หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    เรื่องของไทยในอดีต 10

    ๑๓ กรกฎาคม ๒๔๓๖
                เกิดกรณีพิพาทระหว่าง ไทย - ฝรั่งเศส ร.ศ.๑๑๒ ฝรั่งเศสได้ส่งเรือรบ ๒ ลำ ตีฝ่าป้อมพระจุลจอมเกล้า ซึ่งเป็นแนวป้องกันของไทย ที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา เข้ามาได้ ทำให้ไทยต้องเสียดินแดนให้แก่ฝรั่งเศส เพื่อรักษาไว้ซึ่งเอกราชและอธิปไตยของไทย

    ๑๕ กรกฎาคม ๒๔๓๖
                นายปาวี เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำกรุงเทพ ฯ ได้แจ้งมายังเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศไทยมีใจความว่า รัฐบาลฝรั่งเศสได้สั่งเรือสงครามคอมเมต และแองคองสตอง เข้ามาถึงสันดอนอ่าวไทย เพื่อป้องกันชนชาวฝรั่งเศสเช่นเดียวกับที่อังกฤษคิดจะทำ

    ๒๖ กรกฎาคม ๒๔๓๖
                หลังจากฝรั่งเศส ได้ยื่นคำขาดต่อรัฐบาลไทย เมื่อ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ และได้รับคำตอบไม่เป็นที่พอใจ จึงได้ส่งกองเรือขนาดใหญ่ ประกอบด้วยเรือลาดตะเวน ๒ ลำ เรือสลุป ๒ ลำ เรือปืน ๕ ลำ และเรือตอร์ปิโด ๑ ลำ เข้ายึดเกาะสีชัง ประกาศปิดอ่าวไทย ให้ไทยทำสัญญาสงบศึก และให้รับข้อประกันในการยึดปากน้ำจันทบุรี และเมืองจันทบุรี จนกว่าไทยจะถอนทหารออกจากฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงหมด ฝรั่งเศสยกเลิกการปิดล้อมอ่าวไทย เมื่อ ๓ สิงหาคม ๒๔๓๖

    ๓ สิงหาคม ๒๔๓๖
                เรือรบฝรั่งเศสเลิกปิดล้อมอ่าวไทย เนื่องจากเหตุการณ์กรณี ร.ศ.๑๑๒ ฝรั่งเศส เสนอข้อเรียกร้องให้ไทยทำสัญญายกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง และเกาะต่าง ๆ ตั้งแต่ภาคเหนือของลาวจนถึงพรมแดนเขมรให้ฝรั่งเศส เมื่อไทยไม่ยินยอม ฝรั่งเศสได้เข้ายึดจังหวัดจันทบุรีกับจังหวัดตราด และปิดล้อมอ่าวไทยอยู่ ๘ วัน เมื่อไทยยอมตามที่ฝรั่งเศสต้องการ จึงเลิกปิดอ่าวไทย

    ๒๐ สิงหาคม ๒๔๓๖
                พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ เสด็จไปทรงศึกษาในยุโรป

    ๑ ตุลาคม ๒๔๓๖
                มหามกุฎราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาทางพุทธศาสนา (ฝ่ายธรรมยุติ) นับเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งแรกในประเทศสยาม เริ่มเปิดสอนเป็นครั้งแรกโดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชเจ้า องค์ที่ ๑๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงริเริ่มและรวบรวมทุนสร้างขึ้น ด้วยรำลึกถึงพระเกียรติคุณของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ พระบรมราชชนก มหามกุฎราชวิทยาลัยนี้ตั้งอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร บางลำภู โดยมีพระประสงค์เพื่อเป็นแหล่งศึกษา และอบรมสั่งสอนเผยแพร่พระพุทธศาสนา

    ๘ พฤศจิกายน ๒๔๓๖
                วันพระราชสมภพของ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๗ ) ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๗๖ ในรัชกาลที่ ๕ ครั้นพระชนมายุได้ ๑๒ พรรษา ได้รับพระราชทานพระสุพรรณบัฏเฉลิมพระนาม พร้อมกับดำรงพระเกียรติยศเป็นเจ้าฟ้าต่างกรมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ ฯ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา ทรงขึ้นครองราชสมบัติ สืบต่อจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ พระเชษฐาธิราช เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๘ นับเป็นรัชกาลที่ ๗ แห่งราชวงศ์จักรี เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ พระองค์ได้พระราชทาน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามเป็นฉบับแรก เมื่อวันที่
    ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕ ครั้นต่อมา ปรากฏว่าได้เกิดความคิดเห็นทางการเมืองขัดแย้งกันระหว่างพระองค์ กับรัฐบาล และสภาผู้แทนราษฎร จึงทรงสละราชสมบัติ เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๔๗๗ และเสด็จไปประทับที่ประเทศอังกฤษ เสด็จสวรรคตด้วยโรคพระหทัยพิการ เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๔๘๔ สิริรวมพระชนมายุ ๔๘พรรษา ในปี ๒๕๓๖ เป็นวาระครบรอบ ๑๐๐ ปี ของพระองค์

    ๓๐ มีนาคม ๒๔๓๖
                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงเห็นสมควรให้สภาอุณาโลมแดง และให้เข้าเป็นสมาชิกสภากาชาดสากล พ.ศ.๒๔๔๙

    พ.ศ.๒๔๓๗
                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ปรับปรุงราชการหัวเมืองเสียใหม่ โดยให้จัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล โปรดเกล้า ฯ ให้จัดแบ่งพระราชอาณาจักรออกเป็น ๑๘ มณฑล แต่ละมณฑลแบ่งออกเป็นอำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน สำหรับตำบลและหมู่บ้านให้มีกำนันและผู้ใหญ่บ้าน โดยให้ราษฎรเลือกกันเอง

    พ.ศ.๒๔๓๗
                บริษัทเดนมาร์ค ได้ตั้งโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าเพื่อใช้ในการเดินรถราง ที่บริษัทได้สัมปทานการเดินรถรางในพระนคร ต่อมาได้รวมกับบริษัทอเมริกันที่รับช่วงจากเจ้าหมื่นไวย แล้วตั้งเป็นบริษัทไฟฟ้าสยามเมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๔๔

    ๑๒ มิถุนายน ๒๔๓๗
                กองทัพเมืองเชียงใหม่ของพระเจ้ากาวิละ ยึดเมืองเชียงแสนได้ในวันนี้ เมืองเชียงแสนอยู่ในท้องที่จังหวัดเชียงราย ริมแม่น้ำโขง ขณะนั้นยังอยู่ในอิทธิพลพม่า

    ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๓๗
                ถรางเปลี่ยนจากใช้ม้าลากมาเป็นใช้ไฟฟ้า และโอนกิจการให้แก่รัฐบาล พ.ศ. ๒๔๓๙ เลิก ๑ ตุลาคม ๒๕๑๑

    ๒๓ ธันวาคม ๒๔๓๗
                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ มีพระบรมราชโองการให้ประกาศปันหน้าที่ กระทรวงกลาโหม มหาดไทย โดยแยกข้าราชการพลเรือน คือการบังคับบัญชาหัวเมืองภาคใต้ไปขึ้นอยู่กับมหาดไทย และจัดระเบียบการบริหาร ตลอดจนจัดหน่วยงานในกระทรวงกลาโหมใหม่ โดยรวมการบังคับบัญชาทางการทหารไว้ที่กระทรวงกลาโหม เพื่อให้กระทรวงกลาโหมรับผิดชอบด้านการป้องกันประเทศ ด้วยกำลังทหารทั้งทางบกและทางเรือ

    ๑ มกราคม ๒๔๓๗

    พ.ศ.๒๔๓๙
                ได้โอนกรมพระสุรัสวดี จากกระทรวงเมืองมาขึ้นกับกระทรวงกลาโหม เพื่อสดวกในการเรียกคนเข้ารับราชการทหารและตามพระบรมราโชบาย ที่จะรวบรวมสรรพาวุธและกำลังทหารไว้ที่กระทรวงกลาโหม

    ๙ พฤษภาคม ๒๔๓๙
                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จประพาสชวา ครั้งที่ ๒ โดยเรือพระที่นั่งมหาจักรี

    ๑๐ มิถุนายน ๒๔๓๙
                การไฟฟ้านครหลวง เปิดบริการแก่ประชาชนในพระนคร

    ๔ กรกฎาคม ๒๔๓๙
                นาย จี.เอช. แวนสัชเตเลน แต่งทำนองเพลงสรรเสริญพระบารมี และบรรเลงถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ที่เมืองจอร์กจากาต้า ประเทศอินโดนีเซีย

    ๑ กันยายน ๒๔๓๙
                ตั้งโรงเรียนราชวิทยาลัย ที่บ้านสมเด็จเจ้าพระยามหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)

    ๑๘ กันยายน ๒๔๓๙
                ตั้งกรมป่าไม้ อธิบดีคนแรกเป็นชาวต่างประเทศ ชื่อ เอช.สะเล็ด

    ๒๑ กันยายน ๒๔๓๙
                เริ่มกิจการ ผู้ใหญ่บ้าน ตามระเบียบการปกครองอย่างใหม่ ที่บางปะอิน

    ๑๕ มกราคม ๒๔๓๙
                อังกฤษและฝรั่งเศส ร่วมลงนามในสัญญาเคารพสิทธิของประเทศไทย

    ๒๖ มีนาคม ๒๔๓๙
                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้เปิดการเดินรถไฟเป็นปฐมฤกษ์จากกรุงเทพ ฯ ไปยังจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อันเป็นส่วนหนึ่งของทางไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทย กำหนดให้วันที่ ๒๖ มีนาคม ของทุกปี เป็นวันกำเนิดกิจการรถไฟไทย

    พ.ศ.๒๔๔๐
                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งโรงเรียนสอนวิชากฎหมาย

    ๑๕ เมษายน ๒๔๔๐
                สมเด็จพระศรีพัชรินทรา ฯ ทรงเป็นองค์ประธานที่ปรึกษาข้าราชการแผ่นดิน

    ๒๐ พฤษภาคม ๒๔๔๐
                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติปกครองท้องถิ่น ร.ศ. ๑๑๖ เป็นฉบับแรก

    ๑๐ มิถุนายน ๒๔๔๐
                มีการฉายภาพยนตร์ครั้งแรกในไทย ที่โรงละคร หม่อมเจ้าอลังการ์

    ๑ กรกฎาคม ๒๔๔๐
                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จถึงกรุงวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์ ตามระยะทางเสด็จทวีปยุโรป ออกจากกรุงวอร์ซอ เมื่อ ๒ กรกฎาคม และเสด็จต่อไปยังประเทศรัสเซีย

    ๓ กรกฎาคม ๒๔๔๐
                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จถึงประเทศรัสเซีย ประทับที่พระราชวังปิเตอร์ฮอพ เมืองเซนต์ปิเตอร์สเบิร์ค

    ๙ กรกฎาคม ๒๔๔๐
                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จเมืองมอสโคว์ ประเทศรัสเซีย

    ๑๙ กันยายน ๒๔๔๐
                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จพระราชดำเนินเยือนฝรั่งเศส ในคราวเสด็จประพาสยุโรป ครั้งแรก

    ๑๖ พฤศจิกายน ๒๔๔๐
                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ตราพระราชบัญญัติสุขาภิบาลและตั้งสุขาภิบาลมณฑลกรุงเทพ ฯ ขึ้น

    ๑ เมษายน ๒๔๔๑
                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้จัดตั้งกรมเสนาธิการทหารบกขึ้น พระองค์เจ้าจิรประวัติ ดำรงตำแหน่งเป็น เสนาธิการทหารบก พระองค์แรกในกองทัพไทย

    ๑๗ มิถุนายน ๒๔๔๑
                ประกาศโครงการศึกษา ร.ศ.๑๑๗ ขณะนั้นมีพลเมือง ๖ ล้าน เด็กในเกณฑ์เรียน ๔๙๐,๐๐๐ คน

    ๒๑ สิงหาคม ๒๔๔๑
                ประกาศเงินตราอย่างใหม่เรียกว่า สตางค์

    พ.ศ.๒๔๔๒
                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้มีการจัดตั้งกองทหารไปประจำตามหัวเมืองต่าง ๆ ทั่วไป เพื่อสดวกในการวางกำลังไว้ด้วยพื้นที่ยุทธศาสตร์และเปลี่ยนนามหน่วยทหารให้เป็นลำดับทั่วกัน

    ๒๙ เมษายน ๒๔๔๒
                วันประสูติ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย ทรงเป็นนักการคลัง และนักการเงินคนสำคัญคนหนึ่งของไทย หลังจากสงครามมหาเอเซียบูรพาสิ้นสุดลง ท่านได้รับแต่งตั้งเป็น หัวหน้าคณะผู้แทนไทย ไปเจรจาและลงนามในความตกลงสมบูรณ์แบบระหว่างไทยกับอังกฤษ สิ้นพระชนม์เมื่อพระชนมายุ ๖๐ พรรษา

    ๔ พฤษภาคม ๒๔๔๒
                วันเปิดเรียนของนักเรียนนายเรือรุ่นแรก มีนักเรียนนายเรือ ทั้งหมด ๑๒ คน

    ๒๓ พฤษภาคม ๒๔๔๒
                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าฟ้าอัษฎางค์ ฯ เป็นผู้แทนพระองค์อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ โดยกระบวนแห่จากพระบรมมหาราชวัง มาบรรจุไว้ ณ พระเจดีย์องค์ใหญ่บนยอดภูเขาทอง วัดสระเกศ และโปรดเกล้า ฯ ให้เรียกชื่อภูเขาทองให้ถูกต้องว่า บรมบรรพต

    ๑๕ สิงหาคม ๒๔๔๒
                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ตัดถนนราชดำเนิน ประกอบด้วยถนนราชดำเนินใน ยาว ๕๒๕ เมตร ถนนราชดำเนินกลาง ยาว ๑,๒๐๐ เมตร และถนนราชดำเนินนอก ยาว ๑,๔๗๕ เมตร รวมทั้งสิ้นยาว ๓.๒ กิโลเมตร

    ๒๙ ธันวาคม ๒๔๔๒
                วางสายโทรเลขระหว่างเชียงใหม่กับเชียงแสน

    ๔ เมษายน ๒๔๔๓
                กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลอิสาน อยู่เมืองอุบลราชธานีได้นำกองทหารชาวกรุงเทพ ฯ และทหารชาวพื้นเมืองซึ่งได้รับการฝึกมาแล้ว กับได้รับความร่วมมือของกองทัพเมืองนครราชสีมา และเมืองบุรีรัมย์ สามารถจับพวกกบฎผีบุญผีบ้าที่เกิดขึ้นที่เมืองอุบลราชธานีได้

    ๑๑ มิถุนายน ๒๔๔๓
                สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ ทรงสำเร็จการศึกษาวิชาการทหารเรือจากอังกฤษเป็นพระองค์แรก เสด็จกลับถึงกรุงเทพ ฯ แล้วทรงโปรดเกล้า ฯ พระราชทานยศเป็นนายเรือโท พระองค์ได้ทรงบากบั่นก่อสร้างกองทัพเรือไทยให้แข็งแกร่งขึ้น ทรงพระวิริยะอุตสาหะอย่างแรงกล้า ที่จะให้คนไทยมีความสามารถในกิจการทหารเรือ จนได้รับการขนานนามจากกองทัพเรือ เมื่อ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๖ ว่า พระบิดาของกองทัพเรือไทย

    ๒๑ ตุลาคม ๒๔๔๓
                วันพระราชสมภพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงสำเร็จการศึกษาแผนกสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และเมื่อปี ๒๔๖๓ ได้อภิเษกสมรสเป็นหม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา ในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ฯ ในปี ๒๔๘๐ ได้รับโปรดเกล้า ฯ จากพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล (รัชกาลที่ ๘) ให้สถาปนาขึ้นเป็นพระราชชนนีศรีสังวาลย์ และสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ ตามลำดับ เมื่อ ๙ มิถุนายน ๒๕๑๓ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โปรดเกล้า ฯ ให้เป็นสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนี

    ๖ ธันวาคม ๒๔๔๓
                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ นิมนต์พระสงฆ์จำนวน ๓๓ รูป เท่ากับปีที่เสวยราชย์ จากวัดมหาธาตุมาอยู่กัดเบญจมบพิตร

    พ.ศ.๒๔๔๔
                เกิดกบฎผีบุญผีบ้า ที่จังหวัดอุบล ฯ

    ๗ เมษายน ๒๔๔๐
                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จประพาสต่างประเทศทางยุโรป เป็นครั้งแรก เพื่อทอดพระเนตรการปกครองของอารยะประเทศ รวมเวลา ๗ เดือน โดยเรือพระที่นั่งมหาจักรี มีเรือมกุฎราชกุมาร และเรือยงยศอโยชฌิยา เป็นเรือรบตามเสด็จเพียงเมืองสิงคโปร์
    ๒๑ มีนาคม ๒๔๓๙
                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศพระราชกำหนดผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ร.ศ.๑๑๕ ตั้งสมเด็จพระนางเจ้า เสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ในโอกาสที่พระองค์จะเสด็จประพาสยุโรป ระหว่าง ๗ เมษายน ถึง ๑๖ ธันวาคม ๒๔๔๐ นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย ที่พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาพระมเหสี เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน

                พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ทรงได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมงกุฎราชกุมาร พระองค์ที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนมายุ ๓๑ พรรษา ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้คนไทยมีนามสกุล ทรงพระราชทานนามสกุลถึง ๖,๔๓๒ สกุล โปรดเกล้า ฯ ให้ใช้คำนำหน้าชื่อคือ เด็กชาย เด็กหญิง นาย นางสาว นาง คุณหญิง เป็นต้น พระราชทานกำเนิดธนาคารออมสิน นำประเทศไทยเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ ๑ ที่ยุโรป โดยอยู่กับฝ่ายสัมพันธมิตร
    ๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๓๘ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงตราพระราชบัญญัติโรงจำนำ ร.ศ.๑๑๔ ขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทย มีผลบังคับใช้ทั่วพระราชอาณาจักร วันที่ ๑ กรกฎาคม ร.ศ.๑๒๐
    ๓ ตุลาคม ๒๔๓๖
                สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ฯ กรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ ได้ทรงลงนามในสนธิสัญญาไทยกับฝรั่งเศส ที่ทำขึ้นหลังจากวิกฤติ ร.ศ.๑๑๒ ผลจากสนธิสัญญานี้ทำให้ไทยเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ตั้งแต่แคว้นสิบสองจุไท ในภาคเหนือของลาว จนถึงเขตแดนเขมรให้แก่ฝรั่งเศสไป และไทยต้องชดใช้ค่าเสียหายให้ฝรั่งเศส ๒ ล้านฟรังก์ และยังต้องวางเงินประกันอีก ๓ ล้านฟรังก์ ขณะเดียวกันฝรั่งเศสได้ส่งทหารมายึดจันทบุรีและตราด นับว่าเป็นดินแดนครั้งใหญ่ที่สุดของไทย รวมเป็นพื้นที่ ๑๔๓,๘๐๐ ตารางกิโลเมตร ให้แก่ฝรั่งเศส
    ๒๐ กรกฎาคม ๒๔๓๖
                นายโอกุส ปาวี เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย ได้รับคำสั่งจากรัฐบาลฝรั่งเศสให้ยื่นคำขาดต่อรัฐบบาลไทย รวม ๖ ข้อ ให้ไทยยกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงและเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ใต้แหลมสิงห์ไปถึงเกาะกูด แก่ฝรั่งเศส ให้ไทยลงโทษเจ้าหน้าที่ไทยผู้มีส่วนรับผิดชอบในการยิงเรือฝรั่งเศส ที่ปากน้ำ ชดใช้ค่าเสียหายแก่ฝรั่งเศส ๒ ล้านฟรังก์ โดยไทยจะต้องให้คำตอบใน ๔๘ ชั่วโมง มิฉะนั้นเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทยจะเดินทางออกจากกรุงเทพ ฯ และฝรั่งเศสจะประกาศปิดน่านน้ำไทยในทันที

    • Update : 14/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch