หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    ทำอย่างไรให้มีสติในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ
    ทำอย่างไรให้มีสติในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ


    พระศาสดาตรัสไว้ในเรื่องอตุลอุบาสกว่า
    อตุละ ข้อนั้นเขาเคยประพฤติกันมาตั้งแต่โบราณทีเดียว ชนทั้งหลายติเตียนทั้งคนนิ่ง ทั้งคนพูดมาก
    ทั้งคนพูดน้อยทีเดียว ด้วยว่าผู้อันเขาพึงติเตียนอย่างเดียวเท่านั้น หรือว่าผู้อันเขาพึงสรรเสริญ
    อย่างเดียวไม่มีเลย

    แม้พระราชาทั้งหลาย คนบางพวกก็นินทา บางพวกก็สรรเสริญ แผ่นดินใหญ่ก็ดี
    พระจันทร์และพระอาทิตย์ก็ดี ธาตุมีอากาศเป็นต้นก็ดี คนบางพวกนินทา บางพวกสรรเสริญ

    แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ประทับนั่งแสดงธรรมในท่ามกลางบริษัท ๔ บางพวกนินทา บางพวกสรรเสริญ ก็การนินทาและสรรเสริญของพวกอันธพาลไม่เป็นประมาณ แต่ผู้ที่ถูกบัณฑิตผู้มีปัญญาติเตียน จึงชื่อว่าเป็นอันติเตียน ผู้อันบัณฑิตสรรเสริญแล้ว ชื่อว่าเป็นดังนี้แล้ว

    "อตุละ การนินทาและสรรเสริญนั่นเป็นของเก่า นั่นมิใช่เป็นเหมือนมีในวันนี้
    ชนทั้งหลายย่อมนินทาผู้นั่งนิ่งบ้าง
    ย่อมนินทาผู้พูดมากบ้าง
    ย่อมนินทาผู้พูดพอประมาณบ้าง.
    ผู้ไม่ถูกนินทาไม่มีในโลก
    คนผู้ถูกนินทาโดยส่วนเดียว หรือว่าอันเขาสรรเสริญโดยส่วนเดียวไม่ได้มีแล้ว จักไม่มี และไม่มีอยู่ในบัดนี้
    หากว่าวิญญูชนใคร่ครวญแล้วทุกๆ วัน สรรเสริญผู้ใด ซึ่งมีความประพฤติไม่ขาดสาย มีปัญญา
    ผู้ตั้งมั่นด้วยปัญญาและศีล ใครเล่าย่อมควรเพื่อติเตียนผู้นั้น ผู้เป็นดังแท่งทองชมพูนุท แม้เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายก็สรรเสริญเขา ถึงพรหมก็สรรเสริญแล้ว."
    ทำเหตุไว้อย่างไร ก็ย่อมต้องได้รับผลอย่างนั้น จึงควรหมั่นระลึกเสมอว่า สิ่งที่เกิดขึ้นกับชีวิตคือ
    ผลผลิตของกรรมที่ได้กระทำไว้เอง แล้วก็หยุดการตอบโต้ที่เป็นการสร้างเหตุอกุศลต่อไป

    การถูกนินทาอาจมาจากอกุศลกรรมบถอย่างน้อยสองประการนี้ที่นำมาเป็นตัวอย่าง คือ
    ปิสุณวาจา และผรุสวาจา

    ปิสุณวาจา หมายความว่า คำพูดที่ให้แตกแยก ได้แก่ การพูดส่อเสียด เจตนาให้แตกความสามัคคี
    ผู้ที่กระทำบาปในข้อนี้จะได้รับผลในภายหลังคือ ชอบตำหนิตนเอง มักถูกกล่าวหาโดยไม่เป็นจริง
    ถูกบัณฑิตติเตียนเสมอ แตกกับมิตรสหาย

    ผรุสวาจา หมายความว่า คำพูดที่หยาบ ได้แก่ การด่าและการแช่ง ผู้ที่กระทำบาปในข้อนี้จะได้รับผลในภายหลังคือ พินาศในทรัพย์ ได้รับฟังแต่เรื่องไม่สบายใจ มีกายและวาจาหยาบ ตายด้วยอาการหลงใหล
    พระพุทธองค์สอนให้แผ่เมตตาแก่ผุ้ที่กล่าวร้ายเหล่านั้น

    กกจูปมสูตร
    “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางแห่งถ้อยคำที่บุคคลอื่นจะพึงกล่าวกะท่านมีอยู่ ๕ ประการ คือ
    กล่าวโดยกาลอันสมควรหรือไม่สมควร ๑ กล่าวด้วยเรื่องจริงหรือไม่จริง ๑ กล่าวด้วยคำอ่อนหวาน
    หรือคำหยาบคาย ๑ มีจิตเมตตาหรือมีโทสะในภายในกล่าว ๑

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลอื่นจะกล่าวโดยกาลอันสมควรหรือไม่สามควรก็ตาม จะกล่าวด้วยเรื่องจริงหรือไม่จริงก็ตาม จะกล่าวด้วยคำอ่อนหวานหรือคำหยาบคายก็ตาม จะกล่าวถ้อยคำประกอบด้วยประโยชน์หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์ก็ตาม จะมีจิตเมตตาหรือมีโทสะภายในกล่าวก็ตาม
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ในข้อนั้น พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจักไม่แปรปรวน เราจักไม่เปล่งวาจาลามก เราจักอนุเคราะห์ด้วยสิ่งอันเป็นประโยชน์ เราจักมีจิตเมตตา ไม่มีโทสะในภายในเราจักแผ่เมตตาจิตไปถึงบุคคลนั้น และจักแผ่เมตตาจิตอันไพบูลย์ ใหญ่ยิ่งหาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาทไปตลอดโลก ทุกทิศทุกทางซึ่งเป็นอารมณ์ของจิตนั้นดังนี้

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเธอทั้งหลายถึงศึกษาด้วยอาการดังที่กล่าวมานี้แลฯ ”
    หัดทำใจและยอมรับความจริงว่า ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นย่อมดับลงอย่างแน่นอน เสียงนินทาก็ต้องดับไป
    และก็ควรดับความไม่พอใจที่ใจของตนด้วย อย่าฟุ้งซ่านกับเสียงที่ผ่านไปแล้วเพราะไม่มีอยู่จริงในขณะนี้ ยึดถือมากก็ทุกข์มาก คิดอย่างนี้บ่อย ๆ ก็จะดีขึ้น แล้วอย่าลืมแผ่เมตตาให้ตนเองด้วย
    โดย bee ๒๔ มิ.ย. ๒๕๔๘


    • Update : 13/12/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch