หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    พุทธศาสนา เป็น Pessimism หรือ Optimism

    พุทธศาสนา เป็น
    Pessimism หรือ Optimism

    พุทธศาสนา ไม่ใช่ทั้ง Pessimism (ลัทธิเห็นสิ่งทั้งปวงเป็นไปในแง่ร้าย)
    และ Optimism (เห็นเป็นไปในแง่ดี) เพราะ Pessimism และ Optimism
    เป็นลัทธิ ที่ดิ่งลงไป จนถึงที่สุด ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทั้งสองอย่าง

    ส่วนพุทธศาสนา สั่งสอนสัจธรรม อันเดิน ไปตาม สายกลาง,
    Pessimism
    นั้น จัดได้ว่าเป็นมูลแห่ง อัตตกิลมถานุโยค,
    Optimism
    ก็เป็นทางมาแห่ง กามสุขัลลิกานุโยค
    ทั้งสองลัทธินั้น ไม่กล่าวถึง การแก้ไข ให้ความ เป็นเช่นนั้นๆ
    กลายเป็นตรงกันข้าม กับที่เป็นอยู่หรือที่เป็นมาแล้วได้

    ส่วนพุทธศาสนา สอนให้ดูโลกในแง่ของ Pessimism ก่อนแล้ว และสอน
    หนทางแก้ไข ให้มันกลายเป็นดีไป ซึ่งเป็นอันว่า ไม่ปัด Optimism เสียทีเดียว
    พุทธศาสนาสอนว่า ชีวิตนี้ เต็มไปด้วย อาการที่ทนยาก เป็น มายา เหลวไหล
    ถูกกักขัง และทรมาน อยู่โดยอวิชชา ไม่ได้อย่างใจหวัง สักอย่างเดียว
    ทั้งส่วนร่างกาย หรือ ส่วนจิตใจ ก็ตาม นี่แสดงว่า คล้ายกับ จะเอียงไปฝ่าย
    Pessimism แต่ พุทธศาสนา ไม่ได้สอน เพียงเท่านั้น ได้สอนวิธี ที่จะทำชีวิตให้
    ตรงกันข้ามกับอาการเช่นนั้นได้ด้วย คือ อัฏฐังคิกมัคค์ หรือ มัชฌิมาปฏิปทา
    อันมีหลักสั้นๆ ว่า ชีวิตอาจบริสุทธิ์และหลุดพ้นจากการทรมานได้ด้วยการประพฤติ
    อย่างถูกต้อง ของเราเอง จนเราอาจเป็นผู้ที่มีความเยือกเย็นใจของเราเองได้เสมอ
    ทุกๆ ฉาก ที่โลกมันจะปรวนแปรไป ความคิดนึกในใจของพุทธบริษัท ไม่ได้ถูก
    บังคับให้เชื่อ หรือเห็นอยู่ในวงจำกัด ดุจพวก Pessimist หรือ Optimist เมื่อ
    เขายังพอใจที่จะหมุนกลิ้งไปกับโลก อันเอิบอาบไปด้วยความดีใจและเสียใจ เขาก็
    มีอิสระที่จะทำเช่นนั้น เมื่อเขาเห็นว่ามันน่าเบื่อหน่าย เขาก็มีอิสระและหนทางที่จะ
    เอาชนะมันเสียได้อย่างเด็ดขาด เพราะเหตุนี้เอง พุทธศาสนาจึงมิใช่ Pessimism
    หรือ Optimism เลย เป็นแต่มีแง่บางแง่ ที่อาจลวงตา คนบางคน ให้เห็นเป็น
    Pessimism หรือ Optimism อย่างใดอย่างหนึ่ง ตามที่ เขาจะเห็น ไปใน
    บางคราวเท่านั้น

    "จะมัวหัวเราะอะไรกัน บันเทิงอะไรกัน ก็เมื่อโลก อันเป็นที่อยู่อาศัย ของหมู่สัตว์นี้
    มันลุกโพรงอยู่เป็นนิจ" นี่เป็นพระพุทธภาษิต (ชราวัคค์, ธ. ขุ.) ซึ่งแสดงว่าพระองค์
    ก็ทรงเห็นโลก เช่นเดียวกันกับ พวก Pessimist เห็น แต่ติดต่อไปจากคำข้างต้น
    นั่นเอง พระองค์ได้ตรัสสืบไปว่า "พวกท่านทั้งหลาย ถูกความมืดบอด ครอบงำ
    หุ้มห่อไว้เต็มที่แล้ว ก็ยังไม่แสวงหาประทีปเครื่องนำของตนเอง " ซึ่งแสดงว่า
    แสงสว่าง แห่งความรอดพ้น นั้นมีอยู่ นี่เราจะเห็นได้ว่า ไม่ทรงปฏิเสธ พวก
    Optimist และพระองค์ เป็นพวกกลาง คือ มัชฌิมาปฏิปทา โดยแท้

    ในที่อื่นตรัสว่า "สิ่งที่มีเหตุมีปัจจัยปรุงแต่ง ตัวมันเอง ทุกๆ สิ่งไม่เที่ยงแท้ถาวร,
    เป็นทุกข์ และทั้งสิ่งที่มีเหตุปัจจัย และไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัยปรุงแต่งตัวมัน ทั้งสอง
    อย่าง ไม่ใช่เป็นสิ่ง ซึ่งเป็นตัว เป็นตน  หรือมีตัว มีตน อยู่ในมัน " นี่แสดงว่า ทุกๆ
    สิ่งในโลกนี้เป็นพิษแก่ผู้ที่เข้าไปยึดถือโดยประการทั้งปวง แต่มิได้แสดงว่าเราไม่มี
    หนทางที่จะวางสิ่งนั้นๆ หรือเอาชนะ อยู่เหนืออิทธิพลของสิ่งนั้นได้ เพราะเหตุว่า
    พร้อมกันนั่นเอง พระองค์ได้ทรงสอน วิธีแห่ง โลกุตตรปฏิปทา-ทางที่จะเป็นอิสระ
    อยู่เหนือโลกไว้อย่างแจ่มแจ้งชัดเจนยิ่งด้วย เมื่อเรามีใจหลุดพ้นแล้วโลกก็ไม่เป็น
    พิษต่อเรา เช่นนี้ เราจะมาบัญญัติว่า โลกนี้เป็นยาพิษหรือเป็นอาหารที่ดีของมนุษย์
    เด็ดขาดลงไปอย่างไรได้ สุราหรือแอลกอฮอล์, เมื่อเราแพ้มัน ดื่มด้วยความโง่เขลา
    มันก็เป็นของให้โทษ เมื่อใช้เป็นยา ด้วยความมี สติสัมปชัญญะ ก็ปรากฏว่า มันเคย
    ช่วยชีวิตมนุษย์ไว้แล้ว มีจำนวนไม่น้อย เราจะกล่าวว่า สุรา เป็นโทษ หรือ เป็นคุณ
    โดยส่วนเดียว อย่างใด อย่างหนึ่ง ยังมิชอบฉันใด การที่จะกล่าวว่า โลกนี้เป็น
    Pessimism หรือ Optimism โดยเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ไม่ได้ฉันนั้น
    เรา หลงใหล ต่อโลก โลกก็เป็นพิษต่อเรา เมื่อเราเอาชนะโลกได้ มันก็เป็น เครื่อง
    อุปกรณ์ แก่เราได้ อย่างดี เช่นเดียวกับ ช้างที่เรายังฝึกมันไม่ได้ กับเมื่อเราฝึกมัน
    จนเชื่องดีแล้ว ฉันใดก็ฉันนั้น

    พุทธทาสภิกขุ

    ๑ กันยายน ๒๔๗๕


    • Update : 27/4/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch