หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    พี่น้องชาววัดอรุณ เทริดพระเกียรติ องค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหา

    พี่น้องชาววัดอรุณ ร่วมกันเทริดพระเกียรติ องค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

    วันที่ 28 ธันวาคมของทุกปี ถือเป็นวันสำคัญของประวัติศาสตร์ชาติไทยอีกหนึ่งวัน เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันปราบดาภิเษกสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระมหากษัตริย์ผู้กอบกู้เอกราชจากพม่าให้แก่ประเทศไทย และเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงธนบุรีเพียงพระองค์เดียว

    ทีมงานกะฉ่อนดอทคอมโดยบิ๊กบอสของเรา คุณวิทย์ วัดอรุณได้ร่วมกับคุณวันชัย ลาภวิไลพงศ์หรือเสี่ยโต ประธานเหยี่ยวเวหา บ.ก.เขต 7 และเป็นประธานชุมชนลานมะขามบ้านหม้อ,คุณเลอพงษ์ แก้วพิพัฒน์หรือคุณหน่องประธานที่ปรึกษาชุมชนลานมะขามบ้านหม้อ,บ.กะฉ่อนคอมสทรัคชั่น จำกัดโดย คุณแว่น วัดอรุณและพี่น้องชาววัดอรุณ ได้ร่วมกันจัดพิธีบวงสรวงเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติแด่องค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มหาราชผู้ยิ่งใหญ่ในใจพวกเราชาววัดอรุณและในใจของปวงชนชาวไทญทุกๆคน

    ทีมงานกะฉ่อนดอทคอม ได้สอบถามบิ๊กบอสของเรา คุณวิทย์ วัดอรุณ ถึงความเป็นมาของการจัดงานในครั้งนี้ว่าเป็นมาอย่างไร คุณวิทย์ วัดอรุณได้ตอบว่า พวกเราชาววัดอรุณได้ร่วมกันจัดพิธีบวงสรวงเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติแด่องค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชขึ้นทุกปี เพราะชาวชุมชนวัดอรุณนั้นมีที่ตั้งพักอาศัยอยู่ในเขตวัดอรุณ วัดอรุณเคยเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังเดิมขององค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พวกเราชาววัดอรุณมีความรักเคารพและความศรัทธาในองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเป็นอย่างยิ่ง ผมและคุณแว่น วัดอรุณได้คิดจัดงานนี้ขึ้นเมื่อสี่ปีที่แล้วเป็นงานเล็กๆ แต่เพราะพลังความศรัทธาของพี่น้องชาววัดอรุณได้ออกมาช่วยกันจึงทำให้งานนี้ใหญ่ขึ้นๆทุกปี ในปีนี้ก็ได้เพื่อนรักคุณวันชัย ลาภวิไลพงศ์หรือเสี่ยโต ประธานเหยี่ยวเวหา บ.ก.เขต 7 และเป็นประธานชุมชนลานมะขามบ้านหม้อและคุณเลอพงษ์ แก้วพิพัฒน์หรือคุณหน่องประธานที่ปรึกษาชุมชนลานมะขามบ้านหม้อเข้ามาช่วยในเรื่องเวทีและยังสนับสนุนในเรื่องต่างๆอีก ก็ยิ่งทำให้งานเทิดพระเกียรติแด่องค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในปีนี้ดูดีสมบูณร์ขึ้นมาก ก็ขอขอบคุณพี่ๆน้องๆเพื่อนๆทุกๆคนที่ได้ออกมาร่วมแรงร่วมใจกัน ทำให้งานเทิดพระเกียรติแด่องค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในปีนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

    พิธีบวงสรวงเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติแด่องค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในปีนี้ของพวกเราชาววัดอรุณ จัดขึ้นบริเวณปากซอยอรุณรินทร์ 11 ตรงข้ามกับทางเข้าวัดอรุณ พิธีบวงสรวงจะเริ่มในเวลา 09.09 น. พวกเราชาววัดอรุณจึงใคร่อยากเรียนชวนพี่น้องท่านผู้มีจิตศรัทธาเคารพใน องค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในพื้นที่ใกล้เคียงกับบริเวณจัดงานให้มาร่วมพิธีบวงสรวงองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชครั้งนี้ เพื่อเป็นการเทริดพระเกียรติแด่องค์มหาราชผู้ยิ่งใหญ่ในใจพวกเราชาววัดอรุณและในใจของปวงชนชาวไทญทุกๆคนครับ

    พระราชประวัติของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

     สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือ พระเจ้ากรุงธนบุรี มีพระนามเดิมว่า สิน ( ชื่อจีนเรียกว่า เซิ้นเซิ้นซิน ) เป็นบุตรของขุนพัฒน์ ( นายหยง หรือ ไหฮอง แซ่อ๋อง บางตำราก็ว่า แซ่แต้ ) และ นางนกเอี้ยง ( กรมพระเทพามาตย์ ) เกิดเมื่อวันอาทิตย์ มีนาคม พ.ศ. 2277 ในแผ่นดิน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา ต่อมา เจ้าพระยาจักรีผู้มีตำแหน่งสมุหนายกเห็นบุคลิกลักษณะ จึงขอไปเลี้ยงไว้เหมือนบุตรบุญธรรม ตั้งแต่ครั้งยังเยาว์วัยได้รับการศึกษาขั้นต้นจากสำนักวัดโกษาวาส (วัดคลัง ) และ บรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุ 13 ขวบ ที่วัดสามพิหาร หลังจากสึกออกมาแล้ว ได้เข้ารับราชการเป็นมหาดเล็ก และ อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่ออายุครบ 21 ปีตามขนบประเพณี ของไทยบวชอยู่ 3 พรรษา หลังจากสึกออกมาได้เข้ารับราชการ ต่อ ณ. กรมมหาดไทยที่ศาลหลวงในกรมวัง ต่อมาในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศน์) จึงได้รับบรรดาศักดิ์เป็นหลวงยกกระบัตรเมืองตากจนได้เป็นพระยาตาก ในเวลาต่อมา หลังจากนั้นได้ถูกเรียกตัวเข้ามาในกรุงศรีอยุธยา เพื่อแต่งตั้งไปเป็น พระยาวชิรปราการ เจ้าเมืองกำแพงเพชรแทนเจ้าเมืองคนเก่าที่ถึงแก่อนิจกรรมลงใน พ.ศ. 2310 ครั้นเจริญวัยวัฒนา ก็ได้ไปถวายตัวทำราชการกับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีความดีความชอบจนได้รับเลื่อนหน้าที่ราชการไปเป็นผู้ปกครองหัวหน้าฝ่ายเหนือคือ เมืองตาก และเรียกติดปากมาว่า พระยาตากสิน สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชครองราชย์สมบัติกรุงธนบุรีได้ 15 ปีเศษ ก็สิ้นพระชนม์มีชนมายุ 48 พรรษา กรุงธนบุรีมีกำหนดอายุกาลได้ 15 ปี

    ผลงานอันสร้างชื่อของพระเจ้าตากสิน

    สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระองค์มีความสำคัญที่ชาวไทยไม่สามารถจะลืมในพระคุณงามความดีที่ทรงกอบกู้เอกราชเริ่มแต่ในวันที่ 3 มกราคม พ.ศ.2309 ซึ่งตรงกับวันเสาร์ ขึ้น 4 ค่ำ เดือนยี่ จุลศักราช 1128 ปีจอ อัฐศก พระยาวชิรปราการ (ยศในขณะนั้น) เห็นว่ากรุงศรีอยุธยาคงต้องเสียทีแก่พม่า จึงตัดสินใจรวบรวมทหารกล้าราว 500 คน ตีฝ่าวงล้อมทหารพม่า โดยตั้งใจว่าจะกลับมากู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนให้ได้โดยเร็ว ทรงเข้ายึดเมืองจันทบุรี เริ่มสะสมเสบียงอาหาร อาวุธ กำลังทหาร เพื่อเข้าทำการกอบกู้กรุงศรีอยุธยา กรุงศรีอยุธยาแตกเมื่อวันอังคาร ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 8 ปีกุน นพศก จุลศักราช 1129 ตรงกับ พ.ศ.2310 และสมเด็จพระเจ้าตากสิน สามารถกู้กลับคืนมาได้ เมื่อวันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 จุลศักราช 1129 ปีกุน นพศก ซึ่งตรงกับวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ.2310 รวมใช้เวลารวบรวมผู้คนจนเป็นทัพใหญ่กลับมากู้ชาติด้วยระยะเวลาเพียง 7 เดือนเท่านั้น เมื่อทรงจัดการบ้านเมืองเรียบร้อยพอสมควร บรรดาแม่ทัพ นายกอง ขุนนาง ข้าราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ตลอดทั้งสมณะพราหมณาจารย์และอาณาประชาราษฎร์ทั้งหลาย จึงพร้อมกันกราบบังคมทูลอัญเชิญขึ้นทรงปราบดาภิเษก เป็นพระมหากษัตริย์ ณ วันพุธ เดือนอ้าย แรก 4 ค่ำ จุลศักราช 1130 ปีชวด สัมฤทธิศก ตรงกับวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2310 ทรงพระนามว่า พระศรีสรรเพชญ์ หรือสมเด็จพระบรมราชาที่ 4 แต่เรียกขานพระนามของพระองค์ติดปากว่า สมเด็จพระเจ้าตากสิน หรือสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

    พระราชกรณียกิจที่สำคัญๆ

    นอกจากพระราชกรณียกิจในด้านกู้ชาติแล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสิน ยังได้ปราบอริราชศัตรูที่มักจะล่วงล้ำเขนแดนเข้ามาซ้ำเติมไทยยามศึกสงครามอยู่เสมอ จนในสมัยของพระองค์ได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างไพศาล กล่าวคือ ทิศเหนือ ได้ดินแดนหลวงพระบาง และเวียงจันทน์ ทิศใต้ ได้ดินแดนกะลันตัน ตรังกานู และไทรบุรี ทิศตะวันออก ได้ดินแดนลาว เขมร ทางฝั่งแม่น้ำโขงจดอาณาเขตญวน ทิศตะวันตก จรดดินแดนเมาะตะมะ ได้ดินแดน เมืองทวาย มะริด ตะนาวศรี พระองค์ยังโปรดเกล้าฯ ให้มีการฟื้นฟูและสร้างวรรณกรรม นาฏศิลป์ และการละครขึ้นใหม่ แม้ว่าจะมีศึกสงครามตลอดรัชกาล กระนั้นก็ยังทรงพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ถึง 4 เล่ม สมุดไทย ในปี พ.ศ.2312 นับว่าทรงมีอัจฉริยภาพสูงส่งเป็นอย่างมาก และในรัชสมัยของพระองค์มีกวีที่สมควรได้รับการยกย่อง 2 ท่าน คือ นายสวน มหาดเล็ก ซึ่งแต่งโคลงสี่สุภาพ แต่งขึ้นเพื่อยกพระเกียรติและสรรเสริญ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี 85 บท เป็นสำนวนที่เรียบง่าย แต่ทรงคุณค่าด้วยเป็นหลักฐานที่คนรุ่นต่อมาได้ทราบถึงสภาพบ้านเมืองและความเป็นไปในยุคนั้น หลวงสรวิชติ (หน) ซึ่งต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาพระคลัง (หน) งานประพันธ์ของท่านเป็นที่รู้จักและแพร่หลาย จนถึงปัจจุบัน เช่น สามก๊ก เป็นต้น

    พระเจ้าตากสิน ยังโปรดให้มีการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา การติดต่อการค้ากับต่างประเทศ ในด้านการปกครอง หลังจากสถาปนาเมืองธนบุรีเป็นราชธานีแล้ว ทรงจัดวางตำแหน่งหน้าที่ข้าราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ทรงสอดส่องทุกข์สุขของราษฎร และหลังจากกอบกู้แผ่นดินได้แล้ว พระองค์ได้ทรงอัญเชิญพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าเอกทัศมาจัดถวายพระเพลิงอย่างสมพระเกียรติและยังทรงรับอุปการะบรรดา เจ้าฟ้า พระองค์ฟ้า พระราชโอรส ตลอดทั้งพระเจ้าหลานเธอของพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยาทุกพระองค์ ด้วยความกตัญญูกตเวที

    ถวายพระนามมหาราช และการสร้างพระราชอนุสาวรีย์

    ด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์ตามที่กล่าวมาแล้ว ประชาชนทุกหมู่เหล่าจึงพร้อมใจกันถวายพระนาม “มหาราช” แด่ “สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” และรัฐบาลอันมี ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี พร้อมทั้งเหล่าพสกนิกรชาวไทย ได้พร้อมใจกันสร้างพระราชอนุสาวรีย์ประดิษฐาน ณ วงเวียนใหญ่ ฝั่งธนบุรี ซึ่งศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี คณบดีประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากรขณะนั้น เป็นผู้ออกแบบ ทางราชการได้ประกอบพระราชพิธีเปิดและถวายบังคมพระบรมราชอนุสาวรีย์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ.2497 และในวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2497 จึงมีรัฐพิธีเปิดเป็นทางการอีกครั้งหนึ่ง โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินทรงวางพวงมาลา ถวายราชสักการะ ต่อมาทางราชการจึงกำหนดให้วันที่ 28 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเสวยราชย์ปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ไทย เป็นวันถวายบังคมพระบรมราชอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช


    • Update : 25/12/2557
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch