๔ เมษายน ๒๔๗๕
งานพระราชพิธีสมโภชกรุงเทพมหานคร ครบรอบ ๑๕๐ ปี
๖ เมษายน ๒๔๗๕
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ ทรงมีพระราชปรารภที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ ประชาชนชาวไทยในวันนี้ แต่คณะรัฐมนตรีกับพระบรมวงศานุวงศ์คัดค้านเห็นว่ายังไม่ถึงเวลาอันสมควร
๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕
คณะราษฎร์ได้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศสยาม ให้พระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ
๒๖ มิถุนายน ๒๔๗๕
ประกาศปลด นายทหารชั้นนายพลทั้งกองทัพ เมื่อคราวคณะราษฎร์ยึดการปกครอง แล้วกลับให้มียศนายพล เมื่อ ๓๑ ตุลาคม ๒๔๗๙
๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ ทรงลงพระปรมาภิไธย พระราชทานรัฐธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน นับเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย
๖ กรกฎาคม ๒๔๗๕
พระเจนดุริยางค์ ได้ประพันธ์ทำนองเพลงชาติขึ้นใหม่ ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะราษฎร ทำนองเพลงชาตินี้ยังคงใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน
๗ กรกฎาคม ๒๔๗๕
ทำนองเพลงชาติ ได้บรรเลงครั้งแรก ณ บริเวณสวนดุสิต โดยพระเจนดุริยางค์
๑๒ สิงหาคม ๒๔๗๕
วันพระราชสมภพสมด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ และเป็นวันแม่แห่งชาติ
๑๕ ตุลาคม ๒๔๗๕
ตั้งกองพันนาวิกโยธินขึ้นเป็นครั้งแรก โดยขึ้นอยู่ในบังคับบัญชาของกองชุมพลทหารเรือ
๒ กรกฎาคม ๒๔๗๖
เปิดโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง โรงภาพยนตร์ปรับอากาศแห่งแรกของเมืองไทย และเป็นแห่งที่ ๒ ในภาคตะวันออก
๘ กรกฎาคม ๒๔๗๖
เริ่มมีพระธรรมเทศนาทางวิทยุกระจายเสียงเป็นครั้งแรก คืนละหนึ่งกัณฑ์ ตลอดพรรษา
๑๔ กันยายน ๒๔๗๖
วันสิ้นพระชนม์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงเป็นโอรสองค์ที่ ๒๕ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงได้รับสมญานามว่า พระบิดาแห่งรถไฟไทย ทางราชการกำหนดให้วันนี้เป็นวันบุรฉัตร
๑๑ ตุลาคม ๒๔๗๖
กำลังทหารบกหัวเมือง ภายใต้การนำของนายพลเอก พระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม ได้ยกกำลังจากจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดอยุธยาเข้ามายึดพระนคร เพื่อทำการปราบปรามพวกรัฐบาลที่มีความคิดในทางคอมมิวนิสต์
๓๐ พฤศจิกายน ๒๔๗๖
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้เปลี่ยนชื่อ กรมการทหารเรือ เป็น กองทัพเรือ เป็นหน่วยขึ้นตรงต่อกระทรวงกลาโหม
๑๖ ธันวาคม ๒๔๗๖
ปรับปรุงกองทัพบก จัดตั้งกรมจเรทหารบก จัดตั้งโรงเรียนเทคนิคทหารบก และโรงเรียนเสนาธิการทหารบก
๑๒ มกราคม ๒๔๗๖
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ และพระบรมราชนีนาถ พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จประพาสยุโรป และประทับอยู่ที่ประเทศอังกฤษ จนวาระสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพของพระองค์
๑ เมษายน ๒๔๗๗
ให้มีรัฐพิธีเฉลิมฉลองปีใหม่และสรงน้ำพระพุทธสิหิงค์ ที่ท้องสนามหลวง เป็นครั้งแรก
๑๗ พฤษภาคม ๒๔๗๗
วันเปิดโรงเรียนนาฎศิลป กรมศิลปากร โดยครั้งแรกชื่อว่า โรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ ต่อมาในปี ๒๔๘๘ ได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนนาฎศิลป จนถึงปัจจุบันนี้ โดยมี พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ อธิบดีคนแรกของกรมศิลปากร เป็นผู้ก่อตั้งขึ้น สถานที่ตั้งอยู่บริเวณท่าช้าง วังหน้า ติดกับโรงละครแห่งชาติ
๒๐ สิงหาคม ๒๔๗๗
เลิกการประหารชีวิตด้วยวิธีตัดศีรษะ วันนี้เป็นการตัดศีรษะรายสุดท้าย ที่วัดหนองจอก อำเภอมีนบุรี นักโทษเป็นหญิงชื่อ นางล้วน มีลูกอ่อนอายุ ๑ เดือน
๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๗
มีการประกวดนางสาวไทย เป็นครั้งแรก
๒ มีนาคม ๒๔๗๗
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติ เวลา ๑๓.๔๕ น. ตามเวลาในประเทศอังกฤษ เนื่องจากไม่ทรงเห็นชอบกับรัฐบาลคณะราษฎร์ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ในการออกกฎหมายบางเรื่อง
๑๕ กรกฎาคม ๒๔๗๗
พิธีเปิดอนุสาวรีย์ คุณหญิงโม (ท้าวสุรนารี) ที่นครราชสีมา ท้าวสุรนารี สมภพ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๒ ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อ เมษายน ๒๓๙๕ คุณหญิงโม มีวีรกรรมร่วมกับกรมการเมืองโคราช ๒ ครั้ง เมื่อ ๑๗ มีนาคม และ ๒๐ มีนาคม ๒๓๖๙ ครั้งหลังคุณหญิงโมเป็น "แม่กองกองหนุน" ออกรบกลางแปลงกับฝ่ายทหารเวียงจันทน์ ๓,๖๐๐ คน ที่ทุ่งสัมริด ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย มี ๖๘ มาตรา