หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    ตะกรุดหนังหน้าผากเสือพอกครั่ง หลวงพ่อทองศุข วัดโตนดหลวง
    ตะกรุดหนังหน้าผากเสือพอกครั่ง หลวงพ่อทองศุข วัดโตนดหลวง
    หลวงพ่อทองศุข วัดโตนดหลวง ท่านคือสุดยอดเกจิย์แห่งเมืองเพชรบุรี สมญานามวัตถุมงคลของท่านก็คือ ครั่งเหลือร้ายวัดตะโตนดหลวง แม้แต่แมลงวันก็ไม่มีทางได้ดื่มเลือด สรรพคุณของครั่งหลวงพ่อทองศุข วัดโตนดหลวง ครั่งที่ใช้พอกนี้หลวงพ่อทองศุข วัดโตนดหลวงท่านได้ผสมว่านสมุนไพรมีสรรพคุณในทางถอนพิษร้ายต่างๆ รวมทั้งผสมผงพระจันทร์ครึ่งซีก พระพุทธคุณสุดยอดทางเสน่ห์เมตตามหานิยมลึกล้ำ แรงยิ่งกว่าผงอิทธิเจทั่วไปหลายเท่านักทำได้ยากที่สุด ต่อมาวิชานี้หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง ท่านได้รับสืบทอดวิชานี้ไป ตะกรุดหนังหน้าผากเสือพอกครั่งของหลวงพ่อทองศุขวัดโตนดหลวง ดอกนี้นั้นถือว่าหาได้ยากเป็นอย่างมาก ว่ากันว่าท่านหลวงพ่อทองศุข วัดโตนดหลวง ท่านได้หนังเสือมาผืนหนึ่งในระหว่างที่ท่านออกธุดงค์ พอกลับจากธุดงค์มาถึงวัดโตนดหลวงแล้ว หลวงพ่อทองศุขท่านก็เอาหนังเสือผืนนั้นมาแบ่งทำเป็นตะกรุดและลูกอมพอกครั่ง จนหมดผืน ซึ่งจะเป็นยุคต้นๆของการสร้างวัตถุมงคล ครั่งเหลือร้ายวัดตะโตนดหลวงของท่านหลวงพ่อทองศุข ตะกรุดหนังหน้าผากเสือพอกครั่งวัดโตนดหลวงดอกนี้จึงมีน้อยที่ได้สร้างจาก หนังเสือที่ท่านหลวงพ่อทองศุขได้มาเพียงผืนเดียว จึงจัดเป็นวัตถุมงคลที่หาได้ยากยิ่งของ ท่านหลวงพ่อทองศุข วัดโตนดหลวง ท่านใดมีบุญได้ไว้ในครอบครองก็จะถือว่าเป็นที่สุดของวัตถุมงคล ครั่งเหลือร้ายวัดตะโตนดหลวงของท่านหลวงพ่อทองศุขแล้วครับ ทีมงานกะฉ่อนดอทคอมขอขอบคุณ คุณวิทย์ วัดอรุณ เจ้าของตะกรุดหนังหน้าผากเสือพอกครั่งวัดโตนดหลวงดอกนี้ ที่ได้เอื้อเฟื้อภาพที่หาชมได้ยากยิ่ง มาให้พวกเราทีมงานกะฉ่อนดอทคอมนำมาประกอบสกู๊ป ตะกรุดหนังหน้าผากเสือพอกครั่ง หลวงพ่อทองศุข วัดโตนดหลวง นี้ครับ


    วัดโตนดหลวงนอกจากจะได้ชื่อว่าเป็นวัด เก่าแก่โบราณวัดหนึ่งของเมืองเพชรบุรีแล้วยังเป็นวัดที่พระคณาจารย์ปรากฏ เกียรติคุณด้านความเข้มขลังเรืองพุทธาคมหลายรูปนับแต่อดีตมาเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านพระครูพินิจสุตคุณหรือหลวงพ่อทองสุข อินทโชโต ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่แก่กล้าพระเวทย์วิทยาคมที่โดดเด่นประการหนึ่งคือ ด้านการลงกระหม่อม แม้พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์พหลโยธิน), พันเอกพระยาศรีสุรสงครามและจอมพลป. พิบูลสงครามยังมาขอให้ท่านลงกระหม่อมให้ หลวงพ่อทองศุขมีนามเดิมว่าศุข ดีเลิศ เกิดเมื่อวันศุกร์ขึ้น 9 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 19 พฤษภาคมพ.ศ.2420 เป็นบุตรของนายจู-นางทิม ดีเลิศ พื้นเพเป็นชาวบ้านทับใต้ ตำบลหินเหล็กไฟ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี มีพี่น้อง 6 คน ท่านเป็นคนสุดท้อง เมื่อท่านอายุได้ 9 ปี บิดามารดาย้ายถิ่นฐานครอบครัวไปประกอบอาชีพที่บ้านโพธิ์อำเภอบ้านลาดใน ปัจจุบัน และได้มีโอกาสเรียนหนังสือรวมถึงหนังสือขอมและบาลีจากท่านเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ ครั้งนั้นท่านชอบในการต่อสู้รักวิชาหมัดมวยกระบี่กระบอง ต่อมาภายหลังท่านมีศิษย์ในสายวิชาเหล่านี้หลายคนต่อเมื่ออายุ 15 ปีครอบครัวได้ย้ายจากบ้านโพธิ์ไปอยู่ที่บ้านเพลง จังหวัดราชบุรีเมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่นหนุ่มคะนองชอบเที่ยวเตร่คบเพื่อน ไม่อยู่ติดบ้านชอบไปแสดงละครโขนหนังกับเพื่อนๆจนมีความสามารถขนาดเป็นครูสอน ผู้อื่นได้ ต่อมาได้เกิดความเบื่อหน่าย เที่ยวเตร่ไร้จุดหมายปลายทาง กระทั่งคบนักเลงอันธพาลในที่สุดกลายเป็นอาชญากรสำคัญในย่านเพชรบุรีราชบุรี และสมุทรสงครามต้องคอยหลบหนีอาญา บ้านเมืองหลบซ่อนตัวตามป่าเขาลำเนาไพรไร้ความสงบสุข ครั้งหนึ่งได้หลบหนีเจ้าหน้าที่บ้านเมืองไปซ่อนตัวอยู่โดยไม่มีอาหารตกถึง ท้องเป็นเวลาถึง 3 วันทั้งอ่อนล้าหิวโหยเหลือสุดจะทน จนทำให้สำนึกได้ว่าที่ผ่านมาตนเองได้ดำเนินชีวิตผิดทางเสียแล้วทางสายนี้หาก ไม่กลับตัวกลับใจย่อมได้รับแต่ความทุกข์ ดังประสบอยู่ทรมานทั้งกายทรมานทั้งใจเป็นการใช้ชีวิตที่ไร้ประโยชน์และแก่น สารโดยแท้ จึงตัดสินใจบวชเอาพระศาสนาเป็นที่พึ่ง


    นายศุข ดีเลิศอุปสมบทเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคมพ.ศ.2452 ณวัดปราโมทย์ ตำบลโรงหวี อำเภอบางคณที จังหวัดสมุทรสาคร มีหลวงพ่อตาด วัดบางวันทองเป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อตุย วัดปราโมทย์เป็นพระกรรมวาจาจารย์และหลวงพ่อคง วัดแก้วเป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า อินทโชโต พำนักจำพรรษาที่วัดปราโมทย์ 4 พรรษาและวัดแก้ว 2 พรรษาศึกษาพระธรรมวินัยและวิปัสสนา กับหลวงพ่อตุย-หลวงพ่อคงผู้เป็นพระกรรมวาจาจารย์และอนุสาวนาจารย์ด้วยความ มานะขยันหมั่นเพียร จึงได้รับถ่ายทอดวิทยาคมมาจนหมดสิ้นทั้งยังเป็นที่รักใคร่เมตตาของครูบา อาจารย์ถ่ายทอดให้อย่างไม่ปิดบังอำพรางจนครบถ้วนกระบวนความ และแนะนำให้ไปหาหลวงพ่อตาด วัดบางวันทอง ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่านเองหลวงพ่อตาด วัดบางวันทองนั้น ท่านเป็นพระอาจารย์ของหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม ท่านหลวงพ่อทองศุข วัดโตนดหลวง ท่านจึงเป็นศิษย์อาจารย์เดียวกันกับท่านหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม และท่านหลวงพ่อทองศุข วัดโตนดหลวง ยังได้ศึกษาวิชาจากหลวงปู่นาค วัดหัวหินประจวบคีรีขันธ์อีกด้วย


    หลวงพ่อตาด วัดบางวันทองยุคนั้นท่านได้ชื่อว่าเป็นพระคณาจารย์ที่เชี่ยวชาญพระเวทย์ วิทยาคมแตกฉานในวิปัสสนากัมมัฏฐานยิ่ง เกียรติคุณขจรขจายทั่วลุ่มน้ำแม่กลอง ศิษยานุศิษย์หลายรูปต่อมาปรากฏเกียรติคุณชื่อเสียงโด่งดังเช่นหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม สมุทรสงคราม เป็นต้น ปี พ.ศ.2457 หลวงพ่อเทียน วัดโตนดหลวงถึงแก่มรณภาพ ขณะนั้นท่านท่านหลวงพ่อทองศุข ออกธุดงค์ผ่านมากับสามเณรจันทร์ (จันทร์ธมฺมสโร วัดมฤคทายวัน) ชาวบ้านศรัทธาท่านหลวงพ่อทองศุขจึงได้นิมนต์ท่านมาเป็นเจ้าอาวาส และได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสในปีพ.ศ.2458 ท่านหลวงพ่อทองศุข วัดโตนดหลวง ท่านปกครองดูแลพระภิกษุ-สามเณรด้วยความเอาใจใส่พัฒนาพระอารามให้เจริญ รุ่งเรืองสืบมาด้วยคุณงามความดีของท่านคณะสงฆ์ จึงแต่งตั้งให้ท่านเป็นพระครูกรรมการศึกษารวมถึงเป็นพระ กระทั่งได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่พระครูพินิจสุตคุณ ท่านหลวงพ่อทองศุขวัดโตนดหลวง ท่านพัฒนาวัดและชนบทย่านนั้นจนมีความเจริญเป็นอันมาก กิจนิมนต์ด้านการเป็นพระอุปัชฌาย์แม้วัดห่างไกลเพียงใดท่านหลวงพ่อทองศุข ไม่เคยปฏิเสธแม้บางแห่งต้องเดินทางด้วยเท้าเปล่าเป็นระยะทางหลายสิบกิโลก็ ตาม ท่านจึงเป็นที่เคารพศรัทธา ของศิษยานุศิษย์ทุกหมู่เหล่า คราใดทางวัดมีงานบรรดาศิษย์ต่างพร้อมใจร่วมใจกันทำด้วยดีเสมอมา หลวงพ่อทองสุข อินทโชโต วัดโตนดหลวงได้ถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่13 ธันวาคม พ.ศ.2500 รวมสิริอายุ 80 ปี 48 พรรษา รวมระยะเวลาเป็นเจ้าอาวาสวัดโตนดหลวงนานถึง 42 ปี


    สำหรับเครื่องรางของขลังของท่านหลวงพ่อ ทองศุขมีด้วยกันหลายอย่างรวมถึงการสักยันต์เหนือราวนมอานุภาพจะเด่นทางยิง ฟันแทงไม่เข้า ตะกรุดมีทั้งประเภทหนังเสือ(ที่มีน้อยมาก) เนื้อโลหะและตะกรุดไม้รวก สำหรับตะกรุดเนื้อโลหะนั้นแบ่งเป็นตะกรุดโทน,ตะกรุดชุด 7 ดอกและตะกรุดสามกษัตริย์ซึ่งจะมีความยาวประมาณ 3-4 นิ้ว ตะกรุดสาริกายาวประมาณ 1 นิ้ว เอกลักษณ์ในตะกรุดของท่านคือ ตะกรุดทุกดอกจะพอกด้วยครั่งพุทธาวรรณของครั่งจะออกแดงอมน้ำตาลถึงดำการ พิจารณาลักษณะของครั่งนี้ต้องพิจารณาถึงอายุความเก่าด้วย สืบเนื่องมาจากต่อมาหลวงพ่อแผ่ว ปัณฑิโตซึ่งเป็นศิษย์เอกของท่านองค์หนึ่งและเป็นเจ้าอาวาสรูปต่อมาของวัด โตนดหลวง ก็มีการจัดสร้างตะกรุดลักษณะเดียวกันนี้แต่ลักษณะครั่งที่พอก จะแลดูสดใหม่กว่าอักขระยันต์ที่ใช้ลงในตะกรุดนั้นเป็นยันต์ตรีนิสิงเห อานุภาพในตะกรุดโทน ตะกรุดชุด 7 ดอกและตะกรุดสามกษัตริย์จะเด่นทางแคล้วคลาดคงกระพันชาตรี ส่วนตะกรุดสาริกาจะเด่นทางเมตตามหานิยม ลูกอมของท่านหลวงพ่อทองศุข วัดโตนดหลวง ลักษณะที่เป็นมาตรฐานคือทำจากเนื้อครั่งพุทราลักษณะเดียวกันกับที่ใช้พอก ตะกรุด อานุภาพเด่นทางมหาอุด แหวนมีด้วยกันหลายลักษณะอานุภาพจะเด่นทางป้องกันอสรพิษและสัตว์ร้ายต่างๆ ครับ
    เรียบเรียงโดย แว่น วัดอรุณ

    • Update : 23/8/2557
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch