หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    โลก-สังคม เปลี่ยนไป ภาวะผู้นำ พระสงฆ์ก็ต้องมี

    "โลกและสังคมเปลี่ยนแปลง พระจะอยู่เฉย ๆ ไม่ได้อีกแล้ว...“ ...นี่เป็นส่วนหนึ่งจากการระบุของ พระมหาชินวุฒิ ชินญาโณ จากวัดสระเกศฯ พระนิสิตระดับปริญญาโท สาขาการอุดมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) อันสืบเนื่องจากการทำงานวิจัย ’พระสงฆ์“ ในเรื่อง ’ภาวะผู้นำ“ โดยมีกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือพระนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (วังน้อย)

    ทั้งนี้ ก่อนจะดูกันต่อถึงประเด็นสำคัญของงานวิจัยของพระมหาชินวุฒิ ย้อนดูอดีตจนถึงปัจจุบัน ในเมืองไทยนั้นก็มีพระสงฆ์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เป็นที่พึ่งในด้านต่าง ๆ ทั้งทางใจทางกายของพุทธศาสนิกชนชาวไทย มากมายทุกทิศทั่วไทย ส่วนที่ประพฤติไม่เหมาะสมนั้น จริง ๆ แล้วมีน้อย เพียงแต่เมื่อปรากฏเป็นข่าวก็มักจะอื้ออึงมาก อย่างช่วงนี้ก็มีอยู่ ซึ่ง ณ ที่นี้จะไม่กล่าวถึงเฉพาะเจาะจง นั่นก็ต้องว่ากันไปตามกระบวนการ

    อย่างไรก็ตาม กับภาพรวมโดยทั่วไป ก็ต้องยอมรับว่าในวงการพระพุทธศาสนา ในวงการพระสงฆ์ในเมืองไทย มีบางจุดบางส่วนที่เป็นเหตุให้เกิดความ “มัวหมอง-เสื่อมศรัทธา” ในพระพุทธศาสนา ในพระสงฆ์

    “ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมจากยุคเกษตรกรรมมาเป็นยุคอุตสาหกรรม ก็ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างคนกับวัดมากขึ้น ทำให้พระปลอมบวช หรือพระที่ไม่มีความรู้ เข้ามาสร้างความเสื่อมเสียได้ง่าย ที่สำคัญยังมีกลุ่มผู้มีเจตนาไม่บริสุทธิ์ มองเห็นช่องทาง โดยดึงเอาความศรัทธามาแปรเป็นทุน”

    ...ผู้อำนวยการสถาบันวิมุตตยาลัย พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) เคยสะท้อนผ่าน “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” ไว้ พร้อมทั้งยังเคยระบุไว้อีกว่า... สอนแปลก ๆ ไม่ตรงหลักพระธรรมวินัย ไม่ตรงพระไตรปิฎก เอาความคิดตัวเองมาปลอมปนในหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ไม่สำรวม พูดจาไม่สุภาพ วางตัวไม่เรียบร้อย แสวงหาผลประโยชน์จากพระพุทธศาสนา บางคนนำเสนอตัวเองในฐานะพระผู้มีบารมี มักอ้างอิงกลุ่มผู้มีอิทธิพลที่สนิทสนมด้วย นี่เป็นตัวอย่างคำจำกัดความ “พระปลอมบวช” ซึ่งสร้างปัญหา

    กับเรื่องนี้ ทางพระมหาวุฒิชัย ระบุไว้ว่า... ก็ต้องช่วยกันส่งเสริมและสนับสนุนพระดีให้เป็นที่ปรากฏและยกย่อง พระดีจะได้มีกำลังใจ ส่วนการแก้ปัญหาพระปลอม การประพฤติปฏิบัติไม่เหมาะสมนั้น ฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลควบคุมก็ต้องศึกษาพระธรรมวินัยให้แตกฉาน เพื่อจะแยกพระจริง-พระปลอมได้ชัด และ ต้องบังคับใช้กฎเกณฑ์ที่มีอย่างเข้มแข็ง คณะสงฆ์เองก็ต้องปฏิรูปการศึกษาให้ดีขึ้น ครอบคลุมพระที่บวชทุกรูป

    และจากที่ว่ามา...ก็น่าจะยึดโยงกับ ’ภาวะผู้นำ“

    สิ่งที่มีงานวิจัยระบุว่า ’พระสงฆ์จำเป็นต้องมี!!“

    โฟกัสที่งานวิจัยพระสงฆ์ในเรื่องภาวะผู้นำ พระมหาชินวุฒิ ระบุว่า... งานวิจัยนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากสังคมที่แตกแยก มีปัญหาเกิดขึ้นมากมาย ซึ่งพระสงฆ์ก็เป็นบุคคลที่ช่วยนำพาสังคมให้เกิดความสุขและสันติสุขได้ ทั้งนี้ พระสงฆ์ที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยส่วนใหญ่ต่อไปจะเป็นเจ้าอาวาส เจ้าคณะตำบล เจ้าคณะจังหวัด ถือเป็นผู้นำพระสงฆ์ในท้องถิ่นต่าง ๆ ทั่วประเทศ จึงได้ทำการวิจัยว่าพระสงฆ์กลุ่มนี้ พระนิสิตชั้นปีที่ 1–4 จำนวน 1,530 รูป ในประเด็น “มีความพร้อมจะเป็นผู้นำในท้องถิ่นต่าง ๆ หรือไม่??”

    สิ่งที่พบ ก็เช่น... ภาวะผู้นำของพระต้องได้รับจากหลักสูตร โครงการอบรมต่าง ๆ ซึ่งโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนเป็นโครงการที่เสริมสร้างความเป็นผู้นำให้พระสงฆ์ได้ดี สร้างความมั่นใจ ทำให้ได้แสดงออก นอกจากนี้ งานวิจัยยังทำให้รับรู้ทัศนคติของพระสงฆ์ การใช้ความคิดเชิงระบบ ความคิดที่รอบคอบ การพูดในเชิงโวหาร-คติต่าง ๆ การมีวินัยในตนเอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้พระสงฆ์ที่จะเป็น ’ผู้นำทางจิตวิญญาณ“ จะต้องมีในตัว

    พระมหาชินวุฒิ ระบุอีกว่า... งานวิจัยชิ้นนี้สามารถใช้ประโยชน์ด้านการจัดหลักสูตรของพระสงฆ์ การบริหารจัดการเพื่อที่จะช่วยส่งเสริมภาวะผู้นำในพระสงฆ์ และการปฏิบัติตามพระธรรมวินัยควบคู่กับการทำหน้าที่บรรยายธรรมในสถานที่ต่าง ๆ โดยไม่ผิดพระธรรมวินัยนั้นจะทำอย่างไรเพื่อให้เกิดการบูรณาการทั้ง 2 กิจกรรม??

    ทั้งนี้ งานวิจัยนี้ยังมีประเด็นเกี่ยวโยงกับชาวพุทธที่มิใช่พระสงฆ์ด้วย โดยทางพระมหาชินวุฒิ ระบุว่า... การออกบรรยายให้หลักธรรมกับประชาชนของพระสงฆ์ บางครั้งก็ทำให้เกิดการขัดกับพระธรรมวินัย เช่น ไม่ได้บิณฑบาต ไม่ได้สวดมนต์ทำวัตร นอกจากนี้ พระสงฆ์ที่ใช้คอมพิวเตอร์-อินเทอร์เน็ตสืบค้นข้อมูล ทำสื่อการสอน ก็อาจถูกมองแบบไม่เข้าใจและถูกตั้งคำถามว่าเหมาะสมหรือไม่?? ซึ่งก็มีคนจำนวนมากอยากให้พระสงฆ์คล้ายพระประธานในวัด ไม่ต้องทำอะไร แต่โลกและสังคมเปลี่ยนแปลงไปมากจนพระสงฆ์จะอยู่เฉย ๆ ไม่ได้อีกแล้ว จุดนี้ผู้คนก็ต้องเข้าใจ และการใช้เทคโนโลยีอย่างมีวิจารณญาณประกอบนั้น ก็มีประโยชน์ ’อยากบอกชาวพุทธว่า การนับถือพระสงฆ์ การมีศรัทธาต่อพระสงฆ์นั้น ศรัทธาและปัญญาต้องไปคู่กัน“ ...พระมหาชินวุฒิ ระบุ

    เหล่านี้ก็เป็นเรื่อง ’ภาวะผู้นำของพระสงฆ์“ ที่ยุคนี้สำคัญ

    โยงกับ ’การนับถือศรัทธาพระสงฆ์“ ที่ยุคนี้สั่นคลอนมาก

    คิดเห็นเป็นประการใด?? ...ย่อมสุดแท้แต่วิจารณญาณ.


    • Update : 5/10/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch