หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    ฉลอง110ปี-เปรียญธรรม สำนักเรียนวัดเบญจมบพิตร
    ฉลอง110ปี-เปรียญธรรม สำนักเรียนวัดเบญจมบพิตร


    'วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม' เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ที่มีความสวยงามเลื่องชื่อเป็นอันดับต้นของเมืองไทย จนเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั่วโลกว่า 'The Marble Temple'

    ตั้งอยู่เลขที่ 69 ถ.พระราม 5 แขวงจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพฯ มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 10,566 ตารางวา 14 ตารางศอก

    ด้วยความงดงามของพระอุโบสถ พระระเบียง ประดับด้วยหินอ่อนที่ดีที่สุดจากประเทศอิตาลี รังสรรค์ให้วัดเบญจมบพิตรฯ กลายเป็นอารามที่มีความวิจิตรงดงาม ด้วยศิลปะสถาปัตยกรรมไทยโบราณ

    เดิมวัดแห่งนี้เป็นวัดโบราณ มีชื่อว่า 'วัดแหลม' หรือ 'วัดไทรทอง' ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างในสมัยใด

    ในสมัยรัชกาลที่ 4 ปรากฏความในพระราชพงศาวดารว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานนามวัดแห่งนี้ใหม่ว่า 'วัดเบญจบพิตร' อันมีความหมายว่าเป็นวัดของเจ้านาย 5 พระองค์ หรือวัดที่เจ้านาย 5 พระองค์ทรงปฏิสังขรณ์ขึ้น

    ครั้นต่อมา รัชกาลที่ 5 ทรงสร้างพระราชวังสวนดุสิต ได้ทรงใช้พื้นที่วัด 2 แห่ง เป็นที่สร้างพลับพลาและตัดถนน ซึ่งตามประเพณีจะต้องสร้างวัดขึ้นทดแทน



    แต่พระองค์ทรงมีพระราชดำริว่าการสร้างวัดใหม่หลายแห่งยากต่อการบำรุงรักษา แต่ถ้าทำวัดใหญ่เพียงแห่งเดียว ด้วยฝีมือประเพณีนั้นจะดีกว่า จึงทรงเลือกสถาปนาวัดเบญจบพิตรและโปรดเกล้าฯ ให้ "สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์" ออกแบบ

    ทรงพระกรุณาโปรดเกล‰าฯให้แก้ชื่อเป็น 'วัดเบญจมบพิตร' แปลว่า "วัดของพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ 5"

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ความสำคัญต่อวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เพื่อให้เป็นสถานที่ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมสำหรับคณะสงฆ์และวิชาการชั้นสูงอันเป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา

    อาทิ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการฉลองเปรียญแก่พระภิกษุสามเณรผู้สอบไล่พระปริยัติธรรม ได้ทรงพระราชทานรางวัลด้วย และทรงให้พระภิกษุสามเณรผู้สอบไล่ตกติดต่อกัน 2 ปีออกจากวัด เป็นต้น

    ดังที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เขียนไว้ในหนังสือประวัติวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ว่า "สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงพระราชดำริว่าจะให้วัดเบญจมบพิตร เป็นอย่างวิทยาลัยสำหรับศึกษาพระปริยัติธรรม คือ ให้เป็นที่อยู่สำหรับพระภิกษุสามเณรเรียนคันถธุระ"



    การฉลองเปรียญครั้งแรกของพระภิกษุสามเณรวัดเบญจมบพิตรฯ ไม่ปรากฏว่าพระพุทธ เจ้าหลวงได้ทรงฉลองครั้งแรกเมื่อใด แต่มีหลักฐานว่าได้มีการฉลองเปรียญเมื่อรัตนโกสินทรศก 122 หรือเมื่อ พ.ศ.2446 โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการฉลองและทรงตั้งเปรียญที่พระที่นั่งวิมานเมฆ ให้แก่พระภิกษุสามเณรวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามตลอดรัชกาล

    เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ และการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีต่อพระองค์ท่านทั้งเป็นการสนองพระราชปณิธานของพระองค์ ที่ทรงสถาปนาวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม และส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรม นับแต่ พ.ศ.2443-2553 จึงถือว่าสำนักเรียนวัดเบญจมบพิตรฯมีการดำเนินการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมมาครบ 110 ปี

    อีกทั้งปีการศึกษา 2552-2553 ที่ผ่านมาสำนักเรียนวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามได้รับรางวัลสำนักเรียนดีเด่น จากแม่กองบาลีสนามหลวง และรางวัลจากวัดพระธรรมกาย ซึ่งประเมินจากผลการสอบได้ของนักเรียนในสำนักเรียน

    ได้จัดงานฉลองเปรียญ เพื่อเป็นการสนับสนุนส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรม และให้กำลังใจแก่นักเรียนผู้มีผลการเรียนดีเด่น รวมไปถึงการฉลองสำนักเรียนดีเด่นด้วย

    พระพุทธวรญาณ เจ้าอาวาสและเจ้าสำนักเรียนวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กล่าวว่า สำหรับในปีการศึกษา 2553 นี้ เป็นที่น่ายินดียิ่งเมื่อมีพระภิกษุในสำนักเรียนวัดเบญจมบพิตรฯสามารถสอบไล่ได้เปรียญธรรม 9 ประโยค 1 รูป คือ พระมหาพรพล วรพโล วัดเทวราชกุญชร และประโยค 6 จำนวน 8 รูป รวมถึงประโยคอื่นๆ อีกหลายรูปตามที่ทุกท่านได้เห็นในพิธีนี้

    การจัดพิธีฉลองเปรียญธรรม สำนักเรียนวัดเบญจมบพิตรฯในครั้งนี้ ถือว่าเป็นเกียรติประวัติของสำนักเรียนและนักเรียนทุกรูป และยังเป็นการฉลองเปรียญธรรมครั้งแรกของเจ้าสำนักเรียน หลังจากล้น เกล้าฯ รัชกาลที่ 5 เสด็จสวรรคต


    • Update : 10/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch