หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

    อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา


    พระนครศรีอยุธยา เคยเป็นราชธานีของไทยเป็นระยะเวลาถึง 417 ปี มีกษัตริย์ปกครองรวม 5 ราชวงศ์ นับจำนวนทั้งสิ้น 33 พระองค์ นับตั้งแต่พระเจ้าอู่ทอง หรือสมเด็จพระะบรมราชาธิบดี แห่งราชวงศ์เชียงราย เป็นปฐมกษัตริย์ ได้ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 1893
    จนถึงพรเจ้าเอกทัศน์หรือสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสุริยามรินทร์ กษัตริย์พระองค์สุดท้ายที่ไทยเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า สิ้นสุดการเป็นราชธานีไทย เมื่อปี พ.ศ. 2310
    ตลอดระยะเวลากว่าสี่ศตวรรษ พระนครศรีอยุธยาได้สร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ให้แก่ชนชาติไทย และแก่ชาวโลกมากมาย  เป็นเพชรน้ำเอกแห่งสุวรรณภูมิอย่างที่ไม่มีเพชรเม็ดใดเทียบเทียมได้  ตลอดห้วงระยะเวลาในประวัติศาสตร์  นับเป็นมรดกไทยและมรดกโลกที่ทรงคุณค่าต่อจากกรุงสุโขทัย  องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ  (United Nation  Education  Science  and  Culture  Organization  (UNESCO)  ได้ประกาศให้เป็นมรดกโลก  พร้อมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย  เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๕
    จากการสำรวจพบซากโบราณสถานที่เป็นรากฐานของประสาทราชวัง  กำแพงเมือง  และวัดวาอารามคนที่ยังหลงเหลืออยู่ ๒๐๐  แห่ง  ในเขตแถวเมืองซึ่งล้อมรอบด้วยแม่น้ำสำคัญ  ๓  สาย คือ  แม่น้ำลพบุรี  แม่น้ำป่าสักและแม่น้ำเจ้าพระยา  แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรือง ยิ่งใหญ่ อลังการ์  ของพระมหานครแห่งนี้

    พระบรมมหาราชวัง
    ชาวต่างประเทศที่ได้มาเห็นอยุธยาในครั้งนั้นได้เขียนเรื่องเกี่ยวกับพระราชวังไว้เมื่อปี พ.ศ.๒๒๓๓ พอประมวลได้ดังนี้ ในอยุธยาสมัยนั้นมีพระราชวังอยู่ ๓  แห่ง คือ  แห่งแรกพระราชวังที่พระเจ้าแผ่นดินองค์ก่อนทรงสร้างไว้  ตั้งอยู่ค่อนไปทางกลางพระนคร  ประกอบด้วยพื้นที่สี่เหลี่ยมใหญ่,  ปันเป็นส่วน,  มีตำหนักเป็นอันมาก  ทำเป็นหลังคาหลายชั้นตามแบบสถาปัตยกรรมจีน  ด้านหน้าปิดทองตลอด  ภายในกำแพงพระราชวัง  และภายนอกมีโรงช้างยาวเหยียด  มีช้างผูกเครื่องลายวิจิตรอยู่ร้อยกว่าเชือก  พระราชวังแห่งที่สอง  เรียกว่า  วังหลวง  อยู่ด้านตะวันออกเฉียงเหนือของตัวเมือง  พื้นที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมเหมือนกัน  แต่ไม่ใหญ่เท่าพระราชวังแห่งแรก  เดิมเป็นที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดินองค์ก่อน  แต่ในขณะนั้นให้เป็นที่ประทับของพระมหาอุปราช  ส่วนพระราชวังแห่งที่  ๓  เล็กกว่าสองแห่งที่กล่าวแล้ว  เป็นที่อยู่ของเจ้ากรมช้างต้น  มีเจ้าในราชวงศ์ประทับอยู่  องค์หนึ่งเป็นเจ้ากรมช้างต้น  เป็นควาญ  และผู้จัดแจงช้างต้นสำหรับพระเจ้าแผ่นดิน
    วัดในพระพุทธศาสนา
    วัดเป็นทั้งสถานที่เคารพทางศาสนา และเป็นสถานที่ศึกษาของกุลบุตรโดยทั่วไป  บาดหลวง  เดอ ชัว สี ได้บันทึกในเรื่องนี้ไว้ว่า
    เมื่อออกไปกลางแจ้งทุกคนจะเห็นช่อฟ้า หลังคาโบสถ์  และยอดเจดีย์ที่ปิดทองถึง ๓ ชั้น ตั้งอยู่ดาษดาทั่วไปหมด  ดูสะพรั่งละลานตา  ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นสิ่งใดที่จะสวยงามไปยิ่งกว่านี้

    วัดพระศรีสรรเพชญ์
    เมื่อกล่าวถึงวัดพระศรีสรรเพชญ และวัดมหาธาตุ ก็มีคำบรรยายไว้ว่าเมื่อเข้าไปภายในก็คิดว่า เป็นโบสถ์อย่างคริสต์ที่เขานับถืออยู่  ที่ระเบียงโบสถ์มีเสากลมใหญ่จำนวนมากแต่ไมีมีลวดลายวิจิตรอะไร  เสาใหญ่ตามทางเดินและที่ชายระเบียงปิดทองตลอดทั้งต้น  ส่วนกลางในที่ใกล้กับแท่นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปมีการประดับประดางดงาม บนฐานมีพระพุทธรูปทองคำอยู่ ๓ องค์ ขนาดเท่าคนธรรมดา นั่งขัดสมาธิ  (แบบที่ชาวเมืองชอบนั่งกัน) มีเพชรเม็ดใหญ่ ประดับที่พระนลาดและนิ้วพระหัตถ์และที่สะดือ 
    ส่วนกลางของพระอารามค่อนข้างคับแคบ และค่อนข้างมืด มีประทีปตามไฟไว้  ๕๐  ดวง  เมื่อไปถึงสุดตอนกลาง จะเห็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่หุ้มทองคำหนาถึง  ๓  นิ้วฟุตทั้งองค์ องค์พระสูงประมาณ  ๔๒  ฟุต  กว้างประมาณ  ๑๓ - ๑๔  ฟุต  กล่าวกันว่าทองคำที่หุ้มองค์พระนั้นมีมูลค่าถึง  ๑๒  ล้าน  ๔  แสนปอนด์ 
    นอกจากนั้นยังเห็นพระพุทธรูปทองคำในโบสถ์อื่น ๆ  ในพระอารามหลวงอีก  ๑๗ - ๑๘  องค์ ขนาดเท่าคนจริงธรรมดา  แทบทุกองค์มีอัญมนีประดับที่พระนลาด  และที่นิ้วพระหัตถ์

    วัดมหาธาตุ
    เป็นวัดสำคัญอีกวัดหนึ่ง ทูตลังกาได้เขียนบรรยายไว้ว่า วัดนี้สร้างในที่ราบรื่น  มีกำแพงล้อมทั้ง  ๔  ด้าน นอกกำแพงมีคลองเป็นคู ตั้งแต่ท่าหน้าวัด ด้านตะวันออกมีฉนวนหลังคาสองชั้น ยื่นยาวเข้าไปจนถึงประตูวัดเมื่อเข้าประตูวัด แลคูทั้งสี่ด้าน มีพระเจดีย์ปิดทอง ๘ องค์ ระหว่างพระเจดีย์ตั้งพระพุทธรูป และมีวิหาร หลังคา ๒ ชั้น ๔ ทิศ ในวิหารมีพระพุทธรูปใหญ่นั่งสูงจรดเพดาน
    ตรงศูนย์กลางเป็นองค์พระมหาธาตุ ๕ ยอด มีเจดีย์ และวิหารทั้ง ๔ ลอยอยู่ตรงชั้นบัลลังก์ทั้ง ๔ มุม เป็นรูปภาพต่าง ๆ คือ ครุฑ จตุโลกบาล โทวาริกถือดาบ รากษสถือกระบองสั้น และรูปพิราวะยักษ์ถือกระบองยาว เป็นต้น ยอดพระมหาธาตุนั้น เป็นทองทั้งแท่ง บันไดที่ขึ้นไปยังซุ้มที่องค์พระมหาธาตุ หลังพนักทั้งสองข้างเป็นนาคราชตัวโตเท่าลำตาล เลื้อยลงมาแผ่พังพานอยู่ที่เชิงบันได รอบฐานพระมหาธาตุ มีรูปสัตว์ตั้งเรียงรายโดยรอบ คือ รูปราชสีห์ หมี หงษ์ นกยูง กินนร โค สุนัขป่า กระบือ มังกร และมีรูปเทวาริก ยืนถือดาบบ้าง ถือวิชนี จามร และฉัตรบ้าง
    นอกจากนี้ยัง มีเครื่องพุทธบูชาต่าง ๆ อีกมาก ที่หน้าบันซุ้มพระมหาธาตุปั้นเป็นลายรูปพระพรหม พระสักระ พระสยาม ล้วนปิดทองทั้งสิ้น ในพระวิหารด้านตะวันออก มีพระพุทธรูปนั่งหันพระพักตร์ไปทางพระมหาธาตุ และมีรอยพระพุทธบาทจำลองสองรอย
    พระวิหารด้านตะวันตกมีพระพุทธรูป ๓ องค์ มีพระพุทธรูปปางเสด็จทรงสีหไสยาสน์ อยู่ในพระคันธกุฏิ มีรูปพระอานนท์นั่งถือเชิงเทียนทอง ฝาผนังเขียนเรื่องมหาเวสสันดรชาดก และเรื่องปฐมสมโพธี รูปภาพทั้งหมดล้วนปิดทองทั้งสิ้น

    วัดไชยวัฒนาราม

    วัดราชบูรณะ


    วัดมเหยงค์

    วัดใหญ่ชัยมงคล

    วัดภูเขาทอง

    วัดมงคลบพิตร

    ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเมือง
    หมอแกย์ปีเฟอร์ได้เขียนไว้ว่า
    รอบกรุงมีหมู่บ้านมากด้วยกัน บางแห่งอยู่ในเรือลอยมากกว่าบ้าน โยกย้ายไปตามที่ต้องการ เมื่อมีงานก็ลอยเรือเที่ยวเร่ขายของเป็นอาชีพ สำหรับบ้านปกติจะสร้างด้วยไม้ไผ่ประกอบกับไม้กระดาน 
    บ้านนี้ปลูกตามริมฝั่งแม่น้ำ ปลูกบนเสาสูง ถึงหนึ่งฟาทอม เพื่อไม่ให้น้ำท่วมถึง แต่ละบ้านมีบันไดสำหรับลงแม่น้ำในหน้าแล้ง หมู่บ้านที่อยู่ลึกออกไปจากฝั่งน้ำ และไม่ถูกน้ำท่วม ก็ไม่ต้องใช้เรือ และในบริเวณดังกล่าวจะมีวัดวาอาราม ที่ฝังศพ และที่เผาศพ ซึ่งเมื่อเผาแล้วก็จะก่อเจดีย์ครอบอัฐิ และเถ้า สร้างไว้เป็นหย่อม ๆ ไป

    วาระสุดท้ายของกรุงศรีอยุธยา
    เซนเยอร์บริโกด์ บาดหลวงชาวฝรั่งเศส เขียนไว้ได้ความว่า วัดและโรงเรียนสามเณรของเราก็ถูกไฟไหม้ พวกเข้ารีดที่วัดเซนด์ ปอล ถูกจับเป็นเชลยหมด นำไปไว้ยังวัดท่าใหม่ พม่าเที่ยวเอาไฟเผาบ้านเรือน ทุบทำลาย ข้าวของ และฆ่าฟันผู้คนทิ้งไปหมด
    เมื่อพม่ายึดโรงเรียนสามเณรได้ ๘ วัน ก็ตีกรุงแตก พม่าเข้าไปในพระนครได้ จับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และบุคคลสำคัญจำตรวน ส่วนพระเจ้ากรุงสยามหนีข้าศึกไปได้ และสวรรคตที่โพธิ์สามต้น เมื่อพม่ายกทัพกลับไปแล้ว เมื่อพม่าเข้ากรุงได้แล้ว ก็จุดไฟเผาบ้านเรือน ทำลายข้าวของต่าง ๆ อยู่ถึง 15 วัน ฆ่าผู้คนไม่เลือกหน้า และได้พยายามฆ่าพระสงฆ์ไปนับจำนวนไม่ถ้วน พม่ายกทัพกลับโดยออกจากกรุงศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1767 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2310

    • Update : 14/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch