หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การสวดภาณยักษ์

    Image

    ก า ร ส ว ด ภ า ณ ยั ก ษ์

    คำว่า “ภาณ” ตามความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
    ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ให้ความหมายว่า การบอก การกล่าว การสวด

    ดังนั้นเราใช้ว่า “สวดภาณ” จึงเป็นการซ้อนคำ ซ้ำความหมาย
    บางทีเรียกว่า “สวดภาณยักษ์”

    ในอดีต การสวดภาณยักษ์มีอยู่สองแบบคือ
    สวดภาณวาร และ สวดภาณยักษ ์
    ซึ่งการสวดทั้งสองอย่างนี้มีความแตกต่างกันคือ

    ๑. ภาณวาร

    เป็นการสวดแบบมีทำนองครุ ลหุ คือมีการเน้นเสียงหนักเบา
    ใช้น้ำเสียงสวดที่ไพเราะไม่ กระแทกกระทั้นดุดัน เหมือนการสวดภาณยักษ์

    ๒. ภาณยักษ์

    เป็นการสวดที่มีน้ำเสียงกระแทกกระทั้นดุดันเกรี้ยวกราด
    และน่ากลัวจึงได้เรียกว่า สวดแบบ ภาณยักษ์นั่นเอง
    ใช้สวดเพื่อขับไล่ยักษ์หรือภูตผีต่างๆ

    การสวดภาณยักษ์ได้เริ่มมีขึ้นในประเทศไทย
    เข้าใจว่าตั้งแต่ครั้งสมัยของพ่อขุนรามคำแหง
    ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากพระสงฆ์ทางลังกาสายเถรวาท

    โดยเริ่มเข้ามาทางด้านจังหวัดนครศรีธรรมราช
    จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
    เสด็จนครศรีธรรมราชจึงได้นำมาจัดเป็นพิธีประจำปี สำหรับพระนคร
    เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่พระนคร และแก่พระเจ้าแผ่นดิน

    Image

    เพราะมีความเชื่อกันว่า บ้านเมืองหนึ่งๆ จะมีผีที่ดีและผีที่ไม่ดีอาศัยอยู่
    ผีที่ไม่ดีเรียกว่า ภูติผีปิศาจ ส่วนผีที่ดีเรียกว่า เทพยดา

    และที่บ้านเมืองมีเหตุเพทภัยต่างๆ เกิดขึ้น
    ก็เป็นเพราะเกิดจากภูติผีปิศาจ กลั่นแกล้งบันดาลให้เป็นไป

    ดังนั้นเมื่อสิ้นปีหนึ่งไป จึงได้ทำพิธีสวดภาณยักษ์
    เพื่อเป็นการขับไล่ภูตผีกันสักครั้ง เพื่อความเป็นสิริมงคล
    และความร่มเย็นเป็นสุขของบ้านเมือง และแก่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินทั้งปวง
    จึงเป็นสาเหตุที่มีการทำพิธีสวดภาณยักษ์กันขึ้นมานั่นเอง


    นอกจากนี้ พิธีสวดภาณยักษ์ในสมัยก่อนจะมีการยิงปืนใหญ่ด้วย
    เป็นปืนโบราณใส่ดินปืนกระทุ้ง ที่มีเสียงดังตูมตามๆ น่ากลัวมาก
    กล่าวกันว่าเพื่อให้ยักษ์กลัว ไม่ใช้ปืนเล็กๆ เช่นปืนสมัยปัจจุบัน

    อนึ่ง การสวดภาณยักษ์นั้นแท้จริงแล้ว
    ก็คือ การสวดพระอาฏานาฏิยปริตร โดยพระปริตรนี้
    แบ่งเป็น ๒ ภาค คือ ภาคภาณพระ และ ภาคภาคยักษ์

    โดยตามพระพุทธประวัติกล่าวว่า
    หลังจากพระมหาบุรุษตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วนั้น
    ท้าวจตุโลกบาลก็มาเข้าเฝ้า พระพุทธเจ้าก็ตรัสกล่าวถึงพระพุทธวงศ์
    คือพระนามพระพุทธเจ้าที่เคยตรัสรู้มาแล้ว (ภาณพระ)

    จากนั้นท้าวจตุโลกบาลก็มีดำริว่าบริวารของตนนั้นมีมากมาย
    ทั้งที่เป็น ยักษ์ กุมภัณฑ์ นาค และคนธรรพ์
    ซึ่งมีมายมากที่ไม่มีจิตเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
    กลัวว่าจะมารบกวนพระสงฆ์สาวกที่ไม่มีฤทธิ์
    ขณะจาริกและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานให้ได้ความเดือดร้อน
    จึงถวายพระปริตรนามว่า อาฏานาฏิยปริตร แด่พระพุทธเจ้า
    เพื่อให้พระสงฆ์นำไปสวดกัน (ภาณยักษ์)

    Image

    โดยในพระปริตรดังกล่าวจะกล่าวถึงพระนามของท้าวจตุโลกบาล
    ทั้งนี้เมื่อบริวารของท้าวจตุโลกบาล
    เมื่อได้ยินพระนามท้าวเธอก็ย่อมจะเกรงกลัว และเร้นกายไปไม่มารบกวน

    ดังนั้นความเชื่อของชาวพุทธ เมื่อเกิดเหตุการณ์ร้ายไม่มีในบ้านเมือง
    ก็จะนิมนต์ให้พระสงฆ์สวดภาณยักษ์
    ดังเช่นในสมัยต้นกรุงฯ ได้เกิดโรคห่า
    ยุคนั้นก็มีการสวดภาณยักษ์กันมากมาย

    แต่จริงๆแล้ว พระอาฏานาฏิยปริตร นั้น
    เวลาเรานิมนต์พระมาเจริญพระพุทธมนต์เย็น พระท่านก็จะสวดอยู่แล้ว
    เพราะพระปริตรดังกล่าวนั้นได้รวมอยู่ทั้งในจุลราชปริตร (สวด ๗ ตำนาน)
    และมหาราชปริตร (สวด ๑๒ ตำนาน) อยู่แล้ว

    การสวดภาณยักษ์นั้น ถือกันว่าเป็น “พุทธโอสถ”
    ที่จะช่วยขจัดปัดเป่าอัปมงคลออกไปจากร่างกาย
    ทำนองเดียวกับการทำบุญสวดบ้านเมื่อมีเรื่องร้าย
    แต่ต่างกันที่สวดภาณยักษ์
    เป็นการชักชวนคนจำนวนมากมาร่วมทำในพิธีคราวเดียวกัน

    โดยเมื่อเริ่มพิธีกรรม
    จะมีพระสงฆ์ที่ยกย่องกันว่าเชี่ยวชาญเชิงอาคมและขมังเวทย์จำนวนสี่รูป
    นั่งบนอาสนะประจำทิศทั้งสี่ อีกสี่รูป รวมกันอยู่ด้านหน้าพิธี
    ท่องบทสวดและผสมเสียงใส่กัน ฟังคล้ายเสียงประกอบหนังสยองขวัญ
    ลี้ลับดุดันน่าขนลุก และออกจะน่ากลัวสำหรับคนจิตอ่อน

    Image

    หลังการสวดดำเนินไปสักพักก็ถึงช่วงสำคัญ
    พระสงฆ์ที่นั่งประจำทิศทั้งสี่เริ่มประพรมน้ำมนต์
    ผู้ร่วมพิธีบางคน (ที่เชื่อว่ามีสิ่งของไม่ดีอยู่ในตัว)
    จะออกอาการแปลกๆ บางคนร้องไห้โฮ บ้างสั่นเหมือนเจ้าเข้า
    และผู้หญิงบางคนก็ออกท่าทางร่ายรำ
    และคนเหล่านี้ก็จะได้รับการช่วยเหลือจากหมู่พระสงฆ์เหล่านั้นให้คืนสู่สภาพปกติ

    แต่ในปัจจุบัน
    การสวดภาณยักษ์ได้กลายเป็นพุทธพาณิชย์เชิงธุรกิจแล้ว
    มีนายหน้ามาขอเช่าสถานที่ของวัด
    จัดพิธีสวดฯ กันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน
    มีหน้าม้า ค้าวัตถุมงคล ผ้ายันต์ สารพัด
    ซึ่งเป็นธุรกิจที่หากินกับความศรัทธาของชาวพุทธ
    ที่ยังไม่เข้าใจถึงพระธรรมคำสอน
    ของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างแท้จริง


    อย่างไรก็ตาม ศ.(พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก ราชบัณฑิต
    ได้เคยกล่าวไว้ว่า

    มีผู้กล่าวว่า บทสวดหรือพระสูตรนี้ แต่งเติมภายหลัง
    มิใช่เรื่องของพระพุทธศาสนา แต่พิเคราะห์ดูเนื้อหาแล้ว
    เป็นบทสวดสรรเสริญอดีตพุทธะ มีพระวิปัสสีพุทธเจ้าเป็นต้น
    จะขับไล่ยักษ์มารได้จริงหรือไม่ คงมิใช่ประเด็น

    ที่สำคัญคือ เมื่อสวดประจำย่อมสามารถขับไล่ “ยักษ์ภายใน”
    คือโลภ โกรธ หลง ออกจากใจได้แน่นอน


    • Update : 16/4/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch