หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    เรื่องของไทยในอดีต 11
    พ.ศ.๒๔๔๔
                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ขึ้น นับเป็นพระราชบัญญัติปกครองคณะสงฆ์ฉบับแรกของไทย

    ๕ พฤษภาคม ๒๔๔๔
                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จประพาสชวาครั้งที่ ๓ เพื่อทรงนำแบบอย่างของต่างประเทศมาปรับปรุงบ้านเมืองไทย การเสด็จครั้งนี้ ตั้งแต่ ๕ พฤษภาคม ถึง ๒๔ กรกฎาคม ๒๔๔๔ รวม ๘๐ วัน

    ๒๓ กรกฎาคม ๒๔๔๔
                ประกาศใช้ ทุ่ม โมง ยาม

    ๑๘ กันยายน ๒๔๔๔
                ตัดถนนราชดำเนินกลาง

    ๑๕ ธันวาคม ๒๔๔๔
                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ พระราชทานธงชัยเฉลิมพล แก่ กรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ กรมทหารราบที่ ๑ รักษาพระองค์ กรมทหารราบที่ ๒ รักษาวัง กรมทหารราบที่ ๓ ฝีพาย และกรมทหารราบที่ ๔ ทหารหน้า

    ๑ เมษายน ๒๔๔๕
                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติโรงรับจำนำขึ้น หลังจากนั้น นายเล็ก โทกวณิก ได้ขอตั้งโรงรับจำนำขึ้นในนามฮั่วเสง อยู่ที่ถนนพาหุรัด โรงรับจำนำนี้เป็นแห่งแรกของประเทศไทย ที่ตั้งขึ้นอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

    ๒ มิถุนายน ๒๔๔๕
                ประกาศห้ามจับปลาในฤดูวางไข่ในที่น้ำนิ่ง ระหว่าง ๑ กรกฎาคม ถึง ๑๕ กันยายน (เฉพาะในมณฑลกรุงเก่า)

    ๒๙ มิถุนายน ๒๔๔๕
                ประกาศใช้พระราชบัญญัติธนบัตร ร.ศ.๑๒๑ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ

    ๑ สิงหาคม ๒๔๔๕
                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ พลโท เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ยกกองทัพจากกรุงเทพ ฯ สมทบด้วยกำลังจากมณฑลพิษณุโลกและมณฑลพายับ ไปปราบกบฎโจรเงี้ยว ที่จังหวัดแพร่ได้เป็นผลสำเร็จ

    ๖ สิงหาคม ๒๔๔๕
                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) เป็นแม่ทัพไปปราบเงี้ยว ได้ยกทัพออกจากกรุงเทพ ฯ ในวันนี้

    ๒๐ สิงหาคม ๒๔๔๕
                วันสถาปนา กรมสรรพาวุธทหารบก

    ๒๓ กันยายน ๒๔๔๕
                ออกธนบัตรใบละ ๕ บาท ๑๐ บาท ๒๐ บาท ๑๐๐ บาท ๑,๐๐๐บาท

    ๑๔ ธันวาคม ๒๔๔๕
                ได้ตั้งหน่วยสารวัตรทหารเรือขึ้นเป็นครั้งแรก

    ๒๙ มกราคม ๒๔๔๕
                พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ขณะยังไม่ขึ้นครองราชย์ จบการศึกษา จากประเทศอังกฤษ เสด็จกลับคืนสู่พระนคร

    ๑๗ พฤษภาคม ๒๔๔๖
                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโอสถสภาของรัฐบาลขึ้น ซึ่งเป็นสถานที่ประกอบและผลิตยาสามัญประจำบ้าน เพื่อผลิตยาจำหน่ายให้แก่ประชาชนในราคาย่อมเยา ในครั้งนั้นเรียกกันว่า ยาโอสถสภา ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น ยาตำราหลวง

    ๑ พฤศจิกายน ๒๔๔๖
                วันประกอบพระราชพิธีเปิดสะพานมัฆควานรังสรรค์

    ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๔๖
                ไทยเสียดินแดนที่อยู่ทางตะวันออกของเมืองน่าน เมืองจำปาศักดิ์ และเมืองมโนไพร เป็นพื้นที่ประมาณ ๖๒,๕๐๐ ตารางกิโลเมตร ให้แก่ฝรั่งเศส เพื่อขอให้ฝรั่งเศสคืนจันทบุรีให้ไทย ซึ่งฝรั่งเศสได้ยึดตั้งแต่เหตุการณ์ ร.ศ.๑๑๒ (พ.ศ.๒๔๓๖)

    ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๔๖
                มหาอำมาตย์เอก พระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค) อัครราชทูตไทยประจำฝรั่งเศส ได้รับมอบอำนาจจาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ให้เป็นผู้เจรจาและลงนามกับฝรั่งเศสในอนุสัญญาไทย – ฝรั่งเศส ยอมยกดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขง เป็นพื้นที่ ๖๒,๕๐๐ ตารางกิโลเมตร แลกเปลี่ยนกับการให้ฝรั่งเศสถอนทหารไปจากจันทบุรี ซึ้งฝรั่งเศสยึดครองไว้ถึง ๑๐ ปี

    ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๔๖
                ไทยตกลงทำสัญญายก จังหวัดตราด เกาะต่าง ๆ ตลอดแนวไปจนถึง เกาะกง เกาะกูด ให้แก่ฝรั่งเศส

    ๗ มิถุนายน ๒๔๔๗
                ตราข้อบังคับอัตราเบี้ยกันดารทหารบก ร.ศ.๑๒๓

    ๑๕ กรกฎาคม ๒๔๔๗
                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ประพาสต้นนครชัยศรี

    ๒๑ สิงหาคม ๒๔๔๗
                พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ก่อนขึ้นครองราชย์ ทรงผนวชพร้อมกับเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช พระองค์ทรงลาผนวชเมื่อ ๑๑ ธันวาคม ๒๔๔๗ และเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช ทรงลาผนวชเมื่อ ๑๓ ธันวาคม ๒๔๔๗

    ๒๙ สิงหาคม ๒๔๔๗
                มีการตรา พระราชบัญญัติ ลักษณะการเกณฑ์ทหาร

    ๒๙ สิงหาคม ๒๔๔๘
                ตรา พระราชบัญญัติ ลักษณะเกณฑ์ทหาร ร.ศ. ๑๒๔ เป็นฉบับแรก เปลี่ยนจากทหารสมัครมาเป็นทหารเกณฑ์ โดยกำหนดให้ไพร่ที่มีอายุ ๑๘ - ๒๐ ปี ต้องเข้ารับการคัดเลือกเข้าเป็นทหารและประจำการมีกำหนดสองปี ซึ่งสอดคล้องกับการประกาศเลิกทาส เมื่อ ๑ เมษายน ๒๔๔๘ และปรับการเรียกเก็บเงินค่าราชการจากชายฉกรรจ์ที่ไม่ได้เป็นทหาร คือ เงินรัชชูปการ ปีละ ๖ บาท พระราชบัญญัตินี้ ให้สิทธิแก่ผู้เสียภาษีอากรมาก มีสิทธิที่จะขอผ่อนผันการเกณฑ์ทหารแก่คนในห้างร้าน หรือครอบครัวได้ชั่วคราวเป็นปี ๆ ไป

    ๑๒ ตุลาคม ๒๔๔๘
                วันเปิดหอสมุดวชิรญาณ (พระนามของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ เมื่อทรงผนวช)

    ๑๓ กรกฎาคม ๒๔๔๙
                บริษัทสยามกัมมาจลทุนจำกัด ได้รับพระบรมราชานุญาติให้จดทะเบียน และ ตั้งเป็นบริษัทได้ นับเป็นธนาคารแห่งแรกที่คนไทยได้จัดตั้งขึ้น ต่อมาเมื่อ ๒๗ มกราคม ๒๔๘๒ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด

    ๑๙ กันยายน ๒๔๔๙
                ตรา พระราชบัญญัติ ศักดินาตำรวจภูธร

    ๔ ตุลาคม ๒๔๔๙
                แบงค์สยามกัมมาจล เปิดดำเนินงานโดยคนไทยครั้งแรก

    ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๔๙
                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดโรงเรียนนายเรือที่พระราชวังเดิม กรุงธนบุรี กองทัพเรือได้ถือวันนี้ เป็นวันกองทัพเรือ (navy day) ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๖

    ๘ มกราคม ๒๔๔๙
                รัฐบาลไทยยืมเงินอีก ๓ ล้านปอนด์ เพื่อสร้างทางรถไฟ

    ๒๓ มีนาคม ๒๔๔๙
                ไทยเสียดินแดนมณฑลบูรพา คือ พระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ พื้นที่ ๕๑,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร ให้แก่ฝรั่งเศส เพื่อให้ฝรั่งเศสถอนทหารออกจากตราด และแลกกับอำนาจทางการศาลของไทย

    ๒๕ มิถุนายน ๒๔๕๐
                มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์แห่งอังกฤษได้ทูลเกล้า ฯ ถวายปริญญาทางกฎหมาย (Doctor of Law) กิตติมศักดิ์แก่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ นับเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในทวีปเอเซีย ที่ได้รับการถวายพระเกียรติดังกล่าว

    ๖ กรกฎาคม ๒๔๕๐
                ฝรั่งเศส ยอมคืนจังหวัดตราด ซึ่งยึดไป เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๖ ให้ไทย อันเป็นผลจากสนธิสัญญาระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ฉบับ พ.ศ. ๒๔๔๙ (ร.ศ.๑๒๕) โดยฝรั่งเศส ยอมคืนจังหวัดตราดและเกาะต่าง ๆ ใต้แหลมสิงห์ลงไปถึงเกาะกูด

    ๑๒ กรกฎาคม ๒๔๕๐
                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จที่แหลมเหนือของประเทศนอรเวย์ ทรงจารึกพระปรมาภิไธย ย่อ จปร.

    ๑๓ พฤศจิกายน ๒๔๕๐
                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงแวะเยี่ยมเมืองตราด เมื่อเสด็จกลับจากประพาสยุโรปครั้งที่ ๒ และเสด็จเมืองจันทบุรีเมื่อ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๕๐ เพื่อเป็นการปลอบขวัญชาวเมือง เนื่องจากดินแดนส่วนนี้ได้กลับมาเป็นของไทยอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ฝรั่งเศสถอนกำลังออกไปจากเมืองตราด เมื่อเดือน กรกฎาคม ๒๔๕๐

    ๖ ธันวาคม ๒๔๕๐
                ตราข้อบังคับการรับสมัครเข้าเป็นนักเรียนนายร้อย ร.ศ.๑๒๗

    ๒๗ มีนาคม ๒๔๕๐
                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จพระพาสยุโรป ครั้งที่ ๒ ใช้เวลาเสด็จประพาสครั้งนี้รวม ๗ เดือนเศษ เสด็จกลับกรุงเทพ ฯ ในเดือนพฤศจิกายน ปีเดียวกัน

    พ.ศ.๒๔๕๑
                เริ่มมีการถวายพระราชสมัญญานามมหาราช แด่พระมหากษัตริยาธิราชเจ้าในประวัติศาสตร์ไทย โดยอาณาประชาราษฎรของไทยขณะนั้นได้พร้อมใจกันถวายพระราชสมัญญานามมหาราชแด่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ว่า พระปิยมหาราช

    ๑ มิถุนายน ๒๔๕๑
                ประกาศใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม ร.ศ.๑๒๗ และ กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.๑๒๗ นับเป็นประมวลกฎหมาย (CODE) ฉบับแรกของไทย

    ๑ กรกฎาคม ๒๔๕๑
                ย้ายกองสรรพาวุธทหารเรือ ไปตั้งที่บางนา

    ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๕๑
                วันพระราชพิธี วางศิลาฤกษ์พระที่นั่งอนันตสมาคม

    ๑๒ พฤศจิกายน ๒๔๕๑
                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จ ฯ ทรงเปิดสะพานเฉลิมโลก ๕๕ ข้ามคลองบางกะปิ

    ๙ มกราคม ๒๔๕๑
                แก้พระราชกำหนดเครื่องแต่งตัวทหารบก ร.ศ.๑๒๗ ให้มีสายยงยศ สายองครักษ์ สายเสนาธิการ

    ๑๑๐ มีนาคม ๒๔๕
                อังกฤษยอมตกลงปักปันเขตแผ่นดินไทย และรัฐกลันตันของมลายู ด้วยแม่น้ำสุไหงโกลก ที่ไหลมาออกอ่าวไทยที่บ้านตาบา (ใต้อำเภอตากใบ) จังหวัดนราธิวาสลงไปราว ๕ กิโลเมตร มีการลงนามในสัญญาแบ่งเขตแดนที่เรียกว่า สัญญาตาบา เพราะไทยใช้วัดชลธาราสิงเห ตำบลเจ๊ะเห ริมฝั่งแม่น้ำตากใบ อ้างเป็นหลักฐานยืนยันว่า แผ่นดินตากใบรวมถึงตัวเมืองนราธิวาส และจังหวัดปัตตานี เป็นของไทยมาเก่าแก่ ต่อมาวัดนี้จึงได้ชื่อว่า วัดพิทักษ์แผ่นดิน มาจนกระทั่งปัจจุบันนี้

    ๑๐ มีนาคม ๒๔๕๑
                ไทยเสียหัวเมืองมลายู ๔ รัฐ คือ รัฐกลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี และปะลิส เป็นพื้นที่ ๘๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร ให้แก่อังกฤษ เพื่อให้ได้อำนาจศาลไทยที่จะใช้บังคับคนในบังคับอังกฤษในประเทศไทย

    พ.ศ. ๒๔๕๒
                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ทำที่กักเก็บน้ำที่คลองเชียงราก จังหวัดปทุมธานี และขุดคลองประปาสำหรับส่งน้ำเข้ามาจนถึงคลองสามเสน พร้อมกับฝังท่อเอกและติดตั้งอุปกรณ์อื่น ๆ ประกอบเป็นการประปาขึ้น

    ๓ เมษายน ๒๔๕๒
                วันสถาปนาโรงเรียนเสนาธิการทหารบก

    ๑๓ กรกฎาคม ๒๔๕๒
                ประกาศตั้งการประปา

    ๑ กันยายน ๒๔๕๒
                เริ่มงานการทำบัญชีสำมะโนครัวในเมืองไทย คือ การจดบัญชีคนเกิดคนตาย คนย้ายที่อยู่

    ๗ ธันวาคม ๒๔๕๒
                เปิดเดินรถไฟจากพิษณุโลกถึงอุตรดิตถ์

    ๙ มิถุนายน ๒๔๕๓
                ตั้งเมืองเชียงรายเป็นเมืองจัตวา

    ๘ สิงหาคม ๒๔๕๓
                ประกาศยกเว้นภาษีอากร แก่กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน ไม่ต้องเสียเงินรัชชูประการ ปีละ ๖ บาท

    ๒๓ ตุลาคม ๒๔๕๓
                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จสวรรคต ด้วยพระโรคพระวักกะ (ไตพิการ) รวมพระชนมายุ ๕๗ พรรษา ครองราชย์ได้ ๔๒ ปี ทางราชการกำหนดให้วันนี้เป็นวันปิยมหาราช และหยุด ๑ วัน ส่วนราชการและประชาชนจะนำพวงมาลา ไปถวายบังคมสักการะที่พระบรมรูปทรงม้า เป็นประจำทุกปี
     

    ๒๖ ธันวาคม ๒๔๕๒
                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จพระราชดำเนินไปเปิดโรงเรียนนายร้อยทหารบก ที่ถนนราชดำเนินนอก ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนนายร้อย จปร. และได้ย้ายไปอยู่ที่เขาชะโงก จังหวัดนครนายก เมื่อ ๕ สิงหาคม ๒๕๒๙
    ๑๓ พฤศจิกายน ๒๔๕๑
                พระราชพิธีประดิษฐานและสมโภชพระบรมรูปทรงม้า ๓ วัน (๑๑ - ๑๓ พ.ย. ๒๔๕๑)
    ๑ เมษายน ๒๔๔๘
                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงประกาศเลิกทาส และตราพระราชบัญญัติทาส ร.ศ. ๑๒๔ ห้ามมิให้คนเกิดในรัชกาลของพระองค์เป็นทาสอีก ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ทำให้ทาสหมดสิ้นจากแผ่นดินไทย หลังจากที่ใช้เวลาดำเนินการเลิกทาสอย่างค่อยเป็นค่อยไป มายาวนานถึง ๓๑ ปี
    ๙ ธันวาคม ๒๔๔๗
                ฝรั่งเศส ถอนทหารออกจากจังหวัดจันทบุรี
    ๑๖ พฤศจิกายน ๒๔๔๖
                กองทัพบกได้จัดทำ คทาจอมพลขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เนื่องในพระราชพิธี ทวีธาภิเษก ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท นับเป็นครั้งแรกที่มีคทาจอมพลขึ้นในประเทศไทย
                พระราชพิธีทวีธาภิเษก เป็นพระพิธีการสมโภช ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้ครองราชย์สมบัติยืนนาน มาเป็น ๒ เท่า ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ พระบรมชนกนาถ
    ๒๕ กรกฎาคม ๒๔๔๕
                โจรเงี้ยว มีผกาหม่องเป็นหัวหน้า เข้าปล้นศาลากลางจังหวัด สถานีตำรวจภูธร และบ้านพักข้าราชการ จังหวัดแพร่ ตัดศีรษะข้าหลวงคนแรกของจังหวัดแพร่ คือ พระยาไชยบูรณ์ (ทองอยู่) ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ พลโท เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ได้ยกทัพไปปราบและโจรเงี้ยวได้ถูกทางราชการปราบจนราบคาบ
    ๒๙ มกราคม ๒๔๔๕
                พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ จบการศึกาจากประเทศอังกฤษ เสด็จคืนสู่พระนคร

    • Update : 14/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch