พ.ศ.๒๓๗๗
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) สร้างป้อมปราการที่ปากน้ำเมืองจันทบุรีจำนวน ๒ ป้อมคือ ป้อมไพรีพินาศ และป้อมพิฆาตปัจจามิตรเพื่อสู้ศึกญวนทางด้านทิศตะวันออก และให้สร้างป้อมคงกะพันและป้อมนารายณ์กางกรที่บางปลากด เหนือเมืองสมุทรปราการ และป้อมรักษาปากน้ำบางปะกง ที่เมืองฉะเชิงเทราแต่ไม่ปรากฏนาม ต่อมาโปรดเกล้าให้ขยายป้อมผีเสื้อสมุทรออกไปทั้งสองด้านและโปรดเกล้า ฯ ให้ถมศิลาปิดอ่าวที่แหลมฟ้าผ่าดง ให้คงไว้แต่ทางเดินเรือเป็นช่วงๆ เรียกว่าโขลนทวาร
๑ตุลาคม ๒๓๗๗
มหามงกุฎราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งแรกของไทย เริ่มเปิดสอนครั้งแรกโดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชเจ้า องค์ที่ ๑๐ ของกรุงรัตนโกสินทร์ทรงริเริ่มจัดตั้งขึ้นที่วัดบวรนิเวศ ฯ ปัจจุบันให้การศึกษาถึงระดับปริญญาเอก
๑๘กรกฎาคม ๒๓๗๘
หมอบรัดเลย์ หมอสอนศาสนาชาวอเมริกัน ได้เดินทางมาถึงกรุงเทพ ฯ เป็นหมอฝรั่งคนแรกที่นำหลักวิชาแพทย์สมัยใหม่เข้ามาเผยแพร่ในไทย แต่คนไทยรู้จักในฐานะเป็นผู้สร้างงานพิมพ์ขึ้นเป็นครั้งแรกในไทย
๑๐ตุลาคม ๒๓๗๘
หลวงนายสิทธิ (ช่วง บุนนาค) ต่อเรือกำปั่นใบอย่างฝรั่งสำเร็จเป็นครั้งแรก๒ ลำ น้อมเกล้า ฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ
พ.ศ.๒๓๗๙
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ พระยาวิเชียรคีรี เจ้าเมืองสงขลาสร้างป้อมปราการขึ้นที่ปากทะเลสาบสงขลา ตำบลบ่อยาว เมืองสงขลา เพื่อรับศึกด้านใต้และการรุกรานจากอังกฤษ
๓มิถุนายน ๒๓๗๙
มีการตีพิมพ์หนังสือไทยฉบับแรกขึ้นในไทย โดยบาทหลวงโรบินสัน ด้วยแท่นอัดก๊อปปี้และหมอบรัดเลย์เป็นผู้จัดพิมพ์ขึ้น
๑๓มกราคม ๒๓๗๙
หมอบรัดเลย์ หมอสอนศาสนาชาวอเมริกัน ได้ทำการผ่าตัดผู้ที่ถูกกระสุนปืนใหญ่ระเบิดเข้าใส่ในงานฉลองวัดประยูรวงศาวาส ของเจ้าพระยาพระคลัง นับเป็นการเริ่มการผ่าตัดครั้งแรกในประเทศไทย
พ.ศ.๒๓๘๐
คณะมิชชันนารี ได้สร้างโบสถ์ขึ้นเป็นครั้งแรกในกรุงเทพ ฯ
๒๐เมษายน ๒๓๘๐
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้แพทย์เริ่มปลูกฝี ป้องกันไข้ทรพิษเป็นครั้งแรก
๑๘พฤษภาคม ๒๓๘๐
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ เสด็จ ฯ ทรงก่อพระฤกษ์พระวิหารวัดกัลยาณมิตร
๒๖กรกฎาคม ๒๓๘๑
ตั้งกรมเสนาธิการทหาร เป็นหน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม
๒๗เมษายน ๒๓๘๒
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้จ้างโรงพิมพ์หมอบรัดเลย์ มัชชันนารีชาวอเมริกัน พิมพ์หมายประกาศห้ามสูบฝิ่น และค้าฝิ่น จำนวน ๙๐,๐๐๐ ฉบับ นับเป็นหมายประกาศฉบับแรกที่ทางราชการให้จัดพิมพ์ขึ้น
๙มิถุนายน ๒๓๘๒
ให้เมืองพังงาเป็นเมืองใหญ่ เอาเมืองถลาง เมืองตะกั่วทุ่ง เมืองตะกั่วป่ามาขึ้นกับเมืองพังงา
๒๙มกราคม ๒๓๘๒
หมอบัดเลย์ หมอสอนศาสนาชาวอเมริกัน ได้ทำการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ เป็นครั้งแรกในเมืองไทย
พ.ศ.๒๓๘๓
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ทรงแปลตำราปืนใหญ่จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย เพื่อไว้ทำการสอนฝึกหัดทหารปืนใหญ่ในสังกัด
๒ธันวาคม ๒๓๘๓
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ลดหย่อนการรับราชการทหาร ให้เลกไพร่หลวงทั้งปวงเข้ารับราชการแต่เดือนหนึ่งออกไปทำมาหากินอยู่สามเดือน
๒๔ มกราคม๒๓๘๔ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ (ต่อมาคือพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว)เป็นแม่ทัพเรือยกทัพไปตีเมืองบันทายมาศของญวน
๑๒มกราคม ๒๓๘๕
มีการพิมพ์ปฏิทินภาษาไทย ขึ้นใช้เป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยหมอ บรัดเลย์หมอสอนศาสนาชาวอเมริกัน
๑๑มกราคม ๒๓๘๖
เรือกำปั่นไฟลำแรกชื่อ เอ็มเปรส เข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยา
๔กรกฎาคม ๒๓๘๗
วันแรกจำหน่าย หนังสือพิมพ์ ฉบับแรกของไทย ชื่อบางกอกรีคอร์เดอร์ของหมอบรัดเลย ์ ออกเป็นรายปักษ์ ออกจำหน่ายได้ ๑ ปี ก็เลิกกิจการ
๕สิงหาคม ๒๓๘๗
มีประกาศให้ประชาชนปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษในกรุงเทพ ฯ เป็นครั้งแรก
๑กรกฎาคม ๒๓๘๘
หมอคาสเวล มิชชั่นนารีอเมริกัน เริ่มถวายการสอนภาษาอังกฤษ ให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะที่ทรงเป็นพระภิกษุ
๘ตุลาคม ๒๓๘๘
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ คณะมิชชันนารีอเมริกัน สามารถหล่อตัวพิมพ์อักษรไทยได้เองเป็นครั้งแรก
๖กรกฎาคม ๒๓๙๐
เรือรบฝรั่งเศส ๓ ลำ เดินทางจากสิงคโปร์มาถึงสันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยา นำราชทูตฝรั่งเศสเข้ามาขอเจรจาทำสัญญาทางพระราชไมตรี และการค้าในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ
พ.ศ.๒๓๙๒
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างป้อมเสือซ่อนเล็บ ที่ตำบลบางจะเกร็งสำหรับเป็นที่บัญชาการของแม่ทัพ
พ.ศ.๒๓๙๒
เจ้าพระยาบดินทร์เดชา ถึงแก่อนิจกรรม องค์หริรักษ์เจ้ากรุงกัมพูชา ให้ช่างหล่อปั้นรูปเจ้าพระยาบดินทร์เดชาขึ้นด้วยปูนเพชร ประดิษฐานเป็นอนุสาวรีย์ขึ้นที่หน้าค่ายใหญ่ใกล้วัดโพธารามเมืองอุดรมีชัย นับเป็นคนไทยเพียงคนเดียวที่มีอนุสาวรีย์อยู่ในกัมพูชา
๑๗มิถุนายน ๒๓๙๒
เกิดอหิวาตกโรคระบาดในกรุงเทพ ฯ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ เรียกว่า“ห่าปีระกา” ระหว่าง๑๗ มิถุนายน ถึง ๑๕ กรกฎาคม ๒๓๙๒ วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๓๙๒ เป็นวันที่มีคนตายมากที่สุดถึง๗๐๐ ศพ เฉพาะที่เผาที่วัดสระเกศ วัดสังเวช วัดบพิตรพิมุข
๑๙ตุลาคม ๒๓๙๒
หนังสือพิมพ์สิงคโปร์ ฟรี เพรส ลงบทความสรรเสริญพระปรีชาสามารถของ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงสร้างเรือกลไฟขึ้นเป็นลำแรกในประเทศไทย
เมษายน๒๓๙๓
อเมริกา ส่งทูตพิเศษเข้ามาเมืองไทย
๑๐สิงหาคม ๒๓๙๓
เซอร์ เจมส์ บรุค ทูตอังกฤษ เดินทางมาไทย เพื่อขอเจรจาแก้ไขสนธิสัญญา ว่าด้วยการค้าและภาษีที่ทูตคนก่อนทำไว้ เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่อังกฤษมากยิ่งขึ้น แต่ไทยปฏิเสธข้อเสนอ
๑๐สิงหาคม ๒๓๙๓
เรือรบอังกฤษ ๒ ลำ เดินทางมาถึงกรุงเทพ ฯ
๑๐สิงหาคม ๒๓๙๓
Sir James Brook ทูตอังกฤษเดินทางมาไทย เสนอขอเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาว่าด้วยการค้าและภาษีที่ทูตคนก่อนทำไว้ ให้เป็นประโยชน์แก่อังกฤษมากขึ้น แต่ไทยปฎิเสธข้อเสนอ
พ.ศ.๒๓๙๔
กิจการทหารเรือเริ่มแบ่งออกชัดเจน เพราะเดิมอยู่ปะปนกับทหารบก
๒เมษายน ๒๓๙๔
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ ทรงประชวรและเสด็จสวรรคต พระชนมายุได้ ๖๔ พรรษาครองราชย์ได้ ๒๖ ปี
๑ พฤษภาคม๒๓๙๓
ไทยเสียดินแดนสิบสองปันนาพื้นที่ ๖๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร ๒๔ กันยายน๒๓๙๐
สร้างพระเจดีย์ใหญ่ ที่วัดสระเกศ เพื่อฉลองชัยชนะสงครามไทยกับญวน ขณะที่ยังสร้างไม่เสร็จได้พังลงมาในวันนี้ ต่อมาเป็นภูเขาทอง ๒ กันยายน๒๓๘๕
วางศิลาฤกษ์เสริมสร้างพระปรางค์วัดอรุณ ฯ จากความสูง ๘ วา เป็นสูง ๑ เส้น๑๓ วา หรือ ๖๖ เมตร ๖ กันยายน๒๓๘๑
วันประสูติ กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ โอรสองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้รับพระราชทานอุปราชาภิเศกเป็น สมเด็จพระบวรราชเจ้ากรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ในปี ๒๔๑๑ นับเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล องค์สุดท้ายในสมัยรัตนโกสินทร์ เสด็จทิวงคตในปี ๒๔๒๘ ต่อมาในรัชกาลที่ ๕ ได้ทรงยกเลิกตำแหน่งสมเด็จโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ตามแบบประเทศตะวันตก