|
|
ผอ.สำนักพุทธฯคนใหม่ นพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์
ผอ.สำนักพุทธฯคนใหม่ นพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์
'นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์' ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2553 สืบต่อจาก นางจุฬารัตน์ บุณยากร ที่เพิ่งเกษียณอายุราชการในวันที่ 30 กันยายน 2553
ในการนี้ ผอ.ใหญ่คนใหม่ ได้เรียกประชุมมอบนโยบายและการปฏิบัติงานสำนักงาน พระพุทธศาสนาแห่งชาติ ดังมีรายละเอียด ดังนี้
นายนพรัตน์ กล่าวว่า ถือว่าเป็นธรรมเนียมการปฏิบัติของผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าส่วนราชการต้องมาทำความเข้าใจชี้แจงหรือที่เรียกว่าการมอบนโยบาย แต่เราจะคุยกันในภาพรวมขององค์กรเรา เริ่มจากนโยบายของคณะสงฆ์และรัฐบาล ที่จะมุ่งในเรื่องของการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะการใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เพื่อให้คนสามารถเอาไปใช้และปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและต่อสังคมและต่อประเทศชาติ
อันนี้กลุ่มเป้าหมายของเรา คือ ไม่ได้เฉพาะแต่ในระดับจังหวัด ตำบล แต่หมายถึงนับถึงจำนวนคน เพราะถือว่าทุกคนเป็นหน่วยนับที่จะเกิดผลของการทำงานของเรา
การสนองงานของคณะสงฆ์ ซึ่งเป็นภารกิจของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ที่ตั้งขึ้นมา คือ การสนับสนุนการศึกษาในการเผยแผ่ เราเน้นในเรื่องความเป็นอยู่ของคณะสงฆ์
"อย่างกรณีที่กระทรวงสาธารณสุขได้ ประกาศเกี่ยวกับเรื่องของการนำบัตรประชาชนไปตรวจสุขภาพ ผมก็กังวล จึงได้ขอให้สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม ทำเรื่องสอบถามไปทางกระทรวงสาธารณสุขไปว่า ในกรณีของพระสงฆ์นี้ที่จะไปเข้ารับบริการจะทำอย่างไร เช่น ใช้ใบสุทธิได้ไหม หมายเลขของบัตรประชาชน 13 หลัก ทางกระทรวงสาธารณสุข ก็ตอบกลับมาว่าพระสงฆ์จะได้รับการดูแลโดยสิทธิเท่าเทียมกับประชาชนทั่วไป แต่ผมมองว่าคณะสงฆ์ก็ไม่ค่อยทราบข้อมูลตรงนี้ในเรื่องของการใช้สิทธิ์ เราคงต้องเป็นหน่วยงานที่ให้ความเข้าใจแก่คณะสงฆ์ด้วย"
สำหรับนโยบายที่สำนักพุทธฯ จะพยายามผลักดันให้เกิดเป็นรูปธรรม มี 3 เรื่อง คือ
เรื่องที่หนึ่ง การปฏิบัติธรรมทุกวันอาทิตย์ ทำอย่างไรที่จะให้คนเข้ามาวัด อย่างน้อยที่สุดคือวันอาทิตย์ ใช้ชื่อว่า "โครงการปฏิบัติธรรมครอบครัวอบอุ่น" ให้ทำวันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ โดยเน้นเอากลุ่มนักเรียนมาเป็นกลุ่มเป้าหมาย ขอความร่วมมือจาก กระทรวงศึกษาธิการ ในการทำบันทึกข้อตกลง (MOU) ที่จะให้นักเรียนเข้ามาปฏิบัติธรรมในวัด อาจจะให้มีกิจกรรมร่วมกับผู้ปกครองหรือพ่อแม่ของเด็กนี้ ให้มาจัดปฏิบัติธรรม ถือว่าเราได้เปิดวัดแล้วนี้เป็นวิธีทางอ้อม
"อาจจะเป็นการเปิดการท่องเที่ยวของวัดในวันอาทิตย์ก็ได้หรือจะทำกิจกรรมอย่างเช่น การตรวจสุขภาพหรือการสอนวิชาชีพระยะสั้นเข้ามาเสริม จึงเหมือนเป็นการกระตุ้นกิจกรรมของวัดโดยเฉพาะในวันอาทิตย์"
เรื่องที่สอง คือ ส่งเสริมให้วัดเป็นสถานที่ที่มีความสะอาด ทำอย่างไรให้วัดมีความสะอาดร่มรื่น สัตว์เลี้ยงจะทำอย่างไรให้เป็นระบบระเบียบและห้องสุขาของวัด ดังนั้นงบประมาณปีนี้ที่จะจัดไป สิ่งที่วัดต้องพิจารณาทำก่อน คือ ให้ทำเรื่องของห้องน้ำ-ห้องสุขาให้สะอาด ด้วยถือว่าเป็นหน้าตาของวัด
เรื่องที่สาม คือ ส่งเสริมให้วัดเป็นเขตปลอดอบายมุข ห้ามเรื่องเหล้า บุหรี่ การพนัน ขณะเดียวกัน ขอให้วัดดำเนินการเสริม คือ เวลาเทศน์ ให้ช่วยเทศน์ เรื่องความปรองดอง ความสามัคคี และเรื่องโทษของการติดในอบายมุข
นอกจากนี้ เรื่องศูนย์รับข้อมูลและการประสานงานที่จะต้องช่วยให้การทำงานได้รวดเร็ว โดยสำนักพุทธฯ ส่วนกลางจะมี Call Center และในขณะเดียวกัน สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดทุกจังหวัด ควรจะต้องมีหน่วยงานในลักษณะนี้เช่นกัน เพื่อการประสานกับส่วนกลาง คณะสงฆ์ในพื้นที่ส่วนราชการของจังหวัด ให้สามารถแก้ไขปัญหาหรือรับทราบข้อมูลได้ทัน
สำหรับเรื่องการจัดตั้งอาสาสมัครพระพุทธศาสนาทุกสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด จะต้องสร้างเครือข่ายที่นอกเหนือจากองค์กรที่ให้การสนับสนุนในกิจการงานพระพุทธศาสนาแล้ว เราจะต้องมีบุคคลที่มีใจรักและปรารถนามาร่วมงานโดยมีจิตอาสาที่ดี ดังนั้น ในเรื่องนี้จะต้องจัดตั้งอาสาสมัครขึ้นไว้ในลักษณะ อสม. ของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเราอาจพัฒนารูปแบบและสิทธิต่างๆ ให้แก่บุคคลเหล่านี้ในโอกาสต่อไป
เมื่อมีความชัดเจนและมั่นคงขึ้นเชื่อว่า อาสาสมัครจะมีส่วนช่วยและเป็นกำลังอันเข้มแข็งของสถาบันพระพุทธศาสนา ได้อย่างดี และหาได้ไม่ยาก เริ่มต้นจากกลุ่มผู้เข้ารับการอบรมในโครงการปฏิบัติธรรม ก็จะเป็นกำลังส่วนหนึ่ง ที่เข้ามาเป็นอาสาสมัครได้ จึงขอให้เริ่มต้นดำเนินการในเรื่อง
|
Update : 10/5/2554
|
|