๑๐ มิถุนายน ๒๔๒๕
บริษัท เดอลอง ของฝรั่งเศส ขอขุดคอคอดกระ แบบเดียวกับการขุคคลองสุเอช แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบ่ายเบี่ยง เพราะต้องพิจารณาประโยชน์ของฝ่ายไทยก่อน เพราะถ้าผิดพลาดจะเสียความสัมพันธไมตรีระหว่างไทยกับอังกฤษ
๒๓ มกราคม ๒๔๒๕
วันประสูติ พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ฯ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระนามเดิม พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร ราชโอรสพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เป็นทหารช่าง ทรงแต่งตำราวิชาการทหารช่างขึ้น อันเป็นรากฐานของทหารช่างมาถึงปัจจุบัน ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ได้ทรงตั้งตำแหน่ง จเรทหารช่าง และจเรทหารปืนใหญ่ เมื่อมีการจัดตั้งแผนกรถไฟและแผนกการบินทหารบกขึ้นในกองทัพบก ก็ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้สองหน่วยงานนี้อยู่ในบังคับบัญชาของพระองค์ ได้ทรงนำรถจักรดีเชลมาใช้เป็นประเทศแรกในเอเชีย ทรงริเริ่มกิจการวิทยุกระจายเสียงครั้งแรกในไทย
พ.ศ.๒๔๒๖
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน เมื่อต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ถึงแก่พิราลัย
๑๘ มิถุนายน ๒๔๒๖
กงสุลฝรั่งเศส ทูลทาบทามสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เพื่อขอทหารไทย ๕๐๐ คน ไปช่วยฝรั่งเศสรบในตั๋งเกีย ซึ่งพระองค์ทรงบ่ายเบี่ยง
๒ กรกฎาคม ๒๔๒๖
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งกรมโทรเลขขึ้น โดยรับช่วงการโทรเลขจากกรมกลาโหม
๑๐ กรกฎาคม ๒๔๒๖
อนุญาตให้ห้าง บี กริม แอนด์โก ปักเสาโทรศัพท์ในถนนเจริญกรุง เครื่องโทรศัพท์ได้นำเข้ามาในเมืองไทย ได้ถวายพระพุทธเจ้าหลวง เมื่อ ๓ มีนาคม ๒๔๒๐ ปรากฏว่า เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๑ มีสายโทรศัพท์ระหว่างกรุงเทพ ฯ กับบางปะอิน ส่วนกรุงโตเกียว เริ่มมีโทรศัพท์ใช้ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๒ กรุงปักกิ่งมีโทรศัพท์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๓
๒๖ กรกฎาคม ๒๔๒๖
ไทยได้เปิดสายโทรเลขสายแรกที่ติดต่อกับต่างประเทศ เริ่มจากกรุงเทพ ฯ ผ่านปราจีนบุรี กบินทร์บุรี อรัญประเทศ จนถึงคลองกำปงปลัก ในพระตะบอง และติดต่อกับสายโทรเลขอินโดจีน เชื่อมโยงกับไซ่ง่อน
๔ สิงหาคม ๒๔๒๖
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งกรมไปรษณีย์โทรเลขขึ้นเป็นครั้งแรก เปิดบริการในพระนครเป็นปฐม ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๑ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้รวมกรมไปรษณีย์และกรมโทรเลข เข้าด้วยกัน เป็นกรมไปรษณีโทรเลข ขึ้นกับกระทรวงโยธาธิการ
พ.ศ.๒๔๒๗
ราชทูตไทยคนแรก ที่ได้เดินทางไปสหรัฐอเมริกาและยื่นพระราชสาส์นตราตั้งต่อประธานาธิบดี เชสเตอร์ อลัน อาเธอร์ ณ กรุงวอชิงตัน คือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนเรศวรฤทธิ์ (สมัยดำรงยศเป็น กรมหมื่น)
๑๘ กรกฎาคม ๒๔๒๗
เปิดตึกอาคารกรมทหารหน้า คือที่ตั้งกระทรวงกลาโหมในขณะนี้ สร้างในเนื้อที่ ๑๗ ไร่ สิ้นค่าก่อสร้าง ๕๗๐,๐๐๐ บาท
๒๐ กันยายน ๒๔๒๗
เจ้าหมื่นไวยวรนาถ (เจิม แสง-ชูโต) เป็นผู้ริเริ่มกิจการไฟฟ้า โดยสั่งเครื่องกำเนิดไฟฟ้ามาติดตั้ง และเดินเครื่องจ่ายกระแสไฟฟ้าเป็นทางการในวันนี้
๒ ตุลาคม ๒๔๒๗
กำเนิดโรงเรียนหลวง สำหรับราษฎรแห่งแรก ที่วัดมหรรณพาราม ในสมัยรัชกาลที่ ๕
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๒๗
วันจัดตั้งโรงเรียนอัสสัมชัญบางรัก โดยมีบาทหลวง กลอมเบต์ ชาวฝรั่งเศส อธิการแห่งโบสถ์อัสสัมชัญ รับเฉพาะนักเรียนชายล้วน
พ.ศ.๒๔๒๘
ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีของสหภาพไปรษณีย์
๑๙ มิถุนายน ๒๔๒๘
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นเทวะวงศ์ ฯ ทรงประกอบพิธีเปิดสำนักงานกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ พระราชทานนามว่า ศาลาการต่างประเทศ นับเป็นกระทรวงแรกที่มีสำนักงานขึ้นต่างหากจากที่เคยใช้วังหรือบ้านเสนาบดีกระทรวงนั้น ๆ เป็นที่ทำการ
๓ กันยายน ๒๔๒๘
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ตั้ง กรมแผนที่ขึ้น เดิมเป็นโรงเรียนแผนที่ ตั้งเมื่อ พ.ศ.๒๔๒๕ และเป็นหน่วยงานของทหารช่าง กองทหารมหาดเล็ก พระวิภาคภูวดล ชาวอังกฤษ เป็นเจ้ากรมแผนที่ทหารคนแรก กรมแผนที่ได้ย้ายไปขึ้นกับกระทรวงเกษตราธิการ แล้วกลับโอนมาสังกัด กระทรวงกลาโหม เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๒ วันนี้ถือเป็นวันสถาปนา กรมแผนที่ทหาร
๔ กันยายน ๒๔๒๘
ยุบกองทหารวังหน้า มารวมกับกองทหารวังหลัง บางส่วนจัดเป็นกองตระเวนทางน้ำ
๔ กันยายน ๒๔๒๘
มีพระบรมราชโองการ ให้ประกาศยกเลิกตำแหน่ง กรมพระราชวังบวรสถานมงคล หลังจากที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ทิวงคต เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๘
๒๖ ตุลาคม ๒๔๒๘
พันเอก พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ผู้บังคับการกรม ทหารรักษาพระราชวัง เป็นแม่ทัพ กองทัพฝ่ายใต้ ไปปราบพวกฮ่อที่ทุ่งเชียงคำ โดยตั้งกองบัญชาการที่เมืองหนองคาย
๓๐ ตุลาคม ๒๔๒๘
เป็นวันเกิดมหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) ต้นสกุลนี้ได้รับราชการตั้งแต่สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้เป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง อธิบดีศาลฎีกา เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา องคมนตรี อุปนายกสภากาชาดไทย นับว่าเป็นผู้ที่มีความสามารถมากที่สุดคนหนึ่งของไทย
๓ พฤศจิกายน ๒๔๒๘
นายพันเอก เจ้าหมื่นไวยวรนาถ (เจิม แสง-ชูโต) ผู้บังคับการกรมทหารม้า เป็นแม่ทัพกองทัพฝ่ายเหนือ (ซึ่งต่อมาคือ จอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ผู้บัญชาการทหารบกคนแรก) ไปปราบพวกฮ่อในแคว้นหัวพันห้าทั้งหก ได้ใช้เมืองซ่อนเป็นฐานปฏิบัติการ ซึ่งในการยกทัพไปครั้งนี้ พระวิภาคภูวดล (เจ้ากรมแผนที่คนแรก) ได้เขียนแผนที่แสดงพระราชอาณาเขตของไทย ทางภาคเหนือจนถึงแคว้นสิบสองจุไทย และได้มอบแผนที่ให้ นายพันเอกเจ้าหมื่นไวยวรนาถ เพื่อเป็นหลักฐานกรณีโต้แย้งกับฝรั่งเศส
๑๒พฤศจิกายน ๒๔๒๘
วันประสูติ พลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ฯ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร พระราชโอรสองค์ที่ ๕๒ ในรัชกาลที่ ๕ ต้นราชสกุลรังสิต พ.ศ.๒๔๕๔ ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นองคมนตรี หลังจากจบการศึกษาที่เยอรมัน เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๓ เป็นอธิบดีสาธารณสุขคนแรก ทรงลาออกจากราชการเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๙ เป็นประธานองคมนตรี ใน พ.ศ.๒๔๙๓ สิ้นพระชนม์ด้วยโรคพระหทัยใน พ.ศ.๒๔๙๔
๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๒๘
ได้บรรจุการทำบัญชีเข้าในหลักสูตรการศึกษาของไทยเป็นครั้งแรก โดยประกาศกระแสพระบรมราชโองการ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นวิชาหนึ่งในแปดอย่างของประโยคสอง ซึ่งเป็นวิชาชั้นสูงสุดของ โรงเรียนหลวงในสมัยนั้น
๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๒๘
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จโดยเรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดช ไปเยี่ยมเรือรบอังกฤษ คือ เรือออเคเซียส เรืออะกาเมนอน เรือวิจิแลนด์ และเรือแดริง ซึ่งเดินทางมาจากฮ่องกง มาทอดสมออยู่ที่สันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยา
๘ เมษายน พ.ศ.๒๔๓๐
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติ จัดตั้งกรมยุทธนาธิการขึ้น โดยรวมกิจการทหารบกและทหารเรือไว้ด้วยกัน เป็นการจัดกำลังทหารให้ทันสมัย มีประสิทธิภาพ และให้หน่วยทหารต่าง ๆ ในกรมทหารมหาดเล็ก ฯ ไปขึ้นตรงกับกรมยุทธนาธิการ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงกลาโหม
๘ เมษายน ๒๔๓๐
ได้มีประกาศจัดการทหาร ในประเทศนี้ได้รวมบรรดากองทหารบก กองทหารเรือ ทั้งหมด มาขึ้นอยู่ในบังคับบัญชา ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช แต่ในระหว่างที่ทรงพระเยาว์อยู่นั้น ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ นายพลเอก สมเด็จเจ้าฟ้า ฯ กรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช เป็นผู้แทนผู้บัญชาการทั่วไปในกรมทหาร
๕ พฤษภาคม ๒๔๓๐
กำเนิดรถรางไทย ได้เริ่มเดินรถรางในไทยเป็นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เส้นทางบางคอแหลม (ถนนตก) ถึงพระบรมราชวัง
๗ มิถุนายน ๒๔๓๐
ชาวเมืองไลเจาและพวกฮ่อจากแคว้นสิบสองจุไท ได้ยกทัพเมืองหลวงพระบาง ภายหลังที่กองทัพเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ยกทัพกลับออกจากเมืองหลวงพระบาง เมื่อ ๒๗ เมษายน ๒๔๓๐
๕ สิงหาคม ๒๔๓๐
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้สถาปนาโรงเรียนนายร้อย จปร.ขึ้นข้างวังสราญรมย์ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งกรมแผนที่ทหารปัจจุบัน เรียกว่า Cadet School ทหาร เป็นการรวมโรงเรียนคาเดททหารมหาดเล็ก และโรงเรียนคาเดททหารหน้าเข้าด้วยกัน ถือเป็นกำเนิดของสถาบัน ต่อมาขนานนามใหม่ว่า โรงเรียนทหารสราญรมย์ พ.ศ.๒๔๔๕ โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างโรงเรียนนายร้อยที่ถนนราชดำเนินนอก พ.ศ.๒๔๙๐ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช (รัชกาลที่ ๙) โปรดเกล้า ฯ พระราชทานชื่อว่า โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า พ.ศ.๒๕๒๙ พระองค์ทรงประกอบพิธีเปิดโรงเรียนนายร้อย จปร.แห่งใหม่ ที่เขาชะโงก นครนายก
๒๖ กันยายน ๒๔๓๐
วันร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยพระราชไมตรีและพาณิชย์ (Declaration of Amity and Commerce) เพื่อสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตที่มีประวัติศาสตร์มิตรภาพและความร่วมมือระหว่างไทย – ญี่ปุ่น มาตั้งแต่สมัยกรุงงศรีอยุธยา
๑๙ พฤศจิกายน ๒๔๓๐
นายพลตรี พระยาสุรศักดิ์มนตรี ยกกองทัพออกจากกรุงเทพ ฯ ไปปราบพวกฮ่อเป็นครั้งที่ ๔ ซึ่งเป็นครั้งสุดท้าย
๒๔ มีนาคม ๒๔๓๐
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงประกาศให้ยิงปืนเที่ยงบอกเวลา ๑๒.๐๐ น. โดยใช้สนามหลวงเป็นที่ตั้งยิง
พ.ศ.๒๔๓๑
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ตรา พระราชบัญญีติว่าด้วยศักดินาทหาร และ พระราชบัญญัติว่าด้วยลำดับยศทหารบก
๑๔ มกราคม ๒๔๒๙
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามบรมราชกุมาร เป็นตำแหน่งรัชทายาท นับเป็นครั้งแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ที่มีตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช แทนตำแหน่งพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคลหรือที่เรียกว่าวังหน้า ซึ่งมีมาแต่สมัยอยุธยา ๓๐ เมษายน ๒๔๒๘
วันเกิด พระยากัลยาณไมตรี (ดร.ฟรานชิส บี แชร์) ชาวอเมริกันคนที่ ๒ ที่เข้ามารับราชการในไทย และได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยา ได้เดินทางมารับราชการในไทยเมื่อปี ๒๔๖๖ เป็นที่ปรึกษาการต่างประเทศด้านกฎหมาย สมัยรัชกาลที่ ๖ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นทูตผู้มีอำนาจเต็ม ไปเจรจาขอแก้ไขสัญญาทางพระราชไมตรีกับนานาประเทศในยุโรป เช่น ฝรั่งเศส อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ อิตาลี โปรตุเกส สเปน เดนมาร์ก นอร์เวย์ สวีเดน การเจรจาบรรลุผลสำเร็จเรียบร้อย ในปี ๒๔๒๘ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาวภรณ์ ท.จ. และ ท.ช. เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนไทยไปประจำศาลอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงเฮก เมื่อลาออกแล้วได้ไปรับตำแหน่งผู้สำเร็จราชการฟิลิปปินส์ และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้ช่วยงานเสรีไทยด้วย