|
|
พระแท่นดงรัง
พระแท่นดงรัง
"…..
ในระหว่างนางรังทั้งคู่ค้อม
แต่ไม้รังยังรักพระศาสดา |
|
ชวนกันไปไหว้พระแท่นแผ่นศิลา
คำนับน้อมกิ่งก้านก็สาขา
อนิจจาเราเกิดไม่ทันองค์" |
ปัจจุบันมีวิหารสร้างครอบพระแท่นไว้ ซึ่งคงสร้างไว้นานแล้ว เพราะเมื่อปี พ.ศ. 2376 สามเณรกลั่น ได้เดินทางไปนมัสการพระแท่นดงรังกับสุนทรภู่ ได้แต่งนิราศไว้มีความตอนหนึ่งว่า
"ถึงพระแท่นแสนสงัดเห็นวัดมี
กับต้นรังทั้งคู่ยังอยู่พร้อม
ต่างชื่นชมโสมนัสยิ่งศรัทธา
เข้าประตูดูแผ่นพระแท่นดัง
………" |
|
ทั้งโบสถ์ที่ครอบพระแท่นแผ่นศิลา
ดูยอดน้อมเข้ามาข้างแท่นที่แผ่นผา
ตามบิดาทักษิณด้วยยินดี
เหมือนบัลลังก์แลจำรัสรัศมี
|
ส่วนที่เป็นพระแท่นนั้นเป็นปลายของเทือกศิลาที่ยื่นออกมา มีลักษณะเป็นศิลาแท่งสูงข้างหนึ่ง ต่ำข้างหนึ่ง ข้างสูงวัดได้ศอกคืบ และยังมีส่วนที่สูงขึ้นไปอีกเหมือนเป็นหมอน กว้างประมาณคืบเศษ สูงประมาณหนึ่งคืบ ข้างปลายพระแท่นสูง 16 นิ้ว พระแท่นยาว 11 ศอกคืบ กว้าง 4 ศอก เศษบริเวณส่วนบน ส่วนล่างกว้าง 3 ศอก เศษ
บริเวณที่ตั้งพระแท่นดงรังมีสถานที่ต่าง ๆ อันเนื่องด้วย พระพุทธเจ้าดังนี้
เขาถวายพระเพลิง
"ขึ้นคีรีที่ถวายพระเพลิงเผา
ขึ้นถึงยอดทอดตาดูน่าเพลิน
ดูทางทิศบูรพาน่าวิเวก
ข้างทิศใต้ทิวไม้เป็นหมอกมล
เห็นเขาใหญ่ไกลตะคุ่มชะอุ่มเขียว
พยับลมกลมกลืนกับพื้นฟ้า
พี่พูดพลางทางเดินบนเนินผา
พรรณรายพรายแพรวดูแววไว
บ้างเป็นก้อนกลิ้งกลมบ้างคมแหลม
เป็นที่เทพนิมิตด้วยฤทธา
เป็นก้อนแก้วแวววาบปละปลาบแสง
จึงเกิดเป็นบรรพตปรากฎมี |
|
บันไดเล่าลดหลั่นเป็นคั่นเขิน
เหมือนเหาะเหินเห็นรอบขอบมณฑล
เห็นเทียมเมฆกลุ้มเกลื่อนเลื่อนเวหน
แลดูคนตัวนิดติดสุธา
ดูลดเลี้ยวหลายหลากชวากผา
ทัศนานั่งแลอยู่แต่ไกล
เห็นศิลาแวววามงามไสว
แลวิไลเลื่อมเลื่อมละลานตา
เป็นแก้วแกมเกิดก้อนชะง่อนผา
พิจารณาสมความตามบาฬี
คือเครื่องแต่งพระศพพระชินสีห์
ด้วยเป็นที่ถวายพระเพลิงเชิงตะกอน" |
หินบดยา
ภายในวิหารพระแท่นทางทิศตะวันออกของพระแท่น มีหินอยู่ก้อนหนึ่ง กล่าวกันว่าเป็นที่บดยาถวายพระพุทธเจ้า ในงานเทศกาลนมัสการพระแท่นดงรัง มีผู้ที่ไปนมัสการนำเอาพวกสมุนไพรแล้วเอาหินบดยานี้บดสมุนไพร เพื่อนำเอาไปรับประทานเป็นยาต่อไป
ปล่องพญานาค
ในบริเวณป่ารังอยู่ทางทิศใต้ของพระแท่นไปประมาณ 200 เมตร มีบ่อลึกอยู่ 1 บ่อ ที่ปากบ่อมีอิฐโบราณก่อเป็นขอบบ่อ กล่าวกันสืบมาว่า บ่อแห่งนี้เป็นปล่องพญานาคที่ขึ้นมานมัสการเชิงตะกอน ที่ถวายพระเพลิงพระสรีระพระพุทธเจ้าบนเขาถวายพระเพลิง ตั้งแต่ครั้งโบราณ
สวนนายจุนทะกุมารบุตร
บริเวณป่าทางทิศเหนือของพระแท่นดงรัง ห่างออกไปประมาณ 500 เมตร มีลักษณะเป็นสวนผลไม้มี ต้นมะม่วง มะตูม และต้นตาลโตนด ปรากฎอยู่ถึงปัจจุบัน กล่าวกันว่าเป็นสวนของนายจุนทะกุมารบุตร ผู้ถวายมังสะสุกรอ่อนแก่พระพุทธเจ้า ตามที่กล่าวไว้ในพุทธประวัติ เมื่อพระพุทธเจ้าเสวยแล้วก็เกิดประชวรลงพระโลหิต เสด็จดับขันธปรินิพพานที่พระแท่นดงรัง
ลำน้ำหมอสอและลำพระยาพายเรือ
ลำน้ำหมอสอ เป็นลำน้ำเล็ก ๆ ไหลผ่านไหล่เขาถวายเพลิง ในบริเวณพระแท่นดงรัง และทอดยาวไปสู่อำเภอกำแพงแสน มีน้ำตลอดปี ลำน้ำนี้มีประวัติเล่ากันมาว่า ครั้งเมื่อพระพุทธเจ้าประชวรหนัก มีหมอมารออยู่ที่ลำน้ำนี้ แต่ข้ามไม่ได้ ลำน้ำนี้จึงได้ชื่อว่า ลำน้ำหมอรอ แต่ภายหลังเพี้ยนเป็นหมอสอ มีอยู่ตอนหนึ่งของลำน้ำชาวบ้านเรียกกันว่า ลำพระยาพายเรือ มีประวัติเล่าสืบกันมาว่า ในขณะที่หมอกำลังรอไปเฝ้ารักษาพระพุทธเจ้าอยู่นั้น มีพระยาคนหนึ่งนั่งเรือ มีบ่าวไพร่พายเรือมา เมื่อทราบว่าพระพุทธเจ้าประชวรหนักกลัวจะไม่ทันกาล พระยาผู้นั้นจึงช่วยพายเรือด้วย ลำน้ำตอนนั้นจึงได้ชื่อดังกล่าว
วัดพระแท่นดงรัง นับว่าเป็นวัดเก่าโบราณยิ่งวัดหนึ่งของไทย ได้มีการก่อสร้างถาวรวัตถุ และบูรณะปฏิสังขรณ์มาโดยลำดับ บริเวณโดยรอบพระแท่นมีเนื้อที่ 2,390 ไร่ และภายในเนื้อที่นี้กำหนดเป็นเขตป่าคุ้มครอง 1,120 ไร่ เป็นป่าโปร่ง มีต้นรังขึ้นอยู่ทั่วไป
เมื่อ พ.ศ. 2484 ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดป่าพระแท่นดงรัง ให้เป็นป่าคุ้มครอง
วิหารพระแท่นดงรังหลังเดิม สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หรือต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว บรรดาพระสงฆ์และบรรดาพุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธา ได้บอกบุญร่วมใจกันปฏิสังขรณ์เพิ่มเติม มีทำพาไลข้างนอกกับชานทักษิณโดยรอบเป็นต้น มีหลักฐานบันทึกไว้อย่างละเอียด
ปี พ.ศ. 2406 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์วิหารพระอุโบสถ แล้วให้ทำพระเจดีย์ขึ้นที่หลังพระแท่น 1 องค์
ปี พ.ศ. 2465 สมภารน้อย เจ้าอาวาสวัดพระแท่นดงรัง ได้ชักชวนพุทธบริษัทบูรณะซ่อมแซมมณฑปครอบพระพุทธบาท บนเขาถวายพระเพลิง และบรรดาเสนาสนะขึ้นใหม่ทั้งหมด
ปี พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงวางศิลาฤกษ์ พระอุโบสถหลังใหม่ และพระราชทานเงินซึ่งผู้มีจิตศรัทธาทูนเกล้าถวาย โดยเสด็จพระราชกุศล ให้เป็นทุนก่อสร้างพระอุโบสถต่อไป
การที่พระแท่นดงรังได้ดำรงอยู่ด้วยดีตลอดมา เป็นระยะยาวนานหลายร้อยปี ก็ด้วยความเลื่อมใสศรัทธาในพระบวรพุทธศาสนา ของบรรดาพุทธศาสนิกชนชาวไทย ตั้งแต่พระมหากษัตริย์ตลอดจนถึงอาณาประชาราษฎร์ทุกหมู่เหล่า ทั้งฝ่ายสงฆ์และฝ่ายฆราวาส อันเป็นแบบฉบับที่ดีงามของบรรพบุรุษไทย ที่มีความมั่นคงในพระบวรพุทธศาสนาสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของวิหารพระแท่น บนยอดเขามีมณฑปเตี้ย ๆ รูป 12 เหลี่ยม สมมุติว่าสร้างครอบเชิงตะกอน ที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระเมื่อเสด็จปรินิพพานแล้ว สภาพของเขาถวายพระเพลิง ตามที่ปรากฎในกลอนนิราศของสามเณรกลั่น ตอนหนึ่งว่า พระแท่นดงรังตั้งอยู่ที่ตำบลพระแท่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ในบริเวณพระแท่นมีเทือกเขาอยู่สองหย่อม หย่อมทางทิศตะวันตกเรียกว่า เขาถวายพระเพลิง ยอดสูง 45 เมตร บนยอดเขามีมณฑปขนาดเตี้ยครอบพระพุทธบาทจำลองไว้ หย่อมเขาทางด้านตะวันออกเป็นเนินเขาเตี้ย ๆ มีหินแท่งทึบหน้าลาดรูปลักษณะคล้ายพระแท่นหรือเตียงนอน มีตำนานเล่ากันมาแต่ก่อนว่า พระพุทธเจ้าเสด็จมาบรรทมแล้วดับขันธปรินิพพานบนพระแท่นนี้ เล่ากันว่า แต่เดิมมีต้นรังขึ้นอยู่ริมพระแท่นข้างละต้น โน้มยอดเข้าหากัน ดังปรากฎอยู่ในนิราศพระแท่นดงรังตอนหนึ่งว่า พระแท่นดงรัง นับว่าเป็นเจดียฐานประการหนึ่ง คือถือว่าเป็นที่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้า และนับว่าเป็นสังเวชนียสถานแห่งหนึ่ง ในสี่แห่งของพระพุทธเจ้า คือสถานที่ประสูติ สถานที่ตรัสรู้ สถานที่แสดงปฐมเทศนา และสถานที่ดับขันธปรินิพพาน ซึ่งสถานที่ดังกล่าวตั้งอยู่ในประเทศอินเดียในปัจจุบัน
ตามตำนาน อันเป็นคติที่เชื่อกันว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปยังแว่นแคว้นต่าง ๆ ภายนอกประเทศอินเดีย ด้วยอำนาจฌานสมาบัติ และได้ประดิษฐานเจดีย์หรือ ตรัสพยากรณ์เรื่องราวต่าง ๆ ไว้ในแว่นแคว้นเหล่านั้น จึงเกิดมีเจดีย์วัตถุและพุทธพยากรณ์ที่อ้างว่า พระพุทธองค์ได้ทรงประดิษฐานเจดีย์วัตถุไว้หลายแห่งในแว่นแคว้นต่าง ๆ
ในประเทศไทยก็มีตำนานเกี่ยวกับการประทับรอยพระพุทธบาท และการสร้างพระธาตุเจดีย์อยู่เป็นจำนวนไม่น้อย รวมทั้งพระแท่นและพระพุทธฉาย สำหรับพระแท่นที่มีอยู่ในพงศาวดารคือ พระแท่นศิลาอาสน์ มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัย แต่พระแท่นดงรังไม่ได้มีกล่าวไว้ในพงศาวดาร จึงสันนิษฐานว่าอาจจะเกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย
ความอัศจรรย์ของพระแท่นดงรังนั้นผิดกับเจดีย์วัตถุอื่น เนื่องจากมีผู้เชื่อว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ พระแท่นดงรังนี้จริง ๆ ซึ่งเท่ากับว่าเมืองไทยนี้เป็นมัชฌิมประเทศ อันเป็นสถานที่ ประสูติ ตรัสรู้ และดับขันธปรินิพพานของพระพุทธเจ้า
|
Update : 14/5/2554
|
|