หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    พระธาตุเจดีย์ในประเทศไทย
    พระธาตุเจดีย์ในประเทศไทย

    พระธาตุ หมายถึง อัฐิ (การดูกที่เผาแล้ว) ของพระพุทธเจ้า  พระปัจเจกพุทธเจ้า  และพระอรหันต์ ถ้าเป็นอัฐิของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระบรมสารีริกธาตุ  หรือพระบรมธาตุ   ถ้าเป็นอัฐิพระอรหันต์ เรียกว่า พระธาตุ แต่โดยทั่วไปแล้วจะเรียกรวม ๆ ว่า พระธาตุ
    สำหรับพระธาตุในที่นี้  หมายถึงส่วนสำคัญของพระสถูป หรือพระปรางค์ ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ หรือพระธาตุไว้ภายใน    ซึ่งเรียกว่า ธาตุเจดีย์   ซึ่งเป็นหนึ่งในพุทธเจดีย์ทั้งสี่ ซึ่งได้แก่
    พระธาตุเจดีย์ เป็นเจดีย์ที่บรรจุพระธาตุ   อินเดีย เรียกเจดีย์ประเภทนี้ว่า สรีริกสถูป  พระธาตุเจดีย์  รวมถึง เจดีย์ที่บรรจุธาตุของพระอรหันต์สาวกด้วย   ถ้าเป็นเจดีย์ที่บรรจุพระธาตุของพระพุทธเจ้า โดยเฉพาะก็จะเรียกว่า พระมหาธาตุ  พระบรมธาตุ  หรือพระบรมสารีริกธาตุ ถ้าเรียกพระธาตุส่วนหนึ่งส่วนใดของพระพุทธเจ้า โดยเฉพาะก็จะเรียกชื่อตามนั้น เช่น
                    พระทันตธาตุ  หรือพระทาฒธาตุ  (ฟัน หรือ เขี้ยวของพระพทุธเจ้า)
                    พระเกศธาตุ  (เส้นพระเศาของพระพุทธเจ้า)
                    พระอุรังคธาตุ (พระธาตุส่วนที่เป็นกระดูกหน้าอกของพระพุทธเจ้า
    บริโภคเจดีย์ เป็นพระเจดีย์ที่บรรจุของใช้ที่เกี่ยวกับเนื่องกับพระพุทธเจ้า ได้แก่ อัฐบริขาร  มีบาตรและจีวร เป็นต้น  นอกจากนั้นยังรวมไปถึงสถานที่อันเป็นสังเวชนียสถานทั้งสี่   คือ สถานที่ประสูติ (ลุมพินีวัน)  ตรัสรู้ (พุทธคยา) แสดงปฐมเทศนา (ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน)  และปรินิพพาน (เมืองกุสินารา)  รวมพระแท่นที่บรรทมตอนปรินิพพาน อินเดียเรียกเจดีย์ประเภทนี้ว่า ปาริโภคสถูป
    พระธรรมเจดีย์  เป็นพระเจดีย์ที่บรรจุ หรือ จารึก พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า  เช่น หอพระไตรปิฎก และส่วนที่เป็นพระไตรปิฎกเอง ไม่ว่าจะจารึกในรูปแบบใด  เดิมได้เลือกเอาหัวใจพุทธศาสนา จารึกเป็นตัวอักษร ประดิษฐานไว้สำหรับบูชา มีความว่า " เย ธมฺมา เหตุปปฺภวา เตสํ เหตุ ตถาคโต เตสญฺจ โย นีโรโธ จ เอวํ  วาที  มหาสมโณ
    อุเทสิกเจดีย์   เป็นเจดีย์ที่ทำเป็นพุทธบัลลังก์ พระแท่นพระพุทธเจ้า  รวมถึงพระพุทธฉายด้วย  อินเดียเรียกเจดีย์ ประเภทนี้ว่า อุทเทสิกสถูป สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชา
    รวมความได้ว่า พระเจดีย์ เป็นที่ทำเป็นหรือบรรจุสิ่งที่เนื่องด้วยพระพุทธเจ้า อันเป็นสิ่งที่ควรแก่การสักการบูชา
    พระธาตุเจดีย์ เป็นพระเจดีย์ที่รู้จักกันดี และพบกันมากที่สุด  สำหรับประเทศไทยมีอยู่เป็นจำนวนมาก  มีขนาดและอายุแตกต่างกัน พอประมวลได้ดังนี้
    พระปฐมเจดีย์
    เป็นพระมหาเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย  การที่ได้ชื่อว่าพระปฐมเจดีย์นั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ทรงสัณนิษฐานว่า น่าจะเป็นพระเจดีย์เก่ากว่าพระเจดีย์อื่น ๆ ในประเทศสยาม  สันนิษฐานว่าสร้างสมัยทวาราวดี ตั้งอยู่ที่เมืองนครไชยศรีในสมัยก่อน  ปัจจุบันอยู่ในอำเภอเมืองนครปฐม
    จากเอกสารเก่าที่บันทึกเรื่องนี้ไว้มีประวัติว่า พระปฐมเจดีย์ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๕๐๐  ก็มี พ.ศ. ๑๐๐๐  ก็มี พ.ศ. ๑๑๘๕ ก็มี พ.ศ. ๑๒๖๔  ก็มี พ.ศ. ๑๖๓๐ ก็มี ความสูง ๔๐ วา ๕ ศอก  มีพระแท่นบรรทม ที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาบรรทม บรรจุพระทันตธาตุ  คือ พระเขี้ยวแก้ว  องค์หนึ่ง  บรรจุพระบรมธาตุ  หนึ่งทะนาน มีปรากฎก่อนพบพระพุทธบาท พระพุทธฉาย กว่าพันปี
     
    เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ในขณะที่ทรงผนวชอยู่และได้ไปนมัสการพระปฐมเจดีย์ ได้ทรงแสดงสภาพพระปฐมเจดีย์ไว้ว่า  เป็นเพระเจดีย์ใหญ่ยอดปรางค์  ตอนหนึ่ง ฐานล่างกลมเป็นรูประฆัง ตอนหนึ่ง น่าจะทำมาหลายคราว คนทั่วไปเรียกว่า พระปทม  เนื่องด้วย เชื่อว่าพระพุทธเจ้าได้เคยเสด็จมาบรรทมที่นั่น   จากฝีมือทำอิฐและก่อ แสดงว่าเป็นของทำมาเก่าแก่หลายครั้ง ที่เนินใหญ่เป็นกองอิฐหักลงมา เมื่อขุดลงไปสักสองสามศอกพบอิฐยาวศอกหนึ่ง หน้าใหญ่สิบสองนิ้ว  หน้าน้อยหกนิ้ว ก่อเป็นพื้น น่าจะเป็นองค์พระเจดีย์เดิมหักพังลงมา  แล้วมีการก่อพระเจดีย์ออกบนเนินเรียงรายอยู่สี่วิหาร 
    มีวิหารพระนาคปรก วิหารพระไสยาสน์  วิหารไว้พระพุทธรูปต่าง ๆ  และวิหารพระป่าเลไลย์  วิหารหลวงพระอุโบสถอยู่บนพื้นแผ่นดิน ตั้งแต่หลังเกาะสูงประมาณมีถึงห้าวา  หลังเกาะขึ้นไปเป็นองค์พระเจดีย์กลม ๑๔  วา ๒ ศอก ปรางค์สูง  ๒๐ วา ยอดนพศูลสูง  ๘ ศอก รวมความสูงตั้งแต่หลังเกาะถึงยอดนพศูลสูง ๘  ศอก  รวมความสูง ตั้งแต่หลักเกาะถึงยอดนพศูล  ๔๐ วา ๒  ศอก
    ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์เป็นแม่กองทำการปฏิสังขรณ์  และเมื่อสมเด็จเจ้าพระยา ฯ ถึงแก่พิราลัย ก็ได้โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยานิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี เป็นแม่กองดำเนินการต่อไป  ได้จ้างพวกมอญทำอิฐ รวมทั้งทาสลูกหนี้ด้วย โดยคิดหักค่าตัวให้   จ้างจีนมาเผาปูน  และ เป็นช่างก่อ  เอาราษฎรจากเมืองนครไชยศรี  เมืองสมุทรสาคร เมืองราชบุรีและเมืองพนัสนิคม  โดยแบ่งคนออกเป็นสี่ผลัด เดือนละสองร้อยคน  เมื่อก่อพระเจดีย์ได้สูง  ๑๗ วา  ๒ ศอก    
      ต่อมาเกิดฝนตกหนักอิฐที่ก่อทรุดตัวลง  เพราะฐานทักษิณไม่มี จึงต้องรื้อออกทำใหม่ โปรดเกล้า ฯ ให้ถมพื้นที่ลุ่มดอนให้เสมอกัน  ก่อฐานใหญ่รอง  ๕ เส้น  ๑๖  วา  ๓  ศอก องค์พระเจดีย์ถึงยอดนพศูล ตลอดยอดมงกุฏ สูง  ๓ เส้น  ๑  คืบ  ๖  นิ้ว 
    พระบรมธาตุดอยสุเทพ
    พระบรมธาตุดอยสุเทพเป็นปูชนียสถานที่สำคัญยิ่งของเมืองเชียงใหม่  ประดิษฐานอยู่บนดอยสุเทพ สูงจากระดับน้ำทะเล  ๑๐๐๐ เมตร  ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของตัวเมือง ห่างจากตัวเมืองเก่าประมาณ  ๑๐  กิโลเมตร สามารถมองเห็นจากตัวเมืองได้ชัดเจน และเมื่อขึ้นไปอยู่ที่พระบรมธาตุ ก็จะเห็นตัวเมืองเชียงใหม่ได้ทั้งหมด มีบันไดนาคเจ็ดเศียรทอดจากทางขึ้นไปถึงซุ้มประตูวัด จำนวน  ๓๐๐  ขั้น ครูบาศรีวิชัยได้บอกบุญชักชวนชาวเหนือ ให้ช่วยกันสร้างถนนจากเชิงดอยไปจนถึงยอดดอย ณ ที่ตั้งพระบรมธาตุ
     
    ตามตำนานกล่าวว่า เป็นที่ประดิษฐานพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า  ซึ่งได้เสด็จมายังดอยอุจฉุปัพพต เพื่อฉันภัตตาหาร พร้อมด้วยพระสาวก ณ ที่นี้มีย่าแสะแม่ลูกได้ตักบาตรถวายภัตตาหารแด่พระพุทธเจ้า พระองค์จึงมอบพระเกศาธาตุให้ประดิษฐานไว้ที่ดอยแห่งนี้
    ตามประวัติพระเจ้ากือนา กษัตริย์พระองค์ที่ ๘ ของ ราชวงศ์เชียงราย ได้พระบรมสารีริกธาตุส่วนพระเศียร จากพระมหาเถรองค์หนึ่งที่ได้นำมาจากเมืองสุโขทัย ในชั้นต้น พระองค์ได้ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุนี้ไว้ที่วัดสวนดอก 
    ต่อมาปรากฎว่า พระบรมสารีริกธาตุได้แสดงปาฏิหารย์  แยกออกเป็น ๒ องค์  ขนาดเท่าเดิม  พระเจ้ากือนา จึงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุดังกล่าวขึ้นบนหลังช้างทรง และตั้งบารมีเสี่ยงช้าง   ช้างทรงได้เดินขึ้นไปบนดอยสุเทพ ครั้นถึงบริเวณที่ตั้งวัดพระบรมธาตุ ฯ  ปัจจุบัน ช้างทรงนั้นก็กระทืบเท้าส่งเสียงร้องไปทั่วบริเวณ  แล้วล้มลง ณ ที่นั้น    พระเจ้ากือนา จึงให้สร้างพระบรมสารีริกธาตุขึ้น ณ ที่นั้น  เมื่อปี พ.ศ. ๑๙๒๗  เป็นเจดีย์แบบเชียงแสนผสมลังกา
     
    องค์พระบรมธาตุประดิษฐานอยู่ใต้ดินลึกลงไป ๘ ศอก ดังนั้นจึงห้ามมิให้สตรีเข้าไปภายในฐานเจดีย์  และก่อนที่จะเข้าสู่ภายในบริเวณองค์พระบรมธาตุ   ต้องถอดรองเท้าไว้ที่เชิงบันไดเสียก่อน
    มีงานนมัสการในวันเพ็ญวิสาขฤกษ์ ในวันวิสาขบูชาของทุกปี  โดยชาวเชียงใหม่จะถือคบไฟเดินขึ้นดอย และเวียนเทียนรอบองค์พระบรมธาตุ ฯ
     
    พระบรมธาตุดอยตุง
     
    พระบรมธาตุดอยตุง เป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดของเชียงราย  ประดิษฐานอยู่บนยอดดอยตุง ในเขตกิ่งอำเภอแม่ฟ้าหลวง มีถนนแยกจากบ้านห้วยไคร้ขึ้นไปจนถึงองค์พระบรมธาตุ  องค์พระธาตุบรมธาตุเจดีย์ อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ ๒๐๐๐ เมตร
    ตามตำนานมีว่า เดิมสถานที่ตั้งพระบรมธาตุดอยตุง มีชื่อว่า ดอยดินแดง  อยู่บน เขาสามเส้น ของพวกลาวจก ต่อมาสมัยพระเจ้าอุชุตะราช รัชกาลที่ ๓  แห่งราชวงศ์สิงหนวัต ผู้ครองนครโยนกนาคนคร เมื่อปี พ.ศ. ๑๔๕๒  พระมหากัสสป ได้นำพระบรมสารีริกธาตุในส่วนของพระรากขวัญเบื้องซ้าย (ไหปลาร้า) ของพระพุทธเจ้ามาถวาย     ซึ่งตรงตามคำทำนายของพระพุทธองค์ว่า  
    "ที่ดอยดินแดงแห่งนี้ ต่อไปจะเป็นที่ประดิษฐานพระมหาสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ในภายภาคหน้า"   พระเจ้าอุชุตะราช มีพระราชศรัทธา ได้เรียกหัวหน้าลาวจกมาเฝ้า  พระราชทานทองคำจำนวนแสนกษาปณ์ ให้เป็นค่าที่ดินบริเวณดอยดินแดงแก่พวกลาวจก  แล้วทรงสร้างพระสถูปขึ้น โดยนำธงตะขาบยาว ๓,๐๐๐ วา  ไปปักไว้บนดอย   เมื่อหางธงปลิวไปไกลเพียงใด้  ให้กำหนดเป็นฐานพระสถูปเพียงนั้น ดอยดินแดงจึงได้ชื่อใหม่ว่า ดอยตุง (คำว่า ตุง แปลว่า ธง) เมื่อสร้างพระสถูปเสร็จ ก็ได้นำพระบรมสารีริกธาตุดังกล่าวบรรจุไว้ให้คนสักการะบูชา
     
    ต่อมาสมัยพระเจ้าเม็งรายมหาราช แห่งราชวงศ์ลาวจก พระมหาวชิระโพธิเถระได้นำพระบรมสารีริกธาตุมาถวาย จำนวน  ๕๐  องค์ พระเจ้าเม็งรายจึงโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุขึ้นอีกองค์หนึ่ง เหมือนกับพระสถูปองค์เดิมทุกประการ ตั้งคู่กัน ดังปรากฎอยู่จนถึงทุกวันนี้
    ชาวเชียงราย มีประเพณีการเดินขึ้นดอยบูชาพระธาตุ ซึ่งจัดเป็นประจำทุกปี
     
    พระธาตุลำปางหลวง
    พระธาตุลำปางหลวง ประดิษฐานอยู่ที่วัดลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง อยู่ห่างจากตัวจังหวัด ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ ๑๘ กิโลเมตร  องค์พระธาตุเจดีย์สูง ๒๒ วา ๒ ศอก ฐานกว้างด้านละ ๑๒ วา ก่อด้วยอิฐถือปูน ฉาบด้วยแผ่นทองเหลือง ทองแดง ตลอดทั้งองค์
    ตามประวัติกล่าวว่า พระมหากัสสปเถระ และพระเมติยะเถระ ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ มาจากประเทศอินเดีย เมื่อครั้งพระเจ้าอโศกมหาราช โปรดให้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุ นำไปประดิษฐานในอาณาจักรต่าง ๆ
    ตามตำนานกล่าวว่า  พระพุทธเจ้าทรงมอบพระเกศาธาตุให้ชาวลัวะผู้หนึ่งชื่อกอน ลั๊วะกอนได้สร้างพระสถูปเจดีย์สูงเจ็ดศอก เพื่อบรรจุพระเกศาธาตุไว้  ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๑๘ ได้มีพระอรหันต์สององค์คือ พระกุมารกัสสปะ ได้นำเอาพระอัฐิธาตุพระนลาตข้างขวา และพระเมฆิยะ ได้นำเอาอัฐิธาตุลำคอ มาบรรจุไว้ในพระสถูปเจดีย์ไว้อีก  พระสถูปเจดีย์องค์นี้ได้มีการสร้างเพิ่มเติมอีกหลายครั้ง สำหรับองค์ที่เป็นอยู่ปัจจุบัน ได้สร้างเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๓๐๙ โดยเจ้าเมืองหาญศรีธัตถะมหาสุรมนตรี ซึ่งพระเจ้าดิลกปนัดดาเจ้านครเชียงใหม่ ได้ส่งมากินเมืองลำปางในครั้งนั้น
    เรื่องราวจากศิลาจารึก พอประมวลเหตุการณ์ตามลำดับได้ดังนี้ เมื่อปี พ.ศ. ๑๙๙๒ เจ้าเมืองหาญแต่ท้อง (ราชบุตรหมื่นด้งนคร) มากินเมืองนครลำปาง ได้ขอพระราชานุญาติ จากพระยาติโลกรัตนะ เจ้านครเชียงใหม่ เพื่อทำการประดิษฐานพระเจดีย์ ไว้เหนือพระบรมสารีริกธาตุ  ที่ลัมภะกัปปะนคร  กว้าง ๙ วา สูง ๑๕ วา  ก่อด้วยอิฐถือปูน
     
    ปี พ.ศ. ๒๐๑๙  เจ้าหมื่นคำเป๊ก เจ้านครลำปาง ได้ให้สร้างกำแพง สร้างวิหาร และให้หล่อพระพุทธรูปองค์หนึ่ง อัญเชิญไว้ในพระวิหาร  สร้างศาลา  ขุดบ่อน้ำและตัดถนนในบริเวณพระมหาธาตุเจดีย์
    ปี พ.ศ. ๒๐๓๙ เจ้าเมืองหาญศรีธัตถมหาสุรมนตรี มากินเมืองลำปาง ได้ชักชวนผู้คน ทั้งพระสงฆ์และฆราวาส ทำการก่อฐานพระมหาธาตุกว้าง ๑๒ วา  เป็นจำนวนดินและอิฐหนึ่งล้านก้อนเศษ มีรายละเอียดประมาณปูนที่ใช้มูลค่า การก่อสร้าง และมีการนำเอาทองคำมาใส่พระมหาธาตุหลายครั้ง รวมแล้วได้ หมื่นสามพันสองร้อยหกบาท
            ปี พ.ศ. ๒๐๔๐ ได้มีการหล่อพระล้านทอง ต่อมาเจ้าเมืองหาญศรีทัต ก็ให้หล่อพระทองขึ้นอีกองค์หนึ่ง ใช้ทองหนักสามหมื่นทอง แล้วอัญเชิญมาประดิษฐานในวิหารด้านเหนือ วิหารด้านตะวันตกไว้พระสีลา พระพุทธเจ้าองค์หลวง อยู่ในบริเวณด้านใต้ และได้ก่อพระมหาธาตุกว้าง ๑๒ วา สูง ๒๕ วา  พระราชครูเจ้า นำฉัตรทองคำมาใส่ยอดพระมหาธาตุ
            ปี พ.ศ. ๒๑๔๕  มหาอุปราชพระยาหลวงนครชัยบุรี  ได้ชักชวนผู้มีจิตศรัทธา นำทองคำแสนก่ำมาบูชาพระมหาธาตุ และได้สร้างฉัตรใส่ยอดพระมหาธาตุ มหาพละปัญโญ และพระเจ้าหลวงป่าต้นกับบรรดาพระสงฆ์ รวมทั้งฝ่ายฆราวาสได้หล่อจำลอง ใส่ยอดพระมหาธาตุ
            ปี พ.ศ. ๒๓๗๕ บรรดาพุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่า เห็นว่าฉัตร และยอดของพระมหาธาตุถูกมหาวาตภัยหักลงมา จึงได้แต่งทูตไปกราบถวายบังคมทูตกษัตริย์กรุงศรีอยุธยาทราวดีฝ่ายใต้  จึงได้พระราชทานแก้วและทองดี จากนั้นได้สร้างฉัตรในปะฐะมะ ในชั้นถ้วยทุติยะขึ้นใหม่ใหญ่กว่าเดิม  เพิ่มเติมฉัตรอีกสองชั้น  จากของเดิมที่มีอยู่ห้าชั้น
    มีงานประเพณีประจำปี ปีละสามครั้ง มีมาแต่ครั้งโบราณกาลคือ
    เดือนยี่เป็ง (เดือนสิบสอง)  เป็นประเพณีนมัสการพระบรมธาตุ
    วันปากปี  วันที่ ๑๖ เมษายน เป็นประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุและพระแก้วมรกต
    เดือนหกเหนือเป็ง  เป็นประเพณีนมัสการพระพุทธบาท
    พระธาตุหริกุญชัย
    พระธาตุหริภุญชัย  จังหวัดลำพูน เป็นปูชยสถานที่สำคัญยิ่งอีกแห่งหนึ่งของดินแดนล้านนาไทย มาแต่โบราณกาล ประมาณหนึ่งพันปีมาแล้ว บรรดาเจ้านครต่าง ๆ ในดินแดนส่วนนี้ได้มีความเคารพนับถือและศรัทธา ได้รับภาระในการปฏิสังขรณ์กันต่อมาจนถึงทุกวันนี้   องค์พระธาตุเป็นรูปทรงแบบลังกา ฝีมือประนีต และมีความคงทนถาวรมาก
    ตามประวัติกล่าวว่า เมื่อปี พ.ศ. ๑๔๔๐ พระเจ้าอาทิตยราช กษัตริย์วงค์รามัญผู้ครองนครลำพูน  เป็นลำดับที่ ๓๓ มีศรัทธาเลื่อมใสในพุทธศาสนาอย่างยิ่ง  ได้ทรงรับเอาพระพุทธศาสนาจากเมืองมอญ  มาประดิษฐานที่นครลำพูน และได้ทรงสร้างพระมณฑป  เพื่อประดิษฐานพระบรมธาตุ สูงสามวา มีซุ้มทั้งสี่ด้าน  ครอบโกศสูงสามศอก แล้วบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ภายใน  ดังนั้นจึงเป็นที่รู้กันทั่วไปว่า  บรรดาบ้านเรือนในนครลำพูน จะต้องสร้างไม่ให้สูงเกินสามศอก เพื่อให้สูงกว่าองค์พระบรมธาตุ
     
    ต่อมาพระนางปทุมวดี  พระมเหสีของพระเจ้าอาทิตยราช ได้ทรงสร้างพระเจดีย์เหลี่ยมขึ้นองค์หนึ่ง ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของพระธาตุ  เป็นพระปรางค์รูปสี่เหลี่ยมยอดแหลม มีนามว่าสุพรรณเจดีย์ ใต้ฐานชั้นล่างเป็นกรุบรรจุพระเปิม (พระเครื่องชนิดหนึ่ง)  ยังปรากฎอยู่จนทุกวันนี้
    มื่อปี พ.ศ. ๑๗๒๒  พระเจ้าสัพพาสิทธิ์  ผู้ครองนครลำพูน  ได้สร้างโกศทองเสริมต่อขึ้นไปอีกหนึ่งศอก รวมเป็นสูงสี่ศอก  และสร้างพระมณฑปเสริมต่อขึ้นอีกสองวา รวมเป็นห้าวา
    เมื่อปี พ.ศ. ๑๘๑๙  พระเจ้าเม็งรายมหาราช  ผู้ครองนครเชียงราย  มีชัยชนะได้ครองนครลำพูน ได้ทรงสร้างพระมณฑป เสริมต่อครอบพระมณฑปเดิมอีกสิบวา รวมเป็นสิบห้าวา  พร้อมทั้งสร้างทองจังโกฎก์หุ้มตั้งแต่ฐานถึงยอด
    เมื่อปี พ.ศ. ๑๙๘๖ พระเจ้าอโลกราชกษัตริย์ของล้านนาไทย ผู้ครองนครเชียงใหม่ ได้อาราธนาพระมหาเมธังกร ให้ควบคุมการก่อสร้างเสริมต่อพระบรมธาตุ ให้สูงขึ้นไปอีกแปดวา  รวมเป็นยี่สิบสามวา  ฐานกว้างสิบสองวา  สองศอก ฉัตรเจ็ดชั้น  แก้วบุษหนัก ๒๓๐ เฟื้อง  ใส่ไว้ที่ยอด  สรุปรายการในการก่อสร้างได้ดังนี้
    ศิลาแลง  ๖๐,๐๐๐ ก้อน  อิฐ  ๑๐๐,๐๐๐ ก้อน ปูน ๑,๖๖๐,๐๐๐ ค่าน้ำกล้วยตีบเงิน ๖๐,๐๐๐
    สิ้นน้ำหนัก  ๔,๐๐๐,๐๐๐ ราคาเงิน ๙,๐๐๐
    รวมค่าก่อสร้างทั้งหมด  ๔,๐๐๐,๐๐๐
    และได้เอาทองจังโกฎก์ (แผ่นทองแดงปนนาค)  หุ้มตลอดองค์จำนวน  ๑๕,๐๐๐ แผ่น  สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. ๑๙๙๐
    เมื่อปี พ.ศ. ๒๐๐๐ พระเมืองแก้วเจ้านครเชียงใหม่ ได้สร้างส่วนนี้เป็นสันติบัญชร (ระเบียงหอก)  ล้อมเป็นรั้วไว้ ณ ฐานล่างสองชั้น  เป็นจำนวน ๕๐๐ เล่ม และต่อมาในสมัยพระยาอุปโย เป็นเจ้านครเชียงใหม่ พระราชโมลีมหาพรหม และพระสังฆราชา ได้ชักชวนชาวเมือง ทำสันติบัญชรต่ออีก ๗๐๐ เล่ม  จนเสร็จบริบูรณ์
     
    ตามตำนาน  เช่นพงศาวดารโยนก  จามเทวีวงศ์ และมูลศาสนาชินกาลมาลินี กล่าวว่าพระบรมธาตุแห่งนี้ บรรจุพระบรมเกศาธาตุ เดิมบรรจุไว้ในกระบอกไม้ไผ่รวกฝังไว้ใต้พื้นดิน เมื่อครั้งพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่   ได้เคยเสด็จมา ณ ที่นี้  ได้ประทับบนหินก้อนหนึ่ง  กระทำภัตกิจ (ฉันอาหาร) และทรงพยากรณ์ว่าจะเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ  ซึ่งปาฏิหารย์ผุดขึ้นจากพื้นดิน
    ปัจจุบัน วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร  เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก  ตั้งอยู่กลางเมืองลำพูน มีเนื้อที่ ๒๕ ไร่  วัดนี้มีกำแพงสองชั้น เป็นกำแพงรอบบริเวณวัดชั้นนอก และกำแพงทำเป็นศาลาบาตรรอบองค์พระธาตุ เป็นกำแพงชั้นใน
    องค์พระธาตุเจดีย์มีสินติบัญชรสองชั้น  สำเภาทองตั้งอยู่ประจำรั้วชั้นนอก ทั้งด้านทิศเหนือและทิศใต้ มีซุ้มกุมภัณฑ์  และฉัตรประจำสี่มุม กับหอยอดประจำทุกด้าน รวมสี่หอ  มีพระพุทธรูปประจำอยู่ทุกหอ
    ประเพณีสรงน้ำพระธาตุมีในวันเพ็ญเดือนหก  ใช้น้ำทิพย์โดยนำน้ำมาจากยอดดอยเค้าม้อ ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวันออก ประมาณสิบกิโลเมตร  และได้รับพระราชทานน้ำสรง กับเครื่องราชสักการะ  มีการแห่แหนครัวทาน  จุดบอกไฟ (ไฟพะเนียง)  เป็นพุทธบูชา และมหรสพอยู่ตลอดคืน
    พระธาตุพนม
    พระธาตุพนม ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระธาตุพนมวรวิหาร ริมฝั่งแม่น้ำโขง ตำบล และอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม สถานที่ประดิษฐานองค์พระธาตุ อยู่บนภูกำพร้า หรือดอยกำพร้า ภาษาบาลีว่า กปณบรรพตหรือ กปณคีรี ริมฝั่งแม่น้ำขลนที อันเป็นเขตแขวงนครศรีโคตบูรโบราณ
    ตามตำนานพระธาตุพนม ในอุรังคนิทานกล่าวว่า สมัยหนึ่งในปัจฉิมโพธิกาล พระพุทธเจ้า พร้อมทั้งพระอานนท์ ได้เสด็จมาทางทิศตะวันออก โดยทางอากาศ ได้มาลงที่ดอนกอนเนา แล้วเสด็จไปหนองคันแทเสื้อน้ำ (เวียงจันทน์) ได้พยากรณ์ไว้ว่า ในอนาคตจะเกิดบ้านเมืองใหญ่ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนา จากนั้นได้เสด็จไปตามลำดับ ได้ทรงประทานรอยพระพุทธบาทไว้ที่ โพนฉัน (พระบาทโพนฉัน) อยู่ตรงข้ามอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย แล้วเสด็จมาที่ พระบาทเวินปลา ซึ่งอยู่เหนือเมืองนครพนมปัจจุบัน ได้ทรงพยากรณ์ที่ตั้งเมืองมรุกขนคร (นครพนม) และได้ประทับพักแรมที่ภูกำพร้าหนึ่งคืน วันรุ่งขึ้นเสด็จข้ามแม่น้ำโขง ไปบิณฑบาตที่เมืองศรีโคตบูร พักอยู่ที่ร่มต้นรังต้นหนึ่ง (พระธาตุอิงฮังเมืองสุวรรณเขต) แล้วกลับมาทำภัตกิจ (ฉันอาหาร) ที่ภูกำพร้าโดยทางอากาศ
     
    พญาอินทร์ได้เสด็จมาเฝ้าและทูลถามพระพุทธองค์ ถึงเหตุที่มาประทับที่ภูกำพร้า พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า เป็นประเพณีของพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์ ในภัททกัลป์ที่นิพพานไปแล้ว บรรดาสาวกจะนำพระบรมสารีริกธาตุ มาบรรจุไว้ที่ภูกำพร้า พระพุทธองค์เมื่อนิพพานแล้ว พระมหากัสสปะ ผู้เป็นสาวก ก็จะนำเอาพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ ณ ที่นี้เช่นกัน จากนั้นพระพุทธองค์ก็ได้ทรงปรารภถึงเมืองศรีโคตบูร และมรุกขนคร แล้วเสด็จไปหนองหารหลวง ได้ทรงเทศนาโปรดพญาสุวรรณพิงคาระ และพระเทวี ประทานรอยพระพุทธบาทไว้ ณ ที่นั้น แล้วเสด็จกลับพระเชตวัน หลังจากนั้นก็เสด็จปรินิพพานที่เมืองกุสินารา
    เมื่อพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานแล้ว มัลลกษัตริย์ทั้งหลายได้ถวายพระเพลิงพระสรีระ แต่ไม่สำเร็จ จนเมื่อพระมหากัสสปะมาถึงได้อธิษฐานว่า พระธาตุองค์ใดที่จะอัญเชิญไปประดิษฐานที่ภูกำพร้า ขอพระธาตุองค์นั้นเสด็จมาอยู่บนฝ่ามือ ดังนี้แล้ว พระอุรังคธาตุ ก็เสด็จมาอยู่บนฝ่ามือขวาของพระมหากัสสปะ ขณะนั้นไฟธาตุก็ลุกขึ้นโชติช่วง เผาพระสรีระได้เองเป็นอัศจรรย์  เมื่อถวายพระเพลิงและแจกพระบรมสารีริกธาตุเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระมหากัสสปะพร้อมด้วยพระอรหันต์ 500 องค์ ก็ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุ มาทางอากาศ แล้วมาลงที่ดอยแท่น (ภูเพ็กในปัจจุบัน) จากนั้นได้ไปบิณฑบาตที่เมืองหนองหารหลวง เพื่อบอกกล่าวแก่พญาสุวรรณพิงคาระ  ตำนานตอนนี้ตรงกับตำนานพระธาตุเชิงชุม และพระธาตุนารายณ์เจงเวง ซึ่งมีรายละเอียดอยู่แล้ว
    เมื่อพญาทั้ง 5 ซึ่งอยู่ ณ เมืองต่าง ๆ อันได้แก่ พญานันทเสน แห่งเมืองศรีโคตบูร พญาจุลณีพรหมทัต พญาอินทปัตถนคร พญาคำแดง แห่งเมืองหนองหารน้อย และพญาสุวรรณพิงคาระ แห่งเมืองหนองหารหลวง ได้พากันปั้นดินดิบก่อแล้วเผาไฟ ตามคำแนะนำของพระมหากัสสปะ แบบพิมพ์ดินกว้างยาวเท่ากับฝ่ามือพระมหากัสสปะ
    ครั้นปั้นดินเสร็จแล้วก็พากันขุดหลุมกว้าง 2 วา ลึก 2 ศอก เท่ากันทั้ง 4 ด้าน เมื่อก่อดินขึ้นเป็นรูปเตา 4 เหลี่ยม สูง 1 วา โดยพญาทั้ง 4 แล้ว พญาสุวรรณภิงคาระก็ได้ก่อส่วนบน โดยรวมยอดเข้าเป็นรูปฝาปารมีสูง 1 วา รวมความสูงทั้งสิ้น 2 วา แล้วทำประตูเตาไฟทั้ง 4 ด้าน เอาไม้จวง จันทน์ กฤษณา กระลำพัก คันธรส ชมพู นิโครธ และไม้รัง มาเป็นพื้น ทำการเผาอยู่ 3 วัน 3 คืน เมื่อสุกแล้วจึงเอาหินหมากคอยกลางโคก มาถมหลุม เมื่อสร้างอุโมงค์ดังกล่าวเสร็จแล้ว พญาทั้ง 5 ก็ได้บริจาคของมีค่าบรรจุไว้ในอุโมงค์เป็นพุทธบูชา
    จากนั้น พระมหากัสสปะ ก็ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุ เข้าบรรจุภายในที่อันสมควร แล้วให้ปิดประตูอุโมงค์ไว้ทั้ง 4 ด้าน โดยสร้างประตูด้วยไม้ประดู่ ใส่ดาลปิดไว้ทั้ง 4 ด้าน แล้วให้คนไปนำเอาเสาศิลาจากเมืองกุสินารา 1 ต้น มาฝังไว้ที่มุมเหนือตะวันออก แปลงรูปอัศมุขี (ยักษิณีหน้าเป็นม้า) ไว้โคนต้นเพื่อเป็นหลักชัยมงคลแก่บ้านเมืองในชมพูทวีป นำเอาเสาศิลาจากเมืองพาราณสี 1 ต้น ฝังไว้มุมใต้ตะวันออก แปลงรูปอัศมุขีไว้โคนต้น เพื่อหมายมงคลแก่โลก นำเอาเสาศิลาจากเมืองตักศิลา 1 ต้น ฝังไว้มุมเหนือตะวันตก พญาสุวรรณพิงคาระให้สร้างรูปม้าอาชาไนยไว้ตัวหนึ่ง หันหน้าไปทางทิศเหนือ เพื่อแสดงว่าพระบรมธาตุเสด็จออกมาทางทิศทางนั้น และพระพุทธศาสนาจักเจริญรุ่งเรืองจากเหนือเจือมาใต้ พระมหากัสสปะให้สร้างม้าพลาหกไว้ตัวหนึ่ง คู่กัน หันหน้าไปทางทิศเหนือ เพื่อเป็นปริศนาว่า พญาศรีโคตบูรจักได้สถาปนาพระอุรังคธาตุไว้ตราบเท่า 5,000 พระวัสสา  เกิดทางใต้และขึ้นไปทางเหนือ เสาอินทขีล ศิลาทั้ง 4 ต้น ยังปรากฏอยู่ 2 ต้น ทางทิศตะวันออก ส่วนอีก 2 ต้น ได้ก่อหอระฆังหุ้มไว้ ส่วนม้าศิลาทั้ง 2 ตัว ก็ยังปรากฏอยู่ถึงปัจจุบัน
     
    พระธาตุพนม ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์มาตามลำดับ การบูรณะครั้งแรกและครั้งที่สอง ไม่ได้บันทึกปีที่บูรณะไว้  การบูรณะครั้งที่สามเมื่อปี พ.ศ. 2157  ครั้งที่สี่เมื่อปี พ.ศ. 2233  ครั้งที่ 5 เมื่อปี พ.ศ. 2349  ครั้งที่ 6 เมื่อปี พ.ศ. 2444 เป็นการบูรณะครั้งใหญ่ และต่อจากนั้นมาก็มีการบูรณะทั่วไป เช่น บริเวณโดยรอบพระธาตุ
    ได้มีพิธียกฉัตรทองคำขึ้นประดิษฐานไว้ที่ยอดองค์พระธาตุ และนำฉัตรเก่ามาเก็บไว้ เมื่อปี พ.ศ. 2497 มีพุทธศาสนิกชนจากดินแดนสองริมฝั่งโขงทั้ง ไทยและลาว หลั่งไหลมาร่วมมงคลสันนิบาต และนมัสการองค์พระธาตุเป็นเวลาถึงหนึ่งเดือน
    เมื่อปี พ.ศ. 2518 องค์พระธาตุพนมชำรุดล้มลง ทางราชการได้ดำเนินการก่อสร้างขึ้นใหม่ ให้คงสภาพเดิม ภายในปีเดียวกัน และได้ยืนยงคงอยู่มาจนถึงทุกวันนี้
    งานนมัสการพระธาตุพนมประจำปี เริ่มตั้งแต่วันขึ้น 12 ค่ำ ถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 3
    คำนมัสการพระธาตุพนมมีดังนี้
    "กปณคิริสฺมิ ปพฺพเต มหากสฺสเปน ฐาปิตํ พุทฺธอุรงฺคธาตุ สิรสา นมามิ"
    แปลว่า "ข้าพเจ้าขอนมัสการ พระบรมอุรังคธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พระมหากัสสปเถระเจ้า นำมาฐาปนาไว้ ณ ภูกำพร้า ด้วยเศียรเกล้า"

    พระธาตุเชิงชุม

    พระธาตุเชิงชุม ประดิษฐานอยู่บนเนินสูง ในวัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร ริมหนองหาร อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
    ตามตำนานกล่าวว่า พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระอานนท์ ได้เสด็จจากพระวิหารเชตวัน มาทางดินแดนทางทิศตะวันออก เพื่อโปรดสัตว์ เมื่อเสด็จตามลำแม่น้ำโขง ก็ได้ประทับรอยพระพุทธบาทมาตามลำดับ มีพระพุทธบาทบัวบก พระพุทธบาทโพนเพล พระพุทธบาทเวินปลา แล้วมาพักฉันภัตตาหารที่ภูกำพร้า อันเป็นที่ตั้งของพระธาตุพนม จากนั้นได้เสด็จไปโปรดพระเจ้าสุวรรณภิงคาระ และได้ประทับพระพุทธบาทที่ภูเขาน้ำลอดเชิงชุม รวมกับพระพุทธบาทของ อดีตพระพุทธเจ้าองค์ก่อนอีก 3 พระองค์ คือ พระพุทธเจ้าพระนามกกุสันธะ พระพุทธเจ้าพระนามโกนาคมะ และพระพุทธเจ้าพระนามกัสสปะ เมื่อพระเจ้าสุวรรณภิงคาระทรงทราบข่าว จึงได้เสด็จออกต้อนรับ พร้อมทั้งพระนางนารายณ์เจงเวงราชเทวี   พระพุทธเจ้ามีพุทธประสงค์ให้พระเจ้าสุวรรณภิงคาระ ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนายิ่งขึ้น จึงทรงแสดงปาฏิหารย์บันดาลให้มีดวงมณีรัตน์มีรัศมี พวยพุ่งออกจากพระโอษฐ์พร้อมกันสามดวง พระเจ้าสุวรรณภิงคาระทรงเห็นเป็นอัศจรรย์ก็บังเกิดศรัทธา เปล่งวาจาสาธุการด้วยความปิติ พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า  ณ ที่นี้เป็นสถานที่อันอุดมประเสริฐ ที่พระพุทธเจ้าทั้งสี่พระองค์ จะได้มาประชุมรอยพระพุทธบาทไว้ เพื่อเป็นที่สักการะแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย   พระเจ้าสุวรรณภิงคาระ บังเกิดความปิติโสมนัส จึงได้ถอดมงกุฎทองคำของพระองค์ สวมลงบูชารอยพระพุทธบาท แล้วทรงสร้างเจดีย์ครอบไว้ จึงได้ชื่อว่าพระธาตุเชิงชุมแต่นั้นมา   เนื่องจากเป็นที่ชุมนุมของพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าสี่พระองค์
     
    พระธาตุเชิงชุม เป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน รูปทรงสี่เหลี่ยม สูง 24 เมตรเศษ ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยม ส่วนบนเป็นทรงบัวเหลี่ยม ไม่มีลวดลายประดับ ที่ฐานเจดีย์ มีซุ้มประตูทั้งสี่ด้าน ซุ้มยอดประตูมีลักษณะเป็นยอดปราสาท ข้างในทึบสร้างด้วยศิลาแลง และหินทรายแดง ส่วนที่เห็นอยู่ปัจจุบันเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นใหม่ ครอบองค์เดิมไว้ ไม่ปรากฎหลักฐานว่าสร้างสมัยใด ประตูด้านทิศตะวันออกที่เชื่อมต่อกับพระวิหาร จะมีซุ้มเป็นคูหาลึกเข้าไป ด้านขวามือมีศิลาแลง จารึกอักษรขอมติดอยู่ ตัวอักษรลบเลือนมาก อ่านไม่ออก
    พระอุโบสถหลังเดิมหรือสิมเก่า มีลักษณะเป็นสิมแบบโถง โครงสร้างเป็นไม้ก่ออิฐถือปูน หลังคาเป็นกระเบื้องไม้แบบเดิม หันหน้าไปทางทิศใต้ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2370 ครั้งพระธานีเป็นเจ้าเมือง ภายในมีจิตรกรรมเป็นภาพเถาไม้เลื้อยเป็นแนวรอบอาคาร หน้าบันมีจิตรกรรมฝาผนังเป็นรูปเทพบุตรและเทพธิดา ดาวประจำยาม มังกรและเถาไม้เลื้อย ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปหลายองค์ ทั้งที่สร้างด้วยไม้และเป็นปูนปั้น
    ภายในพระวิหารประดิษยฐาน หลวงพ่อพระองค์แสน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปเชียงแสน เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวสกลนคร
    งานมนัสการพระธาตุประจำปี เริ่มตั้งแต่วันขึ้น 11 ค่ำ ถึง 15 ค่ำ เดือนยี่ ในวันเริ่มงานจะมีการจุดพลุ ย่ำฆ้องกลองเป็นที่เอิกเริก วันสุดท้ายของงานตอนเช้า จะมีการตักบาตรพระสงฆ์รอบองค์พระธาตุ   ตอนบ่ายจะมีการสรงน้ำองค์พระธาตุ กลางคืนมีการประกวดขบวนแห่โคมไฟ   จากนั้นก็มีการจุดบั้งไฟและไฟพะเนียง
    พระธาตุนารายณ์เจงเวง
     
    พระธาตุนารายณ์เจงเวง ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระธาตุนารายณ์เจงเวง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร อยู่ห่างจากตัวเมือง ประมาณ ๖ กิโลเมตร
    พระธาตุองค์นี้เป็นพระธาตุเก่าแก่ สมัยเดียวกันกับพระธาตุเชิงชุม แต่ศิลปการก่อสร้างผิดไปคนละแบบ  พระธาตุองค์นี้สร้างด้วยศิลาแลง แบบเดียวกับปราสาทหินพิมาย แต่มีขนาดเล็กกว่า เป็นปรางค์แบบขอม  องค์พระธาตุแบ่งเป็นหลายส่วน คือ ส่วนที่เป็นฐาน ส่วนที่เป็นองค์หลังคาและส่วนยอด  ส่วนที่เป็นฐานก่อด้วยศิลาแลงก้อนขนาดใหญ่ มีเอวคอดกิ่วเหมือนพานดอกไม้ สูง ๑๘ เมตร กว้างด้านละ ๑๕ เมตร 
     
    องค์เจดีย์เป็นเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยม  ส่วนที่เป็นหลังคาและยอด ปัจจุบันหักพังหมดแล้ว ยังคงเหลือแต่องค์พระธาตุ ซึ่งมีประตูและซุ้มประตูด้านละประตู  ด้านทิศเหนือและด้านทิศตะวันออก ยังพอเห็นความวิจิตรงดงามอยู่พอสมควร  ด้านทิศตะวันออกต่อจากประตูออกมาก่อเป็นคูหา ยื่นมาข้างนอก ๓ เมตร มีบันได ๗ ขั้น ก่อนถึงองค์พระธาตุ วงกบประตูสลักอย่างดี มีร่องรอยบัวแบบประตูโบราณ ทำด้วยศิลาแท่งใหญ่ บนซุ้มประตูสลักลวดลายงดงาม  ด้านทิศเหนือเป็นประตูเช่นเดียวกับด้านอื่น ๆ  แต่ซากที่เหลืออยู่เด่นกว่า  ประตูด้านอื่น ภายใต้ซุ้มข้างบน สลักรูปพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ ประดับด้วยกนกก้านขดอ่อนช้อยงดงาม ส่วนตรงมุมทั้งสี่ด้านขององค์พระธาตุ เป็นรูปนาคห้าเศียร ทำได้ดีราวกับมีชีวิตจริง
     
     
     
    ตามตำนานกล่าวว่า เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน  พระเจ้าสุวรรณภิงคาระได้ทราบข่าวว่า พระมหากัสสปะเถระ พร้อมด้วยพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ จะนำพระอุรังคธาตุไปบรรจุไว้ที่ภูกำพร้า ที่ประดิษฐานพระธาตุพนม และจะต้องเสด็จย่านสกลนคร ก็มีความศรัทธา ได้ประชุมอำมาตย์ผู้ใหญ่  สร้างพระเจดีย์ไว้สององค์ ไว้คอยรับเสด็จ เพื่อขอส่วนแบ่งพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐานไว้  เจดีย์องค์หนึ่งสร้างไว้ที่พระราชอุทยานหลวง อยู่บนเนินสูงด้านทิศตะวันตก ห่างจากพระราชวังสามพันวา โดยให้พระนางเจงเวงเป็นเจ้าศรัทธาสร้าง อีกองค์หนึ่งให้อำมาตย์ผู้ใหญ่ฝ่ายชายเป็นผู้สร้าง 
    ทำนองสร้างแข่งขันกันให้สร้างเสร็จในคืนเดียว โดยถือเกณฑ์เมื่อดาวประกายพรึกโผล่พ้นขอบฟ้าเป็นเวลาสิ้นสุดการก่อสร้าง   เมื่อตกกลางคืนฝ่ายหญิงก็เอาโคมไปแขวนไว้บนไม้สูง ให้ฝ่ายชายเข้าใจว่าดาวประกายพรึกขึ้นแล้ว ก็เสียกำลังใจยังสร้างไม่เสร็จ ต้องยอมแพ้ไป ส่วนฝ่ายหญิงทำเสร็จเพราะทำได้เต็มเวลาและยังมีฝ่ายชายซี่งระส่ำระสายมาช่วยสร้างด้วยเป็นจำนวนมาก   เมื่อพระมหากัสสปะ พร้อมทั้งพระอรหันต์ ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุผ่านมาถึงสกลนคร พระเจ้าสุวรรณภิงคาระได้ขอ  แบ่งส่วนพระบรมสารีริกธาตุ แต่พระมหากัสสปะได้ชี้แจงว่า พระพุทธเจ้ามีพระพุทธประสงค์ให้นำไปประดิษฐานที่ภูกำพร้า  แต่เพื่อมิให้เสียศรัทธา พระมหากัสสปะจึงให้พระอรหันต์องค์หนึ่งกลับไปนำ  พระอังคารที่เหลือจากการถวายพระเพลิงที่เมืองกุสินารายณ์ มาประดิษฐานที่พระธาตุเจดีย์นารายณ์เจงเวงแทน ส่วนพระเจดีย์ที่สร้างไม่เสร็จ ก็ให้ชื่อว่า พระธาตุภูเพ็ก
    พระบรมธาตุขามแก่น
     
    พระบรมธาตุขามแก่น ประดิษฐาน ณ วัดเจติยภูมิ อยู่ที่ตำบลบ้านขาม อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น อยู่ห่างจากตัวจังหวัดออกไปประมาณ ๓๐ กิโลเมตร
    ตามตำนานกล่าวว่า ภายใต้เจดีย์บรรจุพระอังคารของพระพุทธเจัา มีเรื่องเล่าว่า หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน  พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ ร่วมกับประชาชนชาวเมือง ได้สร้างพระธาตุเจดีย์ขึ้นที่จังหวัดนครพนม คือพระธาตุพนม  ในครั้งนั้นกษัตริย์แห่งโมริยวงศ์ ได้ทรงทราบเรื่องมีศรัทธา ที่จะนำพระอังคารของพระพุทธเจ้า ไปบรรจุร่วมกับพระบรมสารีริกธาตุในพระธาตุพนม จึงได้เดินทางไปนครพนม พร้อมด้วยพระอรหันต์ ๙ องค์ 
     
    ระหว่างทาง เมื่อมาถึงสถานที่แห่งหนึ่ง มีตอมะขามขนาดใหญ่ตอหนึ่ง ผุเหลือแต่แก่น จึงได้อัญเชิญภาชนะที่  บรรจุพระอังคารวางไว้บนตอไม้มะขามดังกล่าว แล้วพักแรมอยู่ ณ ที่นั้นหนึ่งคืน รุ่งขึ้นก็ออกเดินทางต่อไป เมื่อไปถึงสถานที่ก่อสร้างพระธาตุพนมจึงทราบว่า ได้ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ไม่สามารถบรรจุพระอังคารที่นำมาได้ จึงพากันเดินทางกลับ  เมื่อมาถึงตอมะขามดังกล่าวปรากฎว่า ตอที่เหลือแต่แก่นนั้นกลับงอกขึ้นมาใหม่ มีกิ่งก้านสาขาและใบเขียวชอุ่ม เป็นที่น่าอัศจรรย์  กษัตริย์โมริยวงศ์พระองค์นั้น จึงโปรดให้สร้างพระปรางค์ครอบ ตอมะขามดังกล่าว แล้วบรรจุพระอังคารธาตุเอาไว้ภายในพระปรางค์ และให้ชื่อว่า พระธาตุขามแก่น 
     
    พร้อมทั้งสร้างวัดขึ้นคู่เคียงกับพระธาตุ  ต่อมาเมื่อพระอรหันต์ทั้ง ๙ องค์ ที่ร่วมเดินทางมาด้วย ดับขันธปรินิพพาน ก็ได้นำพระธาตุของท่าน มาบรรจุไว้ในพระธาตุเจดีย์องค์เล็ก ที่สร้างขึ้นไว้อีกองค์หนึ่ง ใกล้กับพระธาตุเจดีย์องค์เดิม และเรียกกันว่า พระธาตุน้อย
     
    พระธาตุขามแก่นได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ต่อมาภายหลัง และได้เปลี่ยนรูปร่างเป็นเจดีย์ดังที่เป็นอยู่ปัจจุบัน   ต่อมาได้มีชาวบ้านมาตั้งหลักแหล่งบริเวณใกล้พระธาตุเกิดเป็นหมู่บ้านใหญ่ขึ้นตามลำดับ มีชื่อว่าบ้านขาม ตามชื่อของตอมะขามดังกล่าว  ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๒ จึงได้ไปตั้งเมืองใหม่ที่บ้านบึงบอน ให้ชื่อว่า เมืองขามแก่น ตามชื่อพระธาตุขามแก่น ต่อมาชื่อนี้ได้แปรเปลี่ยนไปเป็นขอนแก่น ดังที่เป็นอยู่ปัจจุบัน
    พระธาตุบังพวน

                พระธาตุบังพวน  เป็นพระธาตุเจดีย์ที่เก่าแก่และสำคัญยิ่งของจังหวัดหนองคาย  และเป็นพระธาตุที่สำคัญองค์หนึ่งของภาคอีสาน  ประดิษฐานอยู่ ณ บ้านพระธาตุบังพวน  ตำบลพระธาตุบังพวน  อำเภอเมือง  จังหวัดหนองคาย
                ตามตำนานอุรังคธาตุกล่าวว่า  พระยาสุวรรณภิงคาร เจ้าเมืองหนองหาน สกลนคร  พระยาคำแดง เจ้าเมืองหนองหารน้อย อุดรธานี  พระยาจุลณี พรหมทัต เจ้าเมืองจุลณี (ลาวเหนือ) พระยาอินทปัตนคร เจ้าเมืองอินทปัตนนนคร (เขมร) และพระยานันทเสน เจ้าเมืองศรีโคตรบูรณ์หลวง (ตรงข้ามนครพนม) ได้ร่วมกันอุปถัมภ์ พระมหากัสสเถระ พร้อมด้วยพระอรหันต์ อีก 500 องค์  ทำการก่อสร้างพระธาตุพนม แล้วเสร็จ  และได้บรรลุพระอรหันต์ด้วยกันทั้งหมด  ต่อมาได้เดินทางไปสู่แดนพุทธภูมิ  เพื่อไปอัญเชิญ พระบรมสารีริกธาตุ ของพระพุทธเจ้า 45 พระองค์  นำมาประดิษฐานไว้ ณ สถานที่ 4 แห่งคือ  บริเวณเมืองหนองคาย และเมืองเวียงจันทน์  หนึ่งในสี่แห่งนั้น คือพระธาตุบังพวน ซึ่งได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาพักที่ร่มไม้ปาแป้ง (ไม้โพธิ) ณ ภูเขาหลวง อันเป็นที่ตั้งพระเจดีย์ พระธาตุบังพวนปัจจุบัน
                จากการสำรวจทางโบราณคดีพบว่า  พระธาตุบังพวนได้มีการก่อสร้างสืบเนื่องกันมาสามสมัย คือ ฐานเดิมสร้างด้วยศิลาแลง  ชั้นที่สองสร้างด้วยอิฐครอบชั้นแรก  และต่อมาได้มีการก่อสร้างให้มีขนาดสูงใหญ่ขึ้น  จากจารึกที่ฐานพระพุทธรูปที่ขุดได้ 4 องค์ ในจำนวนทั้งหมด 6 องค์ ระบุศักราชที่สร้างไว้  ซึ่งตรงกับ  พ.ศ. 2118  พ.ศ. 2150  พ.ศ. 2158 และ พ.ศ. 2167  และข้อความในจารึกเมื่อ พ.ศ. 2167  มีประวัติในการสร้าง โดยได้กล่าวถึงพระเจ้าโพธิสาลราช  ซึ่งเป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านช้าง มีราชธานีอยู่ที่นครเชียงทอง  ซึ่งก็ตรงกับรูปแบบการก่อสร้างโบราณสถานในบริเวณวัดพระธาตุบังพวน  ที่แสดงถึงอิทธิพลของอาณาจักรล้านช้าง
                พระธาตุบังพวนเป็นพระสถูปเจดีย์  ทรงเรือนปราสาทสี่เหลี่ยม  เป็นองค์ประธานซึ่งมีชื่ออยู่ในศิลาจารึกว่า พระธาตุบังพวนพระเจดีย์ศรีสัตตมหาทาน  ภายในวัดมีกลุ่มพระธาตุขนาดต่าง ๆ อีก 15 องค์  สันนิษฐานว่า คงจะสร้างในสมัยใกล้เคียงกันกับพระธาตุบังพวน  มีวิหาร 3 หลัง  อุโบสถ 1 หลัง  สระน้ำ และบ่อน้ำโบราณ  นอกจากนั้นยังมีโบราณสถานอีกกลุ่มหนึ่ง ภายในบริเวณเดียวกัน เรียกว่า สัตตมหาสถาน  อันเป็นสถานที่ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธประวัติ  เมื่อครั้งแรกตรัสรู้ พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณที่พุทธคยา  ประเทศอินเดีย  สัตตมหาสถานที่สร้างขึ้นมาภายหลัง มีอยู่ 3 แห่งอยู่ ที่ประเทศพม่าหนึ่งแห่ง และที่ประเทศไทยสองแห่ง  คือที่วัดเจ็ดยอด จังหวัดเชียงใหม่  และที่วัดพระธาตุบังพวน จังหวัดหนองคายแห่งนี้
                สัตตสถานที่วัดพระธาตุบังพวนยังมีครบถ้วนทั้งเจ็ดองค์ และมีแผนที่ตั้งเหมือนกันกับที่พุทธคยา ประมวลได้ดังนี้


    พระโพธิบัลลังก์

                 อุทานในยามต้นว่า

    เมื่อใด ธรรมทั้งหลายปรากฎแก่พราหมณ์ผู้มีพียรเพ่งอยู่
    เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้น ย่อมสิ้นไป เพราะมารู้แจ้งธรรมว่าเกิดแต่เหตุ

                อุทานในยามเป็นท่ามกลางว่า

    เมื่อใด ธรรมทั้งหลายปรากฎแก่พราหมณ์ผู้มีเพียรเพ่งอยู่
    เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้น ย่อมสิ้นไป เพราะได้รู้ความสิ้นแห่งปัจจัยทั้งหลาย

                อุทานในยามที่สุดว่า

    เมื่อใด ธรรมทั้งหลายปรากฎแก่พราหมณ์ผู้มีเพียรเพ่งอยู่
    เมื่อนั้น พราหมณ์นั้นย่อมกำจัดมารและเสนาเสียได้ ดุจพระอาทิตย์อุทัยกำจัดมืด ทำอากาศให้สว่างฉะนั้น


    พระอนิมมิสเจดีย์

                ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของโพธิบัลลังก์  เป็นเจดีย์สี่เหลี่ยมก่อด้วยอิฐสอปูน  ตามพุทธประวัติจากอรรถกถา กล่าวว่า เมื่อพระองค์ได้ทรงตรัสรู้แล้ว ได้เสด็จมาประทับยืนอยู่ ณ ที่นี้  แล้วทรงทอดพระเนตรดูต้นพระศรีมหาโพธิ ที่ให้ร่มเงาปกคลุมโพธิบัลลังก์ อยู่ 7 วัน


    พระรัตนจงกรมเจดีย์

                ที่พุทธคยาจะตั้งอยู่ระหว่างพระโพธิบัลลังก์กับพระอนิมมิสเจดีย์  แต่ที่วัดพระธาตุบังพวนนั้น  พระรัตนจงกรมเจดีย์ตั้งอยู่ค่อนไปทางเหนือ  เป็นพระเจดีย์ก่อด้วยอิฐสอปูน  มีลาดพระบาทก่อด้วยอิฐกว้างประมาณสองเมตรครึ่ง จรดพระอนิมมิสเจดีย์  ตอนกลางมีรอยพระพุทธบาทใหญ่  ตามพุทธประวัติจากอรรถกถา กล่าวว่า เมื่อพระพุทธองค์ประทับอยู่ที่อนิมมิสเจดีย์ ครบ 7 วัน แล้ว ได้ทรงเดินจงกรม เพื่อพิจารณาบรรดาสัตว์โลกที่จะเสด็จไปโปรด อยู่ 7 วัน



    พระรัตนฆรเจดีย์



    พระอชปาลนิโครธเจดีย์



    พระมุจลินทเจดีย์


    ความสงัดของผู้ที่ยินดีในธรรมเป็นสุข การระมัดระวังไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย
    การละกามคุณได้เป็นสุข การละอัสมิมานะ (ความถือตัว) เสียได้เป็นสุขอย่างยิ่ง


    พระราชายตนะเจดีย์



                ในวันเพ็ญเดือนสาม ของทุกปี จะมีงานเทศกาลนมัสการ พระธาตุบังพวน เป็นเวลา 5 วัน 5 คืน

                พระธาตุบังพวน  ซึ่งสร้างมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรล้านช้าง และได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ในสมัยต่อมา แต่ไม่ต่อเนื่องนัก  ในระยะหลังจึงทรุดโทรมมาก และได้พังทะลายลงมา เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2513  กรมศิลปากรจึงได้ดำเนินการบูรณขึ้นใหม่  โดยก่อคอนกรีตเสริมฐานเดิม  ซึ่งที่ฐานล่างเป็นศิลาแลง ต่อมาเป็นฐานทักษิณ 3 ชั้น บัวคว่ำ 2 ชั้น  ต่อด้วยปรางค์สี่เหลี่ยมบัวปากระฆัง  บัวสายรัด 3 ชั้น รับดวงปลีบัวตูม  แล้วตั้งฉัตร 5 ชั้น  ฐานล่างรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส  กว้างด้านละประมาณสิบเจ็ดเมตร  สูงถึงยอดฉัตรประมาณสามสิบสี่เมตร  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมทั้ง สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์  ได้เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธาน และร่วมยกฉัตรสู่ยอดพระธาตุบังพวน เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521

                ตั้งอยู่ทางทิศใต้   เป็นพระเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยม  และมีซุ้มพระพุทธรูปปางสมาธิ เช่นเดียวกับ อชปาลนิโครธเจดีย์  ตามพุทธประวัติจากพระไตรปิฎกกล่าวว่า  ในสัปดาห์ที่ 4 หลังการตรัสรู้  พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปประทับที่ใต้ต้นราชายตนะ (ต้นเกตุ) ณ ที่นี้ได้มีพ่อค้าสองคน มีนามว่า ตปุสสะ กับ ภัลลิกะมาพบ  ได้ถวายข้าวสัตตุก้อน และสัตตุผง  และได้เปล่งวาจาถึงพระพุทธและพระธรรม เป็นสรณะ เนื่องจากตอนนั้นยังไม่มีพระสงฆ์

                ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้  อยู่คู่กับสระน้ำ  ที่พระธาตุบังพวน ได้สร้างวิหารแบบโปร่งไม่มีผนัง  ประดิษฐานพระพุทธรูปปางนาคปรก  ที่สระน้ำมีรูปปั้นพระยานาค 7 เศียร อยู่กลางสระ  ตามพุทธประวัติจากพระไตรปิฎกกล่าวว่า  ช่วงนี้อยู่ในสัปดาห์ที่สามหลังจากตรัสรู้  พระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับอยู่ใต้ต้นมุจลินท์ (ต้นจิก) ในช่วงเวลาที่ฝนตกพรำตลอด 7 วัน  พญามุจลินทนาคราชได้ขึ้นมาขนดและแผ่พังพาน เพื่อบังลมและฝนให้  เมื่อพายุหายแล้ว ก็คลายขนด จำแลงกายเป็นมาณพน้อย ยืนประคองอัญชลีนมัสการพระพุทธเจ้า  พระพุทธเจ้าทรงเปล่งพุทธอุทานว่า

                ที่พุทธคยาจะตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ  แต่ที่วัดพระธาตุบังพวน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก  เป็นพระสถูปเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยม มีซุ้มพระพุทธรูปปางสมาธิ  ตามพุทธประวัติจากพระไตรปิฎก กล่าวว่า  พระพุทธเจ้าทรงโต้ตอบกับพราหมณ์ผู้มีทิฐิมานะคนหนึ่ง ที่ชอบว่าคนอื่น  ตามอรรถกถากล่าวว่า ทรงมีพุทธฎีกาต่อธิดาพญามาร 3 ตน  มีนามว่า  ตัณหา  ราคา และอรดี  ที่รับอาสาพญามารนามว่า วสวัตตี  ผู้เป็นพ่อ มายั่วยวนพระพุทธเจ้า แต่ก็พ่ายแพ้อันตรธานไปในที่สุด  พระพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ ณ ที่นี่เป็นเวลา 7 วัน

                ที่พุทธคยา จะตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของพระโพธิบัลลังก์  แต่ที่วัดพระธาตุบังพวน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก  เป็นพระเจดีย์สี่เหลี่ยมย่อมุม ก่อด้วยอิฐสอปูนขนาดใหญ่  ทรงปราสาทเรือนธาตุ มีซุ้มและพระพุทธรูปปางสมาธิ  ตามพุทธประวัติจากอรรถกถากล่าวว่า พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาพระอภิธรรมตลอด 7 วัน  ทรงประทับอยู่ที่เรือนแก้วที่เทวดานิรมิตถวาย  บังเกิดฉัพพรรณรังษีรอบพระวรกาย


                ตั้งอยู่ตรงจุดศูนย์กลาง สร้างด้วยศิลาแลงและอิฐ  เป็นพระสถูปทรงกลมสูงประมาณ สองเมตรครึ่ง เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ เจ็ดเมตรครึ่ง  โพธิบัลลังก์หรือวัชรอาสน์นี้ เป็นอาสน์ที่พระพุทธเจ้าประทับนั่ง  เพื่อบำเพ็ญเพียรทางจิต จนบรรลุพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ  เมื่อวันเพ็ญเดือนหก  ก่อนพระพุทธศักราช 45 ปี  ตามพุทธประวัติจากพระไตรปิฎก กล่าวว่า พระพุทธองค์ได้ทรงประทับนั่งอยู่บนโพธิบัลลังก์นี้เป็นเวลา 7 วัน ทรงพิจารณาธรรมที่ตรัสรู้แล้ว คือ ปฏิจจสมุปบาท ทั้งสายเกิด และสายดับ กลับไปกลับมา   ขณะพิจรณาธรรมทั้งสามในราตรีนั้น แล้วเปล่งพุทธอุทานในแต่ละยามดังนี้
    พระธาตุแช่แห้ง

     
    พระธาตุแช่แห้งประดิษฐานอยู่ ณ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน อยู่ห่างจากตัวเมืองออกไปประมาณ ๓ กิโลเมตร
    องค์พระธาตุตั้งอยู่บนเนินเขาลูกเตี้ย ๆ เป็นสีทองสุกปลั่ง สามารถมองเห็นได้แต่ไกล เนื่องจากสูงถึง ๒ เส้น  เป็นอนุสรณ์ของความรักและความสัมพันธ์ ระหว่างเมืองน่านกับเมืองสุโขทัย ในอดีต ที่เชิงเนินปูด้วยอิฐ ลาดขึ้นไปยังยอดเนิน กว้างประมาณ ๒๐ วา มีบันไดนาคขนาบทั้งสองข้าง องค์พระเจดีย์เป็นแบบลานนาไทย ฐานเป็นสี่เหลี่ยมซ้อนกันขึ้นไปจนสูง ใช้แผ่นทองเหลืองบุรอบฐาน แล้วลงรักปิดทอง
     
    จากพงศาวดารเมืองน่านกล่าวว่า พระยาการเมือง เจ้านครน่านได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากกรุงสุโขทัย มาประดิษฐานไว้ที่ดอยภูเพียงแช่แห้ง และตามตำนานกล่าวว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาประทับสรงน้ำที่ริมฝั่ง แม่น้ำน่านทางทิศตะวันออก ที่บ้านห้วยไค้ และเสวยผลสมอแห้ง ซึ่งพระยามลราชนำมาถวาย แต่ผลสมอนั้นแห้งมาก  พระพุทธเจ้าจึงทรงนำผลสมอนั้นไปแช่น้ำก่อนเสวย และทรงพยากรณ์ว่า ต่อไปที่นี่จะมีผู้นำพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐาน จึงเรียกพระสถูปที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุแห่งนี้ว่า พระธาตุแช่แห้ง
     

    มีงานประจำปีฉลองพระธาตุ ในกลางเดือนหกฝ่ายเหนือ ซึ่งตรงกับเดือนสี่ฝ่ายใต้
    พระธาตุช่อแฮ
     
    พระธาตุช่อแฮประดิษฐานอยู่ ณ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ อยู่ห่างจากตัวเมืองออกไปประมาณ ๙ กิโลเมตร
    องค์พระธาตุตั้งอยู่บนเนินเขาเตี้ย ๆ เช่นเดียวกับพระธาตุแช่แห้ง สำหรับชื่อที่เรียกนี้ บางท่านอธิบายว่า เดิมมาจากชื่อว่า ช่อแพร และเมืองแพร่ก็คือเมืองแพร่
    ตามตำนานกล่าวว่า พระพุทธเจ้าได้ประทานพระเกศธาตุองค์หนึ่ง แก่พระอรหันต์ และพระเจ้าอโศกมหาราช ให้แก่ชาวลัวะ เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน พระอรหันต์ได้นำพระธาตุส่วนข้อศอกด้านซ้าย มาประดิษฐานไว้ในพระสถูป ที่ดอยโกสัยชัคคบรรพต หรือดอยช่อแพร หรือช่อแฮแห่งนี้
     
    ตามประวัติกล่าวว่า สร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าลิไท แห่งกรุงสุโขทัย ซึ่งอยู่ในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ หัวหน้าชนชาวละว้าได้สร้างองค์พระธาตุสูง ๓๓ เมตร ฐานเหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง กว้างด้านละสิบเมตร องค์พระธาตุ บุด้วยทองดอกบวบ เป็นศิลปแบบเชียงแสน ภายในบรรจุพระเกศธาตุ 
     
    การได้ชื่อว่าช่อแฮได้มาจากการที่ชาวบ้าน ได้นำแพรชั้นดีจากสิบสองปันนา มาผูกบูชาพระธาตุ ซึ่งได้ชื่อว่า ช่อแพร และได้กลายมาเป็นช่อแฮในปัจจุบัน
    งานนมัสการพระธาตุประจำปี จะมีในวันขึ้น ๑๑ ถึง ๑๕ ค่ำเดือนสี่
    พระบรมธาตุเมืองนคร
    พระบรมธาตุเมืองนคร ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่กลางใจเมือง
    ตามตำนานกล่าวว่า องค์พระบรมธาตุเจดีย์ได้ก่อครอบพระทันตธาตุของพระพุทธเจ้า ซึ่งฝังไว้ ณ หาดทรายแก้วแห่งหนึ่ง เรื่องมีอยู่ว่า นางเหมชาลากับเจ้าทนทกุมาร ผู้เป็นพระราชบุตรีและพระราชโอรสท้าวโกสีหราช แห่งเมืองทนทบุรี ได้นำพระทันตธาตุหนีไปลังกา เมื่อตอนที่ท้าวโกสีหราชเสียเมืองให้แก่ท้าวอังกุศราช แต่เรือแตกจึงได้พากั

    • Update : 14/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch