หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การให้อภัย นำความร่มเย็นสู่สังคมไทย
    การให้อภัย นำความร่มเย็นสู่สังคมไทย




    ศิษย์ “อาจารย์ครับ ช่วงที่ผ่านมาบ้านเมืองวุ่นวายมาก ในฐานะที่
    ผมก็เรียนและปฏิบัติธรรมมานาน ผมรู้สึกว่างุนงงสงสัย
    ไม่รู้จะคิดหรือวางตัวอย่างไรดีครับ?”

    อาจารย์ “อาจารย์ว่าการเรียนรู้เหตุการณ์ในสังคมก็เป็นหน้าที่หนึ่งในฐานะที่เกิดมาเป็นพลเมืองของประเทศไทย การปฏิบัติธรรมก็เป็นหน้าที่ของชาวพุทธที่ดี ในคนๆหนึ่งเรามีหลายบทบาทและหน้าที่ เราควรเรียนรู้และทำหน้าที่ให้เหมาะสมกับตัวเอง ควรศึกษาที่ไปที่มาของเรื่องราวต่างๆ แต่ต้องไม่คิดหมกมุ่นจนเคร่งเครียดเกินไป”

    ศิษย์ “อาจารย์ว่าทำอย่างไรบ้านเมืองจึงจะสงบเสียทีล่ะครับ ?”

    อาจารย์ “ก่อนอื่นอาจารย์จะเตือนเธอก่อนว่า ความอยากหรือไม่อยากนี่เป็นความทุกข์นะ นักภาวนาควรรู้ถึงความอยากในนี้ใจด้วยสติสัมปชัญญะเห็นความไม่เที่ยงในความคิดจะช่วยให้เราปล่อยความยึดติดในความคิดนั้นได้ไว ทำให้ไม่ต้องทุกข์มากจนเกินไปได้

    อาจารย์ว่าถึงที่สุดแล้ว บ้านเมืองจะสงบต่อเมื่อเรารู้จักการให้อภัยกัน ไม่มีเหตุผลอะไรเลยที่จะทำให้เราให้อภัยกันไม่ได้ ไม่ว่าต้นเหตุนั่นคืออะไร เพราะความโกรธภายในใจมันเหมือนมะเร็งร้าย มันกัดกินจิตใจ มันเจ็บปวด มันพาจิตใจให้มืดดำ มันทำให้ใจเราอัดแน่นเคร่งเครียด ถ้าเราไม่เอามันออกไป เราจะต้องทนทุกข์ทรมานอยู่อย่างนั้นตลอดไป”

    ศิษย์ “มีบางคนบางกลุ่มเขาบอกว่าเขาไม่ได้รับความยุติธรรมในสังคมปัจจุบันนี้น่ะครับความคิดนี้นี่แหละคือสาเหตุที่เขาต้องออกมาชุมนุมเรียกร้อง ต้องทำร้ายซึ่งกันและกันด้วยวาจาหรือการกระทำในที่สุด”

    อาจารย์ “อาจารย์อยากถามเธอว่าชัยชนะในการเรียกร้องความยุติธรรมหรือความรู้สึกคลายความโกรธจากการให้อภัยในใจ อะไรจะทำให้เรามีความสุขขึ้นมาได้อย่างแท้จริง”

    ศิษย์ “การให้อภัยครับ แต่ผมว่ามันคงไม่ง่ายอย่างนั้นซิครับ คนทุกคนคิดว่าถ้าชนะแล้วตัวเองจะมีความสุขมากกว่า”

    อาจารย์ “พระท่านว่าผู้ชนะย่อมก่อเวร ผู้แพ้ย่อมผูกใจเจ็บ ไม่มีตรงไหนเลยที่จะเรียกว่าความสุข ถ้าความสุขมันจะหมายถึงความสงบมากกว่าความสะใจ เมื่อมีผู้ชนะย่อมมีผู้แพ้ เมื่อมีผู้ได้เปรียบก็ย่อมมีผู้เสียเปรียบ แล้วก็มีการล้างแค้นกันไปมาเมื่อไหร่จึงจะเรียกว่าชัยชนะกันได้สักที

    ความผิดพลาดเป็นธรรมชาติของมนุษย์ การให้อภัยกันเป็นธรรมชาติของสังคมชาวพุทธ สังคมไทยของเราที่อยู่กันได้มาถึงทุกวันนี้ก็เพราะความเอื้ออาทรต่อกัน ถึงแม้เราจะมีความแตกต่างของเชื้อชาติ ศาสนาวัฒนธรรม ความแตกต่างทางฐานะการเงิน มีทั้งคนรวย คนชั้นกลาง คนยากจน เราไม่เคยโจมตีหรือปฏิเสธว่าชนชาติ ศาสนา วัฒนธรรมหรือชนชั้นไหนจะดีหรือไม่ดีเลย เชื้อชาติ ศาสนาวัฒนธรรมไหนเราก็เกื้อกูลกันได้ อยู่ร่วมกันได้ คนจนคนรวยก็ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน พี่น้องเกษตรก็หาอาหารให้คนทั้งประเทศ คนรวยก็ค้าขายในประเทศ หรือต่างประเทศนำเงินมาจ้างงาน หรือไม่ก็กลายเป็นภาษีมาพัฒนาประเทศ เป็นงบประมาณกลับคืนสู่พี่น้องในชนบทต่อไป แล้วเหตุผลเพียงแค่การไม่ได้รับผลประโยชน์ ความผิดพลาดของของใครหรือกลุ่มคนใดๆ การบริหารงานของรัฐบาลที่ไม่มีประสิทธิภาพเหมือนใจเรานึก เป็นรัฐบาลที่เราไม่ชอบ ทำไมจึงต้องเป็นประเด็นของความขัดแย้งแตกแยกอย่างใหญ่โต จนถึงจุดที่ต้องมุ่งทำร้ายกันและกันอย่างทุกวันนี้

    ในบางแง่มุมความโกรธทำให้เกิดความรักได้ เพราะว่าเราได้กลุ่มคนที่ไม่ชอบใครเหมือนกับเรา อันนี้เป็นอันตรายอย่างยิ่งของการรับสื่อหรือข้อมูลที่ต่างฝ่ายต่างสร้างความเกลียดชังขึ้นเพื่อให้เกิดมวลชน สื่อแต่ละอันย่อมมีวัตถุประสงค์บางอย่างและเราอาจถูกใช้เป็นเครื่องมือก็ได้ เราควรหันมามองตัวเองบ้างว่าเราตกเป็นเครื่องมือของสื่อเหล่านั้นหรือไม่ ลองถามความเกลียดชังในใจเราแล้วเราจะได้คำตอบ

    อีกประการหนึ่งก็คือ พลังของความเกลียดชังนี้เป็นพลังของสัณชาติญาณการเอาตัวรอดที่อยู่ในก้นบึ้งอันดำมืดที่สุดของจิตใจมนุษย์ เมื่อมีความเกลียดชังเราย่อมทำร้ายกัน ฆ่าฟันซึ่งกันและกันได้ไม่ยากเลยเพียงเพื่อเห็นว่าเราจะได้ผลประโยชน์มากกว่าถ้าพวกเราได้รับชัยชนะ แต่สังคมจะอยู่อย่างไรถ้าเรามีแต่ความเกลียดชังความมุ่งร้ายซึ่งกันและกันฝังแน่นอยู่ในสังคม เราไม่ได้ทำร้ายฝ่ายตรงข้ามแต่เรากำลังทำร้ายทุกๆคนในสังคมประเทศชาติ รวมทั้งตัวเราและครอบครัวด้วย เพราะไม่มีใครเลยที่อยู่คนเดียวได้โดยไม่ต้องพึ่งพาคนอื่น ทุกคนต่างเกี่ยวข้องกันไม่ทางใดก็ทางหนึ่งเราไม่ได้อยู่คนเดียวแบบเดิมอีกแล้ว ไม่แน่ว่าถ้าความรุนแรงคือความถูกต้องของสังคม อีกหน่อยคนใกล้ตัวเราอาจตกเป็นเหยื่อของความรุนแรง โดยอ้างความชอบธรรมนั้นก็ได้ แล้วเราจะทำอย่างไร”

    ศิษย์ “ถ้าอย่างนั้นเราควรทำอย่างไรดีครับ?”

    อาจารย์ “อาจารย์ว่าเราควรเลิกตกอยู่ใต้อำนาจปีศาจของความโกรธเกลียดซึ่งกันและกันจะดีกว่า ถ้าประชาธิปไตยแบบที่แก้ปัญหาด้วยการประท้วงและความรุนแรงเป็นสิ่งที่สร้างยุติธรรมได้จริง ทั่วโลกคงสงบไปนานแล้ว แต่ที่เห็นกันในข่าวทั่วโลก นับวันจะเห็นความรุนแรงมากขึ้น เพราะไม่มีใครได้รับชัยชนะที่แท้จริงนั่นเอง เมื่อแก้ปัญหาหนึ่งได้ก็เกิดปัญหาอีกอย่างหนึ่งตามมาอย่างไม่มีวันจบสิ้น

    เรามาอภัยให้กันและกันแบบสังคมไทยดีกว่า คือไม่ว่าเขาจะเลวแค่ไหน ไม่ว่าเขาจะเคยทำอะไรมา ไม่ว่าใครจะเป็นคนเริ่มต้นก่อปัญหา ไม่ว่าใครจะเสียประโยชน์ ไม่ว่าใครจะได้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นพวกเราหรือพวกเขา พอเสียทีที่จะวัดว่าใครว่าผิดหรือใครถูก หน้าที่นี้ให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ไป ให้เป็นของเจ้าของปัญหานั้นไปคิดเอาเอง เราในฐานะคนไทยด้วยกันทั้งนั้น มาร่วมกันคิดดีกว่าว่าอนาคตของประเทศควรให้ไปในทิศทางใด เพื่อจะได้มีการพัฒนาไปในแนวทางที่ถูกต้องดีงาม มาสร้างสรรค์สังคมอันเปรียบเสมือนบ้านที่เราอาศัยให้น่าอยู่เพื่อลูกหลานของเราที่จะเกิดมา เพื่ออนาคตของชาติ ให้เป็นตัวอย่างที่ดีเป็นมาตรฐานของสังคมที่ดีต่อคนรุ่นต่อๆไป อย่างมีจิตสำนึก และสุดท้ายก็คือเราทุกคนที่เคารพรักในหลวงก็ไม่ควรที่จะทำให้ในหลวงอันเป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย ต้องลำบากพระทัยไปมากไปกว่านี้เลย

    ให้อภัยกันเถอะนะ ปล่อยสิ่งชั่วร้ายออกจากใจ ถ้าไม่รักคนอื่นก็รักตัวเองทำเพื่อตัวเองก่อนให้ได้ ความสงบเย็นก็จะเข้ามาแทนจิตใจของเราเอง เมื่อทุกคนไม่เร่าร้อนในใจ เพราะเราต่างก็เป็นคนไทยเป็นคนร่วมสมัย ร่วมทุกข์ ร่วมสุข อยู่ในโลกใบร้อนๆที่กำลังย่ำแย่นี้ด้วยกัน ทุกคนก็ต่างเป็นเพื่อนร่วมเกิดแก่เจ็บตายทั้งนั้น ประเทศชาติจะได้สงบร่มเย็นเสียที ”

    ศิษย์ “คำแนะนำอาจารย์ให้แง่คิดที่ดีมาก ขอบพระคุณมากครับ อาจารย์”

    • Update : 2/5/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch