หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การทอดผ้าป่า

    'ผ้าป่า'ครั้งพุทธกาลเรียกว่า ผ้าบังสุกุลจีวร คือ ผ้าเปื้อนฝุ่นที่ไม่มีเจ้าของหวงแหน ทิ้งอยู่ในที่สาธารณะ 


    ประเพณีการทอดผ้าป่ามีมาแต่ครั้งพุทธกาล เมื่อยังไม่ทรงอนุญาตให้ภิกษุรับคฤหบดีจีวร คือ จีวรที่ชาวบ้านถวายโดยเฉพาะ ทรงอนุญาตแต่เพียงให้ภิกษุแสวงหาผ้าบังสุกุล นำมาซักฟอกตัดเย็บเป็นจีวรผืนใดผืนหนึ่งที่ต้องการ แล้วใช้นุ่งห่ม

    พุทธศาสนิกชนเห็นความลำบากของภิกษุในเรื่องนี้ ประสงค์จะบำเพ็ญกุศล ไม่ขัดต่อพุทธบัญญัติ จึงได้จัดหาผ้าที่สมควรแก่สมณบริโภค ไปทิ้งไว้ตามที่ต่างๆ โดยมากเป็นป่าช้าที่รู้ว่าภิกษุผู้แสวงหาเดินไป จึงเรียกว่าผ้าป่า 

    ในครั้งนั้น การทอดผ้าป่าไม่ได้นิยมกาล ต่อมาเมื่อทรงบัญญัติจีวรกาล คือ การแสวงหาและทำจีวรขึ้น จำกัดอยู่หนึ่งเดือน นับแต่ออกพรรษาแล้ว และถ้าได้กรานกฐินด้วย จะขยายออกไปอีกสี่เดือนจนถึงวันเพ็ญเดือนสี่ 

    การทอดผ้าป่าจึงนิยมทำขึ้นกันในระยะนี้ ส่วนมากในฤดูออกพรรษาใหม่ๆ

    การทอดผ้าป่าที่ทำในประเทศไทย มีทำกันหลายอย่าง คือ ทอดผ้าป่าและทอดกฐินด้วยก็มี ทำกันอย่างสัณฐานประมาณ คือ เอาเครื่องไทยธรรมใส่ภาชนะ แล้วเอากิ่งไม้ปักเอาผ้าห้อย อุทิศตั้งไว้ตามทางที่พระบิณฑบาตผ่านมาหรือนำไปตั้งไว้ตาม พระอาราม แล้วให้สัญญาณให้พระภิกษุรู้ว่ามีผ้าป่ามาถึงที่ก็มี 

    ที่ทำกันอย่างขนานใหญ่ให้ทายกรับไปคนละองค์จนครบจำนวนภิกษุสามเณรทั้งวัด แล้วนำมาทอดพร้อมกันตามกำหนด แห่แหนกันมา แล้วประชุมถวายอุทิศต่อหน้าพระภิกษุสงฆ์ก็มี บางแห่งทำผ้าป่าบรรทุกเรือพ่วงไปทางน้ำเรียกกันว่าผ้าป่าโยง ผ่านไปถึงวัดไหนก็ทอดวัดนั้นเรื่อยไปก็มี 

    พิธีทอดผ้าป่า มีข้อสำคัญอยู่ว่าให้อุทิศเป็นผ้าป่าจริงๆ อย่าเจาะจงถวายแก่ผู้ใดโดยเฉพาะ ถ้าทอดลับหลังพระภิกษุสงฆ์ผู้รับ เพียงแต่ตั้งใจขณะทอดว่าขออุทิศผ้า และเครื่องบริวารเหล่านี้แก่พระภิกษุผู้ต้องการผ้าบังสุกุลมาถึงเฉพาะหน้าเท่านี้ก็ถือว่าได้ทอดและถวายผ้าป่าแล้ว

    ถ้าเป็นการทอดผ้าป่าหมู่ต่อหน้าสงฆ์ผู้รับ พึงว่าคำอุทิศถวาย ดังนี้ 

    "ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าบังสุกุลจีวรกับทั้งบริวารเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับผ้าบังสุกุลจีวร กับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญฯ"

    สำหรับภิกษุผู้ชักผ้าป่า ไม่ว่าเป็นผ้าแบบใด พึงยืนสงบตรงหน้าผ้า เอื้อมมือขวาจับผ้าให้จับหงายมือ แล้วกล่าววาจาหรือบริกรรมในใจว่า "อิมัง ปังสุกุลจีวรัง อัสสามิกัง มัยหัง ปาปุณาติ"

    กล่าวจบแล้วชักผ้านั้นมา เป็นอันเสร็จพิธี


    • Update : 1/10/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch