หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    สันโดษคือ ความยินดี

    สันโดษคือ ความยินดี

    สันโดษคือ ความยินดี ความพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่

    พอใจยินดีในสิ่งที่ตนได้มาด้วยความชอบธรรม

    คนที่มีความสันโดษเป็นคนที่เป็นอยู่เรียบง่าย ไม่ฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย

    มีความขยันหมั่นเพียร เพื่อให้หน้าที่การงานก้าวหน้าอยู่เสมอ

    สันโดษมี 3 ลักษณะ คือ

    1. ยถาลาภสันโดษ ความยินดีตามได้คือ ความยินดีพอใจในสิ่งที่ตนได้

    ได้เท่าไหร่ก็ยินดีพอใจเท่านั้น แต่มิได้หยุดความเพียรพยายาม

    ยังคงปฏิบัติหน้าที่การงานต่อไป

    ในข้อนี้ เป็นการฝึกจิตใจของเราให้ยินดีพอใจในสิ่งที่กำลังได้รับอยู่

    ไม่ว่าจะเป็นหน้าที่การงาน หรือลาภผลใดๆ เป็นการเตรียมตัวเตรียมใจ ไม่เกิดความทุกข์

    เมื่อไม่ได้มากเท่าที่คาดหวัง เพราะคนเรามักจะไม่พอใจในสิ่งที่ได้รับ

    คิดว่าน่าจะได้มากกว่านี้ น่าจะได้ดีกว่านี้ ทำไมคนนั้นได้มากกว่าเรา

    ทำไมคนนี้จึงได้ดีกว่าเรา การฝึกใจให้รู้จักพอใจในสิ่งที่ได้รับ จะทำให้มีความสุขใจ

    2. ยถาพลสันโดษ ความยินดีตามกำลังคือ ความยินดีพอใจในกำลังของตน พอใจในความรู้

    ความสามารถของตน

    ข้อนี้เป็นการฝึกจิตใจของเราให้รู้จักประมาณในกำลังกาย กำลังสติปัญญาของตนว่า

    มีมากน้อยเพียงใด แล้วพยายามแสวงหาให้เต็มที่ ได้มาเท่าใดก็พอใจเท่านั้น

    โดยไม่คิดเอารัดเอาเปรียบผู้อื่น ไม่ฉ้อฉลคดโกงผู้อื่น

    3. ยถาสารุปสันโดษ ความยินดีตามสมควรแก่ภาวะของตนคือ

    ความยินดีพอใจในสิ่งที่สมควรเหมาะแก่ตน

    ข้อนี้เป็นการฝึกจิตใจของเราให้รู้จักคำว่าพอ เพราะความโลภของคนเรา ไม่มีขอบเขต

    ได้เท่าไหร่ก็ไม่รู้จักพอ ท่านจึงกล่าวไว้ว่า พรหมโลกก็ต่ำเกินไป

    จักรวาลก็แคบเกินไป ไม่พอจะใส่ความโลภได้หมด การมีสันโดษข้อนี้

    จะช่วยให้เรารู้จักฝึกจิต ควบคุมให้รู้จักความพอเหมาะพอควร

    ว่าเรามีความรู้ความสามารถเท่านี้ มีฐานะเท่านี้ อยู่ในภาวะนี้ ควรมี ควรได้อะไร

    ควรใช้อะไร     จะเห็นได้ว่าความสันโดษ เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ การใช้สอยปัจจัย 4

    เครื่องเลี้ยงชีพ และเครื่องอำนวยความสะดวกอื่นๆ ซึ่งต้องแสวงหามาตามทำนองคลองธรรม

    ไม่ฉ้อฉล ไม่คดโกง เมื่อได้มาแล้ว ก็ใช้สอยแต่พอสมควร แต่ก็ไม่ฝืดเคือง

    ไม่ใช้จ่ายเลย

    พระพุทธเจ้าทรงสอนให้มีความสันโดษในเรื่องของปัจจัยเครื่องเลี้ยงชีวิต

    แต่ในเรื่องการปฏิบัติธรรม ทรงสอนไม่ให้มีความสันโดษคือ

    ไม่ให้พอใจในคุณธรรมชั้นต้นๆ ทรงสอนให้เพียรพยายามเพื่อบรรลุคุณธรรมที่สูงๆ ขึ้นไป

    จนกว่าจะถึงชั้นสูงสุด ดังจะเห็นได้จากพระพุทธเจ้าก็ดี พระอริยสาวกก็ดี

    ล้วนแต่มีจิตใจ ไม่พอใจในคุณธรรมชั้นต่ำๆ ทั้งนั้น

    พระพุทธเจ้าเมื่อตอนไปศึกษาในสำนักของอาฬารดาบส และอุทกดาบส

    ก็ไม่ทรงพอพระทัยในคุณพิเศษที่ได้รับ พระองค์ไม่ทรงย่อท้อ เพียรพยายามยิ่งขึ้น

    จนในที่สุดยอมสละพระชนม์ชีพ

    โดยทรงอธิษฐานว่าเมื่อยังไม่บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณเพียงใด จักไม่ลุกขึ้นเพียงนั้น

    เนื้อและเลือดจะเหือดแห้ง เหลือแต่หนัง เอ็น และกระดูก ก็ตามที

    ทั้งนี้เป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่า การศึกษาหาความรู้

    หรือการปฏิบัติธรรมนั้นต้องใช้ความเพียรพยายามเรื่อยไป

    ไม่ให้มีความสันโดษพอใจเท่าที่เรียนรู้มา

    พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.9)

    เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร


    • Update : 16/3/2555
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch