาณ ๓๘๕ กิโลเมตร
                    สายที่ ๒  จากกรุงพนมเปญ ไปยังท่าเรือกำปงโสม ผ่านจังหวัดดาแก้ว จังหวัดกำปอด และอำเภอเวียฉเรนห์ จังหวัดกัมปงโสม มีความยาวประมาณ ๒๖๐ กิโลเมตร
                เส้นทางถนน  มีเส้นทางถนนสายหลักอยู่ ๑๓ สาย ด้วยกันคือ
                    เส้นทางหมายเลข ๑  จากกรุงพนมเปญ ถึงเมืองโฮจิมินต์ (ไซ่ง่อน) ในเวียดนาม ผ่านจังหวัดกันดาล จังหวัดเปรเวียง จังหวัดสวายเรียง มีความยาวประมาณ ๒๔๐ กิโลเมตร
                    เส้นทางหมายเลข ๒ จากกรุงพนมเปญ ถึงพนมมาดจร๊ก จรดชายแดนกัมพูชากับเวียดนาม ผ่านจังหวัดกันดาลและจังหวัดดาแก้ว มีความยาวประมาณ ๑๑๕ กิโลเมตร
                    เส้นทางหมายเลข ๓  จากกรุงพนมเปญ ถึงอำเภอเวียลเรนห์ จังหวัดกำปงโสม (สีหนุวิลล์) ผ่านจังหวัดกำปอต มีความยาวประมาณ ๒๔๐ กิโลเมตร
                    เส้นทางหมายเลข ๔  จากกรุงพนมเปญ ถึงท่าเรือกัมปงโสม (สีหนุวิลล์) ผ่านจังหวัดกันดาล จังหวัดกัมปงโสม (สีหนุวิลล์) จังหวัดเกาะกง มีความยาวประมาณ ๒๓๐ กิโลเมตร
                    เส้นทางหมายเลข ๕  จากกรุงพนมเปญ ถึงอำเภอปอยเปต จังหวัดพระตะบอง จรดชายแดนไทยในเขตอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ผ่านจังหวัดโพธิสัตและจังหวัดพระตะบอง มีความยาวประมาณ ๔๐๐ กิโลเมตร
                    เส้นทางหมายเลข ๖  จากกรุงพนมเปญ ถึงอำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง ผ่านจังหวัดกำปงธม อำเภอกันดาล อำเภอกัมปงจาม จังหวัดเสียมราฐ มีความยาวประมาณ ๓๙๐ กิโลเมตร
                    เส้นทางหมายเลข ๗  จากจังหวัดกัมปงธม ถึงพรมแดนกัมพูชากับเวียดนาม ผ่านจังหวัดกำปงจาม อำเภอสนูล จังหวัดกระแจะ และเชื่อมกับเส้นทางหมายเลข ๑๓ ในเขตจังหวัดสตึงเตรง มีความยาวประมาณ ๔๗๕ กิโลเมตร
                    เส้นทางหมายเลข ๑๐  จากอำเภอพระตะบอง จังหวัดพระตะบองถึงตำบลไพลิน อำเภอรัตนมณฑล จังหวัดพระตะบอง มีความยาวประมาณ ๙๐ กิโลเมตร
                    เส้นทางหมายเลข ๑๒  จากจังหวัดกัมปงทม ถึงอำเภอแซม จังหวัดพระวิหาร จรดชายแดนกัมพูชากับลาว มีความยาวประมาณ ๒๐๕ กิโลเมตร
                    เส้นทางหมายเลข ๑๓  จากอำเภอสะนวล ถึงพรมแดนกัมพูชากับลาว ผ่านจังหวัดกระแจะ และจังหวัดสตึงเตรง มีความยาวประมาณ ๒๗๐ กิโลเมตร
                    เส้นทางหมายเลข ๖๘  จากอำเภอกรอลัญ จังหวัดเสียมราฐ - อุดรมีชัย มีความยาวประมาณ ๑๓๐ กิโลเมตร
                    เส้นทางหมายเลข ๖๙  จากอำเภอจอมกระสาน จังหวัดพระวิหาร ผ่านอำเภอกระสาน เลียบไปตามชายแดนตอนเหนือของกัมพูชา ผ่านอำเภอลองเวง อำเภอสำโรง อำเภอบันเตียอัมปิล จังหวัดเสียมราฐ - อุดรมีชัย อำเภอทมอพวก ไปบรรจบเส้นทางหมายเลข ๕ และหมายเลข ๖ ที่อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง มีความยาวประมาณ ๓๔๐ กิโลเมตร
                    เส้นทางหมายเลข ๕๘ จากตำบลไพลิน อำเภอรัตนมณฑล จังหวัดพระตะบอง ผ่านอำเภอมงคลบุรี จังหวัดพระตะบอง มีความยาวประมาณ ๑๐๐ กิโลเมตร
                การขนส่งทางทะเลและท่าเรือใหญ่
                    ท่าเรือทะเล  มีอยู่สามแห่งด้วยกันคือ
                        - ท่าเรือพนมเปญ  ตั้งอยู่ที่กรุงพนมเปญ อยู่ห่างจากฝั่งทะเลประมาณ ๓๒๐ กิโลเมตร
                        - ท่าเรือกัมปงโสม  ตั้งอยู่ที่จังหวัดกำปงโสม (สีหนุวิลล์) อยู่บนฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย เหนือท่าเรือไปเล็กน้อย
                        - ท่าเรือเรียม  ตั้งอยู่ที่จังหวัดกัมปงโสม (สีหนุวิลล์)  อยู่บนฝั่งด้านอ่าวไทย อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอ่าวกัมปงโสม


    ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของกัมพูชา
                ประเทศกัมพูชา มีความเป็นมาในประวัติศาสตร์ โดยแบ่งออกเป็นสมัยที่สำคัญคือ
                สมัยฟูนัน (Fu


    • Update : 15/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch