หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    เรื่องของไทยในอดีต 13
    ๑ ตุลาคม ๒๔๖๐
                พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ประกาศใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย แทนธงช้าง พระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์ แสดงความหมายไว้ว่า "ขอร่ำรำพรรณบรรยาย ความคิดเครื่องหมาย แห่งสีทั้งสามงามถนัด
    ขาวคือบริสุทธิ์ศรีสวัสดิ์ หมายพระไตรรัตน์ และธรรมะคุ้มจิตไทย
    แดงคือโลหิตเราไซร้ ซึ่งย่อมสละได้ เพื่อรักษาชาติศาสนา
    น้ำเงินคือสีโสภา อันจอมประชา ธโปรดเป็นของส่วนองค์
    จัดริ้วเข้าเป็นไตรรงค์ จึงเป็นสีธง ที่รักแห่งเราชาวไทย
    ทหารอวตารนำไป ยงยุทธวิชัย วิชิตก็ชูเกียรติสยาม"
    ๒๗ มกราคม ๒๔๖๐
                เริ่มสร้างถนนและวงเวียน ๒๒ กรกฎาคม เป็นอนุสรณ์ในการส่งทหารไปรบในสงครามโลก ครั้งที่ ๑

    ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๐
                พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้เปลี่ยนชื่อ กองเสือน้ำ เป็น กรมราชนาวีเสือป่า สมาชิกของกรมราชนาวีเสือป่าได้แก่ ประชาชนทั่วไปที่มาสมัคร และมีนายทหารเรือชั้นสัญญาบัตร และชั้นประทวน

    ๖ เมษายน ๒๔๖๑
                เริ่มมีพระราชพิธีถวายบังคมพระบรมรูปทรงม้า ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ

    ๒๕ พฤษภาคม ๒๔๖๑
                พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์ กฤดากร เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงปารีส ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๑ ได้ทำสัญญาข้อตกลงกับฝรั่งเศส ว่าด้วยอำนาจศาลทหาร ถือว่าอำนาจศาลไทยมีอำนาจเหนือบุคคลทั้งปวง ในกองทหารไทยที่ไปปฏิบัติการนอกประเทศ ถ้าเกิดคดีขึ้นทหารไทยจะต้องขึ้นศาลทหารไทย

    ๕ มิถุนายน ๒๔๖๑
               พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ ฉบับแรกของไทย

    ๑๙ มิถุนายน ๒๔๖๑
                ไทยส่งกำลังอาสาสมัครไปร่วมฝ่ายพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ ๑ โดยส่งกองบินทหารบก และกองทหารบกรถยนต์รุ่นแรก ออกเดินทางโดยเรือเอมไพร์ ไปถึงท่าเรือมาร์แซย์ ประเทศฝรั่งเศส เมื่อ ๓๐ กรกฎาคม ๒๔๖๑ เมื่อฝึกเสร็จแล้วก็ได้ไปเข้าประจำฐานทัพที่เมืองตรัวส์ และได้เข้าไปปฏิบัติการในพื้นที่การรบบริเวณเมืองชาร์ลอง

    ๒๕ สิงหาคม ๒๔๖๑
                พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนสุโขทัยธรรมราชา ได้อภิเษกสมรส (กับพระองค์เจ้ารำไพพรรณี) ณ พระที่นั่งวโรภาสพิมาน พระราชวังบางปะอิน

    ๙ พฤศจิกายน ๒๔๖๑
                พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ทรงพระราชทานธงชัยเฉลิมพล แก่กองบินทหารบก และกองทหารบกรถยนต์ เพื่อจัดส่งไปให้หน่วยทหารไทย ที่ไปร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ ๑

    ๒๗ พฤศจิกายน ๒๔๖๑
                พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้รวมกองบัญชาการกองสุขศึกษา กองสาธารณสุข กองยาเสพติดให้โทษ กองโอสถศาลารัฐบาล กองบุราภิบาล เข้าด้วยกันแล้วเปลี่ยนชื่อเป็น กระทรวงสาธารณสุข และทางราชการได้กำหนดให้วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ของทุกปี เป็นวันสาธารณสุข

    ๒ ธันวาคม ๒๔๖๑
                พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ทรงกระทำพิธีปฐมกรรมในพระบรมมหาราชวัง และมีการชุมนุมทหารที่สนามหลวง ฉลองชัยชนะสงครามโลกครั้งที่ ๑
    พิธีปฐมกรรม เป็นพิธีที่พระมหากษัตริย์ในครั้งโบราณกระทำแก่ผู้ที่เป็นปรปักษ์ พิธีปฐมกรรมครั้งนี้ ทรงใช้น้ำสังข์สัมฤทธิ์ และน้ำพระเต้าประทุมนิมิตร์ ชำระพระบาทล้างมณฑิล ลงยังไม้ข่มนามให้ตกถึงพสุธา

    ๑๔ ธันวาคม ๒๔๖๑
                กองทหารไทยที่ส่งไปรบในยุโรป เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๑ เดินทางเข้าประเทศเยอรมัน

    ๖ เมษายน ๒๔๖๒
                วันจักรี (เริ่มมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ )

    ๑ พฤษภาคม ๒๔๖๒
                ทหารไทยชุดแรกที่ส่งไปร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ ๑ ณ ประเทศฝรั่งเศส เดินทางกลับถึงไทย

    ๒๑ กันยายน ๒๔๖๒
                ทหารที่ไปราชการสงครามโลก กลับมาถึงไทย ขึ้นที่ท่าราชวรดิษฐ์

    ๑๔ ตุลาคม ๒๔๖๒
                ตั้งค่ายจักรพงษ์ เป็นที่ตั้งของมณฑลทหารบกที่ ๒ กรมทหารราบที่ ๒ รักษาพระองค์ อยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี

    ๒๐ ตุลาคม ๒๔๖๒
                วันสวรรคต สมเด็จพระศรีพัชรินทรา พระบรมราชินีนาถ พระราชสมภพ ๑ มกราคม ๒๔๐๖

    ๑๐ มกราคม ๒๔๖๒
                เริ่มสร้างดุสิตธานี พื้นที่ ๒.๕ ไร่ ในพระราชวังดุสิต มีบ้านจำลองเก่า ศาลพระภูมิ ๑๐๐ หลัง มีธรรมนูญการปกครอง ออกหนังสือดุสิตสมิธ

    ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๒
                เปิดการไปรษณีย์อากาศขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ระหว่างกรุงเทพ-จันทบุรี

    พ.ศ.๒๔๖๓
                พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ประเทศไทย เข้าเป็นสมาชิกริเริ่มขององค์การสันนิบาตชาติ ที่ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๓

    ๑ เมษายน ๒๔๖๓
                มีพระราชกฤษฎีกา ให้ใช้อัตราเวลาทั่วราชอาณาจักรไทยเป็น ๗ ชั่วโมง ก่อนเวลาในเมืองกรีนิช แห่งประเทศอังกฤษ

    ๖ กรกฎาคม ๒๔๖๓
                กำหนดให้ วันที่ ๖ เมษายน เป็นวันชาติไทย เข้าใจว่าจะใช้สำหรับชาวต่างประเทศ คือ ถือเอาวันจักรีเป็น วันชาติไทย

    ๗ ตุลาคม ๒๔๖๓
                เรือหลวงพระร่วง ซึ่งเป็นเรือพิฆาตลำแรกและลำเดียว ที่ประชาชนเรี่ยไรเงินซื้อ เดินทางมาถึงประเทศไทย เรือลำนี้เดิมชื่อ เรเดียนท์ สร้างที่บริษัทธอร์นิครอฟท์ เมืองเซาแธมป์ตัน ประเทศอังกฤษ อังกฤษเคยใช้รบในสงครามโลกครั้งที่ ๑ ต่อมาประเทศไทยได้ซื้อมา เป็นเงิน ๒๐๐,๐๐๐ ปอนด์ โดยพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ฯ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ทรงเป็นผู้บังคับการเรือ นำเรือลำนี้จากประเทศอังกฤษมายังประเทศไทย

    ๙ ตุลาคม ๒๔๖๓
                ประชาชนชาวไทยน้อมเกล้า ฯ ถวาย เรือหลวงพระร่วง แด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ณ พระที่นั่งราชกิจวินิจฉัย

    ๑๖ ธันวาคม ๒๔๖๓
                ได้มีการแก้ไขสนธิสัญญาที่ผูกมัดไทย ที่กรุงวอชิงตัน ให้ไทยมีสิทธิที่จะตั้งพิกัดอัตราภาษีของสหรัฐได้ตามที่ต้องการ โดยมีเงื่อนไขว่าต้องได้รับความยินยอมจากประเทศอื่น ๆ ที่มีสนธิสัญญากับไทย นอกจากนั้นยังยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตของชาวอเมริกันในประเทศไทยโดยเด็ดขาด

    พ.ศ.๒๔๖๔
                พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ทรงตราพระราชบัญญัติประถมศึกษาขึ้น โดยบังคับให้เด็กทุกคน ที่มีอายุตั้งแต่ ๗ ปีบริบูรณ์ เรียนหนังสืออยู่ในโรงเรียน จนจบอายุ ๑๔ ปีบริบูรณ์

    พ.ศ.๒๔๖๔
                พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติชั่ง ตวง วัด โดยกำหนดให้ใช้ระบบเมตริก แบบอารยะประเทศ

    ๑๗ กันยายน ๒๔๖๔
                เปิดเดินรถไฟจากสถานี ตันหยงมาส ไป สุไหงโกลก

    ๑ มกราคม ๒๔๖๔
                เปิดเดินรถไฟจากลำปางถึงเชียงใหม่

    ๑๖ มกราคม ๒๔๖๔
                วันสถาปนากรมอุทกศาสตร์ กิจการอุทกศาสตร์เริ่มมีครั้งแรกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ โดยใน พ.ศ.๒๓๙๙ รัฐบาลอังกฤษ ได้ขออนุญาตส่งเรือหลวงซาราเซน เข้ามาสำรวจอุทกศาสตร์ในอ่าวไทย เพื่อจัดทำแผนที่เดินเรือที่สำคัญบริเวณอ่าวไทย

    ๑๖ กันยายน ๒๔๖๕
                พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ พระราชทานที่ดินหวงห้ามที่สัตหีบให้ใช้เป็นฐานทัพเรือ ตามที่นายพลเรือเอก กรมหลวงชุมพร เขตอุดมศักดิ์ได้ขอพระราชทาน

    ๑๖ กันยายน ๒๔๖๕
                กองทัพเรือสร้างฐานทัพเรือที่สัตหีบ ตามพระราชประสงค์ของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ

    ๒๗ มกราคม ๒๔๖๕
                วันก่อตั้งกิจการยุวกาชาด โดยจอมพล สมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตร สุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต กิจการนี้ถือกำหนดจากข้อเสนอในการประชุมสันติบาตสภากาชาด เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๒ ที่เจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ เมื่อแรกก่อตั้งเรียกว่าอนุสภากาชาด แล้วเปลี่ยนเป็น อนุกาชาด ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๒ ได้เปลี่ยนเป็น ยุวกาชาด

    ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๕
                กองทัพเรือได้ออกข้อบังคับทหารเรือ กำหนดให้ใช้คำว่า ร.น. (ราชนาวี) ต่อท้ายนามของนายทหารสัญญาบัตร

    พ.ศ.๒๔๖๖
                พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ตรา พ.ร.บ. สมุดเอกสารและหนังสือพิมพ์ นับ๐เป็น พ.ร.บ.การพิมพ์ ฉบับแรก

    ๑๙ พฤษภาคม ๒๔๖๖
                พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ สิ้นพระชนม์ ที่ตำบลหาดทรายรี จังหวัดชุมพร พระชนม์ ๔๓ ชันษา

    ๑๙ ธันวาคม ๒๔๖๖
                วันสถาปนา กองเรือยุทธการมีหน่วยขึ้นตรงคือ กองเรือตรวจอ่าว กองเรือปราบเรือดำน้ำ กองเรือทุ่นระเบิด กองเรือยกพลขึ้นบกและบริการ กองเรือลำน้ำ และกองบินทหารเรือ

    ๑๗ มกราคม ๒๔๖๖
                พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ตรา กฎหมาย ว่าด้วยประกาศจัดการตรวจรักษาของโบราณ นับเป็นกฎหมายฉบับแรกในเรื่องนี้

    ๑๗ มกราคม ๒๔๖๖
                เรือยนต์ตอร์ปิโดหรือเรือรักษาฝั่งลำแรกของราชนาวีไทย ได้ขึ้นระวางประจำการ ตัวเรือทำด้วยไม้มะฮอกกานี ระวางขับน้ำ ๙ ตัน ยาว ๑๖.๗๘ เมตร กว้าง ๓.๓๖ เมตร ความเร็วสูงสุด ๔๐ น๊อต สร้างที่บริษัททอร์นิครอฟทวันสถาปนา กรมการทหารสื่อสาร

    ๑ มิถุนายน ๒๔๖๘
                วันทำพิธีเปิด โรงเรียนนายเรือ ปัจจุบันคือ สถาบันวิชาการทหารเรือชั้นสูง

    ๑๔ กรกฎาคม ๒๔๖๘
                อังกฤษกับไทยทำสัญญาค้าขาย ๕ ข้อ ทำให้ไทยเก็บภาษีสูงกว่าเดิม การได้อำนาจศาล แต่ยังยอมให้ฝรั่งเปิดสถานศึกษาและการศาสนาได้อย่างคนพื้นเมือง นอกจากนั้นยังกำหนดเงื่อนไขอื่น ๆ ด้วยการกำหนดข้อปลีกย่อยต่าง ๆ สัญญานี้เป็นการเลิกภาษี ร้อยชักสาม ซึ่งทำมาแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ เมื่อ ๑๘ เมษายน ๒๓๙๘ ทั้งนี้เนื่องจากการส่งทหารไทยไปรบ ในสงครามโลกครั้งที่ ๑ ซึ่งเป็นการตัดสินพระทัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่เข้าข้างฝ่ายสัมพันธมิตร

    ๒๐ กันยายน ๒๔๖๘
                วันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอนันทมหิดล (รัชกาลที่ ๘) ที่เมืองไฮเดลเบอร์ก ประเทศเยอรมันนี ทรงขึ้นครองราชย์เมื่อ ๒๔๗๗ ครองราชย์ได้ ๑๒ ปี เสด็จสวรรคตเมื่อ ๙ มิถุนายน ๒๔๘๙ พระชนมายุ ๒๑ พรรษา

    ๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๖๘
                พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ เสด็จสวรรคต เมื่อพระชนมายุ ๔๕ พรรษา ดำรงอยู่ในราชสมบัติ ๑๖ ปี ในรัชสมัยของพระองค์ ได้ทรงจัดตั้งโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ คือ โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ออกพระราชบัญญัติประถมศึกษา พระราชทานกำเนิดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งกองเสือป่าและลูกเสือขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๕ นอกจากนี้พระองค์ยังทรงเป็นนักประพันธ์ และนักปราชญ์อีกด้วย จึงทรงได้รับถวายสมญานามว่า สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ในวันนี้ของทุกปี ส่วนราชการและประชาชนจะนำพวงมาลาไปถวายบังคม พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประดิษฐานอยู่หน้าสวนลุมพินี

    ๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๒
                วันที่ระลึกและวันสงเคราะห์ทหารผ่านศึก เป็นวันที่ระลึกทหารผ่านศึกสงครามโลก ครั้งที่ ๑ ที่ประเทศไทยได้ประกาศสงครามกับเยอรมันนี ออสเตรีย และฮังการี เมื่อสงครามสงบลง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางพวงมาลาแก่ผู้พลีชีวิต นับตั้งแต่วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ เป็นต้นมา
    ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๖๑
                วันที่ระลึกทหารอาสา เป็นวันสงบศึกสงครามโลก ครั้งที่ ๑ ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างกลุ่มมหาอำนาจ ๔ ประเทศ ประกอบด้วย เยอรมันนี ออสเตรีย - ฮังการี บัลกาเรีย และตรุกี ฝ่ายหนึ่ง กับกลุ่มประเทศพันธมิตร รวม ๒๕ ประเทศ ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และไทย เป็นต้น อีกฝ่ายหนึ่ง

    • Update : 14/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch