หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    ไอที ภายใต้วัฒนธรรมแห่งปัญญา (ศาสนากับยุคโลกาภิวัตน์) (17)
    ไอที ภายใต้วัฒนธรรมแห่งปัญญา (ศาสนากับยุคโลกาภิวัตน์) (17)

    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)


    พุทธศาสนาสอนหลักธรรมใหญ่ที่สุด คือ ความไม่ประ มาท พุทธโอวาทก่อนปรินิพพานมีว่า "เธอทั้งหลาย จงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม"

    ความไม่ประมาทเป็นหลักธรรมที่ครอบคลุม เหมือนรอยเท้าช้าง ถ้าเรามีความไม่ประมาทอย่างเดียวเท่านั้นก็ไม่ต้องกลัวความเสื่อม และจะมีแต่เจริญเท่านั้น ในทางตรงข้าม ถ้าประมาทเสียอย่างเดียว ถึงจะเรียนรู้ธรรมมากมายสักกี่ข้อก็ไม่ได้รับการปฏิบัติ ธรรมที่เรียนมาก็ไปอยู่ในตู้คัมภีร์นอนหลับหมด แต่ถ้าไม่ประมาทธรรมเรียนมากี่ข้อก็ได้ปฏิบัติหมด

    พุทธศาสนาสอนเน้นความไม่ประมาท ให้มีการพัฒนาตนอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้นขณะที่เราอาศัยเทคโนโลยีมาช่วยทำงานทุ่นหรือแทนอินทรีย์ของเรา เราจะต้องไม่ลืมพัฒนาอินทรีย์ของเราควบคู่กันไปด้วย เพื่อเราจะได้ไม่ต้องมีชีวิตที่ขึ้นต่อเทคโนโลยี เมื่อเทคโนโลยีมีอยู่เราก็ใช้มันให้เป็นประโยชน์ แต่เราอยู่เหนือเทคโนโลยีนั้นตลอดเวลา และถ้ามีเหตุขัดข้องขึ้นมาเราก็ใช้อินทรีย์ของเราได้

    ฉะนั้นเราก็จะรักษาอิสรภาพไว้ได้ ทั้งในแง่อิสรภาพทางอินทรีย์คือการดำเนินชีวิตทำกิจการงาน และอิสรภาพทางความสุข

    เนื่องจากเรื่องที่กำลังพูดอยู่นี้เป็นเรื่องใหญ่และมีความสำคัญมาก และในที่นี้ยังไม่มีเวลาที่จะอธิบายขยายความให้ชัดเจนเพียงพอ เมื่อได้พูดไว้โดยย่อแล้วก็ขอสรุปไว้อีกครั้งหนึ่ง แม้ว่าจะเป็นการพูดซ้ำๆ ดังนี้

    วัฒนธรรมไสยศาสตร์ เป็นวัฒนธรรมแห่งการไม่ต้องรู้และไม่ต้องทำ (ยอมสยบแก่ความเร้นลับ และหวังอำนาจดลบัน ดาลภายนอกทำให้)

    วัฒนธรรมเทคโนโลยีเชิงบริโภค ที่ขาดลอยจากฐานทางวิทยาศาสตร์ เป็นวัฒนธรรมแห่งการไม่ต้องรู้ และไม่ต้องทำ (มุ่งหาเทคโนโลยีสำเร็จรูปมาบำรุงบำเรอ หรือทำแทนให้ เพื่อจะได้เสพเสวยความสุขโดยไม่ต้องทำอะไร)

    วัฒนธรรมวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เป็นวัฒนธรรมแห่งการต้องรู้และต้องทำ (แต่คับแคบและเสียดุล เพราะมองด้านเดียวเพียงธรรม ชาติภายนอกตัวและเฉพาะด้านวัตถุ ด้วยทัศนะแบบเป็นปฏิปักษ์ โดยถูกอิทธิพลแนวความคิดทางปรัชญาครอบงำและผลักดันให้มุ่งดิ่งไปในทางที่จะเอาชนะธรรมชาติ และถูกชักจูงด้วยแรงจูงใจแบบอุตสาหกรรมให้สนองความเชื่อที่จะบรรลุความสุขสมบูรณ์ด้วยการมีวัตถุพรั่งพร้อม นำไปสู่การพัฒนาด้านเดียวทางวัตถุและเศรษฐกิจ โดยไม่ช่วยให้มีการพัฒนาคนขึ้นไปนำทางและอยู่เหนือการพัฒนาทางวัตถุและเศรษฐกิจนั้น)

    วัฒนธรรมพุทธศาสตร์เป็นวัฒนธรรมแห่งการต้องรู้และต้องทำ (ถือว่าสิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่จะต้องรู้ และต้องทำให้ตรงตามเหตุปัจจัยนั้น)

    พร้อมทั้งพัฒนาคนไปสู่อิสรภาพ (วัฒนธรรมแห่งความพอดี หรือมีดุลยภาพ)



    • Update : 13/10/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch