หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    พลิกทุกข์ ให้เป็นสุข เปิดเคล็ดวิชาพลิกชุมชน

    ช่วงเวลาการเฉลิมฉลองวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 7 รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีหน่วยงานและบริษัทมากมายจัดงานแสดงถึงแนวทางพระราชดำริที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมมาตลอดปีนี้

    เช่น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จัดงาน "รวมพลังชาวไทย เทิดไท้องค์ราชัน มหัศจรรย์ความพอเพียง" นำเสนอนิทรรศการ "พลิกทุกข์ ให้เป็นสุข" ให้เกร็ดความรู้สำหรับคนเมืองในการปรับเปลี่ยน ลด ละ เลิก พฤติกรรมความฟุ้งเฟ้อ หันมาประหยัดพลังงานผ่านการนำเสนอภาคีเครือข่ายพลิกใจให้พอเพียง

    พร้อมด้วยเรื่องพลังงานทางเลือก มหัศจรรย์หญ้าแฝก ร่วมเรียนรู้เทค โนโลยีเพื่อชุมชน ทั้งยังฉายภาพยนตร์สั้นแนวสารคดี 4 มิติ และเส้นทางค้นใจที่บานสะพรั่งด้วยความสุขจากการพลิกใจของผู้แทนชุมชนทั่วประเทศ

    นอกจากนี้ยังจัดแสดงวิถีชุมชน 4 ภูมิภาค ที่นำหลักคิด สู่ภาคปฏิบัติ ก่อให้เกิดเป็นการพัฒนาศักยภาพคนและตำบล ที่ปรับเปลี่ยนวิธีคิดการจัดการตนเองและเพิ่มขีดความสามารถในการพึ่งตนเองและผลสำเร็จในการดำเนินโครงการรักษ์ป่า สร้างคน 84 ตำบล วิถีพอเพียง

    พร้อมมีเสวนาเรื่อง "จากซูเปอร์มารŒเก็ตกลางป่า สู่เซ็นทรัลพลาซากลางมหานคร เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เรื่องของคนชนบท" สะท้อนวิถีโลกบริโภคนิยมที่ตัดคนออกจากธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ชีวิต สังคมเมืองใหญ่กลายเป็นนักบริโภคที่ไม่รู้จักที่มาของต้นน้ำและแหล่งผลิตอาหาร โดยไม่รู้ว่าตนเองผลาญทรัพยากรธรรมชาติไปมากน้อยเพียงใด ทั้งยังเป็นห่วงโซ่ที่ทำให้ระบบนิเวศน์มีปัญหา ส่งผลถึงการมีอยู่มีกินและสุขภาพคนไทย

    รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวว่าเศรษฐกิจพอเพียงและความสมัยใหม่ไปด้วยกันได้ ที่ ผ่านมาประเทศมีวิกฤตมามาก แต่การอยู่ตามเศรษฐกิจพอเพียงก็มี อย่างสหรัฐอเมริกามีคนว่างงานมากซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อน คนเขาก็เปลี่ยนวิถีชีวิต ปลูกผักกินเอง ไม่กินนอกบ้าน ไม่ซื้อรถ เพื่อลดค่าใช้จ่ายก็อยู่รอดได้ หรืออย่างประเทศซิมบับเว แม้มีเงินมากแต่ก็พร้อมเป็นยาจก เพราะข้าวของแพง เงินเพ้อมากแต่คนเขาอยู่ได้จากการปรับตัว

    "วิกฤตสอนให้คนจำเป็นต้องอยู่ในกระแสความลำบาก แม้มีเศรษฐกิจทุนนิยม ก็มีเศรษฐกิจพอเพียงรวมอยู่ด้วย คู่ขนานกัน"

    รศ.ดร.วรากรณ์กล่าวต่อว่า หากเทียบเคียงเศรษฐกิจพอเพียงในกระแสทุนนิยม เศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับโลกในเมืองได้อย่างดีมาก เช่น การใช้เงิน ถ้าเราเชื่อเรื่องความพอดีเราจะใช้เงินอย่างพอดี มีน้อยใช้น้อย รู้จักออมเพื่ออนาคต ถ้าใช้มากแต่มีน้อย ไปกู้เอาเงินวันหน้ามาใช้วันนี้ ไม่พอเพียงแน่นอนและไม่สามารถมีชีวิตที่ยั่งยืนในวันข้างหน้า เพราะเรารวยเพื่อจนในวันข้างหน้า เราจะอยู่อย่างไรในวันนี้ให้พอดีๆ ทำให้เราอยู่รอดในอนาคตข้างหน้า อยู่อย่างมีศักดิ์ศรีไม่ต้องพึ่งใคร และอยู่ได้ด้วยการออมอย่างพอดีๆ ไม่มีความประมาท คนเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับวิธีคิดของตนเอง ฝันไกลแค่ไหนก็ไปไกลแค่นั้น การมีชีวิตอย่างยั่งยืนและมีความสุขอยู่ที่การคิด รู้จักพอ ไม่ใช้ชีวิตที่ประมาท ไม่สุ่มเสี่ยง กินอยู่ต่ำกว่าฐานะ มีเหลือไว้ออม คือวิธีคิดนี้ทำให้เราอยู่ได้อย่างมีความสุข

    ด้าน นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี Bio Thai กล่าวว่าเศรษฐกิจพอเพียงอย่างที่ในหลวงพระราชทาน ให้ คือความมั่นคงทำให้ประเทศชาติรอดได้ เรื่องอาหารเป็นใหญ่ และส่งสัญญาณต่างๆ ออกมาให้เห็น เช่น อาหารราคาสูง เดือดร้อนทั่วโลก แต่เรามีฐานการผลิตที่เป็นเกษตรกรรายย่อย ชุมชนเป็นผู้ผลิตและรับประทานเอง เหลือใช้จึงเผื่อแผ่ออกจำหน่าย สังคมไทยจึงไม่กระทบ

    แม้ปัจจุบันแนวโน้มของโลกเข้าสู่วิกฤตทางอาหารครั้งที่ 4 พื้นที่ผลิตอาหารเปลี่ยนเป็นผลิตพลังงาน ฉะนั้นการแย่งชิงอาหารและพลังงานจะเกิดขึ้นในระดับโลก ประเทศที่เป็นเจ้าของบ่อน้ำมันมาลงทุนด้านอาหารและทรัพยากร ดังนั้นแหล่งผลิตที่ทำการเกษตรและอาหาร ชุมชนท้องถิ่นผลิตอาหารเป็นเป้าหมายการลงทุน

    การเกษตรจะกลายเป็นเรื่องเศรษฐกิจและเรื่องความมั่นคงของชาติ การที่ประเทศไม่สนใจปล่อยให้เกษตรกรล่มสลาย เราจะอยู่ไม่ได้เช่นกันอาหารสำคัญเช่นกันกับผืนแผ่นดิน

    จากสถิติค่าใช้จ่ายเรื่องอาหารของคนไทย เฉลี่ยร้อยละ 35-40 ทั้งประเทศ ส่วนชนบทร้อยละ 50-70 ถ้าจัดการเรื่องอาหารได้ ค่าใช้จ่ายจะลดลงและได้อาหารที่ปลอดภัย นอกจากนี้ถ้าเราลดใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตให้เชื่อมโยงและจะทำให้คนชนบทอยู่ได้ แต่ปัจจุบันผู้ผลิตอาหารและผู้บริโภคอยู่คนละแห่ง ไม่ตระหนักว่าอีกฝ่ายจะอยู่รอดอย่างไร ปัญหาจึงเกิดขึ้น

    ด้าน นายพฤ โอ่เดชา ปกาเกอะญอแห่งดอยแม่วาง จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า "ผมคิดถึงหัวอกของในหลวง แผ่นดินนี้มีข้าวปลูกเองได้ แต่ข้าวที่ปลูกมีแต่สารพิษฆ่ากันตาย คนขายที่ดินให้ต่างชาติ ลูกหลานชอบของต่างประเทศ แล้วจะอยู่อย่างไร หมู่บ้านผมอยู่ในป่า มีธรรมชาติ ความเชื่อและความรู้ ผมทำไร่ ปลูกข้าว เตรียมพื้นที่เสร็จก็หยอดเมล็ดข้าว ผักต่างๆ ลงไปด้วย ได้กินผักกาด ฟักทอง เครื่องเทศ เครื่องหอม ไล่ตามกันมา แต่ทั้งหมดจะปลูกฤดูกาลไหนต้องมีความรู้ จะกินใช้อย่างไรไม่ให้หมด กินน้ำรักษาน้ำ ใช้ผืนแผ่นดินต้องรักษาผืนแผ่นดินสอนกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ"

    "ในธรรมชาติมีธรรมะ ต้องมองเห็น กินข้าว ข้าวแบ่งชีวิตให้เรา น้ำก็แบ่งชีวิตให้ข้าว ดังนั้นเราจะกินอยู่อย่างไรต้องรักษา โลกนี้เป็นเจ้าของบ้าน ปกาเกอะญอเข้าไปขออาศัยอยู่ ต้องเกรงใจ ต้นไม้ ลำคลอง เจ้าป่า เจ้าเขา คนต้องเรียนรู้กัน ไม่ทะเลาะกัน รู้จักทำมาหากิน อยู่อย่างพึ่งพิงกัน เมื่อคนอยู่ได้ ธรรมชาติก็อยู่ได้ วิถีพอเพียงที่อยากให้เป็นแต่ไม่ได้เป็น แล้วคนเมืองจะช่วยได้อย่างไร"

    พฤบอกว่า ชีวิตเกษตรกรและชาวปกาเกอะญอเปราะบาง โครงการและกฎหมายต่างๆ ไม่เคยเอื้อให้อยู่ได้เลย แต่ในหลวงทรงเข้าใจและพูดถึงเศรษฐกิจพอเพียง เปิดพื้นที่คนพอเพียงได้งอกเงยขึ้นมา แต่ข้าราชการจะเข้าใจหรือไม่ ถ้าไม่เปลี่ยนผลลัพธ์ที่วิ่งไปหาเงินหาทอง เปลี่ยนผลลัพธ์สังคม ค่านิยมของคนรุ่นใหม่ให้ปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติ ถ้าเราจบคนรุ่นลูกก็จบ ระบบมีคำตอบอยู่แล้ว เพราะผลลัพธ์ของสังคมวางไว้ว่า ต้องไปหาอุตสาหกรรม แรงงาน ขายชีวิต เพื่อแลกกับเงิน เราต้องเปลี่ยนผลลัพธ์ ให้รองรับวิถีชีวิตพอเพียง

    สําหรับในช่วงเสวนาเรื่อง "กางตำรา เคล็ดวิชาพลิกชุมชน : กระบวนการพลิกชุมชน (84 ตำบล วิถีพอเพียง)" นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สื่อสารองค์กร และกิจการเพื่อสังคม ปตท.กล่าวถึงโครงการนี้ว่า จัดขึ้นมาเพื่อรับนโยบายและเข้าไปขับเคลื่อนในระดับพื้นที่เป้าหมายที่อยากพัฒนาคนและชุมชน แต่ลึกลงไปคืออยากให้ชุมชนที่พัฒนายืนอยู่ได้ด้วยตนเอง คิด วิเคราะห์ วางแผนระดับตำบลได้ และมีการครัวเรือนอาศัยที่ปฏิบัติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นคนต้นแบบในการถ่ายทอดความรู้

    ด้านปราชญ์ชาวบ้าน จ.นครศรีธรรมราช ผู้คว้ารางวัลแม็กไซไซ สาขาพัฒนาชุมชน นายประยงค์ รณรงค์ กล่าวถึงการลงพื้นที่หาแกนนำพอเพียงและแง้มวิธีพลิกใจว่า เราต้องไปหาผู้กล้า คนกลุ่มน้อยที่มีแนวคิด ความตั้งใจ ที่ต้องการทำสิ่งใหม่ แต่การทำให้คนพลิกใจอยู่ที่การทำข้อมูลให้ตรงใจ โดนใจ

    "ผมใช้ข้อมูลเดียวคือ คนไม้เรียง 1,593 ครัวเรือน เป็นหนี้ธ.ก.ส. 74.1 ล้าน ย้อนหลังไปอีก 3 ปีหนี้คนไม้เรียงเพิ่มขึ้นปีละ 15-17 ล้าน และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ไม่เกิน 10 ปีพวกเราพังแน่ๆ เพราะทรัพย์สินของคนไม้เรียงไม่พอประกันหนี้ ต่อไปเราพังไปพร้อมกันแน่ๆ ถ้าไม่หยุดการเป็นหนี้ สิ่งเหล่านี้เป็นความจริงและเป็นปัญหาชุมชนที่เกิดขึ้น ผม เชื่อว่าภาษิตไม่เห็นโลงศพไม่หลั่งน้ำตา หลังไม่ชนฝา ไม่หันหน้ามาคุยกันยังใช้ได้อยู่ เราต้องใช้โอกาส จังหวะที่เป็นประโยชน์ให้เกิดการพลิกใจ" นายประยงค์กล่าว

    นาย อุสมาน หมันยามีน ประธานคณะกรรมการรักษ์ป่า สร้างคน 84 ตำบลวิถีพอเพียง ต.ตันหยงโป อ.เมือง จ.สตูล เล่าว่าชุมชนแรกๆ ที่ทำงานมีเพียง 4 คน แต่ผลลัพธ์ที่เราทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ ใช้เวลาอย่างเต็มที่และอดทน จนได้กลุ่มคนพอเพียงของตันหยงโปที่มีจิตวิญญาณ มีความรักที่จะพอเพียงจริงๆ

    เรามีเครือข่ายการทำบัญชีครัวเรือน ทำให้รู้ข้อมูลว่า ประชากรตันหยงโป 2,800 คน มีรายรับ 9 ล้านต่อปีมีรายจ่าย 11 ล้านบาท มีรายจ่ายมากที่สุดคืออุปกรณ์การประมงและรายจ่ายผัก ซึ่งทั้งตำบลบริโภคผักถึง 4 ล้าน จึงจัดโครงการปลูกผักในล้อรถ แก้ปัญหาให้ชุมชนอาสา 60 ครัวเรือน

    จากสมาชิก 4 คน ตอนนี้มีเครือข่ายต่างๆ เข้าร่วมอย่าง "ธนาคาร ปูดำ" ซึ่งมีความตั้งใจอนุรักษ์ทรัพยากรทะเล และเครือข่ายชุมชนธนาคารขยะ มาร่วมทุกข์ร่วมสุขกับเรา

    ด้าน นายวุช กาวงษ์กลาง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านคำน้อย ต.คำแคน อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น ครูผู้สร้างห้องเรียนพอเพียง กล่าวว่าการไม่ใช้เงินนำหน้า ทำให้วิเคราะห์ตัวเองแล้วหาหนทางแก้ไขได้ อย่างกรณีที่เกิดภาวะทุพโภชนาในเด็ก เมื่อมองโรงเรียนเหมือนครอบครัว ก็คิดต่อว่า การที่จะอยู่ด้วยลำแข้งต้องทำอะไรบ้าง หนึ่งคือเราต้องทำอาหาร แล้วต้องหาอะไรมาหนุนเสริม แทนการซื้อจากข้างนอกทั้งหมด

    จากนั้นมองบริบทที่เรามี ต้นทุนคือมีหนองน้ำ เราสอนให้ลูกหลานพึ่งตัวเอง จึงปลูกผัก เลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ เลี้ยงกบ เลี้ยงหมู เพาะเห็ด เด็กมีอาหารกลางวันกิน และมีบ่อแก๊สชีวภาพไว้ใช้เอง เมื่อผลิตได้ก็มีการซื้อขายในโรงเรียน การที่จะพลิกใจเด็กเชื่อมใจไปหาชุมชนต้องให้เขาเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ร่วมคิดร่วมทำ ลองผิดลองถูก เกิดเป็นองค์ความรู้ หากไม่รู้จริงก็ต้องพึ่งคนที่มีความรู้จากข้างนอก

    "ความลำบากสอนให้เราเข้มแข็ง หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงหลายคนมองว่า เกี่ยวกับเลี้ยงสัตว์ ปลูกพืชเท่านั้นแต่ความจริงไม่ใช้ มันเป็นหลักคิดของความพอประมาณ ความมีเหตุผล และภูมิความรู้ โดยใส่ความรู้คู่คุณธรรมลงไปด้วย นั้นหมายถึงเราจะทำอะไรต้องมองความพอประมาณและเศรษฐกิจพอเพียงใช้ได้กับทุกเรื่อง"



    • Update : 30/11/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch