หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การทหารของไทย 10
    การทหารสมัยกรุงรัตนโกสินทร์   (พ.ศ. 2394-2468)

       รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ    (พ.ศ. 2453-2468)
     loading picture
            ได้มีการปฏิรูปกิจการทหารต่อมา ให้เต็มรูปแบบขึ้นในบางส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัด ในปี พ.ศ. 2453 ได้เปลี่ยนชื่อกรมยุทธนาธิการ เป็นกระทรวงกลาโหม ยกกรมทหารเรือเป็น กระทรวงทหารเรือ และจัดตั้งสภาป้องกันราชอาณาจักร ให้ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างกระทรวงกลาโหม และกระทรวงทหารเรือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นประธานเสนาบดีกระทรวงกลาโหม  เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ ผู้ที่ดำรงยศจอมพลทหารบก และจอมพลทหารเรือ ทั้งที่ประจำการและมิได้ประจำการ เป็นสมาชิก โดยมีเสนาธิการทหารบก  เป็นเลขานุการ
            ในปี พ.ศ. 2454  ให้จัดรวมกองพลเป็นกองทัพ 3 กองทัพ และ 1 กองพลอิสสระ คือ
           กองทัพที่ 1   ตั้งกรมบัญชาการที่กรุงเทพ ฯ  ประกอบด้วย
                กองพลที่ 1  มณฑลกรุงเทพ ฯ
                กองพลที่ 2  มณฑลกรุงเทพ ฯ
                กองพลที่ 3  มณฑลกรุงเก่า
            กองทัพที่ 2   ตั้งกรมบัญชาการที่พิษณุโลก  ประกอบด้วย
                กองพลที่ 6  มณฑลนครสวรรค์
                กองพลที่ 7  มณฑลพิษณุโลก
                กองพลที่ 8  มณฑลพายัพ
            กองทัพที่ 3   ตั้งกรมบัญชาการที่กรุงเทพ ฯ  ประกอบด้วย
                กองพลที่ 5  มณฑลนครราชสีมา
                กองพลที่ 9  มณฑลปราจีนบุรี
                กองพลที่ 10  มณฑลอีสานและอุดร
            กองพลที่ 4   เป็นกองพลอิสระ ขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม ตั้งกรมบัญชาการที่มณฑลราชบุรี
                พ.ศ. 2455 ให้ตั้ง กรมแสงสรรพาวุธ ขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม มีหน่วยในสังกัดคือ กรมแสง และ กรมคลังแสง
                พ.ศ. 2456 ให้ตั้ง แผนกรถไฟ ขึ้นในกรมยุทธศาสตร์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มแรกของกรมรถไฟ
                พ.ศ. 2457 ให้บัญญัติแบ่งทหารออกเป็นเหล่า ชนิด และจำพวก
                พ.ศ. 2460 ให้ยก แผนกการบิน ซึ่งอยู่ในบังคับบัญชาของจเรทหารช่าง ขึ้นเป็น กองบิน ขึ้นตรงต่อกรมเสนาธิการทหารบก
                พ.ศ. 2461 เมื่อไทยประกาศสงครามกับประเทศเยอรมนี และประเทศออสเตรีย ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ไทยได้ส่งกองทหารอาสาไปร่วมรบกับฝ่ายสัมพันธมิตร  โดยจัดหน่วยอาสาออกเป็น 2 กองคือ กองบินทหารบก และ กองทหารบกรถยนต์
                พ.ศ. 2461 ให้ตั้ง กรมอากาศยานทหารบก รวมเรื่องเกี่ยวกับการบินทั้งหมดมาขึ้นกับหน่วยนี้
                พ.ศ. 2464 ให้ตั้ง กรมอากาศยานและกองบินใหญ่ โดยยกฐานะมาจาก กรมอากาศยานทหารบก และกองบินใหญ่ทหารบก หน่วยนี้นับว่าเป็นรากฐานของกองทัพอากาศในปัจจุบัน
            นอกจากนี้ก็ได้มีการจัดตั้ง กองอนุศาสนาจารย์ และกรมพลาธิการทหารบก โดยยุบเลิกกรมยกบัตรทหารบก และกรมเกียกกายทหารบก และให้หน่วยนี้ขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม
       การจัดตั้งฐานทัพเรือ     เมื่อปี พ.ศ. 2465 นายพลเรือเอก กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ ได้ขอพระราชทานพื้นที่บริเวณตำบลสัตหีบ เพื่อสร้างเป็นฐานทัพเรือ และก็ได้มีการดำเนินการพัฒนามาตามลำดับจนถึงปัจจุบัน
     loading picture
       กำลังรบทางเรือ     กองทัพเรือได้กำหนดโครงสร้างกำลังทางเรือขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2453 โดยกำหนดระยะเวลาไว้ 15 ปี  ได้มีการสั่งต่อเรือรบที่อู่กางาซากิ เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น คือเรือหลวงคำรณสินธุ์ และเรือหลวงตอร์ปิโด 4  ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2457 บรรดข้าราชการได้ร่วมใจกันเรี่ยไรทุนทรัพย์ จัดหาเรือรบน้อมเกล้า ฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้รับพระราชทานชื่อว่า เรือหลวงพระร่วง  ต่อมาในปี พ.ศ. 2466  กระทรวงทหารเรือ ได้สั่งต่อเรือยามฝั่งจากประเทศอังกฤษเป็นลำแรก  เรือสร้างเสร็จและเดินทางมาถึงประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2468 ได้รับพระราชทานนามว่า เรือหลวงรัตนโกสินทร์

       กำเนิดกองทัพอากาศ
     loading picture
                เมื่อปี พ.ศ. 2454 ได้มีการนำเครื่องบินแบบออร์วิลล์ไรท์  มาแสดงการบินที่สนามม้าสระปทุม กรุงเทพ ฯ  ต่อมากระทรวงกลาโหม จึงได้ดำริที่จะจัดตั้งกิจการบินขึ้น เพื่อใช้ในการป้องกันประเทศ  โดยจัดเป็นแผนกหนึ่งของกองทัพบก  จึงได้มีการส่งคนไปศึกษาวิชาการบินที่ประเทศฝรั่งเศษ ซึ่งมีความก้าวหน้าในกิจการบินมากกว่าประเทศอื่น ๆ ในเวลานั้น มีผู้ได้รับคัดเลือกไปศึกษารุ่นแรก 3 คน คือ
            1  นายพันตรี หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ (สุณี สุวรรประทีป)  ผู้บังคับกองพันพิเศษ กองพลที่ 5
            2  นายร้อยเอก หลวงอาวุธสิขิกร (หลง สินสุข)  ผู้รั้งผู้บังคับกองพันพิเศษ กองพลที่ 9
            3  นายร้อยโท ทิพย์  เกตุทัต  ผู้บังคับกองร้อยที่ 2 โรงเรียนนายร้อยมัธยม
    นายทหารทั้ง 3 นาย  ได้เดินทางไปศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2454  และสำเร็จการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2456  กระทรวงกลาโหมได้สั่งซื้อเครื่องบิน 7 เครื่อง เป็นแบบ เบรเกต์ ปีก 2 ชั้น (Breguet) จำนวน 3 เครื่อง และ แบบ นิเออปอรต์ปีกชั้นเดียว (Nieuport) จำนวน 4 เครื่อง  นอกจากนั้นเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (ชุ่ม อภัยวงศ์) ได้บริจากเงินส่วนตัว ซื้อเครื่องบิบแบบเบรเกต์ ให้ทางการอีก 1 เครื่อง รวมเป็น 8 เครื่อง โดยนายทหารทั้ง 3 นาย ที่ไปเรียนที่ฝรั่ง เป็นผู้ทดลองบินแล้ว  จึงได้ส่งมายังประเทศไทย
            เมื่อนายทหารทั้ง 3 นาย  เดินทางกลับมาจากฝรั่งเศษแล้ว  กระทรวงกลาโหม  จึงได้จัดตั้งแผนกการบิน อยู่ในบังคับบัญชาของ จเรทหารช่าง   คือ นายพลโท กรมขุนกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ได้สร้างโรงเก็บเครื่องบิน บริเวณพื้นที่สนามราชกรีฑาสโมสร  หลังกรมตำรวจปัจจุบัน  และใช้สนามราชกรีฑาสโมสรเป็นสนามบิน โดยมีนายทหารทั้ง 3 นาย เป็นทั้งนักบินและช่างเครื่องด้วย
       พ.ศ. 2457   ก็ได้ย้ายแผนกการบินมาอยู่ที่ดอนเมือง  เนื่องจากเห็นว่าพื้นที่ดอน ในฤดูน้ำหลากน้ำท่วมไม่ถึง  สามารถใช้ทำการบินได้ตลอดทั้งปี และอยู่ไม่ห่างจากพระนครมากนัก ในปีเดียวกันนี้แผนกการบินก็ได้ยกฐานะขึ้นเป็น กองบินทหารบก  โดยมี นายพันโท พระเฉลิมอากาศ เป็นผู้บังคับกองบิน และนายทหารที่ไปศึกษาด้วยกันที่ฝรั่งเศษ  เป็นรองและผู้ช่วยผู้บังคับกองบิน
       พ.ศ. 2458   กองบินทหารบกก็สามารถสร้างเครื่องบินขึ้นใช้เองได้ 1 ลำ เป็นแบบ เบรเกต์ปีก 2 ชั้น โดยผลิตจากโรงงานของกองบิน โครงสร้างทั้งหมดใช้วัสดุจากในประเทศ
     loading picture
       พ.ศ. 2461   ประเทศไทยได้ส่งกำลังทหาร เข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรที่ยุโรป ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ในรูปของ กองทหารอาสา ประกอบด้วย กองบินทหารบก และกองทหารบกรถยนต์ โดยมี นายพันเอก พระเฉลิมอากาศ เป็นผู้บังคับการกองทหารอาสา และ นายพันตรี หลวงทยานพิฆาต   เป็นผู้บังคับการกองบิน ในการส่งทหารอาสาไปราชการสงครามครั้งนี้   นอกจากจะมีความมุ่งหมายทางการเมืองระหว่างประเทศแล้ว ยังมุ่งหมายที่จะส่งคนไปฝึกศึกษาวิชาการบิน และการช่างอากาศ   เพื่อประโยชน์แก่การพัฒนากิจการด้านนี้ ให้แก่ประเทศชาติอีกด้วย  ดังนั้นเมื่อสงครามสงบแล้ว ทหารไทยยังคงฝึกและศึกษาต่ออีก และได้เดินทางกลับประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2462   มีผู้สำเร็จได้เป็นนักบิน 95 คน และเป็นช่างเครื่อง 225 คน ทั้งหมดนี้ได้เป็นกำลังอันสำคัญของกิจการบินของกองทัพอากาศในเวลาต่อมา
       พ.ศ. 2461 ได้ตั้ง กรมอากาศยานทหารบกขึ้น ประกอบด้วย กองบินทหารบก โรงเรียนการบินทหารบก และโรงงานของกรมอากาศยานทหารบก  หน่วยนี้ขึ้นตรงต่อเสนาธิการทหารบก  เจ้ากรมอากาศยานทหารบกคนแรกคือ นายพันเอก พระยาเฉลิมอากาศ มีฐานะเทียบชั้นผู้บัญชาการกองพล  ส่วนผู้บังคับการกองบินทหารบก มีอำนาจในทางปกครองเทียบชั้นผู้บังการกรม
            การจัดส่วนราชการของกองบินทหารบก  ประกอบด้วย กองบินใหญ่ทหารบก 3 กองบิน มีที่ตั้งอยู่ที่ดอนเมือง คือ
            กองบินใหญ่ทหารบกที่ 1  (ขับไล่)
            กองบินใหญ่ทหารบกที่ 2  (ตรวจการณ์)
            กองบินใหญ่ทหารบกที่ 3  (ทิ้งระเบิด)  ต่อมาในปี พ.ศ. 2463 ได้ย้ายจากดอนเมือง ไปอยู่ที่ตำบลหนองบัว จังหวัดนครราชสีมา
     loading picture
       พ.ศ. 2464   กระทรวงกลาโหมได้พิจารณาเห็นว่า กำลังทางอากาศมิใช่เป็นกำลังเฉพาะทหารบกเท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์ต่อกิจการด้านอื่นด้วย เช่น การพาณิชยกรรม และการคมนาคม เป็นต้น จึงได้มีคำสั่งเปลี่ยนชื่อ กรมอากาศยานทหารบก และกองบินใหญ่ทหารบก เป็น กรมอากาศยานและกองบินใหญ่ และได้มีการแบ่งส่วนราชการใหม่ ซึ่งมีอยู่ 5 หน่วยด้วยกัน  คือ
            กองโรงเรียนการบินเบื้องต้น  ตั้งอยู่ที่ดอนเมือง
            กองโรงงานกรมอากาศยาน  ตั้งอยู่ที่ดอนเมือง
            กองบินใหญ่ที่ 1   ตั้งอยู่ที่อ่าวมะนาว จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ย้ายจากดอนเมืองปี พ.ศ. 2465)
            กองบินใหญ่ที่ 2   ตั้งอยู่ที่ดอนเมือง
            กองบินใหญ่ที่ 3   ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองบัว จังหวัดนครราชสีมา
       พ.ศ. 2465   ได้มีการประชุมหารือกันระหว่างหน่วยที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำความตกลงกันเรื่อง การบินไปรษณีย์   ที่ประชุมเห็นชอบตามพระกระแสดำริของเสนาธิการทหารบก จอมพล  สมเด็จเจ้าฟ้า ฯ กรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต คือให้กรมไปรษณีย์โทรเลข มีหน้าที่ในกรมอากาศไปรษณีย์ กรมอากาศยานเป็นผู้ช่วยในการพาหนะ การจัดการบินไปรษณีย์  ควรจัดในมณฑลที่มีการคมนาคมช้ามากก่อน  ตามลำดับดังนี้
            ขั้นที่ 1   สายนครราชสีมา ผ่านร้อยเอ็ด ถึง อุบลราชธานี
            ขั้นที่ 2   สายนครราชสีมา ผ่านร้อยเอ็ด ผ่านอุดรธานี ถึงหนองคาย
            ขั้นที่ 3   สายนครราชสีมา ผ่านชัยภูมิ เพ็ชรบูรณ์ ถึงพิษณุโลก
            ขั้นที่ 4   พิจารณาจัดในมณฑลพายัพ  ต่อไป
            งานขั้นที่ 1  ได้เริ่มปฏิบัติเป็นผลสำเร็จเมื่อ ปี พ.ศ. 2466  และได้มีการปรับปรุงเส้นทางตามความเหมาะสมต่อไป  กล่าวคือได้ยกเลิกการบินตามขั้นที่ 1 และเปิดการบินไปรษณีย์สายจังหวัด นครราชสีมา-ร้อยเอ็ด-นครพนม ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2472 กรมอากาศยานได้เลิกการบินไปรษณีย์และมอบงานนี้ให้กระทรวงพาณิชย์ และคมนาคม  ดำเนินการต่อไป เมื่อปี พ.ศ. 2474

    • Update : 15/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch