หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    เทศกาลนวราตรี54-วัดวิษณุ อัญเชิญเทวรูป5องค์-ลอยน้ำ


    วัดวิษณุ ตั้งอยู่เลขที่ 96 ซ.เจริญราษฎร์ 3 (ซอยวัดปรก) แขวงทุ่งวัดดอน กรุงเทพฯ ก่อสร้างโดยสมาคมฮินดูธรรมสภา เป็น สมาคมทางศาสนาในองค์การศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2458 โดยชาวอุตตรประเทศจากประเทศอินเดีย หรือที่เรียกกันว่า "พวกยูพี" ที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ซึ่งชาวอุตตรประเทศนั้น เป็นชาวฮินดูที่นับถือพระวิษณุเป็นหลัก แต่เดิมที่ชาวอุตตรประเทศที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ได้ไปกระทำศาสนกิจต่างๆ ณ วัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขก) ถนนสีลม

    ต่อมาเมื่อมีชาวฮินดูจากอุตตรประเทศได้เข้ามาอยู่อาศัยในประเทศมากขึ้น จึงได้รวมตัวกันก่อตั้งสมาคมฮินดูธรรมสภา และแยกตัวออกมาสร้างเทวาลัยแห่งใหม่ขึ้น จากการเรี่ยไรรวบ รวมเงินกันได้จำนวนหนึ่ง จึงได้ซื้อที่ดินแปลงหนึ่งในซอยวัดปรก ด้วยเห็นว่าที่ดินบริเวณดังกล่าวมีราคาถูก และมีชาวอุตตรประเทศอาศัยอยู่ในเขตนั้นจำนวนมาก

    สิ่งที่โดดเด่นของวัดวิษณุ และถือเป็นความภาคภูมิใจของชาวอุตตรประเทศผู้ร่วมใจกันสร้างวัดแห่งนี้ คือ วัดวิษณุ นับว่าเป็นวัดเดียวของศาสนาฮินดูในประเทศ ที่มีเทวรูปประดิษ ฐานอยู่มากที่สุดถึง 24 องค์ ว่ากันว่ามากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เลยทีเดียว โดยบนชั้น 2 ของเทวาลัยหลัก ประกอบไปด้วยเทวรูปพระวิษณุ-พระลักษมี ซึ่งถือเป็นเทวรูปประธานของวัด พระราม-นางสีดา พระลักษมณ์ พระภรต พระศัตรุฆน์ ศรีหนุมานตอนแบกต้นสังกรณีตรีชวา พระกฤษณะ-นางราธา พระพิฆเนศ ขนาบด้วยรูปหินอ่อนขนาดเล็กของพระนางพุทธิและสิทธิ พระชายา เป็นต้น

    หนึ่งในกิจกรรมสำคัญทางศาสนาฮินดู ที่ชาวฮินดูจะมาร่วมกันประกอบพิธีที่วัดวิษณุแห่งนี้อย่างยิ่งใหญ่นั่นคือ "เทศกาลนวราตรี-บูชาพระแม่ศรี อุมาเทวี" ซึ่งจัดขึ้นในช่วงเดือนขึ้น 1 ค่ำ ไปจนถึง 9 ค่ำ เดือน 11 หรือราวๆ สิ้นเดือนกันยายนคาบเกี่ยวกับต้นเดือนตุลาคม งานนวราตรีถูกจัด ขึ้นเพื่อรำลึกและเฉลิมฉลองถึงพระแม่อุมาเทวีสามารถปราบอสูรมหิศูรย์ ซึ่งพระแม่อุมาเทวีต้องใช้เวลาถึง 9 วัน 9 คืน และอวตารเป็นปางต่างๆ ถึง 9 ปาง กว่าจะปราบอสูรร้ายตนนั้นได้ โดยตามความเชื่อช่วงเวลาดังกล่าวของทุกปี จะเป็นช่วงที่พระแม่อุมาและเทพเจ้าต่างๆ จะเสด็จลงมายังโลก เพื่อประทานพรให้กับมนุษย์ทั้งหลาย โดยเฉพาะวันสุดท้าย เรียกกันว่า "วันวิชัยทัสมิ"(วันแห่งชัยชนะ) ซึ่งจะเป็นวันที่ฉลองชัยขององค์พระแม่ที่มีต่ออสูรและหมู่มารร้าย

    การจัดงานจะมีการจำลองมณเฑียรหรือปะรำพิธีที่ออก แบบอย่างสวยงาม แตกต่างกันออกไป และมีการประดิษฐาน เทวรูปจำลองของเทพ 5 องค์ ได้แก่ พระแม่ทุรคา เป็นองค์ประ ธาน ด้านขวาขององค์พระแม่ จะเป็น พระพิฆเนศ พระลักษมี ส่วนด้านซ้ายได้แก่ พระขันธกุมาร และ พระสุรัสวดี ซึ่งวัดวิษณุได้เชิญช่างปั้นเทวรูปจากเมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดีย โดยใช้เวลาปั้นเทวรูปทั้ง 5 องค์นี้ กว่า 2 เดือน ที่สำคัญคือ ดินที่นำมาใช้ปั้นเทวรูปนั้น นำมาจากแม่น้ำคงคา ในเมืองกัลกัตตา เช่นเดียวกัน ซึ่งความพิเศษของ ดินชนิดนี้คือเมื่อแห้งแล้วจะมีความเงา ลื่น ทาสีแล้วจะไม่แตก และดินจากเมืองนี้ยังใช้ในการปั้นเทวรูปทั่วอินเดียอีกด้วย โดยแต่ละปีจะนำดินมาใช้ปั้นไม่ต่ำกว่า 100 กิโลกรัม ส่วนเครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ หรือแม้ แต่เส้นผม ก็ใช้ของจริงที่นำมาจากประเทศอินเดียเช่นกัน

    ในเทศกาลงานนวราตรี ตลอด 9 วัน 9 คืน ก็จะมีการสวดสรรเสริญบูชาพระแม่อุมาเทวีในปางต่างๆ 9 ปาง มีการถวายผลไม้ ดอกไม้ ขนมหวาน แด่รูปเทวี และร้องเพลงสวดบาจัน เพื่อสรรเสริญพระนาง ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวชาวฮินดูผู้เคร่งครัดจะมีการถือศีล งดเว้นการรับประทานเนื้อสัตว์ และมาเข้าร่วมพิธีการสวดบูชา ตลอดจนขอพรที่วัดกันอย่างเนืองแน่น ในวันสุดท้ายของเทศกาลนี้จะมีขบวนแห่อัญเชิญเทวรูปจำลองทั้ง 5 องค์ จากวัดวิษณุไปลอยน้ำที่บริเวณเกาะลอย อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี เพื่อเป็นการส่งเสด็จกลับสู่สวรรค์ รูปเคารพไปจมลงในแม่น้ำใกล้เคียง

    ทั้งนี้ "เทศกาลนวราตรี-บูชาพระแม่ศรีอุมาเทวี" ประจำปี 2554 ของสมาคมฮินดูธรรมสภา วัดวิษณุ จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 กันยายน - 6 ตุลาคม 2554 ตั้งแต่เวลา 10.00-22.00 น. เข้าร่วมงานได้ทุกวัน

    สอบถามโทร. 0-2211-3840 หรือ 08-1844-0180

    • Update : 2/10/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch