มา update เพิ่มเติม เมื่อวานก่อนได้ดูทีวีช่องเกษตรน่าสนใจกับรายการ The Master คนต้นแบบ น่าสนใจมากๆ เป็นช่อง 42 MV_Gift ของจานดำ เรื่องราวเกษตรต่างๆ ในวันนั้นผมได้ดูตอน ปลาหมอไทยกับปราชญ์ชาวบ้าน คุณเปิ้ล ซึ่งเป็นผู้ตามแบบ โดยมีคุณสุทัศน์ รอดคลองตัน ปลาหมอไทย เป็นคนต้นแบบ วันนี้และพรุ่งนี้ก็น่าจะมีอีกวันที่เสนอในตอนที่สอง-สาม (เมื่อ 3 ตุลาคม 2554 เป็นตอนแรก) มาก็ประมาณค่ำๆ เวลา 20.00 น. เห็นบอกว่าท่านได้สายพันธุ์ที่ในหลวงพระราชทานมาด้วย (ในเรื่องคุณเปิ้ล เป็นคนตามแบบ และก็มีพี่ๆ น้องๆ แล้วแต่รายการจะจัดให้ใครไปเป็นคนตามแบบ) ผมพยายามค้นๆ ใน internet ก็ไม่เจอกับข้อมูลนี้แฮะ
ผมได้ดูช่วงปลายๆ เรื่องใกล้ๆ จะจบมีน้องผู้หญิงเป็นคนตามแบบ เธอชื่อเปิ้ล ดูท่าทางเก้ๆ กังๆ กับการเป็นคนตามแบบเลี้ยงปลาหมอไทยกับคุณสุทัศน์ ที่เป็นปราชญ์นะผมว่า (ถ้าผมจำชื่อผิดก็ขออภัยมา ณ ที่นี้) ปราชญ์ท่านนี้ผมฟังทีแรกก็ชื่นชมเลย เพราะรู้แน่ว่าท่านเชี่ยวชาญเรื่องปลาหมอไทยแน่นอน โดยเริ่มแรกแกก็เล่าว่าการเลี้ยงปลาหมอก็มีการขายตามขนาด ถ้าจะเลี้ยงให้ได้เงินดีต้องเลี้ยงแล้วขายขนาดเล็ก ท่านว่าขนาดเล็กผู้เลี้ยงกำหนดราคา แต่ถ้าขนาดใหญ่พ่อค้ากำหนดราคา ก็เลือกเอา ปลาหมอไทยมีหลายขนาด หลายเบอร์ การอนุบาลปลาหมอก็ไม่กี่วัน ช่วงเดือนที่ธรรมชาติให้ผสมพันธุ์ปลาหมอนั้นจะกินเวลานานหลายเดือน แต่สามารถเลี้ยงและผสมพันธุ์นอกฤดูกาลได้ เพื่อที่ความต้องการของตลาดสูงในช่วงนั้นก็สามารถคุมลูกปลาให้เกิดได้โดยการใช้สารเคมีนิดหน่อยฉีดเร่งน้ำเชื้อ เร่งไข่ แล้วปล่อยพ่อแม่พันธุ์ปลาลงบ่อเลี้ยงประมาณ 6 ชั่วโมงก็ออกมาเป็นเจ้าตัวเล็กลูกปลาหมอไทยแล้ว เลี้ยงไปประมาณ 70 วันก็ขายได้
คุณสุทัศน์ รอดคลองตัน ปราชญ์ชาวบ้าน อยู่บ้านเลขที่ 34/1 หมู่ที่ 3 ตำบลคลองตัน อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร เป็นเกษตรกรดีเด่นสาขาอาชีพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดประจำจังหวัด ในการเลี้ยงปลาหมอไทยมีผลผลิตถึงปีละไม่น้อยกว่า 5 ตัน
การเลี้ยงปลาหมอไทย อันนี้เป็นทางวิชาการ ไม่ใช่ในรายการนำเสนอ เพราะผมจำรายละเอียดได้น้อยมากเพราะใกล้จะจบแล้ว ทาง Gift Channel เลยมาค้นๆ ดูข้อมูลทั่วไปในการเลี้ยงปลาหมอไทย แล้วนำมาเผยแพร่ต่อ ซึ่งการเลือกสถานที่เลี้ยง เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้การเลี้ยงปลาหมอไทยประสบความสำเร็จหรือไม่ ดังนั้นการเลือกสถานที่เลี้ยงและการออกแบบบ่อเลี้ยปลา ควรทำด้วยความรอบคอบโดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ คือ
การปล่อยพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ให้วางไข่ในบ่อ วิธีนี้จะช่วยลดปัญหาเรื่องลูกปลาตายในระหว่างการลำเลียงได้ โดยการคัดเลือกพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ที่มีไข่และน้ำเชื้อสมบูรณ์ พร้อมที่จะผสมพันธุ์วางไข่ คือตัวเมียจะมีส่วนท้องที่อูม มีไข่สีเหลือง ส่วนตัวผู้ที่ท้องจะมีเชื้อสีขาว คล้ายน้ำนม เมื่อคัดพ่อแม่พันธุ์ปลาได้แล้ว จะฉีดฮอร์โมนเร่งการวางไข่ให้กับตัวเมียในอัตราเข้มข้นฮอร์โมนสังเคราะห์ 10 ไมโครกรัม และยาเสริม 5 มิลลิกรัม ต่อปลา 1 กิโลกรัม แล้วปล่อยให้วางไข่ในกระชังตาห่างซึ่งแขวนอยู่ในบ่อที่มีระดับน้ำไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร เมื่อวางไข่หมดแล้วจึงนำกระชังพ่อแม่พันธุ์ขึ้น ปล่อยให้ไข่ฟักเป็นตัว หลังจากลูกปลาฟักออกเป็นตัว ประมาณ 4 วัน จึงเริ่มให้อาหารสำเร็จรูปชนิดผง เป็นระยะเวลา 3-4 สัปดาห์ หลังจากนั้นจึงเปลี่ยนเป็นปลาสดสับละเอียด และเปลี่ยนเป็นอาหารเม็ด เมื่อปลามีขนาดใหญ่ขึ้น
ปลาหมอไทย เนื้อปลาจะหวานมันเป็นพิเศษ ในช่วงเริ่มเก็บเกี่ยวข้าวใหม่ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนไปจนถึงเดือนกุมภาพันธุ์ ในตลาดสดขายประมาณ กิโลกรัมละ 40-50 บาท แล้วแต่ขนาดตัวปลาและแหล่งที่ขาย ถ้าเป็นตามต่างจังหวัดก็ถูกหน่อย และหาซื้อกินได้ง่าย แต่ในกรุงเทพจะเห็นมีเป็นบางตลาดเท่านั้น อย่างตลาดสะพานสูงตรงบางซื่อ ที่แม่ค้าจากจังหวัดนครปฐม และ อยุธยา รับปลามาขาย ตลาดสะพานสอง ก็มีเป็นบางวัน
แหล่งที่อยู่อาศัย ปลาหมอไทย อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดทั่วๆไป ในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ปลาหมอไทย สามารถปรับตัวเจริญเติบโตเข้ากับสภาพแวดล้อมที่เป็นน้ำกร่อยที่มีความเค็มไม่เกิน 7 ส่วนในพันได้ เป็นปลาที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม เนื่องจากมีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจปลาหมอไทยมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่นเช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียกว่า ปลาสะเด็ด ภาคเหนือ เรียกว่า ปลาแข็ง และภาคใต้ เรียกชื่อเป็นภาษายาวีว่า อีแกปูยู ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า ปลาหมอ
รูปร่างลักษณะภายนอกของปลาหมอไทยนั้น มีลำตัวค่อนข้างแบนลำตัวมีสีน้ำตาลดำ หรือคล้ำ ส่วนท้องมีสีขาวหรือเหลืองอ่อนส่วนลำตัวมีเกล็ดแข็ง กระพุ้งแก้มมีลักษณะเป็นหนามหยัก แหลมคม ใช้ในการปีนป่าย บริเวณโคนหางมีจุดกลมสีดำ ลักษณะความแตกต่างระหว่างเพศ ปลาหมอไทยเพศเมียนั้นจะมีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากกว่าเพศผู้ เพศผู้มีลักษณะลำตัวเรียวยาว ในระยะฤดูวางไข่ส่วนท้องของปลาเพศเมียจะอูมเป่ง
ก็ได้ความรู้ดีมาก ในรายการมีการสาธิตการทำน้ำ EM ด้วยต้นกล้วยคัดเฉพาะต้นที่ไม่เคยมีหัวปลี (ปราชญ์คุณสุทัศน์ ท่านว่าต้นที่มีหัวปลีจะมีแกน ซึ่งไม่เหมาะจะนำมาทำ EM) ส่วนที่มีจุลินทรีย์มากก็เป็นเหง้ากล้วย แต่ไม่เหมาะอีกเช่นกันเพราะถ้าเอาเหง้ามาใช้กล้วยก็ไม่แตกหน่อ สรุปเอาต้นที่ยังไม่ออกหัวปลีมาใช้ดีสุดเพราะเนื้อต้นยังนิ่ม จุลินทรีย์มีมากแต่ต้องฝานเป็นชิ้นเล็กๆ ก่อนเพื่อสะดวกในการใช้ แล้วทำการหมักลงถังไปตามปกติกับกากน้ำตาล