พุทธกิจ ๔๕ พรรษา
โพสท์ในกระทู้ลานธรรม มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ โดย เณรวัส [15 ก.ค. 2546 ]
พรรษาที่ ๑
จำพรรษาที่อิสิปตนมฤคทายวัน
- โปรดปัญจวัคคีย์ สังฆรัตนะ เกิดขึ้นครั้งแรกในโลก
- โปรดพระยสะ และสหาย ๔๕ คน
ออกพรรษา
- ให้สาวก ๖๐ รูป มีอำนาจบวชกุลบุตร ได้โดยวิธีให้รับไตรสรณคมน์
- โปรดภัททวัคคีย์ ๓๐ รูป
- โปรดชฎิลสามพี่น้อง บวชเป็นเอหิภิกขุ ๑,๐๐๐ รูป แสดงอาทิตตปริยายสูตรสำเร็จพระอรหันต์หมด
- ไปราชคฤห์โปรดชาวเมืองและพระเจ้าพิมพิสารเป็นพระโสดาบัน
- ถวายวัดเวฬุวันเป็นวัดแรก
- ให้สงฆ์สาวกรับอารามที่มีผู้ถวายได้
- พระอัญญาโกณฑัญญะบวชปุณณมันตานีบุตร ( ลูกน้องสาว ) บรรลุอรหันต์
- ได้ ๒ อัครสาวก อุปติสสะและโกลิตะบวชบรรรลุเป็นพระอรหันต์
- บวชพระมหากัสสปะโดยรับโอวาท ๓ ข้อ
พรรษาที่ ๒
จำพรรษาที่เวฬุวัน
ออกพรรษา เสด็จเมืองเวสาลี แคว้นวัชชี
- สอนพระอานนท์ให้สาธ ยายรัตนสูตร บรรเทาภัยของชาวเมือง
- พระอานนท์ฟังกถาวัตถุ ๑๐ ประการ ( ของพระปุณณมันตาณีบุตร) เป็นพระโสดาบัน
พรรษาที่ ๓
จำพรรษาที่เวฬุวัน
- ราชคฤหเศรษฐี ขอสร้างเสนาสนะถวายสงฆ์ เป็นที่พำนักถาวร
- อนุญาตเภสัช ๕ ชนิด และภัตฯ ประเภทต่างๆ
- อนุญาตการอุปสมบทโดยวิธีญัตติจตุตถกรรม
- พระสารีบุตรบวชให้ราธะพราหมณ์เป็นรูปแรก
- อนุญาตวันประชุมสงฆ์ และแสดงธรรมใน ๑๔ คํ่า ๑๕ คํ่า และ ๘ คํ่า ของข้างขึ้นและข้างแรม
พรรษาที่ ๔
จำพรรษาที่เวฬุวัน
- โปรดหมอชีวกโกมารภัจจ์เป็นพระโสดาบัน
- ถวายชีวกอัมพวันอนุญาตผ้าไตรจีวร ๓ ผืน,ผ้าจีวร ๖ ชนิด
ออกพรรษา
- - เทศน์โปรดพุทธบิดา สำเร็จพระอรหันต์และนิพพาน และจุดเพลิงพระบรมศพ
พรรษาที่ ๕
จำพรรษาที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน นอกเมืองเวสาลี
- พระนางประชาบดี ยอมรับคุรุธรรม ๘ ประการ บวชเป็นภิกษุณีองค์แรก แล้วสำเร็จเป็นพระอรหันต์
- พระนางยโสธราบวชในสำนักพระนางประชาบดีเถรี บรรลุเป็นพระอรหันต์
- นางรูปนันทา บวชตามหมู่ญาติ ทรงแสดงฤทธิ์โปรด สำเร็จเป็นพระอรหันต์
ออกพรรษา
- เสด็จไปภัททิยนคร แคว้นอังคะ โปรดเมณฑกะเศรษฐี ธนัญชัยเศรษฐี นางวิสาขาและหมู่ญาติ เป็นพระโสดาบัน
- ทรงอนุญาตโครสทั้ง ๕ ทรงอนุญาตนํ้าผลไม้ทุกชนิด ( เว้นนํ้ากับเมล็ดนํ้าข้าวเปลือก) นํ้าใบไม้ทุกชนิด ( เว้นนํ้าผักดอง ) นํ้าดอกไม้ทุกชนิด ( เว้นนํ้าดอกมะซาง ) นํ้าอ้อยสด ทรงอนุญาตให้ฉันผักสดทุกชนิด และของขบฉันที่ทำด้วยแป้ง ให้ฉันผลไม้ได้ทุกชนิด
- แสดงมหาปเทส ๔ สิ่งที่ควรและไม่ควรสำหรับสงฆ์
พรรษาที่ ๖
จำพรรษาที่ มกุลบรรพต แคว้นมคธ
- ห้ามพระภิกษุแสดงอิทธิปาฏิหาริย์
- ปรารภจะแสดงยมกปาฏิหาริย์เอง
ออกพรรษา
- เดียรถีย์สร้างสำนักหลังวัดเชตวัน พระเจ้าปเสนทิโกศล เปลี่ยนเป็นสร้างอารามสำหรับภิกษุณี เรียกราชการาม
- เพ็ญเดือน ๘ แสดงยมกปาฏิหาริย์ นอกเมืองสาวัตถี
พรรษาที่ ๗
จำพรรษาที่ที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์
- แสดงพระอภิธรรมโปรดพุทธมารดาตลอดไตรมาสจนบรรลุเป็นพระโสดาบัน
- เรื่องอังกุรเทพบุตรและอินทกเทพบุตร
- ลงจากชั้นดาวดึงส์ ที่ประตูเมืองสังกัสสะ หลัง
ออกพรรษา
- เสด็จกรุงสาวัตถี
- ปรารภเรื่องนางปฏิปูชิกา ภรรยาของมาลาภารีเทพบุตร
- นางจิญจมาณวิกา ใส่ความพระพุทธเจ้า ถูกธรณีสูบลงอเวจีมหานรก
พรรษาที่ ๘
จำพรรษาที่เภสกฬาวัน ภัคคชนบท
- บิดาของสิงคาลกมานพบวช บรรลุพระอรหันต์
ออกพรรษา
- บัญญัติสิกขาบทเรื่องการผิงไฟของภิกษุ
- โปรดมาคันทิยาพราหมณ์และภรรยา จนขอบวชทั้ง ๒ คนแล้วได้บรรลุเป็นพระอรหันต์
- นางมาคันทิยาผู้เป็นธิดาผูกจิตอาฆาตในพระศาสดา
- เศรษฐีโกสัมพี ๓ คนตามไปฟังธรรมที่วัดเชตวันเมืองสาวัตถีบรรลุเป็นพระโสดาบันและได้สร้าง โฆสิตาราม ปาวาริการาม และกุกกุฏาราม ถวายที่โกสัมพี
พรรษาที่ ๙
จำพรรษาที่โกสัมพี
- เรื่องนางสามาวดี ได้เป็นมเหสีพระเจ้าอุเทน ถูกนางมาคันทิยาวางแผนเผาทั้งปราสาทจนตาย
ออกพรรษา
- สงฆ์ที่โฆสิตาราม โกสัมพี แตกความสามัคคี
พรรษาที่ ๑๐
จำพรรษาที่รักขิตวัน (ป่าปาริเลยยกะ) อยู่ระหว่างกรุงโกสัมพีกับกรุงสาวัตถี
- ช้างปาริเลยยกะและวานรถวายอุปัฏฐากพระพุมธองค์
ออกพรรษา
- หมู่สงฆ์ชาวโกสัมพีมาขอขมาต่อพระองค์ ทำให้สังฆสามัคคี
พรรษาที่ ๑๑
จำพรรษาที่หมู่บ้านพราหมณ์ เอกนาลา ใต้เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ
ออกพรรษา ไม่ปรากฏหลักฐาน
พรรษาที่ ๑๒
จำพรรษาที่ควงไม้สะเดา เมืองเวรัญชา
- ทรงไม่อนุญาตให้มีการบัญญัติสิกขาบท
ออกพรรษา
- เรื่องเอรกปัตตนาคราช
- พระนางปชาบดีเถรี ทูลลานิพพาน ประชุมเพลิง
- การอุปสมบท ๘ วิธี
พรรษาที่ ๑๓
จำพรรษาที่จาลิกบรรพต เมืองจาลิกา
- เรื่องพระเมฆิยะ
ออกพรรษา
- แสดงมงคลสูตร ๓๘ ประการ
- แสดงกรณีเมตตาสูตร
- เรื่องพระพาหิยะทารุจิริยะ
- พระอัญญาโกณฑัญญะทูลลานิพพาน
พรรษาที่ ๑๔
จำพรรษาที่วัดเชตวัน สาวัตถี
- สามเณรราหุลอุปสมบท
- ตรัสภัทเทกรัตตคาถา
- แสดงนิธิกัณฑสูตร
ออกพรรษา
- บัญญัติวิธีกรานกฐิน
- อนุญาตสงฆ์ รับการปวารณาปัจจัยเภสัชเป็นนิตย์
พรรษาที่ ๑๕
จำพรรษาที่นิโคธาราม กรุงกบิลพัสดุ์
- เจ้าศากายะถวายสัณฐาคาร
- แสดงสัปปุริสธรรม ๗ ประการ
- เรื่องพระเจ้าสุปปพุทธะถูกธรณีสูบลงอเวจี
ออกพรรษา
- ไม่ปรากฏหลักฐาน
พรรษาที่ ๑๗
จำพรรษาที่วัดเวฬุวัน
- พระทัพพมัลลบุตรทูลลานิพพาน
ออกพรรษา
- เรื่องพระวักกลิ
พรรษาที่ ๑๘
จำพรรษาที่จาลิกบรรพต เมืองจาลิกา
ออกพรรษา
- เสด็จเมืองอาฬาวีครั้งที่๒
- โปรดธิดาช่างหูกบรรลุโสดาปัตติผล
- ช่างหูกผู้เป็นบิดาขอบวชสำเร็จอารหัตตผล
- ตรัสอริยทรัพย์ ๗ ประการ
พรรษาที่ ๑๙
จำพรรษาที่จาลิกบรรพต เขตเมืองจาลิกา
ออกพรรษา
- เรื่องโปรดโจรองคุลีมาล
- เรื่องสันตติมหาอำมาตย์บรรลุอรหัตตผลแล้วนิพพาน
พรรษาที่ ๒๐
จำพรรษาที่เวฬุวัน เมืองราชคฤห์
- พระอานนท์ได้เป็นอุปัฏฐากประจำพระองค์
- พระอานนท์ทูลขอพร ๘ ประการ
พรรษาที่ ๒๑-๔๕
จำพรรษาที่วัดเชตวัน หรือ วัดบุพพาราม สลับกันไป
ออกพรรษาที่จาริกไปตามตำบลต่างๆ เพื่อโปรดเวไนยสัตว์
ประมาณพรรษาที่๒๑ จำวัดที่บุพพารามสาวัตถี
- พระองค์ทรงแสดงโอวาทปาฏิโทกข์ในที่ประชุมสงฆ์ทุกกึ่งเดือน ครั้งแรก
ประมาณพรรษาที่๒๖ พระราหุลนิพพาน
พรรษาที่๓๗ เทวทัตคิดปกครองสงฆ์
- วางแผนปลงพระชนม์พระศาสดา
- ปลงพระชนม์พระเจ้าพิมพิสาร
- พระเทวทัตถูกธรณีสูบ
พรรษาที่๓๘ แสดงสามัญญผลสูตรแก่อชาตศัตรู
- อชาตศัตรูแสดงตนเป็นพุทธมามกะ
- กรุงสาวัตถี
- อำมาตย์ก่อการขบถ
- พระเจ้าปเสนทิโกศลสิ้นพระชนม์
- พระเจ้าวิฑูฑภะฆ่าล้างวงศ์ศากยะ
- พระเจ้าวิฑูฑภะสิ้นพระชนม์
พรรษาที่๔๓ พระยโสธราเถรีนิพพาน
พรรษาที่๔๔ แสดงธรรมที่วัดเชตวัน
- ตอบปัญหาเทวดา
ออกพรรษา
- พระสารีบุตรทูลลานิพพาน
- พระสารีบุตรโปรดมารดาจนบรรลุโสดาปัตติผลพระสารีบุตรนิพพาน
- พระโมคคัลลานะถูกโจรที่เดียรถีย์จ้างมาทำร้าย
- พระโมคคัลลานะนิพพาน
- นางอัมพปาลีถวายอาราม นางอัมพปาลีบรรลุธรรม
พรรษาที่๔๕ ภิกษุจำพรรษารอบกรุงเวสาลี
- ตรัสอานุภาพอิทธิบาท ๔
- ทรงปลงอายุสังขาร ตรัสโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ
- นายจุลทะถวายสุกรมัททวะ
- ตรัสถึงสังเวชนียสถาน ๔แห่ง
- วิธีปฏิบัติกับพุทธสรีระปัจฉิมโอวาทแก่ภิกษุ
- เสด็จปรินิพพาน
ลำดับเหตุการณ์สำคัญโดยย่อในครั้งพุทธกาลเพื่อใช้จดจำลำดับเรื่องตลอดระยะเวลา ๔๕พระพรรษาที่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาส้มพุทธเจ้า ทรงมีพระเมตตาต่อปวงเวไนยสัตว์ จึงขอชาวพุทธทั้งหลายรำลึกย้อนรอยอดีตสู่กาลเวลาอันอุดมเลิศในวันเพ็ญอาสาฬหบูชานี้ นอกจากพุทธกิจอันเป็นมหาคุณใหญ่แล้วพระผู้มีพระภาคยังมีกิจ ๕ ประการในแต่ละวันเพื่ออำนวยประโยชน์สูงสุดแก่ชาวโลก เราชาวพุทธนับได้ว่าเป็นผู้มีบุญใหญ่ที่มีโอกาสพบสัจจธรรม อันเป็นความจริงซึ่งเป็นสิ่งล้ำค่าจะหาใดเปรียบได้เลย
|
โดย เณรวัส [16 ก.ค. 2546]