หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    พระพุทธนเรศวร์สักชัยฯ วัดบุพพาราม จ.เชียงใหม่
    คอลัมน์ เดินสายไหว้พระ



    ดินแดนทางภาคเหนือของประเทศไทยนั้น เป็นแหล่งป่าไม้สำคัญโดยเฉพาะไม้สัก

    ต้นไม้ในป่ามีโอกาสที่จะเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ เราจึงมักได้ยิน ได้ฟังคำบอกเล่าถึงขนาดของต้นไม้ใหญ่สามคนโอบบ้าง สี่คนโอบบ้าง ซึ่งปัจจุบันเป็นเพียงตำนานที่เล่าขานสู่กันฟัง

    แต่ประจักษ์พยานชิ้นหนึ่งที่ยืนยันความมีอยู่จริงของตำนานต้นไม้ใหญ่หลายคนโอบนั้น อยู่ในรูปพระพุทธรูปไม้สักที่มีนามว่า "พระพุทธนเรศวร์สักชัยไพรีพินาศ" ที่ประดิษฐานอยู่กลางเมืองเชียงใหม่

    ตามเรื่องราวที่ปรากฏ กล่าวว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงยกทัพขึ้นมาทำศึกกับพม่าที่เมืองเชียงใหม่ในปี 2147 หลังจากทรงรุกไล่ข้าศึกถอยหนีเข้าไปทางเมืองแหงและเมือง ต๋วนในเขตไทยใหญ่ทางตอนเหนือของพม่าได้แล้ว โปรดให้สร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่หน้าตักกว้างวาเศษจากไม้สักขึ้นองค์หนึ่งไว้เป็นอนุสรณ์

    เมื่อคิดถึงว่าพระพุทธรูปองค์นี้มีขนาดหน้าตักกว้างหนึ่งวาเศษและสร้างโดยวิธีแกะสลัก จากไม้สักขนาดใหญ่ทั้งต้น หมายความว่าไม้สักที่นำมาใช้แกะสลักพระจะต้องมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเกินกว่าหนึ่งวาขึ้นไป ซึ่งออกจะเป็นเรื่องที่ต้องใช้จินตนาการอย่างยิ่งสำหรับคนยุคปัจจุบัน

    แต่ไม่ใช่สำหรับผู้ที่มีชีวิตอยู่เมื่อเกือบ สี่ร้อยปีที่แล้วขณะที่มีการสร้างพระองค์นี้

    "พระพุทธนเรศวร์สักชัยไพรีพินาศ" ถือว่าเป็นพระพุทธรูปแกะสลักจากไม้สักที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่มีปรากฏ และยังมีความงดงามเป็นที่เคารพเลื่อมใสในหมู่ชาวบ้านทั่วไป ภายหลังเคลื่อนย้ายมาประดิษฐาน ณ วัดบุพพาราม เพื่อให้ชาวเมืองได้กราบไหว้สักการะตราบจนปัจจุบัน

    ปัจจุบัน พระพุทธนเรศวร์สักชัยไพรีพินาศ ประดิษฐานอยู่ที่หอมณเฑียรธรรม วัดบุพพาราม ถนนท่าแพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

    พระพุทธนเรศวร์สักชัยไพรีพินาศ มีพุทธลักษณะศิลปะอยุธยา ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตัก 1 วา 1 คืบ สูง 9 ศอก วัสดุไม้สักลงสี

    วัดบุพพาราม มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วัดอุปปา ตั้งอยู่เลขที่ 143 ถนนท่าแพ ต.ช้างคลาน อ.เมือง จ.เชียงใหม่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 4 ไร่ 3 งาน 29 ตารางวา

    เป็นวัดคู่เมืองเชียงใหม่ สร้างขึ้นในสมัยพระญาเมืองแก้ว กษัตริย์ล้านนาลำดับที่ 12 ราชวงศ์มังราย (ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ.2039-2068)

    ในตำนานชินกาลมาลีปกรณ์ ได้กล่าวถึงการสร้างวัดบุพพารามว่า พระเจ้าติลกปนัดดาธิราช (ราชนัดดาของพระเจ้าติโลกราช คือ พระญาเมืองแก้ว) หลังจากที่ได้ราชาภิเษกแล้วในปีที่ 2 โปรดให้สร้างอารามขึ้นอารามหนึ่งในหมู่บ้านที่พระราชอัยกา ครั้งเป็นยุพราชและพระบิดาของพระองค์เคยประทับมาก่อน เมื่อวันอังคารขึ้น 7 ค่ำ เดือน 5 ปีมะโรง จุลศักราช 858 โดยพระองค์ตั้งชื่ออารามนั้นว่า บุพพาราม แปลว่าอารามตะวันออก

    ทั้งนี้ โดยถือเอานิมิตว่าได้ตั้งอยู่ทางทิศบูรพาแห่งนพีสีราชธานี ซึ่งเป็นตำแหน่งมูลเมือง ตามคัมภีร์มหาทักษา

    วัดแห่งนี้ ได้รับการบูรณะเมื่อปี พ.ศ. 2362 เจ้าหลวงธรรมลังกา โปรดให้สร้างวิหารหลังเล็กซึ่งเป็นเครื่องไม้ศิลปะล้านนา หน้าบันเป็นปูนปั้นประดับกระจกแกะลายสลักไม้อย่างงดงาม

    ส่วนวิหารหลังใหญ่หน้าบันมีลวดลายไม้แกะสลักแบบพม่า เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหล่อด้วยทองแดงล้วนหนัก 1 โกฏิ อายุ 400 ปีเศษ และพระพุทธรูปเชียงแสนหล่อด้วยสำริดอยู่ทางด้านซ้ายและขวาอีกหนึ่งคู่

    ความสำคัญของวัดบุพพาราม คือ เคยเป็นที่สถิตของพระมหาสังฆราชปุสสเทวะ

    นอกจากนี้ ยังเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ อีกทั้งมีประเพณีสรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุในวันเพ็ญเดือน 6 เหนือ (เดือน 4 ภาคกลาง) ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ประจำทุกปี

    • Update : 2/10/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch