พ.ศ.๑๘๔๑
พระยาเลอไทย ครองราชย์
๓๐ เมษายน ๑๘๕๗
วันพระราชสมภพสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง วันจันทร์ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๕ สวรรคต พ.ศ. ๑๙๑๒
๕ กันยายน ๑๘๖๓
ที่กลางเวียงเชียงใหม่ เกิดฟ้าผ่าต้องพ่อขุนเม็งราย สวรรคต รวมพระชนมายุ ๘๑ พรรษา
พ.ศ.๑๘๙๐
พระยางั่วนำถุม ครองราชย์
พ.ศ.๑๘๙๐ - ๑๙๑๑
พระยาลิไทยหรือพระมหาธรรมราชาที่ ๑ ครองราชย์
๔ มีนาคม ๑๘๙๓
พระเจ้าอู่ทองเชื้อสายพระเจ้าไชยศิริ สถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เป็นปฐมกษัตริย์
พ.ศ.๑๘๙๕
เมืองกัมพูชาเอาใจออกห่างจากอยุธยา พระเจ้าอู่ทองโปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพระราเมศวร ยกทัพไปตีเมืองกัมพูชา
พ.ศ.๑๙๒๐
สมเด็จพระนครินทราธิราช (พระนครอิน) ทรงเสด็จไปประเทศจีน เมื่อครั้งยังครองเมืองสุพรรณบุรี
พ.ศ.๑๙๒๑
อาณาจักรอยุธยา ผนวกอาณาจักรสุโขทัยไว้ในอำนาจ
พ.ศ.๑๙๓๓
สมเด็จพระราเมศวร ทรงทำสงครามขยายพระราชอาณาเขตไปยังล้านนาและกัมพูชา ทรงยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ได้ แล้วกวาดต้อนชาวเมืองมาไว้ที่เมืองพัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช และจันทบุรี แล้วยกกองทัพไปตีเมืองกัมพูชาได้
พ.ศ.๑๙๔๐
สมเด็จพระบรมราชาที่ ๒ ทรงแต่งตั้งราชทูตออกไปเจริญพระราชไมตรีกับประเทศจีน หลังจากนั้นมีการส่งของแลกเปลี่ยนกัน
พ.ศ.๑๙๔๒
พระมหาธรรมราชาที่ ๒ ที่พ่ายแพ้ต่อกรุงศรีอยุธยา ครองราชย์ถึง
พ.ศ.๑๙๔๓ - ๑๙๖๒
พระมหาธรรมราชาที่ ๓ หรือพระยาไสยลือไทย ครองราชย์
พ.ศ.๑๙๕๑ - ๑๙๕๕
แม่ทัพจีน ได้นำขบวนกองทัพเรือพร้อมทหารกว่า ๒๐,๐๐๐ คน เข้ามาอวดธงถึงกรุงศรีอยุธยา และเข้าเฝ้าสมเด็จพระนครินทราธิราช ด้วย
พ.ศ.๑๙๖๒ - ๑๙๘๑
พระมหาธรรมราชาที่ ๔ (บรมปาล) ครองราชย์
พ.ศ.๑๙๗๔
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ ยกทัพหลวงไปล้อมพระนครหลวง (นครธม) หรือเมืองยโสธรปุระ อยู่เจ็ดเดือน จึงยึดได้
พ.ศ.๑๙๘๕
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ ยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ แต่ไม่สำเร็จ
พ.ศ.๑๙๘๘
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ ยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่อีกครั้ง ได้เมืองชายแดนเชียงใหม่ แต่ทรงประชวรก่อน จึงยกทัพกลับ
พ.ศ.๑๙๙๘
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงวางตำแหน่งศักดินา การกำหนดศักดินา เพื่อเป็นการตอบแทนแรงงานที่รับใช้ราชการ
พ.ศ.๑๙๙๑ - ๒๐๓๐
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ครองราชย์
พ.ศ.๒๐๐๑
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงตั้งกฎมณเฑียรบาลขึ้นเป็นกฎหมายสำหรับการปกครอง แบ่งออกเป็นสามแผนกคือ พระตำรา ว่าด้วยแบบแผน เช่นการพระราชพิธีต่าง ๆ พระธรรมนูญ ว่าด้วยตำแหน่งหน้าที่ราชการ พระราชกำหนด เป็นข้อบังคับสำหรับราชสำนัก
๑๑ กรกฎาคม ๒๐๐๘
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ออกบรรพชาที่เมืองพิษณุโลก มีผู้บวชตาม ๒,๓๔๘ คน พระองค์เป็นโอรสพระเจ้าสามพระยา ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากพ่อขุนผาเมือง พ่อขุนผาเมืองนั้นเป็นน้องของนางเสือง ชายาพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ สมภพ เมื่อ พ.ศ. ๑๙๗๔
พ.ศ.๒๐๑๗
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ แห่งอยุธยา ทำสงครามชนะพระเจ้าติโลกราช แห่งล้านนา หัวเมืองสุโขทัยจึงตกอยู่ในอำนาจอาณาจักรอยุธยาอย่างสมบูรณ์
พ.ศ.๒๐๒๕
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โปรดให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิต แต่งหนังสือมหาชาติคำหลวง ซึ่งจัดเป็นวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาเล่มแรกของกรุงศรีอยุธยา
พ.ศ.๒๐๕๖
พระเมืองแก้ว เจ้าเมืองเชียงใหม่ ยกทัพมาตีกรุงสุโขทัย แต่ชาวเมืองป้องกันเมืองไว้ได้
พ.ศ.๒๐๕๙
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ทรงตอบรับไมตรีจากโปรตุเกส และได้ทำสัญญาทางพระราชไมตรีทางการค้าต่อกัน นับเป็นสัญญาฉบับแรกที่ไทยทำกับต่างประเทศ
พ.ศ.๒๐๖๑
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ทรงพระราชนิพนธ์ตำราพิชัยสงคราม ครั้งแรก
พ.ศ.๒๐๘๑
เกิดสงครามระหว่างไทยกับพม่า เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย เมื่อพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ แห่งกรุงหงสาวดี ยกกองทัพมาตีเมืองเชียงครานหรือเชียงกราน หัวเมืองทางทิศตะวันตกของอยุธยา สมเด็จพระไชยราชาธิราช เสด็จยกกองทัพหลวงออกไปรบพม่า ยึดเมืองเชียงกรานกลับคืนมาได้
พ.ศ.๒๐๘๑
สมเด็จพระไชยราชาธิราช ทรงยกทัพไปถึงเมืองเชียงใหม่ พระมหาเทวีจิระประภา ผู้ครองเมืองเชียงใหม่ ออกมาต้อนรับและขอเป็นไมตรีกับกรุงศรีอยุธยา
พ.ศ.๒๐๘๘
สมเด็จพระไชยราชาธิราช ทรงยกทัพหลวงไปล้อมเมืองเชียงใหม่ เนื่องจากพระมหาเทวีจิระประภา ผู้ครองเมืองเชียงใหม่ ไปอ่อนน้อมต่อพม่า ระหว่างทางที่ยกทัพไปตีได้เมืองลำปาง นครลำพูน ทางเชียงใหม่ยอมเป็นประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา
พ.ศ.๒๐๘๙
ท้าวศรีสุดาจันทร์ พระราชมารดาสมเด็จพระยอดฟ้า ได้รับทูลเชิญจากเสนาบดีชั้นผู้ใหญ่ขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการ เนื่องจากสมเด็จพระแก้วฟ้า ทรงพระเยาว์ พระชนมายุเพียง ๑๐ พรรษา นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย ที่ปรากฏว่ามีผู้สำเร็จราชการเป็นสตรี
พ.ศ.๒๐๙๑
สงครามไทย – พม่า คราวสมเด็จพระสุริโยทัย ขาดคอช้าง ครั้งนั้นพระเจ้าหงสาวดี ตะเบ็งชะเวตี้ กษัตริย์พม่ายกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา พระมหาจักรพรรดิ์ ยกทัพออกไปดูกำลังข้าศึก ณ ทุ่งภูเขาทอง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ชนช้างกับพระเจ้าแปร เกิดเสียที สมเด็จพระสุริโยทัยทรงไสช้างเข้ากันข้าศึกไว้ พระเจ้าแปรจึงใช้พระแสงของ้าวฟันสมเด็จพระสุริโยทัย สิ้นพระชนม์บนคอช้าง
พ.ศ.๒๑๐๖
พระเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์พม่า ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา มีกำลังพล ๒๐๐,๐๐๐ คน จัดเป็นทัพกษัตริย์ถึงหกกองทัพ มีเมืองเชียงใหม่สนับสนุนเสบียงอาหารโดยลำเลียงมาทางเรือ เดินทัพมาทางด่านแม่ละเมา ได้เตรียมทัพเรือพร้อมปืนใหญ่กับจ้างชาวโปรตุเกส อาสาสมัคร ๔๐๐ คน เป็นพลปืนใหญ่ พม่าตีได้เมืองกำแพงเพชร สวรรคโลก สุโขทัย พิชัย และพิษณุโลก ปะทะทัพไทยที่ชัยนาท แล้วเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ ต้องยอมเป็นไมตรี
พ.ศ.๒๑๑๑
สงครามไทย – พม่า คราวเสียกรุง พระเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์พม่า ยกกองทัพใหญ่เจ็ดกองทัพ มีกำลังพล ๕๐๐,๐๐๐ คน ยกทัพมาทางด่านแม่ละเมา เข้าล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้ทั้งสี่ด้าน สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ประชวรและสวรรคต กองทัพพระไชยเชษฐา กษัตริย์ล้านช้างยกมาช่วย แต่ถูกพม่าโจมตีแตกกลับไป
๗ สิงหาคม ๒๑๑๒
ทัพพม่าล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่นานถึงเก้าเดือน ไทยก็เสียกรุงศรีอยุธยาและเสียเอกราชแก่พม่า เพราะความแตกสามัคคีของคนไทยด้วยกันเองเป็นไส้ศึก และการที่สมเด็จพระมหินทราธิราช ไม่ทรงพระปรีชาสามารถในด้านการศึกสงคราม
พ.ศ.๒๑๑๔
สมเด็จพระมหาธรรมราชา ขอตัวสมเด็จพระนเรศวรกลับมาจากกรุงหงสาวดี เพื่อช่วยพระองค์ปราบปรามข้าศึกและป้องกันบ้านเมือง และส่งพระสุพรรณกัลยาไปแทน สมเด็จพระนเรศวร พระชนมายุได้ ๑๕ พรรษา ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นพระมหาอุปราช ขึ้นไปปกครองเมืองเหนือ ประทับอยู่ที่เมืองพิษณุโลก
พ.ศ.๒๑๒๓
สมเด็จพระมหาธรรมราชา ทรงโปรดให้ขุดคูพระนครศรีอยุธยา ด้านตะวันออกหรือคูขื่อหน้า ซึ่งแต่เดิมแคบ ทำให้ข้าศึกข้ามมาถึงตัวพระนครได้สดวกกว่าด้านอื่น กับให้รื้อกำแพงพระนครด้านตะวันออก ไปสร้างใหม่จรดริมฝั่งแม่น้ำเช่นเดียวกับด้านอื่น ๆ
๑๔ เมษายน ๒๑๒๗
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงประกาศอิสระภาพที่เมืองแครง ในระหว่างที่ทรงนำทัพไทยไปช่วยพระเจ้านันทบุเรง กษัตริย์พม่าตีเมืองอังวะ แล้วทรงนำทัพมุ่งไปเมืองหงสาวดี กวาดต้อนครอบครัวไทยเป็นจำนวนมากกลับมาด้วย พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง ได้ชื่อขึ้นในเหตุการณ์ครั้งนี้
พ.ศ.๒๑๒๙
พม่าส่งทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช นำทัพออกต่อสู้กับพม่าหลายครั้ง ในที่สุดพม่าต้องถอยทัพกลับไป พระแสงดาบคาบค่าย ได้ชื่อในเหตุการณ์ครั้งนี้
๑๘ มิถุนายน ๒๑๓๐
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตีค่ายพระเจ้าหงสาวดี นันทบุเรง ที่ป่าโมก