หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    คณะสงฆ์อนัมนิกาย (พระญวน)
    คณะสงฆ์อนัมนิกาย (พระญวน)

    loading picture

    ความเป็นมาของชาวญวนในไทย
                คนญวนที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทย สมัยก่อนกรุงรัตนโกสินทร์ ยังไม่มีหลักฐานปรากฏ จากพงศาวดารของพวกญวน ที่อยู่ในกรุงเทพ ฯ มีอยู่ว่า
    loading picture             เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๓๑๖ ได้เกิดกบฏขึ้นที่ เมืองเว้ อันเป็นเมืองหลวง ของประเทศญวน พวกราชวงศ์ญวน ได้พากันหนีพวกกบฏ ลงมาทางเมืองไซ่ง่อนหลายองค์องเชียงชุนราชบุตรองค์ที่ 4 ของเจ้าเมืองเว้ ได้หนีมาอาศัยอยู่ที่เมืองฮาเตียน ต่อแดนมณฑลบันทายมาศของเขมร เมื่อพวกกบฏยกกำลังติดตามมา เจ้าเมืองฮาเตียนก็อพยพครอบครัว พาองเชียงชุนเข้ามากรุงธนบุรี เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๓๑๙ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้โปรดเกล้า ฯ ให้รับไว้ และพระราชทานที่ให้พวกญวน ตั้งบ้านเรือนอยู่นอกฝั่งพระนคร ทางฝั่งตะวันออก บริเวณถนนพาหุรัดในปัจจุบัน

                ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ องเชียงสือ ราชนัดดาของเจ้าเมืองเว้  ได้หนีกบฏไปอยู่เมืองไซ่ง่อน แต่ต่อมาเมื่อสู้กบฏไม่ได้ จึงได้หนีมาอยู่ที่เกาะกระบือในเขมร  ต่อมาได้เข้ามาขอพึ่งพระบรมโพธิสมภาร พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ที่กรุงเทพ ฯ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๖ และได้รับพระราชทานที่ให้ญวนพวกองเชียงสือ ตั้งบ้านเรือนบริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก ตำบลคอกกระบือ พวกญวนที่นับถือองเชียงสือได้พากันอพยพครอบครัวมาอยู่ด้วยเป็นจำนวนมาก องเชียงสือได้คุมพวกญวนไปตามเสด็จในการทำสงครามกับพม่าหลายครั้ง และได้รับพระราชทานกองทัพไปตีเมืองไซ่ง่อนครั้งหนึ่ง ต่อมาองเชียงสือได้ลอบหนีกลับไปเมืองญวน เพื่อคิดอ่านตีเอาเมืองไซ่ง่อนคืน พฤติกรรมครั้งนี้กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาททรงขัดเคืองมาก จึงโปรดให้ญวนพวกองเชียงสือย้ายไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บางโพ และได้สืบเชื้อสายมาถึงปัจจุบัน
                ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๗ พระเจ้าแผ่นดินญวนพระนามมินมาง ประกาศห้ามประกาศมิให้ญวนถือศาสนาคริสตัง และจับพวกญวนที่เข้ารีดทำโทษด้วยประการต่าง ๆ จึงมีพวกญวนเข้ารีดอพยพหนีภัยเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารอยู่ในไทย โดยมาอยู่ที่เมืองจันทบุรีเป็นส่วนใหญ่ มีบางส่วนอพยพเข้ามาอยู่ในกรุงเทพ ฯ และได้รับพระราชทานที่อยู่ให้ที่สามเสน
                ในปี พ.ศ. ๒๓๗๖ เจ้าพระยาบดินทร์เดชาได้ยกทัพไปตีเมืองญวน และได้ครัวญวนส่งเข้ามาถึงกรุงเทพ ฯ เมื่อปลายปี พ.ศ.๒๓๗๗   ครัวญวนที่เข้ามาครั้งนี้แบ่งเป็น ๒ พวก คือ พวกที่ถือพุทธศาสนาพวกหนึ่ง และพวกที่ถือคริสตศาสนาอีกพวกหนึ่ง พวกญวนที่ถือพุทธศาสนานั้นโปรดเกล้า ฯ ให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี สำหรับรักษาป้อมเมืองใหม่ที่ทรงสร้างขึ้นที่ปากแพรก ส่วนพวกญวนที่ถือศาสนาคริสตตังให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่สามเสน ซึ่งมีญวนที่ถือคริสตังตั้งอยู่มาแล้วแต่เดิมและโปรดเกล้า ฯ ให้ขึ้นอยู่ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังทรงดำรงพระยศเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ เพื่อทรงฝึกหัดเป็นทหารปืนใหญ่
                ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ญวนที่อยู่เมืองกาญจนบุรี มาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ริมคลองผดุงกรุงเกษม แล้วจัดให้เป็นทหารปืนใหญ่ฝ่ายวังหลวงสืบมา

    ที่มาของวัดญวนในไทย
    loading picture

                พวกญวนที่มาอยู่ในประเทศไทย มีทั้งที่นับถือพระพุทธศาสนา และที่นับถือคริสตศาสนา พวกที่นับถือพระพุทธศาสนา  เมื่อมาตั้งภูมิลำเนาอยู่แห่งใดก็จะนิมนต์พระญวนมาสร้างวัด เป็นที่บำเพ็ญการกุศลของพวกตนที่อยู่ ณ ที่แห่งนั้น ประเทศญวนรับเอาพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน จากประเทศจีน ดังนั้น เมื่อพวกญวนมาสร้างวัด และมีพระญวนขึ้นในประเทศไทย ชั้นเดิมก็มีผู้นับถือและอุดหนุนแต่เฉพาะพวกญวน แต่เนื่องจากในสมัยนั้นยังไม่มีวัดจีนในประเทศไทย พวกจีนก็มักไปทำบุญที่วัดญวนด้วย เพราะอยู่ในพุทธศาสนาฝ่ายมหายานด้วยกัน มีพิธีกรรมต่าง ๆ ทางศาสนา เช่น พิธีกงเต๊ก เป็นต้น อย่างเดียวกัน  ส่วนไทยแม้ไม่สู้นับถือแต่ก็ไม่รังเกียจเพราะเห็นว่า นับถือพระพุทธเจ้าองค์เดียวกัน
                วัดญวนที่สร้างขึ้นในประเทศไทย ก็เป็นไปตามที่พวกญวนเข้ามาอยู่ในประเทศไทยกล่าวคือ ญวนพวกที่มากับองเชียงชุนครั้งกรุงธนบุรี ได้มาสร้างวัดขึ้นที่บ้านหม้อ  ๒ วัด คือ
                    วัดกามโล่ตื่อ (วัดทิพยวารีวิหาร) อยู่ที่หลังตลาดบ้านหม้อในกรุงเทพ ฯ แต่ได้เปลี่ยนมาเป็นวัดพระจีนปกครอง
                    วัดโหย่คั้นตื่อ (วัดมงคลสมาคม) เดิมอยู่ที่บ้านญวนข้างหลังวังบูรพาภิรมย์ ครั้นเมื่อจะตัดถนนพาหุรัด วัดนั้นอยู่ในแนวถนน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้า ฯ ให้ทำผาติกรรมอย่างวัดไทย คือพระราชทานที่ดินและให้สร้างวัดขึ้นใหม่ แลกกับวัดเดิมโดยย้ายไปตั้งที่ริมถนน แปลงนามในอำเภอสัมพันธวงศ์
                ญวนพวกที่มากับองเชียงสือ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ได้สร้างวัดญวนขึ้น ๒ วัดคือ
                    วัดคั้นเยิงตื่อ (วัดอุภัยราชบำรุง) อยู่ที่หลังตลาดน้อย (ริมถนนเจริญกรุง) ในอำเภอสัมพันธวงศ์
                    วัดกว๋างเพื๊อกตื่อ (วัดอนัมนิกายาราม) ที่บางโพ เรียกกันเป็นสามัญว่าวัดบางโพ
                ญวนพวกที่เข้ามาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้สร้างวัดญวนขึ้น  ๓ วัด คือ
                    วัดคั้นถ่อตื่อ (วัดถาวรวราราม) อยู่ที่เมืองกาญจนบุรี เมื่อญวนพวกนั้นย้ายเข้ามาอยู่ในกรุงเทพ ฯ ก็ได้สร้างวัดญวนขึ้นอีกวัดหนึ่งคือ
                    วัดเกี๋ยงเพื๊อกตื่อ (วัดสมณานับบริหาร)  เรียกกันสามัญว่าวัดญวนสะพานขาว อยู่ที่ริมคลองผดุงกรุงเกษม ในอำเภอดุสิต
                    วัดเพื๊อกเดี้ยนตื่อ (วัดเขตร์นาบุญญาราม)  อยู่ที่เมืองจันทบุรี
                ต่อมาภายหลังได้มีวัดญวนที่พวกญวนและพวกจีนช่วยกันสร้างอีก ๔ วัด คือ
                    วัดโผเพื๊อกตื่อ (วัดกุศลสมาคร)  อยู่ในอำเภอสัมพันธวงศ์ ใกล้ถนนราชวงศ์
                    วัดตี๊หง่านตื่อ (วัดชัยภูมิการาม)  อยู่ในอำเภอสัมพันธวงศ์ ที่ตรอกเจ๊ฮัวเนียม
                    วัดหยิบเพื๊อกตื่อ (วัดบำเพ็ญจีบพรต)  อยู่ในอำเภอสัมพันธวงศ์  ใกล้ถนนเยาวราช  ต่อมาเป็นวัดพระจีนปกครอง
                    วัดตื้อเต้ตื่อ (วัดโลกานุเคราะห์)  อยู่ในอำเภอสัมพันธวงศ์  ซอยผลิตผล  ถนนราชวงค์
                    วัดคั้นถ่อตื่อ  ( วัดถาวรวราราม)  อยู่ที่อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา  สร้างใหม่เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๑
                รวมวัดญวนที่มีอยู่ในกรุงเทพ ฯ ๗ วัด อยู่ที่ต่างจังหวัด ๓ วัด รวมเป็น ๑๐ วัด
    ที่มาของพระญวนในประเทศไทย
    loading picture
                พระญวนในประเทศไทย ชั้นแรกก็คงบวชมาจากเมืองญวน คือในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ต่อมาเมื่อญวนกับไทยเป็นอริกัน  พระญวนในประเทศไทย ก็มีแต่ที่บวชอยู่ในประเทศไทย  พระญวนที่อยู่ในประเทศไทยได้แก่ไขคติ หันมาตามอย่างพระสงฆ์ไทยหลายอย่างเป็นต้นว่า ถือสิกขาบทไม่ฉันอาหารเวลาวิกาลคือเวลาเย็น  ครองผ้าสีเหลืองแต่เพียงสีเดียว ไม่ใส่รองเท้าและถุงเท้า เหมือนพระในประเทศจีนและประเทศญวน สำหรับข้อวัตรปฎิบัติอื่น ๆ ตลอดจนกิจพิธี คงทำตามแบบในเมืองญวนตลอดมา จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พระญวนมีสมณศักดิ์ และได้โปรดเกล้า ฯ ให้พระญวนมาทำพิธีกงเต๊ก เป็นพิธีหลวงบ่อย ๆ  จึงได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกิจพิธีคล้ายกับพระสงฆ์ไทยมากยิ่งขึ้นอีกหลายประการ
                มูลเหตุที่พระญวนได้รับความยกย่องในราชการนั้น มีเรื่องเล่ากันมาว่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   ครั้งยังคงทรงผนวชอยู่ ใคร่จะทราบลัทธิของพระญวน จึงทรงสอบถามองฮึง (ซึ่งต่อมาได้เป็นที่พระครูคณานัม สมณาจารย์องค์แรก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) จึงได้ทรงคุ้นเคยชอบพระราชอัธยาศัยมาแต่ครั้งนั้น เมื่อพระองค์ได้เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติแล้ว พระญวนก็ได้มีโอกาสเฝ้าแหนได้ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ดังจะเห็นได้ในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พระญวนยังเข้าไปถวายธูปเทียน และกิมฮวยอั้งติ้วอยู่ทุกปี ส่วนพิธีกงเต๊กที่ได้ทำเป็นงานหลวงนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ทำเป็นครั้งแรก เมื่องานพระศพสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๔  ต่อมาเมือพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว  เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๘  ก็ได้โปรดเกล้า ฯ  ให้มีพิธีกงเต๊กในพระบรมราชวังอีกครั้งหนึ่ง การพิธีกงเต๊ก  จึงได้เข้าในระเบียบงานพระศพซึ่งเป็นการใหญ่ เป็นประเพณีสืบต่อมา
                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริว่า พวกญวนทั้งพระและคฤหัสถ์ ซึ่งมีอยู่ในพระราชอาณาเขตเวลานั้น ตกมาถึงชั้นนั้น เป็นญวนที่เกิดในพระราชอาณาเขต เป็นแต่เชื้อสายญวนที่เข้ามาแต่เมืองญวน เช่นเดียวกับพวกมอญ พระเจ้าแผ่นดินแต่ก่อน ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ตั้งพระสงฆ์มอญให้มีสมณศักดิ์เหมือนอย่างพระสงฆ์ไทย จึงสมควรจะทรงตั้งพระสงฆ์ญวนให้มีสมณศักดิ์ขึ้นบ้าง แต่พระสงฆ์ญวนคือฝ่ายมหายาน จะเข้าทำกิจพิธีร่วมกับพระสงฆ์ไทย ไม่ได้เหมือนอย่างพระสงฆ์มอญ จึงทรงมีพระราชดำริให้มีทำเนียบสมณศักดิ์สำหรับพระญวนขึ้นต่างหาก และได้โปรดเกล้า ฯ ให้มีสมณศักดิ์ สำหรับพระจีนด้วยในคราวเดียวกัน ทรงเลือกพระญวนที่เป็นคณาจารย์ ตั้งเป็นตำแหน่งพระครู พระปลัด รองปลัด  (เทียบด้วยสมุห์)  ผู้ช่วย  (เทียบด้วยใบฎีกา)  ส่วนพระจีนนั้นหัวหน้าเป็นตำแหน่งพระอาจารย์  (เทียบด้วยพระครู  วิปัสสนา)  และมีฐานานุกรม  เป็นปลัด และรองปลัด  เช่นเดียวกันกับพระญวน  พระราชทานสัญญาบัตร  มีราชทินนามกับพัดยศซึ่งจำลองแบบพัดยศของคณะสงฆ์ไทย  แต่ทำเป็นขนาดย่อลงมา

    พัดยศพระสงฆ์อนัมนิกาย
    loading picture

    พระครูคณานัมสมณาจารย์  เจ้าคณะใหญ่
                เป็นพัดรูปแฉกเปลวเพลิง  พื้นเยียระบับแดงสลับเหลือง และม่วง ปักเส้นดิ้นทอง ด้ามงา ยอดงา
    loading picture

    พระครูบริหารอนัมพรต รองเจ้าคณะใหญ่
    พัดรูปแฉกเปลวเพลิง พื้นเยียระบับ แดงสลับเขียว และม่วง ปักเส้นดิ้นทอง ด้ามงา ยอดงา
    loading picture

    ปลัดขวา ปลัดซ้าย
    พัดพุดตาน กลีบเยียระบับ  ปักเส้นดิ้นทอง ตามขอบมีเส้นริ้วคั่น กลางขาว ด้ามงา ยอดงา
    loading picture รองปลัดขวา
    พัดหน้านาง พื้นอัตลัตสลับสี วงในน้ำเงิน ขอบนอกแดง ปักเส้นดิ้นทอง ด้ามงา ยอดงา
    รองปลัดซ้าย
    พัดหน้านาง พื้นอัตลัตสลับสี วงในแดง ขอบนอกน้ำเงิน ปักเส้นดิ้นทอง ด้ามงา ยอดงา
    ผู้ช่วยปลัดขวา  ผู้ช่วยปลัดซ้าย
    พัดหน้านาง พื้นอัตลัตสลับสี วงในเขียว ขอบนอกแสด ปักเส้นดิ้นทอง ด้ามงา ยอดงา

    เครื่องยศที่พระราชทานพระสงฆ์อนัมนิกาย
    loading picture             เครื่องยศที่พระราชทานแก่เจ้าคณะใหญ่ และรองเจ้าคณะใหญ่อนัมนิกายเหมือนกัน ผิดแต่พัดยศเท่านั้นคือ
                        1. พัดยศ
                        2. ไตรแพรล้วนชนิดอานัม
                        3. ย่ามโหมดเทศสีแดง มีดอก ซับในแพรแดง  มีพู่ไหมข้างละ 2 พู่
                        4. บาตร์เหล็กอย่างดีมีเชิงทองเหลืองอย่างปั๊ม ถลกบาตร์สายโยงใช้โหมดเทศแดงมีดอกมีพู่ไหมข้างละพู่
                        5. หมวกพื้นสักหลาดสีเหลือง มีพระเจ้า 5 พระองค์ และท้าวโลกบาล
                        6. ญรืออี๋ (แปลว่า สุมมโนรก) ทำด้วยงาทั้งแท่ง
                        7. ไม้เท้า (ติ้ดเครื่อง แปลงว่าไม้อักขระ) ทำด้วยไม้แดง ยอดทำด้วยทองเหลือชุบทอง
                        8. ระฆังทองเหลือง มีที่ถือสำหรับเขย่าได้ 1 คู่
                เครื่องยศสำหรับตำแหน่งปลัดขวาและปลัดซ้าย คงมีชนิดและจำนวน เช่นเดียวกับที่กล่าวมาแล้ว ผิดกับที่พัดยศ ไตร ย่าม บาตร และญรืออี๋ ที่ทำด้วยไม้มะริดฝังงา
                ส่วนเครื่องยศสำหรับตำแหน่งรองปลัดขวา รองปลัดซ้าย และกลาง ก็มีชนิดและจำนวนเช่นเดียวกับที่กล่าวแล้ว ผิดแต่เพียง พัดยศ ไตร ย่าม บาตรและ ญรืออี๋ ทำด้วยไม้มะริดทั้งอัน

    สมณศักดิ์ชั้นสัญญาบัตรของคณะสงฆ์อานัมนิกาย
    loading picture                 พระคณานัมธรรมวิธานาจารย์                                เจ้าคณะใหญ่
                    พระครูคณานัมวุฒิจารย์                                              รองเจ้าคณะใหญ่
                    พระครูบริหารอนัมพรต                                              ผู้ช่วยรองเจ้าคณะใหญ่
                    องสรภาณมธุรส                                                               ปลัดขวา
                    องสุตบทบวร                                                                     ปลัดซ้าย
                    องสรพจนสุนทร                                                              รองปลัดขวา
                    องพจนกรโกศล                                                                รองปลัดซ้าย
                    องอนนตสรภัญ                                                                 ผู้ช่วยปลัดขวา
                    องอนนตสรนาท                                                               ผู้ช่วยปลัดซ้าย

    การปกครองคณะสงฆ์อนัมนิกายของไทย
                เดิมบรรพชิตมหานิกายฝ่ายเหนือ คณะอานัมและคณะจีนในประเทศไทย ขึ้นอยู่กับกรมท่าซ้ายตามทางราชการ แต่พระสงฆ์ทั้ง 2 นิกายดังกล่าว ได้ยื่นบัญชีไปยังกระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการ) ทุกปี คงต้องการที่จะให้ขึ้นกับกระทรวงนี้ ดังนั้น เมื่อมีการสิ่งใดที่เกี่ยวบรรพชิตมหายาน ทางกระทรวงธรรมการก็จัดทำไปโดยอนุโลม ไม่แต่ 2 นิกายดังกล่าวแล้วเท่านั้น พระมหายานคณะญี่ปุ่น ที่เข้ามาอยู่ในไทย กระทรวงการต่างประเทศและทูตญี่ปุ่น ก็ขอให้กระทรวงธรรมการช่วยเป็นธุระให้  ได้จัดให้อยู่ที่วัดสระเกศบ้าง วัดญวนบ้าง
                ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2441  ทางกระทรวงธรรมการได้ทำเรื่องกราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาต ให้บรรตชิตมหายานคณะต่าง ๆ มาขึ้นกับกระทรวงธรรมการ ซึ่งในขณะนั้นมีจำนวนวัดฝ่ายอานัมนิกายอยู่ 7 วัด บรรพชิต 54 รูป คณะจีนนิกาย 3 วัด  บรรพชิต 20 รูป  บรรพชิตญี่ปุ่น 2 รูป ฝากไว้ที่วัดสระเกศ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ดำเนินการตามที่ขอมา พระจีนและพระญวนจึงได้มาขึ้นอยู่กับกระทรวงธรรมการนับแต่นั้นมา

    ตราประจำตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่อนัมนิกาย และตราพระอุปัชฌายะ
    loading picture loading picture
                ตราทั้งสองดวงนี้  สมเด็จพระวันรัต  สังฆนายก  ได้โปรดมีบัญชาให้ทำขึ้นไว้สำหรับประทับใน หนังสือสุทธิ และกิจการของคณะสงฆ์อนัมนิกาย  โดยได้มอบให้เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2497

    • Update : 13/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch