๑๖ มกราคม ๒๔๘๘
รัฐบาลซึ่งมีนายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ตราพระราชบัญญัติครูขึ้นเป็นฉบับแรก ด้วยความมุ่งหมาย ๓ ประการ คือ
๑. เพื่อประกอบพิธีระลึกถึงพระคุณครูอาจารย์
๒. เพื่อส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครู
๓. เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับประชาชน ทางราชการได้กำหนดให้วันนี้เป็น วันครู ขึ้นเป็นครั้งแรก
๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๘
ประกาศใช้เครื่องแบบทหารเรือฉบับแรก
๑๔ สิงหาคม ๒๔๘๘
รถไฟสายท่าจีน - แม่กลอง หมดสัมปทาน โอนกิจการเป็นของการรถไฟ รถไฟสายท่าจีน - แม่กลอง เปิดเดิน เมื่อ ๑๕ สิงหาคม ๒๔๔๘ ระยะทางเมื่อเปิดเดินครั้งแรก ๓๓ กิโลเมตร
๑๔ สิงหาคม ๒๔๘๘
ญี่ปุ่นยอมแพ้แก่ฝ่ายสัมพันธมิตร ประเทศไทยประกาศทันทีว่าไทยอยู่ในฐานะสันติภาพและให้ถือว่าคำประกาศสงครามต่อประเทศสัมพันธมิตร เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๔๘๕ เป็นโมฆะ เพราะขัดต่อรัฐธรรมนูญ และไม่ต้องด้วยเจตนารมย์ของปวงชนชาวไทย
๑๕ สิงหาคม ๒๔๘๘
ญี่ปุ่นยอมประกาศยอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตรโดยไม่มีเงื่อนไข
๑๖ สิงหาคม ๒๔๘๘
ได้มีพระบรมราชโองการประกาศสันติภาพไทยจะมีพันธมิตรทุกประเทศ หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ยุติ นายปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล มีใจความว่า การประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกา และบริเตนใหญ่ของอังกฤษ เมื่อ ๒๕ มกราคม ๒๔๘๕ เป็นโมฆะ ไม่ผูกพันกับประชาชนชาวไทย เนื่องจากการประกาศสงครามครั้งนั้นเป็นการกระทำอันผิด จากเจตจำนงของประชาชนชาวไทย และขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมายบ้านเมือง ประเทศไทยได้ตัดสินใจให้กลับคืนมา ซึ่งสัมพันธไมตรีอันเคยมีมากับสหประชาชาติ เมื่อก่อนวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔ บรรดาดินแดนซึ่งญี่ปุ่นได้มอบให้ไทยครอบครอง ประเทศไทยไม่ปรารถนาที่จะได้ดินแดนเหล่านั้น และพร้อมที่จะจัดการส่งมอบคืนให้ดังเดิม
๑๙ สิงหาคม ๒๔๘๘
รัฐบาลสหรัฐอเมริกา และรัฐบาลอังกฤษประกาศรับรองการประกาศสันติภาพของไทย หลังจากสงครามมหาเอเซียบูรพายุติลง โดยการยอมจำนนของญี่ปุ่นต่อฝ่ายสัมพันธมิตร เมื่อ ๑๔ สิงหาคม ๒๔๘๘ และรัฐบาลไทยได้ประกาศ เมื่อ ๑๖ สิงหาคม ๒๔๘๘
๒๑ สิงหาคม ๒๔๘๘
นายเจมส์ เบิร์นส์ รัฐมนตรีว่าการต่างประเทศสหรัฐ ฯ ได้ประกาศรับทราบคำประกาศอิสระภาพของไทย
๒ กันยายน ๒๔๘๘
ประธานาธิบดี ทรูแมน แห่งสหรัฐอเมริกา ได้ออกคำสั่งทั่วไปที่ ๑ กำหนดให้กองกำลังญี่ปุ่นตลอดทั่วประเทศไทย ให้ยอมจำนนต่อผู้บัญชาการทหารสูงสุด ฝ่ายสัมพันธมิตรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ผู้เดียว
๓ กันยายน ๒๔๘๘
อังกฤษส่งกองพลที่ ๗ (อินเดีย) เข้ามาปลดอาวุธกองทัพญี่ปุ่นในประเทศไทย และพลเรือเอก ลอร์ด หลุยส์ เมาท์แบตเทน ได้ยื่นร่างข้อตกลงทางทหาร ( Preliminary Military Agrement ) รวม ๒๑ ข้อ ต่อคณะผู้แทนทางทหารของไทย ที่เดินทางไปทำความตกลงกับฝ่ายสัมพันธมิตร ที่เมืองแคนดี ในเกาะลังกา ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเงื่อนไขการยอมแพ้โดยรวม ยิ่งกว่าเรื่องการทหารโดยตรง
๗ กันยายน ๒๔๘๘
ประกาศยกเลิกคำว่า "ประเทศไทย" (ไทยแลนด์) ให้ใช้คำว่า "สยาม" "ไทย" กับ "สยาม" ต่างกัน ไทยเป็นชื่อเชื้อชาติ คำว่า "สยาม" เป็นชื่อดินแดน
๘ กันยายน ๒๔๘๘
ได้มีการลงนามในข้อตกลงทางทหารชั่วคราว ระหว่างแม่ทัพใหญ่ฝ่ายสัมพันธมิตร ภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และหัวหน้าคณะผู้แทนทางทหารของไทย ณ เมืองแคนดี เกาะลังกา มีสาระเกี่ยวกับ การปลดอาวุธกำลังทหารญี่ปุ่นในไทย การกักกันบุคคลสัญชาติญี่ปุ่นและเยอรมันในไทยการช่วยเหลือเชลยศึก และผู้ถูกกักกัน
๑๔ กันยายน ๒๔๘๘
รัฐบาลไทยได้ประกาศยกเลิกกติกาพันธไมตรีกับประเทศญี่ปุ่น และต่อมาได้ประกาศยับยั้งความสัมพันธ์กับญี่ปุ่น
๒๒ กันยายน ๒๔๘๘
ไทยได้ส่งมอบรัฐเชียงตุง และรัฐเมืองพาน ให้กับกองพลอินเดียที่ ๗
๒๓ กันยายน๒๔๘๘
ข้าหลวงใหญ่ประจำสี่รัฐมาลัยของไทย ได้ทำพิธีมอบสี่รัฐมาลัยให้กับฝ่ายทหารอังกฤษ
๕ ธันวาคม ๒๔๘๘
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เสด็จนิวัติพระนคร หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ระหว่างนั้นกองทัพพันธมิตรภายใต้การบังคับบัญชาของ ลอร์ด หลุยส์ เมาท์แบตเตน ได้เข้ามาปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นในไทย
๑ มกราคม ๒๔๘๙
ได้ตกลงทำสัญญาที่เรียกว่า ความตกลงสมบูรณ์แบบเพื่อเลิกสถานะสงคราม ระหว่างไทยกับสัมพันธมิตร ประกอบด้วยสัญญา ๒๔ ข้อ
๓ เมษายน ๒๔๘๙
คณะผู้แทนไทยได้ลงนามในความตกลงเลิกสถานะสงคราม กับ ผู้แทนออสเตรเลีย ที่สิงคโปร์ โดยอนุโลมตามความตกลงที่ไทยทำไว้กับอังกฤษ
๓ มิถุนายน ๒๔๘๙
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เสด็จประพาสอย่างเป็นทางการ เป็นการสมานรอยร้าวระหว่างชาวไทยกับชาวจีน ที่เกิดขึ้นตอนปลายสงครามมหาเอเชียบูรพา ให้กลับเป็นไปดังเดิม
๙ มิถุนายน ๒๔๘๙
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เสด็จสวรรคต เวลา ๐๙.๐๐ น. ณ พระที่นั่งบรมพิมาน (ประสูติ ๒๐ กันยนยน ๒๔๖๙) พระชนมายุได้ ๒๑ พรรษา ครองราชย์ได้ ๑๒ ปี
๑๙ มกราคม ๒๔๘๙
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ทรงเป็นประธานในการตรวจพลสวนสนามของกองทัพพันธมิตร พร้อมกับลอร์ด หลุยส์ เมาท์ แบดแทม