ตะไคร้หอม : สมุนไพร ไล่ยุงหรือฆ่าแมลง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cymbopogon nardus (Linn.)Rendle
ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ : ตะไคร้แดง, ตะไครมะขูด, จะไคมาขูด
ชื่อสามัญ : Citronella Grass
วงศ์ : GRAMINEAE
ลักษณะทั่วไปของสมุนไพร l ตะไคร้หอม : สมุนไพร ไล่ยุงหรือฆ่าแมลง
ต้น :
เป็นไม้ล้มลุก ที่เกิดจากหัวหรือเหง้าที่อยู่ใต้ดิน ลำต้นจะตั้งตรง แต่จะแตกออก
มาเป็นกอ ที่โคนจะเป็นกาบชั้น ๆ เหมือนกับตะไคร้บ้าน แต่ลำต้นจะเป็นสีแดง ยาว สูงประมาณ 2 เมตร
ใบ :
มีใบที่ยาวกว่าตะไคร้บ้าน ลักษณะของใบแคบและยาว 1.0 เมตร กว้าง 5-20 มม. มีสีเขียว ผิวเกลี้ยงและมีกลิ่นหอม
ดอก :
ออกเป็นช่อฝอย มีช่อดอกขนาดใหญ่ยาวประมาณ 2 ฟุตจะคล้ายกับดอกอ้อ ช่อดอกจะแยกออกเป็นแขนง ซึ่งในแต่ละแขนงนั้นมีช่อย่อยอยู่ 4-5 ช่อ
การขยายพันธุ์ :
เป็นพรรณไม้ที่เจริญเติบโตได้ดีในดินที่ร่วนซุย และมีการระบายน้ำได้ดี ขยายพันธุ์
ด้วยการแยกหน่อหรือเหง้าไปปลูก
ส่วนที่ใช้ : ใบ ต้น ราก
สรรพคุณของสมุนไพร l ตะไคร้หอม : สมุนไพร ไล่ยุงหรือฆ่าแมลง
ต้น ใช้เป็นยาแก้ปากแตกระแหง แก้ริดสีดวงในปาก ขับลมในลำไส้ แก้แน่น ขับโลหิตระดูหรือผู้ที่มีครรภ์ทานเข้าไปจะทำให้แท้งได้ นอกจากนี้ยังจะแก้โรคต่าง ๆ ได้แต่ก็ไม่ระบุว่าเป็นส่วนใดของลำต้น เช่น แก้แผลในปาก แก้ตานซางในลิ้นและปาก บำรุงไฟธาตุ แก้ไข้ แก้อาเจียน และแก้ริดสีดวงตา นอกจากจะเป็นพืชทางยาที่ใช้เดี่ยว ๆ แล้ว นำไปผสมรวมกับสมุนไพรอื่น ๆ จะเป็นยาได้เช่น ต้น แก้ลมพานไส้ แก้ธาตุ แก้เลือดลมไม่ปกติ
ราก แก้ลมจิตรวาต หัวใจกระวนกระวายฟุ้งซ่าน
ใบ ใช้เป็นยาคุมกำเนิด ชำระล้างลำไส้มิให้เกิดซาง น้ำมัน ทาป้องกันยุง
ถิ่นที่อยู่ : เป็นพรรณไม้ที่พบมากทางแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ข้อมูลทางเภสัชวิทยา l ตะไคร้หอม : สมุนไพร ไล่ยุงหรือฆ่าแมลง
1. การทดสอบความเป็นพิษ (Toxicity assessment) สารสกัด เดียวกับข้างต้นที่ทำให้ หนูตาย ครึ่งหนึ่งของจำนวนทดลองคือ 1 ก./กก.
2. ความเป็นพิษต่อเซลล์ (Cytotoxic acitivity) สารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ และน้ำ (1:1) ไม่มีผลต่อ CA-9KB แม้จะให้ถึง 20 ไมโครกรัม/ซีซี ก็จะทำให้เซลล์ตายเพียงครึ่งเดียว ข้อมูลทางคลีนิค : น้ำมันหอมระเหยซึ่งมีฤทธิ์ไล่แมลง (Insect repellant) ได้นำมาใช้รักษาโรคหมัดสุนัข