หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    ตะกรุดไม้ครู(นิ้วพระอิศวร ) หลวงปู่ภู วัดอินทรวิหาร กทม
     

    ภาพตะกรุดไม้ครู(นิ้วพระอิศวร ) หลวงปู่ภู วัดอินทรวิหาร กทม 01

    ตะกรุดไม้ครู(นิ้วพระอิศวร) หลวงปู่ภู วัดอินทรวิหาร กทม

    9 เครื่องรางอมตะของไทยนั้นประกอบไปด้วย 1.หมากดีที่วัดหนัง 2.ถ้าเบี้ยขลังวัดนายโรง 3.ไม้ครูอยู่คู่วัดอินทร์ 4.ส่วนมีดบินวัดหนองโพธิ์ 5.พิสมรวัดพวงมาลัย 6.ครั่งเหลือร้ายวัดโตนดหลวง 7.ราหูคู่วัดศรีษะฯ 8.เเหวนอักขระวัดหนองบัว 9.ลูกเเร่ที่วัดบางไผ่

    กรรมวิธีสร้างไม้เท้าพ่อครูของลป.ภู วัดอินทรวิหาร
             ในกระบวนวัตถุมงคลที่หลวงปู่ภูได้สร้างขึ้น เป็นของที่หายากมาก เพราะท่านสร้างน้อยมากส่วนมากจะแจกเฉพาะศิษย์ใกล้ชิดเท่านั้นเพราะกรรมวิธีการสร้างยากมาก ผู้สร้างจะต้องเป็นสมณะเท่านั้นจนท่านเคยพูดว่า"ไม่มีใครทำได้อย่างกู" วิชานี้คนที่มีบุญวาสนาเท่านั้นถึงจะเรียนสำเร็จไม้เท้าพ่อครูเป็นวัตถุอาถรรพณ์ ก่อนที่จะทำจะต้องหาไม้ไผ่สีสุก (บางตำราก็ว่าไม้รวกโขลงช้างข้าม) ที่เห็นว่าถูกฟ้าผ่าล้มและปลายทอดยาวไปทางทิศตะวันออกทั้งกอ และต้องนั่งเฝ้าดูภายใน ๓-๗ วัน ถ้ามีช้างโขลงมาพบก่อไผ่สีสุก แล้วกระโดดข้ามกอไผ่ไปทั้งโขลงถือว่าเป็นนิมิตมหามงคลจึงจะใช้ได้ก่อนจะตัดต้องประกอบพิธีพลีกรรม บอกกล่าวเทพยดา พระอิศวรเจ้า เจ้าที่เจ้าทาง โดยขอตัดไม้ไผ่ลำที่ทอดยาวไปทางทิศตะวันออก และตัดเอาส่วนปลายเพียง ๓ ปล้องเท่านั้น

    ภาพตะกรุดไม้ครู(นิ้วพระอิศวร ) หลวงปู่ภู วัดอินทรวิหาร กทม 02

    ในตำราระบุไว้ว่า ไม้ไผ่ลำนี้เปรียบประดุจไม้ยันพระวรกายของท้าวเวสสุวรรณ เมื่อได้ไม้ไผ่มาแล้ว ท่านก็นำมาจิ้มบนศพที่กล้าแข็ง คือ ศพคนตาย วันเสาร์เผาวันอังคาร ให้ครบ ๗ ศพ จึงเป็นเสร็จพิธี ซึ่งตลอดระยะเวลาในการเดินธุดงค์ของท่านนานถึง ๓๐ ปี จึงทำได้สำเร็จ จากนั้นท่านก็จะนำไม้ท่อนนี้เก็บเอาไว้ มาผ่าให้เป็นแผ่นเล็กๆ เรียกว่า ตอกเตรียมใว้สำหรับลงพระนามที่ได้รับจากเบื้องบน การทำพิธีลงพระนามหลวงปู่ท่านจะมองขึ้นไปบนท้องฟ้าครั้งละนานๆ บางครั้งก็ไม่นานเคยมีคนถามหลวงปู่ภูว่า หลวงปู่มองขึ้นฟ้าทำไม ท่านตอบว่ากูรอพระนามจากเบื้องบน เมื่อได้พระนามจากเบื้องบนมาเเล้ว ท่านก็จะทำการบรรจุไม้พระนามเข้าไปในไม้ที่เจาะเตรียมเอาไว้ บางอันอาจจะบรรจุกระดูกแร้งลงไปด้วย อุดด้วยชันโรงใต้ดิน (ขี้สูตรดินราบ) แล้วตอกด้วยลิ่มไม้ปิดเอาไว้ เเล้วลงอักขระทับอีกทีเป็นอันเสร็จพิธีส่วนมากไม้ที่จะทำไม้เท้าพ่อครูก็มีไม้รักซ้อน ไม้พยุง บางคนก็นำไม้ชนิดอื่นมาให้ท่านทำก็มี เมื่อได้ไม้มาแล้วก็เจาะรูเตรียมบรรจุไว้ เรียกว่า “ไม้พ่อครู-นิ้วเพชรพระอิศวร ”

    ภาพตะกรุดไม้ครู(นิ้วพระอิศวร ) หลวงปู่ภู วัดอินทรวิหาร กทม 03

    กล่าวกันว่าถ้าใครอยากได้ไม้เท้าพ่อครูจะต้องขอท่านก่อนวันเสาร์ล่วงหน้าหนึ่งวัน ถ้าท่านรับปาก ในวันเสาร์ตอนเช้าผู้ที่มาขอจะต้องจัดเตรียมหัวหมู บายศรีปากชาม มะพร้าวอ่อนกล้วย ขนมต้มแดง ต้มขาว ใส่ถาดไปทำพิธีแล้วเอาไม้ตะพดเจาะรูหัวท้าย หรือหัวเดียวก็ได้ไปถวายท่านท่านก็จะประกอบพิธีบรรจุไม้เท้าพ่อครูพร้อมกับอุดด้วยชันนะโรงใต้ดิน และจักตอกนำมาลงอักขระบรรจุเข้าไปที่เจาะรูไว้หลังจากที่หลวงปู่ทำไม้ครูเสร็จ ก็สุดเเท้เเต่ผู้ที่ได้จะนำเก็บรักษาอย่างไร จะไปถักเชือก ถักลวด หรือ ไม่ถักอะไรเลย ศิษย์ใกล้ชิดได้กล่าวว่า บางเสาร์จะมีหัวหมูเครื่องบายศรีถึง ๙ หัวด้วยกัน แสดงว่าวันนั้นท่านทำถึง ๙ อันการบรรจุไม้เท้า ถ้าข้างเดียวหรือสองข้างกเรียกว่า ไม้เท้าพ่อครูแต่มีบางท่านเรียก นิ้วชี้พระอิศวร หรือ ต้นตายปลายเป็นเมื่อท่านกระทำให้ผู้ใดก็ตาม ท่านจะกำชับหนักหนา ห้ามเอาไปตีใครเป็นอันขาดเพราะจะทำให้ผู้ที่ถูกตีถึงกับเสียจริต (บ้า) รักษาไม่หาย นอกจากจะโดนกลั่นแกล้งถึงกับน้ำตาเป็นสายเลือด หมายถึง สุดที่จะอดกลั้นได้

    ภาพตะกรุดไม้ครู(นิ้วพระอิศวร ) หลวงปู่ภู วัดอินทรวิหาร กทม 04

    อิทธิฤทธิ์ของไม้เท้าพ่อครู หลวงปู่ภูท่านได้อัญเชิญเทพยดามารักษาประจำตะกรุดด้วย ใช้บูชาปกป้องคุ้มครองบ้านเรือน ใช้ป้องกันตัวในเวลาคับขัน บูชาอยู่กับบ้านป้องกันโจรผู้ร้ายคุณไสย และภูตผี ปีศาจ ไม่กล้ากล้ำกรายมารบกวน พุทธคุณครอบจักรวาลและสามารถใช้บนได้วิธีบน คือ ทุก วันเสาร์หรือวันอังคารให้นำเอาหมูนอนตอง (หมูสามชั้นต้มพอสุกวางบนใบตอง) วางเลยชายคาบ้านแล้วบนเอาเถิด เทวดาที่รักษาตัวตะกรุดก็จะออกมาหากสำเร็จดังที่บนไว้ก็ขอให้ทำอย่างที่บนไว้ อุทิศส่วนกุศลให้กับหลวงปู่ภู ให้รุกขเทวดาที่รักษาตัวตะกรุด และผู้ร่วมสร้าง

    ภาพตะกรุดไม้ครู(นิ้วพระอิศวร ) หลวงปู่ภู วัดอินทรวิหาร กทม 05

    คาถาบูชา
    ให้ว่านะโม 3 จบ แล้วระลึกถึงหลวงปู่ภูแล้วท่องคาถาล้อม ว่าดังนี้
    “ ฆะเตสิ ฆะเตสิ กิงกะระณัง ฆะเตสิ อะหังปิตัง ชานามิ ชานามิสี่คนเดินหน้า ห้าคนเดินหลัง โอมกะรัง กะรัง ”  เดินภาวนาไปเรื่อยๆ ปลอดภัยทุกประการ

    ภาพ หลวงปู่ภู วัดอินทรวิหาร กทม

    ประวัติ พระครูธรรมานุกูล (ภู จนฺทเกสโร) วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม กรุงเทพฯ

    พระครูธรรมานุกูล นามเดิมชื่อว่า ภู เกิดที่หมู่บ้านตำบลวังหิน อำเภอเมือง จังหวัดตาก ในปี พ.ศ. ๒๓๗๓ ตรงกับปีขาลโดยบิดามีนามว่า นายคง โยมมารดามีนามว่า นางอยู่ พออายุได้ ๙ขวบ บิดามารดาได้พาไปบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดท่าคอย ได้ศึกษาเล่าเรียกอักขระสมัย (ภาษาขอม) และหนังสือไทย กับท่านอาจารย์ วัดท่าแคจนกระทั่งอายุได้ ๒๑ ปี จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในปี พ.ศ. ๒๓๙๔ ณ พัทธสีมา วัดท่าคอย โดยมี พระอาจารย์อ้น วัดท่าคอย เป็นพระอุปัชฌาย์พระอาจารย์คำ วัดท่าแค เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์คำ วัดท่าแค เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์มา วัดน้ำหัด เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายานามทางพระว่า "จนฺทสโร" เมื่อบวชแล้วได้จำพรรษาอยู่ สำนักวัดท่าแคชั่วระยะหนึ่งก็ได้ออกเดินธุดงค์ จากจังหวัดตากมาพร้อมกับพระพี่ชาย คือ หลวงปู่ใหญ่ สำหรับวัดท่าแค ในสมัยที่หลวงปู่ภูจำพรรษาอยู่ นั้นยังเป็นวัดเล็กๆ เข้าใจว่าโบสถ์ยังไม่ได้สร้างท่านจึงได้มาอุปสมบท ที่วัดท่าคอยแล้วกลับไปจำพรรษาอยู่ที่วัดเดิมอีก ปัจจุบันวัดท่าแคนี้ตั้งอยู่ตรงเชิงสะพานกิตติขจรฝั่งตัวจังหวัดตากตำบล เชียงเงิน อำเภอเมือง ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดชนะสงคราม ในสมัยที่หลวงปู่ภูเดิมธุดงค์มากรุงเทพฯ ครั้งแรก ท่านได้เล่าให้ศิษย์ใกล้ชิดฟังว่า ได้มาปักกลดอยู่ ณ บริเวณที่ตั้งวังบางขุนพรหม (ธนาคารแห่งประเทศไทย) สมัยนั้นพื้นที่บริเวณนั้นยังเป็นป่ารกร้างว่างเปล่าและเปลี่ยวมาก มีแต่ต้นรังต้นตาลที่ขึ้นระเกะระกะไปหมด นอกจากนี้ยังมีทางเกวียนทางเท้าเป็นช่องเล็กๆ พอเดินไปได้เท่านั้น ท่านได้มาปักกลดอยู่บริเวณชายแม่น้ำเจ้าพระยา พอตกกลางคืนได้นิมิตฝันไปว่า ได้มีคนนำเอาตราแผ่นดินมามอบถวายให้ท่าน ๓ ดวง เมื่อท่านตื่นขึ้นมาก็ได้พิจารณาถึงนิมิตนั้นพอจะทราบว่า ท่านเองจะมีอายุยืนยาวถึง ๑๐๓ ปีเศษ การเดินธุดงค์ของหลวงปู่นับตั้งแต่เดินทางออกมาจากวัดท่าแคเข้าจำพรรษาที่วัดในกรุงเทพฯ สันนิษฐานจากคำบอกเล่าของท่านที่ได้เล่าให้ศิษย์ใกล้ชิดฟังว่า ได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดสระเกศฯ ได้ช่วยชีวิตรักษาคนป่วย เป็นอหิวาตกโรคไว้ ๖ คนซึ่งยุคนั้นถือว่าอหิวาตกโรคร้ายแรงมาก ยังไม่มียาจะรักษาถ้าใครเป็นมีหวังตายลูกเดียว และในปี พ.ศ. ๒๔๑๖ ซึ่งเป็นปีที่อหิวาตกโรคระบาดหนัก จนเป็นที่กล่าวขวัญเรียกกันจนติดปากว่า "ปีระกาห่าใหญ่" ต่อมาท่านได้ย้ายไปจำพรรษาที่วัดสามปลื้ม ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นวัดจักรวรรดิ์ราชาวาสและได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ วัดโมลีโลกยาราม (วัดท้ายตลาด) ตามลำดับ กาลต่อมาได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่วัดอินทาราม ซึ่งในสมัยนั้นยังใช้ชื่อวัดบางขุนพรหมนอก ในปี พ.ศ. ๒๔๓๒ และได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๔ ส่วนสมณศักดิ์ที่หลวงปู่ได้รับไม่ปรากฏหลักฐานว่าได้รับตำแหน่งในปีใด เข้าใจว่าได้รับก่อนปี พ.ศ. ๒๔๖๓ เพราะตามหลักฐาน ศิลาจารึกเกี่ยวกับการสร้าง พระศรีอริยเมตไตรย์ มีข้อความตอนหนึ่งกล่าวไว้ว่า ถึง พ.ศ. ๒๔๖๓ ท่านพระครูธรรมานุกูล (ภู) ผู้ชราภาพอายุ ๙๑ ปี พรรษาที่ ๗๐ ได้ยกเป็นกิตติมศักดิ์อยู่ในวัดอินทรวิหาร ท่านจึงได้มอบฉันทะ ให้พระครูสังฆบริบาล ปฏิสังขรณ์ต่อมาจนสำเร็จ ท่านได้มรณภาพลงเมื่อ วันเสาร์ที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ ตรงกับวันขึ้น ๑๓ ค่ำเดือน ๖ ปีระกา เวลา ๐๑.๑๕ น. รวมสิริอายุได้ ๑๐๔ ปี ๘๓ พรรษา นับว่าท่านได้ยกเป็นพระครูกิตติมศักดิ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๖๓ จนถึงวันมรณภาพเป็นเวลา ๑๓ ปี

    จากบันทึก จริยาวัตร ของหลวงปู่ภู
    จริยาวัตรซึ่งลูกศิษย์รุ่นสุดท้ายที่ได้อยู่ปรนนิบัติรับใช้ท่าน จนถึงบั้นปลายชีวิตได้บันทึกเรื่องราวของหลวงปู่ภูไว้โดยละเอียดเกี่ยวกับการเดินทางธุดงค์ และการสร้างอิทธิวัตถุมงคลต่างๆ ของท่านไว้สมบูรณ์ที่สุด ผมจะขอนำมากล่าวไว้เพื่อเป็นเกียรติประวัติแด่ท่าน ณ ที่นี้

    การถือธุดงค์เป็นกิจวัตร
    สมัยที่หลวงปู่ยังแข็งแรงดี ท่านจะถือธุดงค์วัตรมาโดยตลอด พอออกพรรษา ท่านจะออกรุกขมูลมิได้ขาดท่านเคยเล่าให้ลูกศิษย์ฟังเสมอว่า ได้ร่วมเดินธุดงค์ไปกับท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) เป็นบางครั้งบางคราวบางทีท่านออกธุดงค์ก็มีพระภิกษุติดตามด้วยท่านได้เล่าให้ฟังว่า ถึงเรื่องแปลกๆที่ด้ออกรุกขมูลไปตามป่าเขามากมายหลายเรื่องซึ่งล้วนแล้วแต่ตื่นเต้นน่าอ่านมาก

    ผจญจระเข้
    ในสมัยที่เดินธุดงค์ มีอยู่คราวหนึ่ง ท่านได้ปักกลดพักอยู่ใกล้บึงใหญ่แห่งหนึ่ง ใกล้บริเวณนั้นมีหมู่บ้านเล็กๆ ที่ชาวบ้านปลูกอาศัยอยู่ ๒-๓ หลัง ขณะนั้นเป็นเวลาใกล้เที่ยงวัน อากาศร้อนอบอ้าว ท่านจึงได้ผลัดผ้า-อาบ และลงสรงน้ำในบึงใหญ่ พอดีชาวบ้านแถบนั้นเห็นเข้า จึงได้ร้องตะโกนบอกท่านว่า "หลวงตาอย่าลงไป มีจระเข้ดุ" แต่ท่านมิได้สนใจ ในคำร้องเตือนของชาวบ้าน ท่านกลับเดินลงสรงน้ำในบึงอย่างสบายใจ ในขณะที่กำลังสรงน้ำอยู่นั้น ท่านได้แลเห็นพรายน้ำเป็นฟองขึ้นเบื้องหน้ามากมายผิดปกติ เมื่อได้เพ็งแลไปจึงได้เห็นหัวจระเข้โผล่ขึ้นมาเหนือน้ำ ห่างจากตัวท่านประมาณ ๓ วา พร้อมกันนั้นเจ้าจระเข้ยักษ์ มันหันหัวมุ่งตรงรี่มาหาท่านแต่ท่านก็มิได้แสดงกิริยาหวาดวิตกแต่ประการใดไม่ กลับยืนสงบตั้งจิตอธิษฐานเจริญภาวนาจนจระเข้ว่ายมาถึงตัวท่าน พร้อมกับเอาปากมาดุนที่สีข้างของท่านทั้งด้านซ้ายและด้านขวา ข้างละ ๓ ครั้ง แล้วก็ว่ายออกไป มิได้ทำร้ายท่าน เรื่องนี้เป็นที่น่าอัศจรรย์ต่อชาวบ้านที่ยืนดูอยู่บนฝั่ง เมื่อท่านขึ้นจากน้ำชาวบ้านต่างบอกสมัครพรรคพวก เข้าไปกราบนมัสการด้วยความเลื่อมใสศรัทธายิ่งนักและได้ขอของดีจากท่านคือ ตะกรุด ท่านได้บอกกับลูกศิษย์ว่าในขณะที่เผชิญกับจระเข้ ท่านได้เจริญภาวนา อรหัง เท่านั้น

    เสือเลียศีรษะ
    ท่านได้เล่าให้ฟัง คราวที่เดินธุดงค์รอนแรมไปในป่าใหญ่เพียงองค์เดียวในขณะที่เดินอยู่กลางป่า ขณะนั้นเป็นเวลาบ่ายมากแล้ว พร้อมกับร่างกายเหนื่อยล้า อ่อนเพลียมาก เพราะท่านออกเดินทางตั้งแต่เช้ายังมิได้หยุดพักเลย พอเห็นต้นไม้ใหญ่ที่อยู่ริมทางเกวียนร่มรื่นดี จึงได้หยุดพักอยู่โคนต้นไม้นั้น บังเอิญเกิดเคลิ้มหลับไป ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้ปักกลดเพราะคิดว่าจะนั่งพักสักครู่พอหายเหนื่อยก็จะเดินทางต่อไปในขณะที่กำลังหลับเพลินอยู่นั้น ก็มาสดุ้งตื่นอีกครั้ง เมื่อรู้สึกว่ามีอะไรมาเลียอยู่บนศีรษะของท่าน ท่านจึงได้ผงกศีรษะขึ้นพร้อมกับหันหลังไปดู ก็เห็นเสือลายพาดกลอนขนาดใหญ่ยาวประมาณ ๘ ศอก ยืนผงาดอยู่แต่มิได้ทำร้ายประกานใด พอเจ้าเสือลายพาดกลอน มันรู้ว่าสิ่งที่มันเลียอยู่นั้นรู้สึกตัวตื่นขึ้น มันกลับเดินเลยไปเสียมิได้ทำร้าย ท่านได้เล่าให้ลูกศิษย์ฟังพร้อมกับหัวเราะ หึ หึ ว่า ตอนเสือมันเดินผ่านไป ได้ยินเสียงข้อเท้าของมันดังเผาะๆ ในเวลาเดิน

    ผจญงูยักษ์
    เนื่องจากการเดินธุดงค์ของท่าน ออกจะแปลกสักหน่อย ตรงที่ไม่ค่อยเลือกเวลา เพราะว่าส่วนมากพระภิกษุองค์อื่นๆ มักจะเดินกันตอนกลางวัน ก่อนตะวันตกดินถึงจะหาสถานที่ปักกลด ส่วนหลวงปู่ภู ท่านมิได้เดินเฉพาะกลางวันเท่านั้น ตอนกลางคืนท่านก็ออกเดินด้วยเพราะท่านเชื่อมั่นในตัวเอง อีกทั้งวิชาอาคมที่ได้ร่ำเรียนมา ท่านก็ถือว่า สามารถคุ้มกายท่านได้ มีอยู่คราวหนึ่ง ท่านได้ออกเดินธุดงค์ในเวลากลางคืน โดยอาศัยแสงจันทร์ เป็นเครื่องส่องนำทาง แต่ก็ไม่สว่างมากนัก พอจะมองเห็นบ้างทั้งนี้ เพื่อจะมุ่งหน้าไปถึงหมู่บ้านตอนเช้า เพื่อรับบิณฑบาต การเดินทางกลางป่าดงดิบรกรุงรังไปด้วยแมกไม้นานาชนิด อีกทั้งเถาวัลย์ระแกะระกะเต็มไปหมด แต่ก็ไม่เป็นอุปสรรคต่อท่านนัก ในขณะที่ท่านกำลังเดินผ่านสถานที่แห่งหนึ่ง ก็ได้ยินเสียงซู่ๆ และเสียงใบไม้ดังกรอบแกลบคล้ายเสียงสัตว์เลื้อยคลานผ่านท่านก็หยุดเดิน เพื่อดูให้แน่ว่าเป็นเสียงอะไร พอท่านหยุดเดินเจ้างูยักษ์ก็โผล่หัวออกมาจากดงไม้ ตัวโตเท่าโคนขาและตรงเข้ารัดลำตัวของท่านโดยรอบ ท่านตั้งสติยืนตรงพร้อมกับเอากลดยันไว้มิได้ล้มลง เจ้างูยักษ์ยันพยายามจะฉกกัดใบหน้าของท่าน แต่ท่านได้สติ ยืนนิ่งทำสมาธิจิตเจริญภาวนาอยู่ครู่หนึ่ง เจ้างูใหญ่ตัวนั้นมันก็คลายจากการรัดร่างของท่านแล้วเลื้อยเข้าป่ารกไป มิได้ทำอันตรายแก่ท่าน

    กิจวัตรประจำวัน
    ตลอดระยะเวลาที่หลวงปู่ภูมีชีวิตอยู่ ท่านมิได้ใช้เวลาให้ว่างเปล่า ทุกเวลาของท่านมีค่ามาก มุ่งหน้าปฏิบัติมีพุทธภูมิเป็นที่ตั้ง การร่ำเรียนวิชาอาคมมา ก็เพียงเพื่อช่วยเหลือ ผู้ที่กำลังทุกข์จากโรคภัยไข้เจ็บนับว่าท่านมีเมตตาธรรมสูงส่ง การที่ท่านมุ่งมั่นเรียนวิชา ดูเมฆ หรือเรียกกันว่า วิชาเมฆฉาย ในพจนานุกรม หมายความว่า "การอธิษฐาน" โดยบริกรรมด้วยมนต์คาถาจนเงาของคนเจ็บลอยขึ้นไปในอวกาศ แล้วพิจารณาดู คนเจ็บนั้นเป็นอะไร ส่วนวิชากสิณนั้นหมายถึง อารมณ์ที่กำหนดธาตุทั้งสี่ มีปฐวี อาโป เตโช วาโย อัน มีวรรณ ๔ คือ นีล ปีต โลหิต โอกทาต อากาศแสงสว่าง ก็คือ อาโลกกสิณ ซึ่งวิชาทั้งสอง ที่ท่านได้เพียรพยายามศึกษาเมื่อมุ่งช่วยเหลือมวลมนุษย์ ที่ประสบเคราะห์กรรมเป็นต้น การบำเพ็ญปฏิบัติของท่านจะเริ่มขึ้นหลังจากท่านได้ฉันจังหันแล้ว คือเวลา ๗.๐๐ น. ตรง ตลอดชีวิตท่านฉันเพียงมื้อเดียว(ถือเอกา)มาโดยตลอด ผลไม้ที่ขาดไม่ได้ คือ กล้วยน้ำว้าท่านบอกว่าเป็นโสมเมืองไทย ท่านออกบิณฑบาตทุกวัน ซึ่งถือเป็นกิจวัตรของพระสงฆ์ที่พึงปฏิบัติทั้งๆ ที่ท่านไม่จำเป็นจะต้องออกก็ได้ เพราะเจ้าฟ้าสมเด็จกรมพระนครสวรรค์พินิจ ได้จัดอาหารมาถวายทุกวันแต่ท่านก็ได้บอกว่า การออกบิณฑบาตโปรดสัตว์เป็นกิจของสงฆ์ เมื่อท่านฉันจังหันเสร็จแล้ว ก็จะครองผ้าลงโบสถ์และลั่นดานประตู เพื่อมิให้ผู้ใดเข้าไปรบกวนท่าน จะเจริญพุทธมนต์ถึง ๑๔ ผูก วันละ ๗ เที่ยวแล้วจึงนุ่งวิปัสสนกรรมฐานต่อไปจนถึงเที่ยวทุกๆวัน ท่านเคยเล่าให้ศิษย์ใกล้ชิดฟังว่า ขณะที่นั่งกรรมฐานอยู่พอได้เวลาเที่ยง ทางการจะยิงปืนใหญ่ (เพื่อบอกเวลาว่าเที่ยงแล้ว)ในขณะที่ยิงปืนใหญ่ กูหงายหลังทุกทีพอท่านพักได้ชั่วครู่ก็จะบำเพ็ญเจริญภาวนาต่อไปจนถึงตีหนึ่ง จึงจะจำวัด ถึงแม้ตอนท่านชราภาพ ท่านก็มิได้ขาดจากการลงทำวัตร เว้นแต่ท่านอาพาธหนักจนลุกไม่ไหวท่านก็เจริญวิปัสสนา โดยการนอนภาวนา ซึ่งในพระธรรมวินัยได้กล่าวไว้ เรื่องวิปัสสนากรรมฐานการปฏิบัติด้วยอิริยาบถ ๔ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน ก็ปฏิบัติได้ เป็นต้น ท่านเคยเปิดก้นให้ลูกศิษย์ดู พร้อมกับถามลักษณะก้นของกูเป็นอย่างไร ลูกศิษย์ก็ตอบว่าก้นหลวงปู่ด้านเหมือนกับก้นของลิง หรือเสน ท่านจึงได้บอกว่า "ปฏิบัติอย่างนี้ ไม่ได้ดี แล้วจะดีเมื่อไหร่ คนที่เป็นอาจารย์เขา "จริง" อย่างเดียวไม่พอต้อง "จัง" ด้วยคือต้องทั้งจริงและจังควบคู่กันไป (ต้องรู้แจ้งแทงตลอด)

    หยั่งรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า
    ในคราวที่ทางการได้สร้างสะพานพระพุทธยอดฟ้าฯ แล้วเสร็จทางการได้จัดงานเฉลิมฉลองได้มีข่าวลือกันหนาหูว่า จะมีการยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นระบบประชาธิปไตยและจะมีการนองเลือด ข่าวนี้ได้ลือกันแพร่สะพัดมาเป็นเวลาแรมเดือน ก่อนที่จะกำหนดงานจนผู้คนแตกตื่นเกรงกลัวกันมาก พอมีงานเฉลิมฉลองสะพานบางคนก็ไม่กล้าออกจากบ้านไปเที่ยง ทางการก็ได้สั่งเตรียมพร้อม เพื่อรับสถานการณ์ ในขณะนั้นศิษย์ใกล้ชิดของหลวงปู่ในใจก็อยากจะไปเที่ยวดูงาน เพราะมีมหรสพการแสดงหลายอย่างแต่ก็ไม่กล้าไป จนกระทั่งเวลา ๖ โมงเย็นจึงได้อาบน้ำอาบท่าเสร็จแล้วก็คลานเข้าไปหาหลวงปู่ นั่งพัดให้ท่านจนหลวงปู่รู้สึกหนาว จึงได้ดุศิษย์ผู้นั้นว่า "หยุด กูไม่ร้อน ต่อไปพวกมึงซิจะร้อน" แต่ศิษย์ผู้นั้นหาได้ฟังไม่ กลับพัดอยู่ต่อไปท่านจึงได้หันมาดุเอาอีก "เอ๊ะอ้ายนี้แปลก วันนี้ทางการบ้านเมืองเขามีงานมีการที่สะพานพุทธฯ มีโขนมีลิเกกันทำไมมึงเป็นหนุ่มเป็นแน่นไม่ไปเที่ยวกันละวะ ดันทุรังนั่งพัดอยู่ได้ กูบอกไม่ร้อน แต่พวกมึงจะร้อนไปดูงานเถอะไป" ศิษย์ผู้นั้นก็ตอบว่า "ผมไม่ไปละครับผมกลัวเขาลือกันว่าจะมีเรื่อง" เมื่อท่านได้ฟังแล้วก็หัวเราะ พร้อมกับพูดขึ้นว่า "ไป ไป๊ ไปดูงานให้สบายเถอะ ไม่ต้องกลัวและไม่ต้องห่วงกู มึงนับถือกูไหมล่ะ ถ้านับถือกู มึงต้องรีบไปได้แล้ว กูว่าเรื่องที่ว่าไม่มี" ศิษย์ผู้นั้นจึงได้กราบลาท่านออกไป เที่ยวงานฉลองสะพานพุทธฯ หลังจากที่ศิษย์ผู้นั้นได้ไปเที่ยวงานกลับตอนตีหนึ่งเศษ ท่านยังไม่จำวัดจึงได้เข้ากราบท่าน ท่านก็สอบถามว่า มีการยิงกันตามข่าวลือหรือไม่ ศิษย์ได้เรียนท่านว่า ไม่มีครับ ท่านจึงได้พูดต่อไปว่า "อ้ายคนเดี๋ยวนี้มันพูดกันไปจริง" แล้วท่านก็หยุดนิ่งสักครู่จึงได้พูดต่อไปอีกว่า "เดือน ๗ แรม ๖ ค่ำ เวลาย่ำรุ่งเถอะมึงเอย ตูมเบ้อเร่อทีเดียว" ศิษย์คนนั้นก็สอบถามท่านอีกจะมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น หรือหลวงปู่ ท่านก็เพียงบอกว่า "มึงคอยดูไป มึงคอยดูไป" คำกล่าวของหลวงปู่นั้น ต่อมาปรากฏว่า เป็นความจริงตามที่ท่านได้กล่าวไว้ คือได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ เกิดการต่อสู้กันที่วังบางขุนพรหม ในเวลาย่ำรุ่งและยังมีการต่อสู้อีกหลายแห่ง ตรงกับที่ท่านได้พยากรณ์ไว้ว่าเดือน ๗ แรม ๖ ค่ำเวลาย่ำรุ่ง พอรุ่งเช้าลูกศิษย์ของท่าน ซึ่งรับราชการอยู่ในกองทัพเรือ แต่งตัวเข้าไปรายงานตัว แต่ก็ไม่สามารถจะเข้าไปทำงานได้ จึงกลับมาหาหลวงพ่อเข้าไปกราบนมัสการท่าน ท่านกลับลุกขึ้นไปหยิบจีวรคลุมศีรษะโผล่หน้าออกมา ให้เห็นเพียงนิดเดียว แล้วพูดขึ้นว่า "กูว่าแล้วนะปะไร" พอพูดจบท่านก็หัวเราะ สักครู่หนึ่งน้ำตาท่านได้ไหลซึมออกมาจากเบ้าตา (เข้าใจว่าคงจะสงสารกรมพระนครสวรรค์วรพินิต ซึ่งถูกจับเป็นตัวประกัน ในพระที่นั่งอนันตสมาคม) ท่านนั่งอยู่สักครู่หนึ่งแล้วพูดขึ้นว่า "เออกูได้ทางแล้ว กูได้ทางแล้ว"

    อธิษฐานบาตรลอยทวนน้ำ
    สำเร็จสุดยอดต้องใช้เวลา ปฏิบัติวิชาละ ๑๐ ปี จะเสกน้ำมนต์ให้เดือดได้ ต้องเรียนถึง ๑๑ ปี เต็มฉะนั้นการศึกษาวิชาอาคมของท่าน กว่าจะสำเร็จจะต้องใช้เวลาถึง ๗๑ ปีเต็ม

    ภาพหลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร กทม 01

    ประวัติ วัดอินทรวิหาร

    เดิมชื่อ วัดอินทาราม หรือ วัดบางขุนพรหมนอก ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าผู้ใดเป็นคนสร้าง แต่มีเรื่องเล่ากันว่า เจ้าอินทร์ หรือ อินทะวงศ์ มีศักดิ์เป็นน้าชายของเจ้าน้อยเขียวเมืองเวียงจันทร์ เป็นผู้ปฏิสังขรณ์ในสมัยรัชกาลที่ ๑ ธิดาของเจ้าอินทะ คนหนึ่งมีนามว่า เจ้าทองสุก กับเจ้าน้อยเขียว ได้เป็นพระสนมของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกในสมัยนั้น เมืองเวียงจันทร์ยังเป็นเมืองขึ้นของกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ทรงพระราชทานที่ดิน แถบที่ตั้งวัดอินทรฯ ในปัจจุบัน ให้เป็นที่อยู่ของชาวเวียงจันทร์ เจ้าอินทร์ได้นิมนต์ท่านเจ้าคุณพระอรัญญิก ซึ่งมีเชื้อสายชาวเวียงจันทร์ มาปกครองวัด
    มูลเหตุการเปลี่ยนชื่อ
    ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๓ พระองค์เจ้าอินทร์ในกรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพย์ ได้บูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถส่วนการเปลี่ยนชื่อเพราะเนื่องจากชื่อวัด ไปตรงกับวัดอินทาราม (ใต้) ฝั่งธนบุรี จึงได้เปลี่ยนเป็น วัดอินทราวิหาร เพื่อไม่ให้ซ้ำกัน ในสมัยรัชกาลที่ ๖
    พระพุทธรูปที่สำคัญ ของวัดอินทรวิหาร
    ๑. พระประธาน ในพระอุโบสถ ๒. พระศรีสุคต อังคีรสศากยมุนี ๓. พระศรีอริยเมตไตรย์ หรือ หลวงพ่อโต

    ภาพสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) วัดระฆัง กทม

    ความสัมพันธ์ของ เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) กับหลวงปู่ภู
    พระศรีอริยเมตไตรย์เป็นพระพุทธยืนอุ้มบาตร สูงใหญ่ที่สุดในเมืองไทย ซึ่งท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ได้เริ่มต้นสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ และหลวงปู่ภู เป็นผู้ดำเนินงานก่อสร้างต่อจนแล้วเสร็จ ปรกติ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านมักจะสร้างพระพุทธรูปที่ใหญ่โต สมกับชื่อเพื่อเป็นพุทธบูชา (อุเทสิกเจดีย์) ไว้เป็นที่สักการะบูชา และปริศนาธรรมควบคู่ไปด้วยตามประวัติท่านสร้างไว้หลายแห่งเช่น
    ๑. ที่วัดสะตือ จังหวัดอยุธยา ได้สร้างพระนอน มีความหมายว่า ท่านได้เกิดที่นั่น ต้องนอนแบเบาะก่อน
    ๒. ที่วัดเกศไชโย สร้างพระพุทธรูปปางนั่งหมายถึงท่านหัดนั่ง ณ ที่นั้น
    ๓. ที่วัดอินทรวิหาร สร้างพระศรีอริยเมตไตรย์ (พระยืนอุ้มบาตร) หมายถึงท่านหัดยืน ณ ที่นั้น
    ในขณะที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ดำเนินงานก่อสร้างหลวงพ่อโต ท่านก็ได้หลวงปู่ภู เป็นกำลังสำคัญ เพราะท่านเจ้าประคุณสมเด็จสร้างพระโต ไปได้เพียงครึ่งองค์ก็สิ้นชีพตักษัยเสียก่อน ตามหลักฐานขณะนั้นหลวงปู่ภูอายุได้ ๔๓ ปี พรรษาที่ ๒๓ นับว่าชราภาพมากแล้ว
    ความสัมพันธ์ของเจ้าประคุณสมเด็จโตกับวัดอินทรวิหาร
    เมื่อเยาว์วัยท่านเจ้าพระคุณสมเด็จ (โต) ได้เป็นศิษย์ของท่านเจ้าคุณอรัญญิก (แก้ว) ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสอยู่ในสมัยนั้นตามหลักฐาน ท่านเจ้าคุณธรรมถาวร (ช่วง) มีความใกล้ชิดกับเจ้าประคุณสมเด็จดี ได้เคยกล่าวกับพระยาทิพโกษาฯ ว่าถ้าอยากรู้ประวัติของท่านเจ้าประคุณสมเด็จ ก็ไปดูภาพฝาผนังโบสถ์ที่วัดอินทรฯ ได้ นอกจากนี้ในสมัยที่หลวงปู่ภูยังมีชีวิตอยู่ท่านได้สั่งกำชับ และสอนลูกศิษย์ทุกคนห้ามมิให้ขึ้นไปบนพระโต เนื่องจากเจ้าประคุณสมเด็จได้บรรจุของดีไว้ภายในฐาน ถ้าใครขึ้นไปจะเป็นอัปมงคลแก่ตัวเอง ส่วนของดีนั้นเข้าใจว่าอาจจะเป็นพระเครื่องสมเด็จก็ได้ แต่ก็ไม่มีใครกล้าซักถามหลวงปู่ว่า ภายในบรรจุอะไรไว้ เพราะตลอดระยะเวลา ที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ดำเนินงานก่อสร้างหลวงพ่อโตและบรรจุของศักดิ์สิทธิ์ หลวงปู่ได้รู้เห็นโดยตลอด ถ้าของที่บรรจุไว้ไม่ใช่ของสูงท่านคงไม่กำชับลูกศิษย์ลูกหาของท่านเป็นแน่

    เรียบเรียงโดย แว่น วัดอรุณ

    ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก กะฉ่อนพระเครื่อง


    • Update : 5/10/2556
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch