หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    พระพุทธปาลิไลยฯ วัดพระเชตุพนฯ


    "กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงแห่งราชอาณาจักรไทย อันมีความหมายถึงนครแห่งทวยเทพ มีหัวใจอยู่ที่เกาะกรุงรัตนโกสินทร์ อันเป็นพื้นที่แรกสร้างพระนคร นับเป็นพื้นที่ที่สั่งสมมรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย ไว้ให้เราชนรุ่นหลัง ได้เห็นได้เรียนรู้ได้รับรู้บังเกิดความภาคภูมิใจและนำความรู้ทั้งหลายทั้งปวง มาปฏิบัติตาม ประกอบอาชีพกันด้วยสัมมาอาชีวะจนถึงทุกวันนี้

    "วัดโพธิ์ หรือนามทางการว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก และเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวัดโพธาราม เป็นวัดหลวง ข้างพระบรมมหาราชวัง และที่ใต้พระแท่นประดิษ ฐานพระพุทธเทวปฏิมากร พระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถ เป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิของพระองค์ท่านไว้ด้วย

    พระอารามหลวงแห่งนี้มีเนื้อที่ 50 ไร่ 38 ตารางวา อยู่ด้านทิศใต้ของพระบรมมหาราชวัง ทิศเหนือจดถนนท้ายวัง ทิศตะวันออกจดถนนสนามไชย ทิศใต้จดถนนเศรษฐการ ทิศตะวันตกจดถนนมหาราช มีถนนเชตุพน ขนาบด้วยกำแพงสูงสีขาวแบ่งเขตพุทธาวาส และสังฆาวาสชัดเจน

    มีหลักฐานปรากฏในศิลาจารึกไว้ว่า หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนาพระ บรมมหาราชวังแล้ว ทรงมีพระราชดำริว่า มีวัดเก่าขนาบพระบรมมหาราชวัง 2 วัด ด้านเหนือ คือ วัดสลัก (วัดมหาธาตุฯ) ด้านใต้คือ วัดโพธาราม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ขุนนางเจ้าทรงกรม ช่างสิบหมู่อำนวยการบูรณปฏิสังขรณ์ เริ่มเมื่อปี พ.ศ.2331

    ใช้เวลา 7 ปี 5 เดือน 28 วัน จึงแล้วเสร็จ และโปรดฯ ให้มีการฉลองเมื่อปี พ.ศ.2344 พระราชทานนามใหม่ ว่า "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาส"

    ทั้งนี้ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ นานถึง 16 ปี 7 เดือน ขยายเขตพระอารามด้านใต้และตะวันตก คือ ส่วนที่เป็นพระวิหารพระพุทธไสยาสน์สวน มิสกวัน สถาปนาขึ้นใหม่พระมณฑป ศาลาการเปรียญ และสระจระเข้ บูรณปฏิ

    สังขรณ์ใหม่ เป็นโบราณสถาน ในพระอารามหลวง ที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้

    ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้โปรดฯ ให้เปลี่ยนท้ายนามวัดเป็น "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม"

    แม้การบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งล่าสุด เมื่อฉลองกรุงเทพฯ 200 ปี พ.ศ.2525 เป็นเพียงซ่อมสร้างของเก่าให้ดีขึ้น มิได้สร้างเสริมสิ่งใดๆ

    เกร็ดประวัติศาสตร์ของการสถาปนาและการบูรณปฏิสังขรณ์วัดโพธิ์แห่งนี้ บันทึกไว้ว่า รัชกาลที่ 1 และที่ 3 ได้ระดมช่างในราชสำนัก ช่างวังหลวง ช่างวังหน้า และช่างพระสงฆ์ที่อยู่ในวัดต่างๆ ผู้เชี่ยวชาญงานศิลปกรรมสาขาต่างๆ ได้ทุ่มเทผลงานสร้างสรรค์พุทธสถาน และสรรพสิ่งที่ประดับอยู่ในวัดพระอารามหลวงด้วยพลังศรัทธา ตามพระราชประสงค์ของพระองค์ท่านที่ให้เป็นแหล่งรวมสรรพศิลป์ สรรพศาสตร์ เปรียบเป็นมหาวิทยาลัยแห่งสรรพวิชาไทย (มหา วิทยาลัยเปิดแห่งแรก) ที่รวมเอาภูมิปัญญาไทย ไว้เป็นมรดกให้ลูกหลานไทยได้เรียนรู้กับอย่างไม่รู้จบสิ้น

    ณ พระวิหารด้านทิศเหนือ เป็นที่ประดิษฐาน "พระพุทธปาลิไลย ภิรัติไตรวิเวก เอกจาริกสมาจาร วิมุตติญาณบพิตร" หล่อด้วยสัมฤทธิ์สูง 209 นิ้ว หรือ 8 ศอกคืบ 5 นิ้ว ประทับนั่งบนก้อนศิลา มีช้างหมอบงวงถือคนทีน้ำและวานรถือรวงผึ้ง ศิลปะสมัยรัตน โกสินทร์

    เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม โปรดฯ ให้หล่อพระพุทธรูปปางปาเลไลยก์ขึ้นใหม่สำหรับประดิษฐานในวิหารทางทิศเหนือ

    ดังศิลาจารึกวัดพระเชตุพนฯ ระบุว่า "พระพุทธรูปหล่อใหม่สูงแปดศอกคืบห้านิ้ว ประดิษฐานไว้ในวิหารทิศเหนือ บรรจุพระบรมธาตุถวายพระนามว่าพระปาลิไลย มีช้างถวายคนทีน้ำ มีวานรถวายรวงผึ้ง แลผนังนั้นเขียนไตรภูมิ มีเขาพระสุเมรุราชและเขาสัตตะพันต์ทวีปใหญ่ทั้งสี่ และเขาพระนิพพานต์ อโนดาตสระ แลปัญจมหานที"

    สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระมหาเจดีย์ประจำพระองค์ในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

    เมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปทรงก่อพระฤกษ์ในวันที่ 2 ธันวาคม 2396 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ถวายพระนามพระพุทธรูปต่างๆ ที่ประดิษฐานในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

    ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ถวายพระนามว่า "พระพุทธปาลิไลย ภิรัติไตรวิเวก เอกจาริกสมาจาร วิมุตติญาณบพิตร"

    • Update : 19/4/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch