หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การประเคนสิ่งของแก่พระภิกษุ

    Image

    • การประเคนสิ่งของแก่พระภิกษุ

    บัดนี้การถวายสิ่งของต่างๆ ให้แก่พระภิกษุรับเรียกว่า ประเคนสิ่งของ
    เราควรทำความเข้าใจให้รู้ก่อนว่าทำอย่างไรจึงจะเหมาะสมและถูกต้องดี

    ในการประเคนของนั้นขนาดและน้ำหนักของสิ่งที่จะประเคนนั้น
    ควรจะเป็นสิ่งของพอบุรุษมีกำลังยกคนเดียวได้ หรือไม่หนักเกินไป
    เพื่อจะยกประเคนได้สะดวกและพระก็รับประเคนได้สะดวกเช่นกัน

    ส่วนสิ่งของที่น้ำหนักเบาและขนาดเล็กน้อยนั้น ก็ไม่มีปัญหาอะไร
    เมื่อหากว่าทายกจัดเตรียมสิ่งของเหล่านั้นเสร็จแล้วพระก็นั่งเรียบร้อยดี

    เราก็ถือสิ่งของเหล่านั้นเข้าไปใกล้พระให้ได้ หัตถบาท
    คือให้ห่างกันประมาณ ๑ ศอกคืบ หรือ ๒ ศอก
    พอเหมาะสมกับสถานที่นั้นๆ ด้วย
    แล้วยกของนั้นประเคนพระภิกษุ ให้สูงพอแมวลอดได้
    พระภิกษุก็น้อมรับสิ่งของที่โยมถวายแก่ตนด้วยความเคารพเช่นกัน

    Image

    การรับประเคนสิ่งของ

    ถ้าโยมยกของถวาย ๒ มือ พระก็ต้องรับของ ๒ มือ
    ถ้าโยมยกของถวายมือเดียว พระก็รับของมือเดียวเช่นกัน
    ถือว่าถูกต้องในการประเคนสิ่งของสำหรับโยมผู้ชาย

    ถ้าหากว่าเป็น โยมผู้หญิง ประเคนสิ่งของแก่พระภิกษุนั้น
    ก็ควรจะนั่งห่างจากพระภิกษุประมาณ ๒ ศอก หรือให้เหมาะสมกับสถานที่นั้นๆ

    พระภิกษุเมื่อจะรับประเคนสิ่งของจากโยมผู้หญิงนั้น
    ก็ควรมีผ้าสำหรับรับประเคน หรือผ้าที่ควรหาได้ว่าเหมาะสมก็ได้
    แล้ววางผ้านั้นลงที่ตรงหน้าของตนให้เรียบร้อยแล้ว
    โยมผู้หญิงก็น้อมสิ่งของที่จะถวายพระวางลงบนผ้าที่พระท่านจัดผู้ไว้นั้นด้วยความเคารพ

    ถ้าโยมยกของถวาย ๒ มือ พระก็ต้องจับผ้า ๒ มือ
    ถ้าโยมยกของถวายมือเดียว พระก็จับผ้ามือเดียว เช่นกัน
    ด้วยความเคารพในสิ่งของที่ตนบริจาคทานด้วยกันทั้ง ๒ ฝ่าย
    จึงเรียกว่าเป็นการประเคนสิ่งของให้พระภิกษุอย่างถูกต้อง
    และแลดูสวยงามเหมาะสมในทางพระพุทธศาสนา


    Image

    • การทำบุญตักบาตร

    บัดนี้ การทำบุญตักบาตรแก่พระภิกษุสามเณรนั้น
    ญาติโยมควรพากันปฏิบัติให้ถูกต้องเช่นกันในการใส่บาตรหรือตักบาตรพระ
    เมื่อพระภิกษุสามเณรออกไปบิณฑบาตตามกิจวัตรของท่าน
    ถ้าญาติโยมมีความประสงค์ อยากทำบุญใส่บาตรพระตามกำลังศรัทธาของตน

    เมื่อพระเดินมาบิณฑบาต
    หากเราเตรียมอาหารเพื่อจะใส่บาตรเรียบร้อยแล้ว
    ก็นำอาหารเหล่านี้ออกมาตั้งในที่ใดที่หนึ่ง ที่เห็นว่าสมควร หรือถืออาหารออกไป
    เพื่อใส่บาตรเมื่อพระมายืนเฉพาะหน้าของตน
    ท่านเปิดฝาบาตรออกเพื่อรับภัตตาหารจากโยม
    โยมก็จัดอาหารนั้นใส่บาตรพระตามประสงค์ของตน

    การตักบาตรหรือการใส่บาตรนั้น

    ถ้าญาติโยมใส่รองเท้าอยู่ ควรถอดรองเท้าเสียก่อนจึงใส่บาตร
    เพราะว่าพระภิกษุท่านไม่ได้ใส่รองเท้ามาบิณฑบาต
    เราก็ไม่ควรที่จะใส่รองเท้าเหมือนกันเพราะจะทำให้สูงกว่าพระภิกษุสามเณร
    จึงเป็นการไม่เคารพต่อพระภิกษุสามเณรและกองบุญของตน


    เว้นไว้แต่ข้าราชการทหาร ตำรวจ ที่อยู่ในชุดเครื่องแบบประจำ
    จึงใส่บาตรได้โดยไม่ต้องถอดรองเท้า
    นอกนั้นต้องถอดรองเท้าจึงเป็นการเคารพในการทำบุญตักบาตรของตน

    ถ้านิมนต์ให้พระท่านยืนรับบิณฑบาตบนยกพื้นที่อยู่สูงกว่าที่โยมยืนอยู่
    โยมจะสวมรองเท้าเวลาตักบาตรก็ได้
    เพราะพระท่านอยู่ในที่สูงโยมแล้วหรือถ้าโยมถอดรองเท้า
    ยืนรอตักบาตรอยู่บนเสื่อแล้วจะนิมนต์ให้ท่านยืนรับบิณฑบาตบนเสื่อด้วย
    ก็ใช้ได้เพราะโยมไม่ได้ยืนอยู่บนที่สูงกว่าพระ
    คืออยู่บนที่สูงระดับเดียวกันก็ได้เช่นกัน

    Image

    • Update : 16/4/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch