หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    ศาสนาต่างๆ ในประเทศไทย

    ศาสนาต่างๆ ในประเทศไทย

                                  คำนำ
                                   ประเทศไทยมีพระพุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติมาโดยตลอด นับตั้งแต่ได้ตั้งเป็นแว่นแคว้น และเป็นราชอาณาจักรแต่ก็ได้เอื้อเฟื้อต่อคนไทยผู้นับถือศาสนาอื่น และให้ความอุปถัมภ์ศาสนาอื่นตามแบบอย่างโบราณราชประเพณีที่พระมหากษัตริย์ไทยได้ทรงอุปถัมภ์ไว้แล้ว และมีนโยบายที่จะป้องกันมิให้คนไทยที่นับถือศาสนาแตกต่างกันเบียดเบียนกัน มีความสมานฉันท์ สามารถอยู่ร่วมกันด้วยความสุขสงบร่มเย็น โดยทุกคนมีเสรีภาพในการประกอบพิธีกรรมตามศาสนาของตน โดยได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ และประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๒๐๖,๒๐๗ และ ๒๐๘ ในการดำเนินการด้านศาสนาต่าง ๆ ทางหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง บริหารงานโดยยึดหลักกฎหมาย ด้วยการหารือองค์การหลักของแต่ละศาสนาที่ทางราชการให้ความอุปถัมภ์ไว้แล้วเป็นสำคัญ เพื่อให้องค์การหลักของแต่ละศาสนาช่วยควบคุมดูแล และร่วมรับผิดชอบในแต่ละศาสนา เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยเป็นผลดีต่อประเทศชาติเป็นส่วนรวม
                                  ทางด้านพระพุทธศาสนา มีพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ เป็นหลักในการบริหารงาน หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง สนองงานของคณะสงฆ์ และรัฐบาลตามตัวบทกฎหมายที่กำหนดไว้ ทั้งด้านบริหาร และด้านศาสนูปถัมภ์
                                   การบริหารศาสนาอื่น อยู่ภายใต้การดูแลบริหารของกระทรวงมหาดไทย ส่วนกรมการศาสนาได้ให้ความอนุเคราะห์ด้านศาสนูปถัมภ์ดังนี้
                                 ศาสนาอิสลาม  มีพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม พ.ศ.๒๔๘๘  และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ ๒ พ.ศ.๒๔๙๑ และมัสยิดอิสลาม พ.ศ.๒๔๙๐ โดยจะหารือจุฬาราชมนตรี และกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับการศาสนูปถัมภ์ศาสนาอิสลาม
                                ศาสนาคริสต์  พระมหากษัตริย์ ทรงให้ความอุปถัมภ์ นิกายคาทอลิก และนิกายโปรเตสแต้นท์มาช้านาน ต่อมาได้มีระเบียบของกรมการศาสนา ว่าด้วยการรับรองฐานะองค์การทางศาสนา และระเบียบอื่น ๆ กรมการศาสนาจะหารือด้านศาสนูปถัมภ์กับองค์การ คาทอลิก และโปรเตสแต้นท์ ที่ได้รับรองฐานะขึ้นเป็นองค์การทางศาสนาไว้แล้วคือ
                                      ๑. สภาประมุข แห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิก
                                      ๒. สภาคริสจักรในประเทศไทย
                                      ๓. สหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทย
                                      ๔. มูลนิธิคริสจักรคณะแบ๊บติสท์
                                      ๕. มูลนิธิเซเวนเดย์ แอ๊ดเวนตีสแห่งประเทศไทย
                                 ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู  กรมการศาสนา จะหารือด้านศาสนูปถัมภ์กับสามองค์การที่ได้รับรองฐานะเป็นองค์การศาสนาไว้แล้วคือ
                                      ๑. สำนักพราหมณ์พระราชครู ในสำนักพระราชวัง
                                      ๒. สมาคมฮินดู สมาช
                                      ๓. สมาคมฮินดู ธรรมสภา
                                   ศาสนาซิกข์  กรมการศาสนาจะหารือด้านศาสนูปถัมภ์กับสมาคมศรีคุรุสิงห์สภา

     


    ศาสนาอิสลาม

                ศาสนาอิสลามเริ่มประกาศโดยนบีมูฮำมัด บุตรอับดุลเลาะห์ ที่เมืองมักกะฮ์ ซึ่งอยู่ในประเทศซาอุดิอาระเบียปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ.๑๑๕๓  โดยนับจากปีที่นบีมูฮำมัดอพยพมาเมืองมักกะฮ์ ไปยังเมืองมะดินะห์ เป็นการเริ่มฮิจเราะห์ศักราช (ฮ.ศ.) ที่ ๑
                เมืองมักกะฮ์ในครั้งนั้นมีผู้นับถือศาสนาต่าง ๆ อยู่ ได้แก่
                    ๑. ศาสนายิว (ยะฮู้ด)
                    ๒. ศาสนาคริสต์ (นัศรอนีย์)
                    ๓. ศาสนาบูชาเจว็ด (มุซรีกีน)
                ความเป็นอยู่ของชาวเมืองมักกะฮ์ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการค้าขายและการเกษตร ในด้านการค้าจะมีกองคาราวานนำสินค้าจากเมืองมักกะฮ์ไปขายที่เมืองอื่น ๆ เช่น เมืองซาม (ซีเรีย) เป็นต้น สำหรับการเกษตรมีการทำสวนอินทผลัม สวนองุ่นและเลี้ยงปศุสัตว์ เป็นต้น
                สภาพทางสังคมของชาวอาหรับเป็นสังคมที่ไร้อารยธรรม เรียกว่า ยาอิลียะห์ ระเบียบวินัยทางสังคมในด้านต่าง ๆ ไม่มีการกำหนดขึ้นมา และไม่มีวัฒนธรรมที่ตอเนื่องพอเป็นเกียรติประวัติแก่ชนชาติเลย เป็นการดำรงชีวิตของคนล้าหลัง อำนาจรัฐก็ไม่มีเอกภาพ ต่างกลุ่มต่างพวกต่างตระกูลอยู่กันเป็นเอกเทศ ไม่มีการรวมกันเป็นแว่นแคว้นเดียวกัน ไม่มีการประกาศเขตแดนที่แน่ชัด ไม่มีธรรมนูญใช้ปกครอง ดังนั้นปัญหาทางการเมืองจึงเกิดขึ้นเสมอ มีการรบพุ่งกันเป็นประจำ
                ทางด้านเศรษฐกิจก็เป็นเพียงรักษาความอยู่รอดของตนเอง และป้องกันการฉกชิงของคนอื่น ไม่มีการจัดเศรษฐกิจาทางสังคมแต่ประการใด
                จากสภาพการณ์ดังกล่าวซึ่งไม่มีการจัดระบบ ปัญหาต่าง ๆ ก็เกิดตามมาคือปัญหาสังคมอันสืบเนื่องมาจากคนไร้ศีลธรรม ไร้วัฒนธรรม และไร้หลักยึดถือที่มั่นคง ชาวเมืองมักกะฮ์จึงมีความเสื่อมโทรมทางศีลธรรมถึงที่สุด มีการกดขี่ทางชนชั้น และทางเพศอย่างรุนแรง สิทธิเสรีภาพของปัจเจกชนถูกจำกัดโดยผู้มีอำนาจในสังคม มีระบบทาสซึ่งได้รับการสืบทอดกันมาโดยตลอด การปล้นสะดม การฉกชิงทรัพย์สมบัติ การฉุดคร่าอนาจาร การประทุษร้ายฆ่าฟันกัน การสำมะเลเทเมา เป็นกิจกรรมและปรากฏการณ์ทางสังคม ที่ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับผู้ที่เข้มแข็งมีกำลังแรงกว่า มีอำนาจสูงกว่า ส่วนผู้ที่อ่อนแอกว่าก็ต้องอยู่แบบหวาดกลัว และไม่สามารถมีสิทธิหน้าที่ทางสังคม
    นบีมูฮำมัด
                ในปี พ.ศ.๑๑๑๓ เดือนรอบิอุลเอาวัล ตกอยู่ประมาณเดือนสิงหาคมในปีนั้น มีกองทัพช้างยกมาเพื่อทำลายเมืองมักกะฮ์ แต่ไม่สำเร็จ จึงเรียกปีนั้นว่าปีช้าง นบีมูฮำมัดได้ถือกำเนิดขึ้นมา มีมารดาชื่ออามีนะฮ์ ส่วนบิดาได้ถึงแก่กรรมตั้งแต่ท่านนบียังอยู่ในครรภ์มารดาเพียงสองเดือน
                เมื่อนบีมูฮำมัดอายุได้หกขวบ มารดาของท่านก็ถึงแก่กรรม ท่านจึงตกเป็นเด็กกำพร้าผู้ยากไร้ ปู่ของท่านคือ อับดุลมุตตอลิบ ได้เป็นผู้อุปการะท่านจนท่านอายุได้แปดขวบ ปู่ของท่านก็ถึงแก่กรรมไปอีกคนหนึ่ง หลังจากนั้นลุงของท่านคือ อะบูตอลิบก็ได้อุปการะท่านต่อมา ลุงของท่านไม่ใช่คนร่ำรวย เป็นเพียงคนดีคนหนึ่งของสังคม มีอาชีพทำการค้าซึ่งมีทุนรอนไม่มากนัก
                นบีมูฮำมัดในยามเยาว์วัยมีความเป็นอยู่และการดำรงชีพไม่เหมือนกับเด็กในวัยเดียวกัน ท่านช่วยตัวเองโดยตลอด ด้วยการรับจ้างชาวเมืองมักกะฮ์เลี้ยงแพะ เพื่อหารายได้และนำรายได้นั้นให้ลุงของท่านทั้งหมด ท่านจึงเป็นที่รักใคร่ของอะบูตอลิบซึ่งแม้จะมีลูกหลายคน แต่ก็รักหลานคนนี้มากกว่าลูกคนใดทั้งสิ้น
                เมื่อนบีมูฮำมัดอายุได้ประมาณเก้าขวบ ลุงของท่านก็นำท่านเดินทางไปยังเมืองซามเพื่อทำการค้า การเดินทางในครั้งนั้น เป็นการเดินทางไปต่างเมืองครั้งแรกของท่าน และวันหนึ่งขณะที่ลุงของท่านกำลังนั่งพักผ่อนอยู่ ได้มีนักบวชของชาวยิวคนหนึ่งชื่อบุฮัยรอ ได้สังเกตเห็นบุคลิกลักษณะของท่านนบี จึงได้เข้ามาสอบถามลุงของท่านด้วยความสนใจ หลังจากได้สนทนากันแล้วนักบวชผู้นั้นก็บอกกับลุงของท่านว่า เด็กคนนี้มีบุญ ต่อไปจะได้เป็นนบีสุดท้ายของโลก ซึ่งมีปรากฏเรื่องนี้อยู่ในคัมภีร์เก่า ๆ  ลักษณะของเด็กผู้นี้ตรงกับที่ระบุไว้ในคัมภีร์ดังกล่าวทุกประการ พร้อมกันนั้นก็ได้ขอร้องให้ลุงของท่าน นำตัวท่านเดินทางกลับเมืองมักกะฮ์เสีย เพราะอาจถูกประทุษร้ายจากศัตรูได้ และกำชับให้ดูแลท่านนบีให้ดี
        อุปนิสัยของท่านนบี
                ตั้งแต่เยาว์วัยจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ นบีมูฮำมัดมีอุปนิสัยดีในสังคมอาหรับในยุคนั้น เป็นผู้หลีกพ้นจากความเสื่อมโทรมทางสังคมได้ จึงเป็นที่นับถือของคนทั่วไป ท่านไม่เคยพูดเท็จ มีความจริงใจต่อทุกคนโดยไม่เลือกชั้นวรรณะ มีจิตใจเสียสละเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่นเสมอ จนถูกขนานนามว่า อัลละมีน แปลว่า ผู้ซื่อสัตย์
                เมื่อผู้อื่นจะกล่าวถึงท่าน หากไม่ระบุชื่อของท่าน ก็จะเรียกด้วยนามที่ถูกขนานให้นี้จนเป็นที่รู้กันแพร่หลาย คนอาหรับจึงรัก และนับถือท่านเป็นพิเศษ ซึ่งไม่มีผู้ใดในหมู่ชนอาหรับจะได้รับเกียรติอย่างสูงจากสังคมเท่ากับท่าน
                ท่านเป็นนักต่อสู้เพื่อความยุติธรรม และคุณธรรมของสังคมมาโดยตลอด เมื่ออายุได้ประมาณ ๓๐ ปีเศษ ท่านกับญาติในตระกูลกุรอยซ์ ได้ร่วมกันก่อตั้งขบวนการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนขึ้นในสังคมอาหรับ โดยสมาชิกที่เข้าร่วมขบวนการนี้จะต้องสัญญาที่จะผดุงไว้ซึ่งความยุติธรรม ต้องช่วยเหลือผู้ถูกอธรรม และบำเพ็ญประโยชน์โดยมีกิจกรรมคือ คอยห้ามการวิวาทของสังคมอาหรับคอยประนีประนอมไกล่เกลี่ยกรณีพิพาทที่เกิดขึ้น ขบวนการนี้ภาคอาหรับเรียกว่า ฮัลฟีลฟุดูล แปลว่า สนธิสัญญาพิทักษ์สิทธิมนุษยชนสมาชิกของขบวนการได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างเคร่งครัด และกล้าหาญจนเป็นที่เกรงใจของคนอาหรับโดยทั่วไป และเป็นกลุ่มพลังที่เป็นที่หวังของสังคมที่จะเข้ามากอบกู้ภัยสังคมที่มีอยู่อย่างกว้างขวาง แต่ขบวนการนี้ก็เป็นเพียงขอบข่ายที่คับแคบเฉพาะในสังคมย่อย ๆ เท่านั้น
                นอกจากจะตั้งขบวนการดังกล่าวแล้ว ท่านยังเคยทำหน้าที่อนุญาโตตุลาการตัดสินกรณีพิพาทคือ กรณีขัดแย้งอันสืบเนื่องมาจากการซ่อมแซมกะบะฮ์ ซึ่งชาวอาหรับถือเป็นมหาปูชนียวัตถุ ซึ่งทุกคนจะต้องมาสักการะบูชาเป็นประจำทุกปี และบริเวณรอบกะบะฮ์เต็มไปด้วยเจว็ดเป็นจำนวนมาก เมื่อการซ่อมแซมแล้วเสร็จ ปัญหาที่พวกอาหรับตกลงกันไม่ได้คือการยกหินดำขึ้นไปวางไว้ที่เดิม ซึ่งอยู่ที่มุมหนึ่งของกาบะฮ์นั้น เพราะทุกคนก็ต้องการจะยกหินดังกล่าว เกิดการแก่งแย่งจนเกือบจะมีการรบราฆ่าฟันกัน ท่านนบีได้เดินเข้ามาในช่วงนั้นพอดี พวกอาหรับจึงมอบให้ท่านเป็นผู้ชี้ขาด ท่านจึงใช้ผ้าวางบนพื้น แล้วนำหินก้อนนั้นมาวางไว้บนผ้า จากนั้นก็เรียกให้หัวหน้าเผ่าต่าง ๆ มารวมกันจับผ้าคนละมุมจนนำหินดำมาวางไว้ ณ ที่เดิมได้ ด้วยความพอใจของทุก ๆ ฝ่าย
         การประกาศหลักธรรม
                เมื่อท่านนบีอายุประมาณ ๔๐ ปี ได้รับวิวรณ์จากพระเจ้าเป็นบทบัญญัติต่าง ๆ โดยที่ท่านเป็นผู้ไม่รู้หนังสือมาก่อน ไม่เคยยอ่าน หรือทราบคัมภีร์เก่า ๆ ที่เคยมีมาแต่ยุคก่อน ๆ ไม่ว่าจะเป็นคัมภีร์เตารอตหรืออินยีน
                ก่อนที่ท่านจะได้รับวิวรณ์ ท่านได้เข้าไปบำเพ็ญภาวนาอยู่ถ้ำภูเขาลูกหนึ่งในเมืองมักกะฮ์ ตามแบบที่ตระกูลของท่านได้สอนสืบทอดกันมาจากนบีอิบรอฮิม อันเป็นต้นตระกูลของท่าน และของพวกยะฮู๊ด (ยิว ท่านใช้เวลาติดต่อกันครั้งละ ๑๕ วัน หรือหนึ่งเดือน โดยเตรียมเสบียงอาหารเข้าไปด้วย เมื่อเสบียงหมดก็จะออกจากถ้ำไปหาเสบียงใหม่แล้วกลับเข้าถ้ำต่อไป)
                เมื่อท่านได้รับวิวรณ์เป็นข้อบัญญัติจากพระเจ้าให้ท่านได้รู้ต่อการประกาศหลักธรรมแล้ว ท่านได้ใช้เวลา ๑๓ ปี ที่เมืองมักกะฮ์ เพื่อประกาศบทบัญญัติ โดยเน้นปัญหาทางความเชื่อให้มนุษย์ทั้งหลายได้เลิกการกราบไหว้บูชาวัตถุเคารพทั้งปวง ให้มีใจศรัทธาต่อพระเจ้าคือ อัลเลาะห์ ผู้มีเดชานุภาพและมีนิรันดรภาพ แต่การประกาศดังกล่าว ได้รับการต่อต้านจากชาวอาหรับ จนสุดท้ายท่านถูกวางแผนที่จะประหารชีวิตของท่านในคืนวันหนึ่ง โดยมีมือดาบสิบคน จากสิบตระกูลมาล้อมบ้านท่านไว้ แต่ท่านนบีได้หลบออกจากบ้านไปได้ด้วยความปลอดภัย โดยไม่มีการปะทะกัน จากนั้นท่านก็ได้มาพบกับอาบูมะภีร์ เพื่อนรักของท่าน ณ ถ้ำอีกแห่งหนึ่ง พวกมือดาบทั้งสิบได้ออกติดตามท่านจนมาถึงหน้าถ้ำ ที่ท่านกับอาบูมะภีร์หลบช่อนตัวอยู่ แต่ไม่พบร่องรอยใด ๆ ว่ามีคนเข้าไปในถ้ำนั้นจึงพากันกลับไป
                หลังจากนั้นท่านนบีกับอาบูมะภีร์ ก็ได้ออกเดินทางไปยังเมืองมะดีนะฮ์ และก็ได้อยู่ที่เมืองนั้นประมาณ ๑๐ ปี โดยได้รับข้อบัญญัติจากพระเจ้าเป็นระยะ ๆ เช่นในด้านเศรษฐกิจ การปกครอง วัฒนธรรม และด้านสังคม เป็นต้น ในห้วงเวลาดังกล่าว ท่านได้ทำให้ประชาชาติอาหรับรวมตัวกันเป็นประชากรเดียวกัน มีอธิปไตยเป็นของตนเอง มีคัมภีร์กุรอานเป็นธรรมนูญ มีอาณาเขตและมีคณะรัฐบาลบริหารประเทศ โดยท่านเป็นผู้นำทั้งด้านอาณาจักร และศานจักรพร้อมกัน
                การบริหารรัฐอิสลาม ซึ่งเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ ท่านมิได้บริหารในฐานะพระราชาธิบดีแต่บริหารในฐานะทาสพระเจ้า โดยให้ทุกคนตระหนักว่า ทุกคนเป็นของพระเจ้า ประเทศเป็นของพระเจ้า และการงานทั้งมวลเป็นของพระเจ้า ท่านและทุกคนปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบร่วมกัน และทุกคนมีสภาพเป็นพี่น้องไม่มีใครมีศักดิ์ศรีเหนือกว่า เกียรติเหนือกว่า โดยชาติตระกูลหรือตำแหน่ง แต่เกียรติของบุคคลขึ้นอยู่กับสำนึกนบน้อมต่อพระเจ้าเป็นสำคัญ ตลอดชีวิตการบริหารบ้านเมืองท่านเสียสละเพื่อประชาชน ไม่ได้สร้างฐานะของตนเองให้มั่งคั่งร่ำรวยแต่ประการใด ดำรงชีวิตโดยสมถะ
                สถานที่บริหารบ้านเมืองของท่านใช้มัสยิดเป็นแหล่งอเนกประสงค์ เป็นที่ทำการรัฐบาล สภาสถานศึกษา ศาล และเป็นสถานที่นมัสการพร้อมกันไป โดยตัวท่านจะใช้มุมหนึ่งของมัสยิด ทำเป็นที่อยู่อาศัย
    การแพร่หลายของศาสนาอิสลาม
                ดินแดนตะวันออกกลาง เป็นแหล่งเกิดอารยธรรมโบราณ ซึ่งประกอบด้วยศาสนาต่าง ๆ เช่นศาสนาบูชาธรรมชาติ ศาสนาบูชาเทวรูป ศาสนายูดาย ศาสนาโซโรอาสเตอร์ และศาสนาคริสต์ ต่อมาเมื่อศาสนาอิสลามได้แพร่หลายจากแหล่งเกิดไปสู่ภูมิภาคต่าง ๆ ก็ได้ลบล้างอารยธรรมดั้งเดิมเหล่านั้น และทดแทนด้วยอารยธรรมอิสลาม ภาษาอาหรับก็แพร่หลายครอบคลุมไปจนทั่วดินแดนดังกล่าว
                ศาสนาอิสลามได้เปลี่ยนแปลงลักษณะภูมิศาสตร์การเมืองของหลายจักรวรรดิ์เช่น กรีก โรมัน และเปอร์เซีย ซึ่งสลายตัว มีวัฒนธรรมใหม่ และระบบการปกครองแบบใหม่
                ผู้ที่รับหน้าที่สืบการปกครองต่อจากท่านนบีเรียกว่า คอลิฟะฮ์ (คนไทยเรียกว่า กาหลิบ) ได้ปกครองต่อมาเป็นระยะเวลาประมาณ ๓๐ ปี มีคอลิฟะฮ์สี่คน
                เมื่อศาสนาอิสลามแพร่หลายในตะวันออกกลางจนทั่วถึง การแก่งแย่งอำนาจการปกครอง ความขัดแย้งทางการเมือง ทำให้รูปแบบของวัฒนธรรมอิสลามในด้านการปกครองเปลี่ยนแปลงไป การปกครองระบบคอลิฟะฮ์ อันได้มาจากการเลือกตั้งเปลี่ยนมาเป็นราชวงศ์ ขึ้นมาสืบทอดอำนาจ
                จีน  อิสลามได้แพร่เข้าสู่เมืองจีน เนื่องจากคนอาหรับมีการติดต่อค้าขายกับจีนมาช้านานแล้ว จนท่านนบีได้กล่าวถึงการแสวงหาความรู้ว่าแม้ว่าจะไกลถึงเมืองจีนก็ตาม คนจีนรู้เรื่องของอิสลามอย่างดี ปรากฎในบันทึกพงศาวดารในราชวงศ์วถัง (พ.ศ.๑๑๔๑ - ๑๔๕๐)
                มาเลเซีย  พ่อค้าชาวอาหรับได้เดินทางมาค้าขาย และตั้งหลักแหล่งในแหลมมลายู หลังจากที่ได้มาตั้งหลักแหล่งทางตะวันตกของอินเดีย ในสมัยราชวงศ์อับบาซียะห์ พวกพ่อค้าได้นำสินค้าโดยทางเรือไปขายทางตะวันออกไกล ยุโรป และอัฟริกา มีการขุดพบเหรียญตราต่าง ๆ ของอาหรับ รัสเซีย ฟินแลนด์ สวีเดน และเยอรมันนี
                ไทย  มีหลักฐานว่าคนไทยในสมัยน่านเจ้า ก่อนที่คนไทยจะเสียอาณาจักรน่านเจ้าแก่จักรวรรดิ์มองโกล ในสมัยกุบไลข่าน เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๗๙๗ นั้น อิสลามได้แพร่หลายเข้าไปในอาณาจักรนี้ เราเรียกคนจีนยูนานที่เป็นมุสลิมว่า ฮ่อ
                    สมัยสุโขทัย  พ่อขุนรามยคำแหง ฯ ได้ทรงแผ่อาณาเขตของกรุงสุโขทัยจนตอนใต้จดแหลมมลายูตลอดไปจนสุดปลายแหลม
                    สมัยอยุธยา  มีมุสลิมตั้งถิ่นฐานอยู่เป็นปึกแผ่น แต่เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าเป็นครั้งที่สอง หลักฐานต่าง ๆ ถูกเผาทำลายไปมากเหลืออยู่เพียงเล็กน้อยคือภาพรดน้ำบนบานประตูบานหนึ่งในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เข้าใจว่าเขียนไว้ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเสือ
                    ที่คลองบางกอกใหญ่ได้มีมุสลิมตั้งภูมิลำเนาค้าขายอยู่บนบกก็มี อยู่แพก็มี สมัยนั้นเรียกมัสยิดว่า กุฎี กล่าวกันว่ามีมาก่อนสมัยพระเจ้าทรงธรรม (พ.ศ.๒๑๕๓ - ๒๑๗๑) กระดานจารึกอักษรอาหรับซึ่งถูกไฟไหม้บางส่วนครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองลอยน้ำมา ชาวคลองบางกอกใหญ่ได้เก็บรักษาไว้ที่มัสยิดต้นสนจนถึงปัจจุบัน

    หลักการอิสลาม
                หลักการอิสลามแบ่งออกเป็นส่วนใหญ่ ๆ ได้สองส่วนคือ
                หลักการอันเป็นข้อบังคับสำหรับบุคคล (ฟัรดูอัยนีย์) มุสลิมทุกคนต้องรู้และประพฤติปฏิบัติ โดยเริ่มตั้งแต่อายุเจ็ดขวบเป็นต้นไป แบ่งออกเป็นสามส่วนคือ หลักศรัทธา (อีมาน) หลักปฏิบัติ (อิสลาม) และหลักคุณธรรม (อิฮซวาน) หลักการทั้งสามส่วนนี้ผู้นับถืออิสลามทั้งที่สืบทอดจากบิดามารดามาแต่เดิมหรือเพิ่งเข้ารับอิสลามใหม่ก็ตาม จำต้องศึกษาให้เข้าใจโดยถ่องแท้และสามารถประพฤติปฏิบัติอย่างต่อเนื่องตลอดไป
                หลักการอันเป็นข้อบังคับสำหรับสังคม (ฟัรดู กิฟายะฮ์) ได้แก่หน้าที่ต่าง ๆ ทางสังคม นับตั้งแต่หน่วยเล็กที่สุดคือครอบครัวจนถึงสังคมที่ใหญ่ที่สุดคือประเทศชาติ มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการเก็บภาษี การจัดการกองทัพ การบริหารประเทศ การทูต ฯลฯ เป็นส่วนหนึ่งในคำสอน
                    หลักศรัทธา (อีมาน) อิสลามได้กำหนดไว้เป็นบทแรกแห่งการนับถือ บุคคลจะต้องเริ่มต้นด้วยการศรัทธาจะเป็นประการสำคัญมีหกหัวข้อคือ
                        ศรัทธาในพระเจ้า  ซึ่งเรียกว่าอัลเลาะฮ์ ซึ่งมีลักษณะความสมบูรณ์เช่น ทรงมีอย่างแน่นอนไม่มีข้อสงสัย ทรงมีมาก่อนสรรพสิ่งทั้งปวง ทรงนิรันดรภาพ ทรงดำรงอยู่เองไม่อาศัยปัจจัยเงื่อนไขและที่พึ่งใด ๆ ทรงเอกานุภาพไม่มีสิ่งใดเป็นภาคี ทรงผิดแปลกกับสรรพสิ่งทั้งปวง ทรงอานุภาพเหนือสรรพสิ่งทั้งปวง ทรงชีวิตอันอมตะ ทรงได้ยิน ทรงมองเห็น ทรงบัญชา ทรงมุ่งหมาย และทรงรอบรู้
                        ศรัทธาในมลาอีกะฮ์  มลาอิกะฮ์เป็นสรรพสิ่งชนิดหนึ่งที่พระเจ้าสร้างขึ้นในธาตุพิเศษเป็นธาตุฝ่ายวิญญาณ ซึ่งมนุษย์ธรรมดาไม่สามารถสัมผัสได้ ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งพระเจ้าอย่างเคร่งครัด มีจำนวนมากมายมหาศาล เท่าที่มีรายชื่อและหน้าที่เฉพาะมีอยู่สิบมลาอิกะฮ์คือ
                            ๑. ยิบรออีล  ทำหน้าที่สื่อบัญญัติของพระเจ้ากับนบี
                            ๒. มีกาอีล  ทำหน้าที่นำโชคลาภจากพระเจ้าสู่โลก
                            ๓. อิสรอพิล  ทำหน้าที่เป่าสังข์ในวันสิ้นโลก
                            ๔. อิสรออิล  ทำหน้าที่ถอดวิญญาณมนุษย์และสัตว์
                            ๕. รอกีบ  ทำหน้าที่บันทึกความดีและความชั่วของมนุษย์
                            ๖. อะติด  ทำหน้าที่บันทึกความดีและความชั่วของมนุษย์
                            ๗. มุงกัร  ทำหน้าที่สอบถามคนตายในกุบูร (หลุมฝังศพ)
                            ๘. นะกีร  ทำหน้าที่สอบถามคนตายในกุบูร (หลุมฝังศพ)
                            ๙. ริดวาน  ทำหน้าที่กิจการของสวรรค์
                            ๑๐. มาลิก  ทำหน้าที่ดูแลกิจการของขุมนรก
                        ศรัทธาในนบี  มุสลิมมีศรัทธาว่า โลกมนุษย์ในแต่ละยุคที่ผ่านมานับแต่ยุคแรกคือ อาดัมนั้นจะต้องมีนบี หรือศาสนทูต เป็นผู้รับบทบัญญัติของพระเจ้ามาประกาศ เพื่อปฏิบัติจำนวนนบีที่เผยแพร่บทบัญญัติของพระเจ้ามีจำนวนมากมาย ลักษณะคำประกาศของแต่ละนบีย่อมผิดแปลกไปตามยุคตามสมัย แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกนบีประกาศออกมาเหมือนกันคือ ความเชื่อในพระเจ้าเดียวและห้ามกราบไหว้บูชาวัตถุโดยสิ้นเชิง
                        บรรดานบีที่รับบทบัญญัติจากพระเจ้ามาเผยแพร่เท่าที่มีปรากฏในอัลกุรอ่าน มีทั้งสิ้น ๒๕ ท่านคือ
                            ๑. อาดัม  ๒. อิบรอฮิม  ๓. อิสฮากร์  ๔. ยากูฟ  ๕. นัวฮ์  ๖.ดาลูด  ๗. สุไลมาน  ๘.ไอยยูฐ  ๙.ยูซุบ  ๑๐. มูซา (โมเสส)  ๑๑.ฮารูฯ  ๑๒. ซาการียา  ๑๓. ยาห์ยา  ๑๔. อีซา (เยซู) ๑๕. อินยาส  ๑๖. อิสมาอีล  ๑๗. อัลย่าซะอ์  ๑๘. ยูนุส  ๑๙. ลูด  ๒๐. อิดรีส  ๒๑. ฮูด  ๒๒.ซู่ไอย์  ๒๓. ซอและห์  ๒๔. ซุลกิฟลี่  ๒๕. นบีมูฮำมัด (ซ.ล.)
                        บรรดานบีทุกท่านเป็นมนุษย์ธรรมดา จึงดำรงชีวิตแบบคนทั่วไป สาเหตุที่พระเจ้าเลือกคนธรรมดาขึ้นมาเป็นนบีเพราะความเป็นนบีหมายถึง การเป็นตัวอย่างในการปฏิบัติตามคำสอนของตนที่ได้รับมาจากพระเจ้า ทุกสิ่งที่นบีสอนผู้อื่นท่านก็จะปฏิบัติสิ่งนั้นด้วยคำสอนที่สอนออกไป จึงเป็นกฎหมายที่ท่านต้องปฏิบัติตาม เพราะสิ่งที่ท่านสอนก็คือบทบัญญัติที่พระเจ้าให้ผ่านมาทางท่านนั่นเอง
                        ศรัทธาในคัมภีร์  สิ่งที่พระเจ้าบัญญัติมาจะแบ่งได้เป็นสองแบบคือ เป็นคัมภีร์ฉบับสมบูรณ์ (กิตาบ) เป็นคำแถลงการณ์ (ซุฮุบ) คัมภีร์ที่เป็นฉบับสมบูรณ์ มีดังต่อไปนี้
                            ๑. ซะบูร  นบีดาวุด  เป็นผู้รับบทบัญญัติและเผยแพร่
                            ๒. เตารอด  นบีมูซา  เป็นผู้รับบทบัญญัติและเผยแพร่
                            ๓. อันยีล  นบีอีซา  เป็นผู้รับบทบัญญัติและเผยแพร่
                            ๔. กุรอาน  นบีมูฮำมัด  เป็นผู้รับบทบัญญัติและเผยแพร่
                        มีบทบัญญัติที่ไม่เป็นคัมภีร์ฉบับสมบูรณ์แต่เป็นเพียงคำแถลงการณ์ซึ่งเผยแพร่ออกมาตามวาระต่าง ๆ คือโดยนบีซีซ มี ๖๐ ฉบับ โดยนบีอิบรอฮิม มี ๓๐ ฉบับ และโดยนบีอีซา จำนวน ๑๐ ฉบับ
                        คัมภีร์ฉบับสุดท้ายอันประมวลความสมบูรณ์และใช้อยู่จนถึงวันสิ้นโลกคือคัมภีร์กุรอาน ประกาศโดยท่านนบีมมูฮัมมัด
                    คัมภีร์กุรอาน  มิใช่เป็นเพียงคัมภีร์ทางศาสนาที่มีบทสวดมนต์หรือคำสอนทางความเชื่อ หรือทางศีลธรรมโดยเฉพาะ แต่เป็นคัมภีร์ที่ประมวลเรื่องราวต่าง ๆ ไว้มีบทบัญญัติต่าง ๆ ประมาณ ๖๖๐๐ บทบัญญัติ แบ่งออกเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับหลักความเชื่อ พิธีการทางศาสนา ประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ การปกครอง การแพทย์ การคำนวณ วิทยาศาสตร์ กฎหมาย การทูต สังคม วัฒนธรรม บทขอพร และหลักศีลธรรม เป็นต้น
                    มุสลิมถือว่า กุรอานเป็นธรรมนูญชีวิตของทุกคน การกระทำทั้งหลายจะต้องสอดคล้องกับบทบัญญัติของกุรอาน มุสลิมจะอ่านกุรอานเป็นประจำ แม้ไม่ได้เข้าใจความหมาย แต่ทุกคนถือเป็นหน้าที่ต้องอ่าน เพื่อเตือนตัวเองให้สำนึกถึงความสำคัญของกุรอานที่มีต่อการดำเนินชีวิต โดยจะอ่านให้จบทั้ง ๖,๖๐๐ กว่าบทบัญญัติ อย่างน้อยปีละครั้ง
                    เนื้อความของกุรอานเป็นธรรมนูญสูงสุดของมุสลิม กฎหมายหรือบทบัญญัติอื่นใดไม่สามารถหักล้างได้ มุสลิมเชื่อว่านบีมูฮำมัดไม่ได้เขียนกุรอ่านขึ้นเอง เพราะท่านอ่านหนังสือไม่ออก และคนอาหรับในสมัยนั้นไม่มีผู้ใดมีความรู้ในสาขาต่าง ๆ ที่กล่าวไว้ในกุรอานจึงต้องมาจากการไขความ (วิวรณ์) ของพระเจ้า และจากยุคของท่านนบีจนถึงปัจจุบันยังไม่มีผู้ใดสามารถแต่งประโยคที่มีสัมผัสภาษาและให้ความหมายที่ใกล้เคียงกับกุรอาน
                    ศรัทธาในโลกหน้า  อิสลามสอนเรื่องของโลกหน้าว่ามีจริง มุสลิมทุกคนต้องเชื่อมั่นการมีโลกหน้าจะเกิดหลังการแตกดับของโลกปัจจุบันนี้เสียก่อน  การที่โลกนี้จะแตกดับ ท่านนบีได้พยากรณ์ไว้หลายอย่าง เช่น จะเกิดปัญหาหมอกควัน จะเกิดสงครามมากมาย จะเกิดการอ้างตัวเป็นนบีปลอม จะแข่งขันในการสร้างอาคารสูง ๆ  จะแข่งขันในการสร้างมัสยิด จะมีการผิดประเวณีกันแพร่หลาย จะมีการดื่มสุราอย่างแพร่หลาย และผู้นำจะขาดคุณธรรม
                    ศรัทธาในลิขิตของพระเจ้า มุสลิมต้องศรัทธากำหนดการต่าง ๆ ในโลก และชีวิตแต่ละคนนั้นเป็นไปโดยอำนาจของพระเจ้า มนุษย์จะต้องปฏิบัติตามครรลองที่ถูกกำหนดไว้แล้ว การดิ้นรนขวนขวายอุตสาหวิริยะของมนุษย์ดำเนินอยู่ภายใต้ข้อกำหนดดังกล่าว
                    หลักปฏิบัติ (อิสลาม)  ผู้นับถืออิสลามทุกคนจะต้องถือเป็นหน้าที่และกิจวัตรจะขาดไม่ได้ การปฏิบัติเบื้องต้นอันเป็นพื้นฐานแรกนั้นแบ่งออกได้เป็นห้าประการคือ
                        ปฏิญาณตน  การปฏิญาณตนเข้ารับนับถืออิสลามนั้นให้ปฏิญาณในความเชื่อที่มีต่อพระเจ้าและต่อนบี โดยกล่าวออกมาเป็นวาจาจากความเชื่อมั่น และพร้อมที่จะปฏิบัติตามคำสอน ข้อความที่กล่าวคือ
                        "ข้าพเจ้าขอปฏิญาณตนว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลเลาะฮ์ และข้าพเจ้าปฏิญาณตนว่า นบีมูฮำมัดเป็นศาสนทูตแห่งอัลเลาะฮ์"
                        เมื่อผู้ใดกล่าวด้วยสำนึกอันจริงใจและด้วยความศรัทธาอันมั่นคงและพร้อมที่จะปฏิบัติตามบทบัญญัติอิสลาม ก็ถือว่าเป็นมุสลิมแล้ว จากนั้นก็จะต้องปฏิบัติตามข้อบังคับอื่น ๆ เช่น การขลิบปลายผิวหนังส่วนนอกที่หุ้มปลายอวัยวะเพศ การทำความสะอาด การทำนมัสการ การบริจาคทาน และอื่น ๆ
                        ผู้เข้าอิสลามบางคนที่เข้าโดยเงื่อนไขของการแต่งงานกับมุสลิม มักเข้าใจว่า การกล่าวข้อความปฏิญาณเป็นเพียงเงื่อนไขในการแต่งงาน จึงคิดว่าเมื่อผ่านพิธีปฏิญาณแล้วก็แล้วกัน ตนไม่ต้องสนใจคำสอนอิสลามแล้ว ปล่อยตัวตามสภาพเดิม การกระทำดังกล่าวไม่เรียกว่าเป็นมุสลิม
                        ทำละหมาด  คือการนมัสการต่อพระเจ้า ต้องทำเป็นประจำในหลายวาระคือ
                            - รอบวัน  ให้ทำวันละ ๕ ครั้งคือเวลาเช้าตรู่ (ซุบฮ์) ๒ รอกะอัต  เวลาบ่าย (ซุฮุร) ๔ รอกะอัต  เวลาเย็น (อัสริ) ๔ รอกะอัต เวลาพลบค่ำ (มักริบ) ๓ รอกะอัต และเวลากลางคืน (อิซา) ๔ รอกะอัต
                            - รอบสัปดาห์  ให้รวมกันทำในวันศุกร์ ณ มัสยิด จำนวน ๒ รอกะอัต
                            - รอบปี  ให้ทุกคนมาละหมาด ณ มัสยิดหรือสถานชุมนุมซึ่งมีสองครั้งคือ
                            - ละหมาดเมื่อสิ้นเดือนถือศีลอด (อีดิลพิตร์) เรียกว่า วันออกบวช จำนวน ๒ รอกะอัต
                            - ละหมาดในวันเชือดสัตว์พลีทานเนื่องในเทศกาลฮัจยี (อีดิลฮัดฮา) ซึ่งเรียกว่า วันออกฮัจยี จำนวน ๒ รอกะอัต
                            - ตามเหตุการณ์  เมื่อเกิดเหตุการณ์บางประการให้ทำละหมาดด้วย เช่น
                            - ทำละหมาดขอพรแก่ผู้ตายก่อนนำไปฝัง เรียกว่า ละหมาดยานาซะฮ์
                            - ทำละหมาดขอฝนในยามแห้งแล้ง เรียกว่า ละหมาดอิสติกออ์
                            - การทำละหมาดในกลางคืนของเดือนถือศีลอด จำนวน ๒๐ กอระอัต เรียกว่า ละหมาดตารอวีห
                            - ทำละหมาดระลึกถึงพระเจ้าเมื่อเกิดเหตุผิดปกติทางธรรมชาติคือเมื่อเกิดจันทรุปราคา เรียกว่า คุซูฟุลกอมัร จำนวน ๒ รอกะอัต และเมื่อเกิดสุริยุปราคา เรียกว่า กุซูฟุซซัมซี จำนวน ๒ รอกะอัต
                            - ทำละหมาดขอต่อพระเจ้าให้ชี้ทางเลือกในการประกอบการงานต่าง ๆ เรียกว่า ละหมาดอิสติคงเราะย์ จำนวน ๒ รอกะอัต
                            นอกจากนี้ยังมีละหมาดอื่น ๆ อีกที่ปรากฏในตำราศาสนาโดยตรง และการละหมาดยังส่งเสริมให้กระทำโดยไม่ต้องรอวาระ ทำเมื่อระลึกถึงพระเจ้า กระทำครั้งละ ๒ รอกะอัตและทำได้เรื่อยไป เรียกว่า ละหมาดสนัตมุตลัก
                วิธีทำละหมาด  เริ่มด้วยการชำระร่างกายให้สะอาด และอาบน้ำละหมาดตามแบบดังนี้คือ ตั้งใจว่าจะอาบน้ำละหมาด ล้างมือให้สะอาด บ้วนปาก และล้างรูจมูกให้สะอาด ล้างหน้าให้สะอาด ล้างมือจรดข้อศอก เช็ดศีรษะ เช็ดหู ล้างเท้า ทำไปตามลำดับ เสร็จแล้วให้สวมเสื้อผ้าที่สะอาด โดยผู้ชายต้องปิดระหว่างสะดือกับหัวเข่า ผู้หญิงปิดทั้งร่างยกเว้นใบหน้าและฝ่ามือ แล้วยืนหันหน้าไปทางกิบลัด (กะบะฮุ์ปัยตุลเลาะฮ์) ด้วยใจสงบมุ่งตรงต่อพระเจ้า แล้วทำดังนี้
                            - ตั้งเจตนาอันแน่วแน่
                            - ยกมือจรดระดับบ่าพร้อมทั้งกล่าวตักบีร (กล่าวอัลลอฮูฮักบัร แปลว่า อัลเลาะฮ์ยิ่งใหญ่ที่สุด) แล้วยกมือลงมากอดอก
                            - ยืนตรงในท่าเดิมพร้อมกับอ่านบางบทจากกุรอานคือแม่บทฟาติฮะห์และบทอื่น ๆ ตามต้องการ
                            - ก้มลงใช้มือทั้งสองข้างจับหัวเข่าไว้ ศีรษะทำแนวตรงกับสันหลัง ไม่ห้อยลงและไม่เงยขึ้น พร้อมกับอ่านว่า "ซุบฮานะริบบิยันอะซีมวะบิฮันดิฮ" สามครั้งเป็นอย่างน้อย
                            - เงยหน้ามาสู่ที่ยืนตรงพร้อมทั้งกล่าวว่า "สมิอัลลอฮุลิมันฮะมิดะฮ์รอบบะนาละกัลฮั้นดุ"
                            - ก้มลงกราบโดยให้หน้าผากและจมูกจรดพื้น มือวางแนบพื้นในระดับบ่า หัวเข่าทั้งสองวางบนพื้น และปลายนิ้วเท้าสัมผัส
    กับพื้น พร้อมกับอ่านว่า "ซุบฮานะรอบบิยัลอะฮ์ลาวะบิฮัมดิฮี" สามครั้งเป็นอย่างน้อย
                            - ลุกขึ้นมานั่งพักพร้อมกับอ่านบทขอพร
                            - ก้มลงกราบครั้งที่สองเช่นเดียวกับครั้งแรก การกระทำตามลำดับดังกล่าวถือว่าหนึ่งรอกะอัต
                            - จากนั้นขึ้นมายืนตรง แล้วย้อนกลับไปเริ่มต้นทำตามลำดับที่กล่าวแล้ว และในรอกะอัตที่สอง  ให้กระทำดังนี้คือ เมื่อขึ้นจากการกราบครั้งที่สอง ให้นั่งพร้อมกับอ่าน ตะฮียะฮ์ หากละหมาดนั้นมีเพียงสองรอกะอัต ก็ไม่ต้องลุกไปทำรอกะอัตต่อไป แต่ถ้าเป็นละหมาดที่มี ๓ - ๔ รอกะอัต ก็ให้ลุกขึ้นทำตามลำดับดังกล่าว ครบครบจำนวน
                            - ให้สลาม คืออ่านว่า อัสลามุอะลัยกุม วะเราะห์มะตุลลอฮ์ พร้อมกับเหลียวไปทางขวา และว่าอีกครั้ง พร้อมทั้งเหลียวไปทางซ้าย จากนั้นให้ยกมือขวาขึ้นลูบหน้า เป็นอันเสร็จพิธี

    อิสลามในประเทศไทย


                จุฬาราชมนตรี  ตำแหน่งจุฬาราชมนตรีเดิมเป็นตำแหน่งข้าราชการในสำนักราชเลขานุการในพระองค์ เทียบเท่าตำแหน่งหัวหน้ากอง (ตามกฎ ฉบับที่ ๑๔๖ ๑๔๗ ลง ๙ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๘ ) พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งและถอดถอนตามพระราชอัธยาศัย มีหน้าที่ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม พ.ศ.๒๔๘๘ มาตรา ๓ ซึ่งบัญญัติว่า "ให้จุฬาราชมนตรีมีหน้าที่ปฏิบัติราชการส่วนพระองค์เกี่ยวแก่การที่จะทรงอุปภัมภ์ศาสนอิสลาม ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๔๙๑ แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกา พ.ศ.๒๔๙๘ ให้ยกเลิกข้อความในมาตรา ๓ เดิม และให้ใช้ข้อความใหม่แทนคือ มาตรา ๓ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจุฬาราชมนตรี เพื่อให้คำปรึกาแก่กรมศาสนาในกระทรวงศึกษาธิการเกี่ยวแก่ศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม และให้มีเงินอุดหนุนฐานะจุฬาราชมนตรีตามสมควร
                กฎหมายฉบับดังกล่าวในมาตรา ๕ และมาตรา ๖ ยังได้บัญญัติไว้ว่ารัฐบาลอาจจัดให้มีคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งเรียกว่า คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย มีหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงศึกษาธิการ ในกิจการเกี่ยวแก่ศาสนาอิสลาม และให้จุฬราชมนตรี เป็นประธานกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย โดยตำแหน่ง
                ตำแหน่งจุฬาราชมนตรี เท่าที่ปรากฎตามหลักฐาน มีดังนี้
                            ๑. พระยาเฉก อะหมัด รัตนเศรษฐี    ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม สมัยอยุธยา
                            ๒. เจ้าพระยาจุฬาราชมนตรี (แก้ว)    ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์  สมัยอยุธยา
                            ๓. พระยาจุฬาราชมนตรี (สน)    ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมโกศ  สมัยอยุธยา
                            ๔. พระยาจุฬาราชมนตรี (ก้อนแก้ว)    ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ  สมัยรัตนโกสินทร์
                            ๕. พระยาจุฬาราชมนตรี (สอน)    ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
                            ๖. นายแช่ม  พรหมยงค์    ระหว่าง พ.ศ.๒๔๘๘ - ๒๔๙๐
                            ๗. นายต่วน  สุวรรณศาสตร์    ะหว่าง พ.ศ.๒๔๙๑ - ๒๕๒๔
                            ๘. นายประเสริฐ  มะหะหมัด    ระหว่าง พ.ศ.๒๕๒๔ - ๒๕๔๐
                            ๙. นายสวาสดิ์  สุมาลยศักดิ์    ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๐
                        นายประเสริฐ มะหะหมัด  ได้รับการเลือกตั้งจากประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัด จำนวน ๒๔ จังหวัด เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๔ และได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๔
                        ในทางปฎิบัติของทางราชการ เกี่ยวกับสำนักจุฬาราชมนตรี ยังไม่มีกฎหมายฉบับใดรับรองสถานภาพ และระบุให้จัดตั้งขึ้น ดังนั้น เมื่อจุฬาราชมนตรีอยู่ที่ใด ก็จะใช้สถานที่นั้นเป็นสำนักงาน
                งานด้านการปกครอง  บรรดาอิสลามมิกชนทั้งหลายจะต้องเป็นสัปบุรุษของมัสยิดใดมัสยิดหนึ่ง ซึ่งในปี พ.ศ.๒๕๒๕  มีอยู่กว่า ๒,๐๐๐ มัสยิด แต่ละมัสยิดจะมีคณะกรรมการบริหาร ประกอบด้วย อิหม่าม คอเต็บ บิหลั่น และคณะกรรมการอีก ๑๒ คน  รวมทั้งคณะมี ๑๕ คน เรียกว่า คณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด  คณะกรรมการสามตำแหน่งแรกคือ อิหม่าม คอเต็บ และบิหลั่น เป็นตำแหน่งถาวร ไม่มีวาระ ส่วนที่เหลืออีก ๑๒ ตำแหน่ง เป็นตำแหน่งหมุนเวียนตามวาระ ๆ ละสี่ปี หน้าที่ของตำแหน่งถาวรคือ
                        อิหม่าม  ทำหน้าที่ประธานการปฎิบัติศาสนกิจ และการบริหารการปกครอง
                        คอเต็บ  ทำหน้าที่รองอิหม่าม และอบรมสัปบุรุษ
                        บิหลั่น ทำหน้าที่ประกาศพิธีทางศาสนา และเผยแพร่ข่าวสารของมัสยิด
                        กรรมการ ฯ  ให้มีการเลือกกันเองเป็นตำแหน่งต่าง ๆ ตามความจำเป็น
                        การบริหารของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด  ซึ่ง ณ ปี พ.ศ.๒๕๒๕ มีอยู่จำนวน ๒๖ จังหวัด มีหน้าที่ควบคุมการบริหารมัสยิดต่าง ๆ ให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย และชี้ขาดข้อพิพาทของกรรมการประจำมัสยิด รวมทั้งมีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอน กรรมการประจำมัสยิด
                        คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ขึ้นกับคณะกรรมการอิสลามแห่งประเทศไทย ซึ่งมีจุฬาราชมนตรี เป็นประธานกรรมการ โดยตำแหน่ง
                        คณะกรรมการอิสลาม ฯ มีหน้าที่พิจารณาชี้ขาดกรณีย์ต่าง ๆ ที่คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเสนอมา และทำหน้าที่กรรมการอิสลามจังหวัด ในกรณีที่ยังไม่มีคณะกรรมการอิสลามจังหวัดนั้น ๆ การบริหารงานของคณะกรรมการกลาง ฯ สัมพันธ์กับกระทรวงมหาดไทย ในส่วนของกรมการปกครอง และกระทรวงศึกษาธิการ ในส่วนของกรมการศาสนา ซึ่งจะกระจายงานลงไปยังคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด และคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด
                    จังหวัดที่มีคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดในปี พ.ศ.๒๕๒๕  มี ๒๖ จังหวัด ด้วยกันคือ  กรุงเทพ ฯ สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด นนทบุรี ปทุมธานี นครนายก อยุธยา อ่างทอง เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เชียงใหม่ ระนอง สุราษฎรธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล ยะลา ปัตตานี นราธิวาส
                    ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๔๙ ได้เพิ่มขึ้นเป็น ๓๖ จังหวัด จังหวัดที่เพิ่มคือ กาญจนบุรี ขอนแก่น ชุมพร เชียงราย ตาก ระยอง ลพบุรี สระบุรี ราชบุรี นครสวรรค์
        มัสยิดในประเทศไทย
                    มัสยิดใน กทม. ๑๘๔ แห่ง
                        เขต ๑  พระนคร สาทร บางคอแหลม ยานนาวา ป้อมปราบ ฯ  พญาไท ปทุมวัน ราชเทวี ดุสิต (๒๔ แห่ง)
                        เขต ๒  พระโขนง คลองเตย ประเวศ สวนหลวง วัฒนา (๒๘ แห่ง)
                        เขต ๓  บางกะปิ บึงกุ่ม ลาดพร้าว ห้วยขวาง ดินแดง จตุจักร สะพานสูง คันนายาว วังทองหลาง (๒๓ แห่ง)
                        เขต ๔  มีนบุรี คลองสามวา ลาดกระบัง (๒๘ แห่ง)
                        เขต ๕  หนองจอก (๔๔ แห่ง)
                        เขต ๖  ตลิ่งชัน บางขุนเทียน หนองแขม (๒๓ แห่ง)
                        ไม่ได้จดทะเบียน ๗ แห่ง รวม ๑๘๔ แห่ง
                    มัสยิดในภาคกลาง (๑๖๖)
                        กาญจนบุรี (๓)  อ.เมือง  อ.ท่าม่วง  อ.สังขละบุรี
                        ชัยนาท (๑)  อ.เมือง
                        นครสวรรค์ (๑)  อ.เมือง
                        นครนายก (๒๕)  อ.เมือง ๒  อ.บ้านนา ๑  อ.องครักษ์ ๒๒
              &


    • Update : 13/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch