หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    เรื่องของไทยในอดีต 6

    ๒ สิงหาคม ๒๔๐๒
                พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ เสด็จประพาสหัวเมืองตะวันตกโดยทางเรือกลไฟ

    ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๐๒
                พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ทรงมีพระราชสาส์น ถึงพระราชาธิบดีเดนมาร์ค มีใจความว่า ขอเจริญทางพระราชไมตรี มายังสมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริก ที่ ๗ และเรื่องการค้าขาย

    ๑๑ มกราคม ๒๔๐๒
                วันประสูติ จอมพล เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช ราชโอรสในรัชกาลที่ ๔ ทรงดำรงตำแหน่งสำคัญต่าง ๆ มากมาย รัชกาลที่ ๖ ทรงสรรเสริญว่าทรงเป็นพระหลักเมืองแห่งพระบรมราชวงศ์จักรี

    ๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๐๒
                พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ เสด็จ ฯ ทรงเปิดเดินเครื่องจักรโรงกษาปณ์สิทธิการ

    ๑๔ กันยายน ๒๔๐๓
                ประเทศไทยเริ่มใช้เหรียญบาทเป็นครั้งแรก ในสมัยรัชกาลที่ ๔

    ๑๗ กันยายน ๒๔๐๓
                ประกาศใช้เงินเหรียญบาท และเงินแป (๑ สลึง ๒ สลึง เงินเฟื้อง) กำหนดออกใช้ใน

    ๑๕ มิถุนายน ๒๔๐๔
                หมอบรัดเลย์ ซื้อลิขสิทธิ์หนังสือนิราชลอนดอน ของหม่อมราโชทัยและจัดพิมพ์ขายเป็นครั้งแรก นับเป็นการเริ่มต้นการซื้อขายลิขสิทธิ์ และการพิมพ์หนังสือเป็นเล่มออกจำหน่ายในประเทศไทย

    ๑๙ กรกฎาคม ๒๔๐๔
                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ครั้งยังไม่ขึ้นครองราชย์ ทรงบรรพชาเป็นสามเณร

    ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๐๔
                วันประสูติ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ฯ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ พระราชโอรสใน รัชกาลที่ ๔ เป็นต้นราชสกุล วรวรรณ ทรงได้รับการยกย่องว่าเป็นนักเขียน และนักกวีผู้ยิ่งใหญ่ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สิ้นพระชนม์ เมื่อ ๑๑ ตุลาคม ๒๔๗๕

    ๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๐๔
                พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างถนนได้แก่ ถนนเจริญกรุง ซึ่งเป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เริ่มต้นตั้งแต่ถนนสนามไชย ไปจนจรดแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณถนนตก รวมความยาวทั้งสิ้น ๘,๕๗๕ กิโลเมตร ส่วนความกว้างไม่เท่ากันตลอดทั้งสาย บางตอนกว้างถึง ๑๒.๗๕ เมตร บางตอนกว้างเพียง ๗ เมตร เป็นถนนเทคอนกรีต และลาดยางตลอดสาย และ ถนนบำรุงเมืองถนนเฟื่องนคร ถนนสีลม และโปรดเกล้า ฯ ให้ขุดคลองผดุงกรุงเกษมคลองมหาสวัสดิ์คลองภาษีเจริญ คลองดำเนินสะดวก และคลองหัวลำโพง

    ๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๐๔
                พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ทรงทำสัญญาทางพระราชไมตรีกับประเทศรัสเซีย

    ๑๒ มีนาคม ๒๔๐๔
                พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้จัดพิมท์ปฎิทิน ทรงคำนวนขึ้นเป็นครั้งแรก

    ๒๑ มิถุนายน ๒๔๐๕
                วันดำรงราชานุภาพ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ประสูติ ๒๔๐๕ สิ้นพระชนม์ ๑ ธันวาคม ๒๔๘๖ ได้รับพระนามว่า พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์

    ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๐๕
                พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ทรงมีพระราชสาส์น ถึงสมเด็จพระราชาธิบดี เยอรมัน มีใจความว่า ขอเจริญทางพระราชไมตรีมายัง สมเด็จพระเจ้ากรุงปรุสเซีย และเรื่องการทำสัญญาทางพระราชไมตรีและทางค้าขาย

    ๑๐ กันยายน ๒๔๐๕
                วันประสูติ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวสาชัยยิกาเจ้า ทรงเป็นพระราชธิดาองค์ที่ ๖๐ ในรัชกาลที่ ๔ สิ้นพระชนม์เมื่อ ธันวาคม ๒๔๙๙ พระชนมายุ ๙๓ พรรษา นับเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ที่ทรงมีพระชันษายืนยาวพระองค์หนึ่งของราชวงศ์จักรี

    พ.ศ.๒๔๐๖
                พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ โปรดให้ต่อเรือยงยศอโยชฌิยา ซึ่งขึ้นระวางเป็นเรือรบของวังหน้า เครื่องจักรท้ายมีระวางขับน้ำ ๓๐๐ ตัน ตัวเรือทำด้วยไม้ มีปืนใหญ่ ๖ กระบอก พลประจำเรือ ๘๐ คน ปลดระวาง เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๑

    ๒๘ เมษายน ๒๔๐๖
                วันประสูติ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ราชโอรสรัชกาลที่ ๔ ทรงดำรงตำแหน่งสำคัญมากมาย ทั้งด้านทหารและพลเรือน ทรงมีความสามารถด้านศิลปอย่างสูง เห็นได้จากการออกแบบสร้างวัดเบญจมบพิตร ฯ เป็นต้นมา

    ๑๙ มิถุนายน ๒๔๐๖
                พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ทรงมีพระราชสาส์นถึงพระราชาธิบดี ฮอลันดา มีใจความว่าขอเจริญทางพระราชไมตรีมายังสมเด็จพระเจ้าวิเลียมที่สาม พระเจ้าแผ่นดินกรุงนิเทอร์แลนด์ ทรงย้ำถึงทางพระราชไมตรีของสองพระนครที่จะยั่งยืนสืบไปนาน และคนของทั้งสองฝ่ายจะค้าขายต่อกันโดยสุขสวัสดิ์

    ๑๘ กันยายน ๒๔๐๖
                เริ่มใช้ เงินตราอย่างใหม่ที่เรียกว่า อัฐ และโสฬส ทำด้วยดีบุกผสม เป็นเงินตราแทน หอยเบี้ย ในสมัยรัชกาลที่ ๔

    ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๐๗
                วันสถาปนาวัดราชประดิษฐ์ ฯ เป็นวัดธรรมยุตินิกาย

    ๒๙ มกราคม ๒๔๐๗
                พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ โปรดให้หลวงเดชกับคณะ ไปจัดการเรื่องพรมแดนไทยกับพม่า ตลอดแนวเทือกเขาตะนาวศรี

    พ.ศ.๒๔๐๘
                กองทัพกรุงศรีอยุธยา ยกขึ้นไปตีเมืองลำปาง และได้สถาปนาพระอาทิตย์วงศ์ ราชโอรสสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ เป็นพระบรมราชา ตำแหน่งสมเด็จหน่อพุทธางกูร ให้ครองหัวเมืองเหนือ อยู่ ณ เมืองพิษณุโลก

    ๑๔ พฤษภาคม ๒๔๐๘
                วันก่อพระฤกษ์พระเจดีย์ภูเขาทอง ในรัชกาลที่ ๔

    ๒๒ สิงหาคม ๒๔๐๘
                พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ มีพระบรมราชโองการ ประกาศเลิกการห้ามส่งข้าว ออกนอกพระราชอาณาจักร

    ๕ กันยายน ๒๔๐
                เรือปืนฝรั่งเศส ชื่อ Mitraille เดินทางมาถึงกรุงเทพ ฯ เพื่อรับ M. Aubaret ซึ่งเข้ามาเจรจาทำสัญญาเรื่องดินแดน ให้ไทยยอมรับสิทธิอธิปไตยของฝรั่งเศสเหนือดินแดนเขมร แต่ไม่สำเร็จ

    ๗ มกราคม ๒๔๐๘
                พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ เสด็จสวรรคตที่วังหน้า พระชนมายุได้ ๕๘ พรรษา หลังจากทรงประชวรมา ๕ ปี

    ๘ มกราคม ๒๔๐๘
                วันประสูติกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ (พระองค์เจ้ายอดยิ่งยศ) ทิวงคต ๒๘ สิงหาคม ๒๔๒๘

    ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๐๙
                พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ เสด็จพระราชทานเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

    ๓ มิถุนายน ๒๔๑๐
                พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ มีพระบรมราชโองการประกาศตั้ง เซอร์ ยอน เบาริง เป็นราชทูตวิสามัญ และอัคราชทูตผู้มีอำนาจเต็มฝ่ายไทยประจำยุโรป และได้ตั้งให้เป็น พระยาสยามานุกูลกิจ สยามมิตรมหายศ เมื่อ ๓๐ สิงหาคม ๒๔๑๐

    ๑๕ กรกฎาคม ๒๔๑๐
                ไทยเสียแคว้นเขมร และเกาะใกล้เคียงแก่ฝรั่งเศส ด้วยเห็นว่าการดำเนินนโยบายประนีประนอมกับฝรั่งเศส เป็นหนทางที่จะรักษาเอกราชของชาติไว้ได้

    ๓๑ กรกฎาคม ๒๔๑๐
                วันถึงแก่กรรม หม่องราโชทัย (กระต่าย อิศรางกูล ณ อยุธยา) กวีผู้แต่งนิราศลอนดอน

    ๓๐ สิงหาคม ๒๔๑๐
                พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์แก่ Sir John Bowring เป็นพระยาสยามานุกูลกิจ อันเป็นบรรดาศักดิ์สูงสุดที่ราชทูตไทยได้รับ นับเป็นชาวอังกฤษคนแรกที่ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยา

    ๓๐ กันยายน ๒๔๑๐
                พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ตั้งเซอร์ยอน บาวริ่ง เป็นอัคราชทูตพิเศษไทย ประจำกรุงลอนดอน

    ๑๒ พฤศจิกายน ๒๔๑๐
                พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้เรือพระที่นั่งอรรคเรศรัตนอาสน์ ออกไปรับผู้ว่าราชการเมืองมาเก๊า ซึ่งได้เชิญพระราชสาสน์ และเครื่องราชบรรณาการของกษัตริย์โปรตุเกสมาถวาย จากสันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้ามายังกรุงเทพ ฯ

    ๒๗ พฤศจิกายน ๒๔๑๐
                วันประสูติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ โอรสองค์ที่ ๔๒ ในรัชกาลที่ ๔ ต้นราชสกุลเทวกุล ทรงคิดทำปฏิทินไทยตามสุริยคติ ขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวาย รัชกาลที่ ๕ จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้ใช้เป็นประเพณี ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๓๒ เป็นต้นมา ทรงริเริ่มงานสำคัญ ๒ เรื่องคือ ให้ตั้งทูตไทยประจำประเทศอังกฤษเป็นประเทศแรก เมื่อ พ.ศ.๒๔๒๕ ทำให้นานาชาติเริ่มยกย่องให้เกียรติประเทศไทย ด้วยการตั้งราชทูตมาประจำประเทศไทยเป็นการตอบแทน ทรงริเริ่มที่จะทำสัญญากับอังกฤษ เพื่อจัดตั้งศาลต่างประเทศขึ้นที่เชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ.๒๔๒๖ อันเป็นการนำคนในบังคับต่างประเทศมาอยู่ในอำนาจศาลไทย พ.ศ.๒๔๒๘ ขณะพระชนมายยุ ๒๗ พรรษา ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศและทรงเป็นอยู่ ๓๘ ปี เมื่อรัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้า ฯ ตั้งเสนาบดี ๑๒ ตำแหน่งขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๕ ก็ได้ทรงเป็นหัวหน้าเสนาบดีในที่ประชุมเสนาบดี ทรงได้รับพระราชทานยศเป็นมหาอำมาตย์นายก อันเป็นยศสูงสุดของข้าราชการพลเรือน สิ้นพระชนม์เมื่อพระชนมายุ ๖๕ พรรษา

    ๑๘ มกราคม ๒๔๑๐
                พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ส่งราชทูตไปประจำ ณ กรุงปารีส

    ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๑๐
                พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้จำลองปราสาทนครวัด ไว้ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อให้คนทั้งหลายเห็นว่าเป็นสิ่งอัศจรรย์

    ๑๕ มีนาคม ๒๔๑๐
                พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ขึ้นเป็นกรมขุนพินิตประชานารถ

    พ.ศ.๒๔๑๑
                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ จัดตั้งทหารสองโหลขึ้น โดยรวบรวมมหาดเล็กที่หลวงเดิม มารับการฝึกทหารจากกรมเล็ก ครูฝึกจากกรมทหารหน้าและให้เข้าขบวนตามเสด็จ ณ สถานที่ต่าง ๆ ด้วย

    ๑๘ พฤษภาคม ๒๔๑๑
                ไทยโดย พระสยาม ฯ ลงนามในสัญญาทางพระราชไมตรี ระหว่างไทย กับ สวีเดน นอร์เวย์

    ๒๙ สิงหาคม ๒๔๑๑
                ไทยโดยพระสยาม ฯ ลงนามในสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีระหว่างไทยกับเบลเยี่ยม

    ๑ กันยายน ๒๔๑๑
                ออกหนังสือพิมพ์รายวันฉบับแรกของไทย โดยพิมพ์ที่โรงพยาบาลหมอสมิท ชื่อ Siam Daily Advertiser

    ๑ ตุลาคม ๒๔๑๑
                พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ เสด็จสวรรคต ด้วยพระโรคไข้จับสั่น หลังจากเสด็จไปทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง ที่ตำบลหว้ากอ แขวงเมืองประจวบคีรีขันธ์ พระชนมายุ ๖๔ พรรษา ดำรงอยู่ในราชสมบัติ ๑๘ ปี ครองราชย์ได้ ๑๙ ปี

    ๑๘ สิงหาคม ๒๔๑๑
                ตั้งแต่ ๑๐.๔๕ - ๑๑.๓๐ เกิดสุริยุปราคาเต็มดวง ตั้งแต่เมืองปราจีนไปจนถึงเมืองชุมพร สามารถเห็นชัดเจน ณ บ้านหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ เสด็จทอดพระเนตรและทรงคำนวนวันเวลาที่เกิดได้ถูกต้อง พระองค์ทรงได้รับเชื้อมาลาเรีย เป็นเหตุให้เสด็จสวรรคต เมื่อ ๑ ตุลาคม ๒๔๑๑ และต่อมาวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๓๕ คณะรัฐมนตรีมีมติให้วันที่ ๑๘ สิงหาคมของทุกปี เป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและเทิดพระเกียรติ พระองค์ว่าเป็นบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย
    ๒๕ ตุลาคม ๒๔๐๙
                พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ เสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือจนถึงเมืองพิษณุโลก โดยเรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดช เพื่อประกอบพิธีสมโภชพระพุทธชินราช
    ๑๑ สิงหาคม ๒๔๐๖
                เขมรตกเป็นของฝรั่งเศส
    ๑๙ กันยายน ๒๔๐๓
                สร้างพระปฐมเจดีย์
    ๗ กรกฎาคม ๒๔๐๒
                สร้างพระนครคีรีบนเขาวัง ที่เมืองเพชรบุรี ปัจจุบันเป็นอุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี

    • Update : 14/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch